วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ไคเซ็น

ไคเซ็น

สุธี พนาวร
คง เห็นบริษัทหลายๆ แห่งเขาทำกิจกรรมไคเซ็นกันแล้วได้ดิบได้ดี ลองไปทำดูบ้างก็ไม่เห็นจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงกันมากเท่าไร บางคนไปถามเพื่อนในองค์กรอื่น หลายคนอาจจะเคยทำมาแล้วแต่ “ไม่เวิร์ค” ก็เป็นได้


แล้วอะไรเป็นตัวตัดสินว่าองค์กรแบบไหนจึงนำไคเซ็นไปใช้ได้ผล

คำตอบไม่ได้อยู่ที่ใครนำไปใช้ แต่อยู่ที่นำไปใช้อย่างไรมากกว่า

วิถีไคเซ็นเองมีกฎเหล็กอยู่ 3 ประการที่ต้องยึดถือปฏิบัติ มิเช่นนั้นก็คว้าน้ำเหลวอย่างแน่นอน

1. ลงมือทำ ไม่รอช้า

ใครๆ ก็รู้ว่าไคเซ็นมีความจำเป็น ใครๆ ก็คิดว่าต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้น ซึ่งทั้งหมดที่ว่ามา เป็นสามัญสำนึกที่ทุกคนคิดเหมือนกัน ใครคิดว่าที่เป็นอยู่ดีแล้ว นั่นแหละมีปัญหา แต่แล้วคนส่วนใหญ่มักจะอ้างว่า

“ทำทันทีไม่ได้”....
“ทำไม่ได้สักที”....
“ไว้มาลงมือทำกัน”....
"ไม่เป็นทำกันต่อเนื่องเลย"....


ก็ ในเมื่อมันต้องทำ แล้วทำไมไม่ลงมือทำ หรือทำไมทำไม่ได้ ให้ใครฟังก็รู้ว่ามันขัดแย้งกัน สิ่งที่เข้าใจผิดกันโดยทั่วไปสรุปออกมาได้ 3 ข้อหลักๆ ดังนี้

“ไคเซ็นเป็นเรื่องที่ต้องใช้คนมาก ยุ่งยาก”
“ไคเซ็นเป็นเรื่องที่ต้องใช้เงินมาก”
“ไคเซ็นเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับงานที่ทำอยู่ประจำ”


ก็เลยไม่ได้ทำอะไรสักที กว่าจะตั้งทีมขึ้นมา กว่าจะหา Kaizen Champion ขึ้นมาได้ ก็ไม่ได้ลงมือทำสักที

แต่ คนที่ประสบความสำเร็จกับไคเซ็น ทำให้งานของตัวเองสบายขึ้น ประสิทธิภาพสูงขึ้น ได้ผลงานดีขึ้น กลับคิดตรงกันข้ามว่า ไคเซ็นเป็นเรื่องที่

“ทำกี่คนก็ได้”
“ไม่มีค่าใช้จ่ายมากมาย”
“เป็นเรื่องของงานที่ทำอยู่ทุกวัน”
และเป็นสิ่งที่ต้องลงมือทำเดี๋ยวนี้ ไม่รอช้า


ถ้า ขจัดความเข้าใจผิดเหล่านี้ไปได้แล้ว ไคเซ็นก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ไม่ใช่เรื่องยากหรือใช้เงินอย่างที่ใครเขาคิดกันเลยแม้แต่น้อย พอลงมือทำจนเป็นนิสัยแล้ว ต่อไปมันก็เกิดขึ้นทุกๆ วันต่อเนื่องกันไปโดยอัตโนมัติ

แม้ว่าผลของไคเซ็นอาจจะมองแทบไม่เห็น ในระยะสั้น บางอย่างดูเหมือนแทบจะไม่มีความแตกต่างเลยด้วยซ้ำ แต่เมื่อเวลาผ่านไป การปรับปรุงสะสมไปเรื่อยๆ จนถึงวันหนึ่งกลับมาเทียบกับตอนก่อนลงมืออีกทีก็จะเห็นความแตกต่างอันยิ่ง ใหญ่ โดยที่ไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำว่าได้ลงแรงหรือลงทุนอะไรไป

2. ใช้ “ภาษาในชีวิตประจำวัน”


ไคเซ็นไม่ใช่โครงการอันยิ่งใหญ่อะไรเลย ไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ตรงกันข้าม ไคเซ็นเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ในชีวิตประจำวัน เปลี่ยนแปลงวิธีการทีละเล็กทีละน้อย

การ เปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ๆ นั้น ภาษาอังกฤษเขาจะเรียกว่า Innovation หรือนวัตกรรม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ อาจจะเรียกอีกอย่างว่าเป็นการปฏิรูปหรือปฏิวัติ ซึ่งคงจะเป็นที่ประจักษ์กันแล้ว ว่าการปฏิรูปการเมืองของเราทำให้เราต้องปรับตัวกันขนานใหญ่ขนาดไหน และเมื่อเราเกิดความผิดพลาดไป หรือปรับตัวไม่ได้ ทำตามไม่เป็น ก็ต้องเกิดความสูญเสีย เจ็บปวดกัน แล้วกว่าจะแก้ไขกันก็ใช้เวลานาน ใช้กำลังความพยายามอย่างมาก และไม่รู้จะแก้ไขได้ด้วยหรือเปล่าด้วยซ้ำ

การเปลี่ยนแปลงอะไรอย่างมากๆ นั้นจึงต้องค่อยๆ คิด ค่อยๆ ตรองให้ดีก่อนจึงตัดสินใจลงมือได้

แต่ ไคเซ็นนั้น เนื่องจากเป็นเรื่องเล็กๆ ค่อยๆ ทำ มีผลกับการทำงานเพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ถ้าจะผิดพลาดอะไรไปบ้างก็เป็นเรื่องเล็กๆ แก้ไขได้ง่ายๆ ผลกระทบไม่รุนแรง

แค่ทำตามหลักการทั้ง 3 ข้อของไคเซ็นที่ให้

“เลิก”
“ลด”
“เปลี่ยน”


ใน การทำงานในแต่ละวันเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรมาก ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาที่เข้าใจยากๆ หรือวิธีการที่ต้องเรียนรู้อะไรมากมาย ก่อนอื่นเอามันง่ายๆ ก่อน

และถ้าจะไคเซ็นสิ่งที่เป็นชีวิตประจำวันของเรา ก็ควรจะใช้คำพูดง่ายๆ ที่เป็นภาษาในชีวิตประจำวันจะดีที่สุด

3. ทำให้ “สิ่งที่รู้กัน” เป็น “สิ่งที่รู้กัน”


สิ่ง ที่ผมเอามาเขียนในหนังสือไคเซ็นนั้น เป็นเรื่องที่ใครๆ เขาก็รู้กันอย่างถ่องแท้แล้ว ไม่มีอะไรใหม่เลย แล้วทำไมเอาเรื่องที่เขา “รู้กันมาตั้งนานแล้วละลุง” มาเขียนเป็นหนังสือขายให้คนซื้อไปอ่านอีกล่ะ

ก็เพราะว่า สิ่ง ที่เขารู้กันมาตั้งนานแล้ว อาจจะรู้กันมานานเกินไปจนคนทั้งหลายไม่เข้าใจ จึงทำให้การปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ อย่างไคเซ็นไม่ได้มีการนำไปใช้อย่างที่มันควรจะเป็น
สิ่งที่ผมนำมาเขียนจึงเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็รู้กัน ไม่มีอะไรพิเศษ ไม่มีอะไรแปลกประหลาด และไม่มีอะไรใหม่

ไค เซ็นเองก็เป็นการทำให้ “สิ่งที่รู้กัน” เป็น “ที่รู้กัน” เท่านั้นเอง และ บริษัทที่เขาประสบความสำเร็จทั้งหลาย นำไคเซ็นไปใช้อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืนได้ ก็เพราะนำเอาสิ่งที่ใครๆ ก็รู้กันมาทำให้กลายเป็นสามัญสำนึกที่ทุกคนรู้กันและนำไปปฏิบัติกันเหมือน ไม่มีอะไรพิเศษ

ลองไปดูองค์กรที่ใช้กิจกรรมไคเซ็นเป็นอาวุธอย่างโตโย ต้าหรืออื่นๆ เขาไม่ได้มีอะไรพิเศษหรือประหลาดกว่าคนอื่นเลย ไม่ได้มีมนุษย์พิเศษไปกว่าใคร เขาแค่ทำสิ่งที่ใครๆ เห็นว่าเป็นเรื่องปกติ ให้เป็นไปอย่างปกติ ทุกวันๆ อย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุด ไม่ย่อท้อ จนเกิดความยั่งยืน

หลายคนอาจจะเห็นตัวอย่างที่ผมยกมา เป็นเรื่องธรรมดาๆ ในใจอาจจะคิดว่า “แค่นี้เองน่ะหรือ ไม่เห็นมีอะไรแปลก” ก็แค่นั้นแหละครับ ถ้าสามารถทำได้สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ยั่งยืน ใครๆ ก็ประสบความสำเร็จได้ ถ้าแค่นี้ทำไม่ได้ เรื่องยากๆ อะไรจะไปทำได้

ความลับของไคเซ็นก็มีอยู่เท่านี้เอง


"การคิดอย่างเป็นระบบ" (System Thinking)

"การคิดอย่างเป็นระบบ" (System Thinking)

คอลัมน์ เส้นสายลายคิด โดย จรีพร แก้วสุขศรี คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 29 ฉบับที่ 3710 (2910)

การดำเนินชีวิตในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน การกิน การเดินทาง ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ใช้กระบวนการทางความคิดเป็นหลักทั้ง สิ้น ผู้ที่คิดอย่างเป็นระบบได้มากที่สุด ผู้นั้นก็จะ มีความได้เปรียบในการดำเนินชีวิต ปัจจุบันในเกือบทุกองค์กรได้มีการพัฒนาบุคลากรของตนเองให้มีความสามารถในการคิด และทำอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กร การคิดอย่างเป็นระบบเป็นส่วนหนึ่งของวินัย 5 ประการ ตามแนวคิดในการพัฒนาองค์กรของการเรียนรู้ของ Dr.Peter Senge (ผู้เขียนเรื่อง The Fifth Discipline : The Art and Practice of the Learning Organization) ซึ่งได้แก่

1.รูปแบบความคิด/จิตใจ (mental model)

2.ความเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคล (personal mastery)

3.การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน (shared vision)

4.การเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นทีม (team learning)

5.การคิดอย่างเป็นระบบ (system thinking)

แต่ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบเท่านั้น ซึ่งในเรื่องนี้ไม่สามารถเรียนรู้ได้จากการอ่าน หรือศึกษาหลักการเพียงอย่างเดียวแล้วจะทำได้ดี ตรงกันข้ามท่านจะต้องฝึก และทดลองปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน

การคิดอย่างเป็นระบบจริงๆ แล้วมีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในส่วนของงานและตัวบุคคล เช่น งานทางด้านวิศวกรรม (engineering) ทางด้านขนส่ง (logistics) ทั้งนี้เป้าหมายก็เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพ ปัจจุบันบุคคลที่คิดอย่างเป็นระบบได้เป็นรูปธรรมจริงๆ และเห็นได้ชัดคือ นักพัฒนาโปรแกรมหรือคนเขียนโปรแกรม (programmer) ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีกระบวนการทางความคิดที่เป็นระบบและสลับซับซ้อน มีความคิดอย่างเป็นระบบย่อยๆ อยู่ในความคิดอย่างเป็นระบบหลัก ซึ่งเป็นความสามารถพิเศษเฉพาะบุคคล

แต่นั่นก็คือการทำงานที่ขึ้นอยู่กับเฉพาะบุคคล ซึ่งต่างกับชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลทั่วไป โดยจะเกี่ยวข้องกับงาน บุคคล และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างและแปรเปลี่ยนตลอดเวลา และเพื่อให้ท่านได้เข้าใจในหลักการง่ายๆ ของการคิดอย่างเป็นระบบซึ่งปกติทุกคนก็มีอยู่แล้วนั้น

โดยในเบื้องต้นขอยกตัวอย่างการรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว ปกติแล้วจุดประสงค์หลักในการรับประทานอาหารของทุกคนก็คือ "อิ่ม" โดยมีจุดมุ่งหมายรองซึ่งแตกต่างกันแต่ละบุคคล เช่น อาหารมื้อนั้นต้องอร่อย อาหารมื้อนั้นต้องครบ (เกือบครบ) 5 หมู่ ราคาประหยัด อาจมีเป้าหมายย่อยลงไปคือ ร้านที่จะไปรับประทานอยู่ใกล้ที่ทำงาน หรือเป็นร้านทางผ่านที่ต้องเดินทางไปต่อ เป็นต้น เมื่อเราไปถึงร้านอาหารที่ขายข้าวแกงโดยเราไม่รู้ล่วงหน้าว่าวันนี้ร้านค้าทำกับข้าวอะไรบ้าง ดังนั้นเมื่อเราไปเห็นอาหารเราก็จะเลือกเพื่อตอบสนองความต้องการของตน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความพึงพอใจหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับระดับความต้องการของคนคนนั้น แต่ท้ายสุดแล้วทุกคนก็จะอิ่ม ซึ่งความคิดที่เกิดขึ้นในระหว่างนั้นล้วนเป็นความคิดอย่างเป็นระบบทั้งสิ้นโดยมีจุดมุ่งหมายหลักก็คือ "อิ่ม"

แต่ในภาวะการทำงานจริงๆ โดยเฉพาะบุคคลระดับหัวหน้างานขึ้นไป ความคิดอย่างเป็นระบบมีความสำคัญอย่างมาก เพราะงานจะเข้ามาตลอดเวลาเหมือนกับสายพานลำเลียง แต่หากเราไม่มีกระบวนการทางความคิดที่ดีหรืออย่างเป็นระบบแล้ว งานก็เดินหรือลำเลียงออกไปไม่ได้

และนั่นก็คือปัญหาที่จะตามมาอีกหลายอย่าง เพราะฉะนั้น จะเห็นว่าความสำคัญของงานก็จะแปรผันตามระดับความรับผิดชอบของเรา ดังนั้นคนที่เป็นระดับหัวหน้างานขึ้นไปจะต้องหมั่นทำเป็นประจำ

ทำอย่างไรที่จะคิดอย่างเป็นระบบ (ซึ่งจริงๆ แล้วมีหลักสูตรในการอบรม) ขั้นแรกต้องฝึกจินตนาการ (ไม่ใช่เพ้อฝัน) โดยมีเหตุมีผล เป็นการจำลองเหตุการณ์ทางความคิด ซึ่งคนที่จะทำการ simulation ได้ดี คนคนนั้นจะต้องมีประสบการณ์หรือพื้นฐานในเรื่องนั้นดีด้วย เพราะไม่เช่นนั้น simulation ก็จะไม่เป็นจริง

แต่ถ้าเราไม่รู้ล่ะ... ก็ต้องหาข้อมูลและทำให้ตัวเองรู้ให้ได้ไม่เช่นนั้นความล้มเหลวหรือความผิดพลาดก็จะตามมา ท่านลองคิดซิว่าถ้าท่านต้อง รับผิดชอบจัดงานเลี้ยงพนักงานประจำปี หรือจัด พนักงานไปอบรมดูงานนอกสถานที่ ท่านจะต้องทำอย่างไรบ้าง โดยคนที่ไม่อยากคิดมากอาจใช้วิธีจ้างคนมาดำเนินการแทน ในงบประมาณที่ได้รับ ซึ่งแน่นอนว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นผู้รับจ้างก็จะบวกค่าดำเนินการ (ค่าความคิดของเขา) เข้าไปด้วย แต่ถ้าเราทำเองล่ะ...จะประหยัดกว่าหรือไม่

การทำงานในปัจจุบันก็เช่นกัน เราต้องตัดสินใจทำอะไรก่อนหลังอยู่ตลอดเวลา ซึ่งตามที่เราได้เรียนหรืออบรมมาก็จะมีการจัดลำดับการทำงานอยู่ 4 อย่างด้วยกัน คือ

1.งานด่วน และสำคัญ

2.งานด่วน แต่ไม่สำคัญ

3.งานไม่ด่วน แต่สำคัญ

4.งานไม่ด่วน และไม่สำคัญ

เกือบทั้งหมด ก็จะเลือกทำงานด่วนและสำคัญเป็นอันดับแรก ถ้าถามถูกมั้ย ก็ตอบว่าไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกทั้งหมด เพราะในชีวิตการทำงานจริงเราจำเป็นต้องให้มีผลงานออกมาในแต่ละวันโดยเฉพาะงานที่เจ้านายสั่ง

ซึ่งบางครั้งเราอาจจะต้องเอางานที่ไม่ด่วนและไม่สำคัญก่อน หากงานนั้นใช้เวลา 5-10 นาทีหรือเพียง 1 นาที (ออกคำสั่ง) ซึ่งนั่นคือผลงานที่ออก มาแล้วอย่างน้อย 1 อย่าง แต่ถ้าท่านทำงานด่วนและสำคัญก่อน ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาครึ่งวัน เจ้านายอาจจะเดินมาหาท่านหลายรอบ เพราะยังไม่มี งานออกมาเลยสักอย่าง คุณคิดว่าเจ้านายจะคิดอย่างไร ???

การคิดอย่างเป็นระบบไม่ใช่แค่เป็นการสร้างให้บุคคลหรือทีมงานมีความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นการมองภาพรวมเท่านั้น ยังจะช่วยขจัดปัญหาความ ซับซ้อนของงานได้อีกด้วย และยิ่งเราเป็นระดับหัวหน้างานด้วยแล้ว เราก็จะเป็นเพียงคนจัดลำดับวางแผนและตัดสินใจงานเท่านั้น หากเราคิดอย่างเป็นระบบได้ดี งานก็จะออกมาอย่างต่อเนื่องและนั่นคืออนาคตของท่าน ซึ่งเกิดจากกระบวนการทางความคิดที่เป็นระบบนั่นเอง

หน้า 6

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Business Process Modelling

Business Process Modelling and automation - OIO Arkitekturforum, june 06

http://it.toolbox.com/blogs/practical-ea/business-process-modelling-and-automation-oio-arkitekturforum-june-06-9959

Nova Bonita RC2 comes with an innovative architecture based on a generic and extensible engine, called "The Process Virtual Machine" and a powerful injection technology allowing services pluggability.
This Release Candidate version (second major step on the road for the final version) also include basic support for elements defined in the XPDL 1.0 standard as well as most the main features already supported in Bonita v3. Main focus os this release has been bug fixing, additional unit tests and minor enhancements.
http://wiki.bonita.objectweb.org/xwiki/bin/view/Main/Downloads

Business Process Management and Workflow Systems

http://syslab.dsv.su.se/profiles/blog/show?id=514725%3ABlogPost%3A4581

http://www.workflowdownload.com/workflow/workflow.htm

http://resourcecentre.hrmreport.com/cxohrm/SearchServlet?ksAction=Search&col=kslive&rf=0&srchtype=key&stype=&bi=1&ei=25&oq=qt%3AWorkflow%2B%2BJava%2BOpen%2BSource%40%40col%3Akslive%40%40type%3Akey%40%40ptype%3A%40%40sgroup%3A%40%40rf%3A0%40%40tax%3A0%40%40providerid%3A0%40%40ssn%3A0%40%40sid%3A1420074979%40%40datasource%3ACXOHRM%40%40bi%3A1~~&vf=&tId=&sId=1420074979&sSeq=1&regId=&lsTime=null&type=kw&isAdv=false&kw=Workflow++php+Open+Source

Workflow is about getting the right work to the right people at the right time, repeatedly—and knowing you have done so. Workflow is human-centric. First and foremost, workflow is a human activity that is made by and for those who use it: workflow is something that can easily be handled and understood by human beings.
UK Enterprise Workflow National e-Government Project—Workflow from a Business Perspective

Well, that sounds good, but the problems start to occur when you ask people to consider workflow in their organization, and there are usually a few main issues to deal with:

  • You'll find that people are normally experts in their own fields—there are often very few people who have an overview of the whole process that you're trying to map.
  • Sections of a large organization will often have different ways of carrying out the same overall process.
  • People don't really like to be told how to do their jobs—they especially don't like to have any extra processes imposed on them for now obvious reason—well, would you?
  • Talk of 'improved utilization of resources', 'improved performance monitoring', and such like can soon alienate the staff who are going to be using the system. They'll soon start using terms such as 'Big Brother'.
http://www.packtpub.com/article/developing-a-simple-workflow-within-sugarcrm

The Role of Business Intelligence in Knowledge Management
http://www.b-eye-network.com/view/720

Qld uni YAWLs in open source BPM
http://www.computerworld.com.au/index.php/id;396496377;fp;16;fpid;0

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ีีคนที่มีความสุขที่สุดในโลก

คนที่มีความสุข
ที่สุดในโลก








คนที่มีความสุขที่สุดในโลกไม่ใช่คนที่ร่ำรวย
คนที่มีความสุขที่สุดในโลกไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

แต่คนที่มีความสุขที่สุดในโลกคือ
คนที่มีความสบายใจเท่านั้นเอง

และความหมายของความสบายใจ
คือ

หนึ่ง
เต็มไปด้วยความเชื่อมั่น เชื่อว่าคุณมีดี คุณน่าคบหา และคุณทำได้

สอง
รู้จักตัวเอง ยอมรับในข้อบกพร่องของตัวเอง และพร้อมจะปรับปรุงเสมอ

สาม
ไม่ดื้อดึง ถ้าวันวานคุณเคยทำผิดพลาด คุณก็ยินยอมเปลี่ยนแปลงและรับฟังคนอื่น
สี่
เห็นค่าของตัวเอง คุณไม่คิดว่าตัวเองช่างไร้ค่า คุณจึงมีความสุขในใจเสมอ

ห้า
วิ่งหนีความทุกข์ เมื่อรู้ตัวว่าตกลงไปในความทุกข์ คุณก็รีบหาทางหลุดพ้น ไม่จมอยู่กับมัน

หก
กล้าหาญเสมอ คุณกล้าเปลี่ยนแปลงและกล้ารับมือกับสิ่งแปลกใหม่หรือปัญหาต่างๆ

เจ็ด
มีความฝันใฝ่ เมื่อชีวิตมีจุดหมาย คุณก็จะเดินไปบนถนนชีวิตอย่างมีความหวัง ไม่เลื่อนลอย

แปด
มีน้ำใจอาทร คุณพบความสุขในใจเสมอถ้าเป็นผู้ให้แก่ผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

เก้า
นับถือตัวเอง ไม่ดูถูกตัวเองด้วยการลดคุณค่าและทำในสิ่งที่เสื่อมเสียต่อตัวเอง

สิบ
เติมสีสัน สร้างรอยยิ้มให้ชีวิตของคุณและคนรอบข้าง รู้จักหยอกล้อคนอื่น ๆ และตัวเองด้วย

ความสุขนั้นคือพอใจกับวิถีชีวิตของตัวเอง
และวางฝันของตัวเองตามกำลังที่ตนทำได้ การได้รับวัตถุและความสำเร็จในหน้าที่การงาน ทำให้คุณพึงพอใจและยกระดับฐานะของคุณเท่านั้น เป็นการสร้างเสริมความสุขเพียงภายนอก และมันมิได้อยู่กับคุณอย่างมั่นคงถาวรตลอดไป

เพราะคนเรานั้นย่อมมีความต้องการเพิ่มขึ้นเสมอไม่มีวันหยุดนิ่ง


ความสุขที่แท้จริงเกิดจากข้างในจิตใจของคนเรา
และถ้าจิตใจของคุณไม่ว่าง เต็มไปด้วยอารมณ์อันตรายต่าง ๆ ความสุขก็จะเกิดขึ้นได้ยากยิ่ง เพราะความสุขนั้นมักเกิดขึ้นท่ามกลางความสงบเสมอ

ชีวิตของคนเรานั้นไม่ยืนยาวนัก
คุณสามารถหาความสุขให้ตัวเองได้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องมุ่งหวังยามแก่เฒ่า ค่อยอยู่อย่างสงบสุขอย่างที่หลายคนเชื่อกัน เชื่อเถอะ เราจะสามารถมีความสุขที่สุดในโลกได้ ในตอนนี้ ถ้าเราเริ่มจากตัวเราเอง !!!