วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551

ซุนวู

ซุนวู

คอลัมน์ คุยกับประภาส โดย ประภาส ชลศรานนท์

พี่ประภาส

ส ถานการณ์ภาคใต้น่ากลัวมาก ลอบฆ่าลอบวางระเบิดกันทุกวัน ผมคิดว่าน่าจะมีคนหนุนหลัง ไม่งั้นคงไม่กล้าทำขนาดนี้ ถึงเวลาต้องงัดตำราพิชัยสงครามออกมาแล้วมั้ง นี่เราจะต้องรบกันจริงๆ แล้วใช่มั้ย

ไทยนี้รักสงบ

“รู้เขารู้เรา ร้อยรบมิรู้พ่าย”

ประโยคข้างต้นเพียงประโยคเดียวนี้เอง ได้ทำให้ชื่อของนักการทหารคนหนึ่งที่มีชีวิตราวสองพันกว่าปีก่อ นเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก

ชื่อของเขาคือ ซุนวู

ซ ุนวูเขียนตำราเพื่อการสัประยุทธ์ขึ้นมา 13 ข้อ และถึงทุกวันนี้ทั้ง 13 ข้อแห่งปรัชญาในการรบเล่มนี้ ก็ได้กลายเป็นคัมภีร์สำคัญของนักการทหารแทบทุกชนชาติ แม้แต่นักธุรกิจที่มองเห็นการตลาดเป็นสมรภูมิ ก็มักใช้ข้อคิดของซุนวูมาเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ

จดหมายของคุณ “ไทยนี้รักสงบ” ที่เขียนมามาวันนี้ ต้องขออนุญาตไม่ขอตอบตรงๆ ครับ

ค งต้องยอมรับกันก่อนว่า สำหรับคนเมืองหลวงและคนภาคอื่นๆ ข่าวสารที่เราได้รับหลายๆ ทางมีประเด็นและข้อมูลค่อยข้างเลื่อนลอยและหลากมุม จะคิดอ่านวิพากษ์ไปทางใดก็ต้องระวังเรื่องความร้าวฉานที่จะเพิ่ มขึ้น บางทีคนที่เราคิดว่าเป็นข้าศึก ก็อาจจะเป็นแค่ผู้หลงผิดเท่านั้น หรือไม่ก็อาจจะมีคนที่คับแค้นใจจริงๆ อยู่บ้าง ส่วนเรื่องมือที่สามที่หวังในผลประโยชน์อื่นผสมโรงหนุนหลังอยู่ ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน เรื่องนี้ละเอียดอ่อนมากครับ

วันนี้ผมจึ งขออนุญาตเล่าเรื่องตำราพิชัยสงครามของซุนวูให้ฟัง เผื่อไว้เป็นแง่คิดเทียบเคียงกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น หรือใครจะเอาไปใช้ที่ไหนอย่างไรก็ตามสะดวกครับ(แนะนำหนังสือ ตำราพิชัยสงครามของซุนวู โดยแกรี่ แกเกลียดิ ของบริษัท เออาร์ บิซิเนสเพรส(จำกัด)

คำว่า พิชัยสงคราม นี่แปลได้สละสลวยมากครับ ไม่รู้ใครเป็นผู้แปลท่านแรก ของฝรั่งเขาใช้ชื่อ THE ART OF WAR ไพเราะเหมือนกันแม้จะคนละความหมาย แต่ของต้นฉบับนี่ไม่ตรงกับทั้งของไทยและฝรั่ง ภาษาจีนออกเสียงว่า ปิงฟ่า ปิงแปลว่าทหาร ฟ่าแปลว่ากฎ แปลแบบทื่อๆ ก็ต้องบอกว่า ซุนวูแต่งหนังสือชื่อ “กฎทหาร”

หรือจะลองตั้งใหม่ก็คงได้ชื่อประมาณ ทักษะทหารหาญ, ระเบียบนักรบ, สมรภูมิวิทยา ฯลฯ ฟังดูทหารๆ นะครับ

แต่เอาเข้าจริงๆ ตำราเล่มนี้หากอ่านกันอย่างลึกซึ้งก็จะพบว่า มันไม่ใช่ตำราของนักรบเพียงอย่างเดียว

หนังสือเล่มนี้กล่าวเกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์” มากกว่า “สงคราม”

ย ุทธศาสตร์กับสงคราม นี่คนละเรื่องกันนะครับ การใช้ยุทธศาสตร์ที่ดีอาจไม่จำเป็นต้องทำสงครามเสียเลือดเนื้อก ็ได้รับชัยชนะได้ อาจเป็นด้วยเหตุนี้เองตำรายุทธศาสตร์ของซุนวู จึงถูกยอมรับจากผู้คนที่ไม่ได้มีอาชีพเป็นทหาร และนำไปปรับปรุงใช้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันทางธุรกิจ การทำงานในองค์กร หรือแม้แต่ชีวิตประจำวัน

วิชาพิชัยสงครามของซุนวูนั้น ส่วนใหญ่เขียนออกมาในรูปของสมการง่ายๆ

ท ี่ผมเรียกว่าสมการก็เพราะทุกปรัชญาถูกกล่าวออกมาว่า ถ้าเหตุเป็นอย่างนี้ผลมันจะเป็นอย่างนี้ สมการง่ายๆ สองข้างเท่ากันอย่างที่เราเรียนในมัธยมต้นแค่นั้น ไม่มีการอธิบายเยิ่นเย้อ หรือพรรณนาโวหารจนมีแต่น้ำท่วมทุ่ง หนังสือเล่มนี้เป็นตำราสงครามที่ผิดไปจากที่ใครๆ จินตนาการว่าต้องยืดยาวหรือเข้าใจยาก ลองฟังสมการตัวอย่างของซุนวูดูก็ได้ครับ

“อาหารข้าศึกหนึ่งถ้วยมีค่าเท่ากับของเรายี่สิบถ้วย ข้าวข้าศึกหนึ่งถังมีค่าเท่ากับของเรายี่สิบถัง”

อันนี้ก็ไม่เลวครับ อ่านแล้วจิตว่างดี

“บุกต้องมิหวังคำยกย่อง

ถอยต้องมิกลัวอับอาย”

แม้แต่การวางกำลังรบ ซุนวูก็ยังกล่าวเป็นสมการง่ายๆ แต่ลึกล้ำเหลือเกิน

“หากมีกำลังมากกว่าสิบเท่า จงปิดล้อมข้าศึก

หากมีกำลังมากกว่าห้าเท่า จงโจมตีข้าศึก

หากมีกำลังมากกว่าสองเท่า จงแบ่งแยกข้าศึก

หากมีกำลังเท่ากัน จงมองหาสมรภูมิอันได้เปรียบ

หากมีกำลังน้อยกว่า จงตั้งรับ”

แ ม้ตำราพิชัยสงครามจะถูกแปลออกมามากมาย และทั้ง 13 บทก็ชัดเจนคมคายในแง่คิด แต่อัตประวัติของซุนวูเองสิครับกลับไม่ชัดเจนเหมือนตำราที่เขาเ ขียน

ข ้อมูลที่มีหลงเหลืออยู่เกี่ยวกับซุนวู คือ พงศาวดารของซือ หม่า เฉียน นักบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ที่เขียนขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่สี่ ซือ หม่า เฉียน ได้บรรยายถึงซุนวูว่า เป็นแม่ทัพที่อาศัยอยู่ในรัฐกว๋อในช่วงประมาณพุทธศตวรรษแรก ซึ่งอยู่ในยุคเดียวกับขงจื้อนักปรัชญาจีนผู้ยิ่งใหญ่

หลายคนยกให้ซ ุนวูเป็นนักการทหารที่ยิ่งใหญ่ แต่หลังจากที่อ่านตำราเล่มนี้จบ ผมกลับคิดว่าเขาเป็นนักปรัชญามากกว่านักการทหาร ซึ่งถ้าจะเรียกเขาว่าเป็นนักการทหารก็คงเป็นนักการทหารประเภทเด ียวกับขงเบ้งในวรรณกรรมสามก๊ก นั่นคือมีความเป็นปราชญ์สูงมาก ประโยคแรกในตำราสงครามเล่มสำคัญของโลกกล่าวไว้ดังนี้

“สงคราม เป็นเรื่องสำคัญที่สุดของชาติ เป็นเรื่องถึงเป็นถึงตาย เป็นเรื่องของการอยู่รอดหรือล่มสลาย”

ผ มอ่านประโยคนี้ด้วยความรู้สึกว่า แม้ซุนวูกำลังเขียนตำราสงครามอยู่ก็จริง แต่ประโยคแรกของหลักการรบพุ่ง ซุนวูกลับแสดงมุมมองให้เห็นว่าเขามิได้เป็นคนกระหายสงครามแต่อย ่างใดเลย

ผมว่าผมมองเห็นความอ่อนโยนซ่อนอยู่ในประโยค “อยู่รอดหรือล่มสลาย” นะครับ

ที่ผมบอกว่าเขามีความเป็นปราชญ์สูงนั้น ก็เพราะงานเขียนของเขาบอกให้เราได้รู้ว่าเขาเป็นคนเข้าอกเข้าใจ ผู้คนอย่างมาก

“หากข้าศึกกู่ร้องกัน แสดงว่าข้าศึกเกิดความกลัว”

“หากคนที่ตักน้ำแล้วดื่มเอง แสดงว่าเขากระหายน้ำจัด”

“หากกองทัพต้องใช้สินบนจูงใจไพร่พลมากเกินงาม แสดงว่ากองทัพกำลังคับขัน”

แม้แต่เวลาพูดถึงแม่ทัพ เขาก็พูดได้อย่างโดนใจ

“จุดอ่อนห้าประการของแม่ทัพคือ

สู้ตายอาจถูกฆ่า

กลัวตายอาจถูกจับ

ฉุนเฉียวอาจถูกยั่ว

เย่อหยิ่งอาจถูกหยาม

ขี้สงสารอาจถูกก่อกวน”

ผ มได้ยินมานานแล้วว่า คนที่ศึกษาตำราพิชัยสงครามของซุนวูนั้นมีอยู่มากมาย ทั้งนักการทหารและคนสาขาอาชีพอื่น แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญในตลาดหุ้นก็มักเอาปรัชญา “การถอยมิใช่การพ่าย” ของซุนวูมาอ้างถึงกันบ่อยๆ แต่ถ้านับการนำเอาตำราพิชัยสงครามของซุนวูมาประยุกต์ใช้แล้วประ สบความสำเร็จอย่างลือลั่นที่สุด น่าจะเป็นผลงานของเหมา เจ๋อ ตุง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่สามารถนำทัพเปลี่ยนแปลงการปกครองปร ะเทศที่ใหญ่ขนาดนั้นได้สำเร็จ

มีบทหนึ่งในตำรากล่าวไว้ว่า “เมื่อรบพึงชนะรวดเร็ว ยืดเยื้อกำลังย่อมเปลี้ย ขวัญทหารย่อมเสีย”

แล้วเหมา เจ๋อ ตุง ใช้ปรัชญาข้อนี้รบกับรัฐบาลของเจียง ไค เช็ค อย่างไร เขารีบรบแบบพิชิตศึกเบ็ดเสร็จตามตำราอย่างนั้นหรือ เปล่าเลย

ม ันน่าสนใจตรงนี้ครับ แนวความคิดข้อนี้ของซุนวูเมื่อตกถึงมือของเหมา เจ๋อ ตุง เขากลับนำไปใช้อย่างชนิดกลับหัวกลับหาง นั่นคือเขาเอาความยืดเยื้อในการรบที่ซุนวูพูดถึง โยนกลับมาให้กองทัพของเจียงไค เช็ค เสียเอง

แปลว่าอะไร

แปลว ่าประโยคที่ซุนวูกล่าวเตือนนั้น ตัวเองก็ไม่ต้องระวัง แต่กลับทำให้กองทัพรัฐบาลเป็นผู้ประสบ นั่นคือต้องรบยืดเยื้อ เปลี้ย และขวัญก็จะเสียไปเองจริงๆ

นอกจากพูดถึงการวางทัพ การบริหารบุคคล การเลือกสมรภูมิ และการอ่านใจข้าศึก ซึ่งล้วนเป็นการศึกษาเรื่องการสัประยุทธ์อย่างแท้จริงแล้ว สิ่งหนึ่งที่ซุนวูได้เปิดทางเลือกไว้สำหรับการรบก็คือ “การไม่รบ”

หลายบทในตำราเล่มนี้จึงพูดถึง การข่าว และการทูต

“รบร้อยชนะร้อย ยังหาใช่ความยอดเยี่ยมไม่

มิต้องรบแต่ชนะได้ จึงเป็นความยอดเยี่ยม”

ย่อหน้าข้างบนนี้คมที่สุดแล้วในตำราสงครามเล่มนี้

ไม่มีความคิดเห็น: