วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เกิดอะไรขึ้นในเวลา : Time in Powers of TEN

เกิดอะไรขึ้นในเวลา : Time in Powers of TEN

?เกิดอะไรขึ้นในเวลา : Time in Powers of TEN
ท่องไปกับเรื่องราวของช่วงเวลาต่างๆ เหล่านี้
  • เรื่องราวของจักรวาลวิทยา ที่อธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่เศษเสี้ยววินาทีแรกของบิกแบงที่นำไปสู่การเกิดเป็นเอกภพจวบจบปัจจุบัน และต่อไปในอนาคตที่เดินทางไปถึงจุดจบของมัน
  • เรื่องราวของการสลายตัวของธาตุหรืออนุภาคต่างๆ ที่แสดงให้เห็นว่าการมีอยู่ของมันบางตัวนั้นสั้นเสียจนมีคำถามว่าแล้วมันจะเกิดมายังไง หรือแม้กระทั้งบางตัวที่อายุยาวนานเสียจนเกินกว่าอายุของเอกภพเสียอีก
  • เรื่องราวของวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต โดยการย้อนเวลากลับไปหาคำตอบว่า บรรพบุรุษจำพวกแรกของสิ่งมีชีวิตถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้เมื่อใด
  • เรื่องราวของเคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีคาบเวลาของการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกันไปตั้งแต่สั้นมากๆ ไปจนถึงยาวมากเสียจนพลังงานของมันมีค่าอันน้อยนิด แต่กลับให้คุณมหาศาล
เวลาเป็นปริมาณที่เกี่ยวข้องอย่างมากกับการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเวลาในการทำข้อสอบของนักเรียน เวลาในการทำงาน 1 โปรเจคสำหรับมนุษย์เงินเดือน เวลาที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอล 1 แมตซ์ หรือแม้กระทั่งเวลาที่ใช้ในการเดินทางไปทำงานในแต่ละวัน เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงเลี่ยงที่จะกล่าวไม่ได้เลยว่าเวลามีค่ามากมายมหาศาลขนาดไหนสำหรับเด็กนักเรียนที่ทำข้อสอบไม่ทัน มนุษย์เงินเดือนที่ต้องปิดจ็อบโครงการให้ทันวันเดดไลน์  ทีมฟุตบอลที่ตามหลังอยู่ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ และเวลาที่ฉิวเฉียดในการตอกบัตรของคนทำงานในวันที่รถติด
เวลาในแง่ของกระบวนการณ์ทางวิทยาศาสตร์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน นิยามของมันในทางวิทยาศาสตร์อาจหมายถึง ชั่วระยะหนึ่งของการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในจักรวาลของเรานี้มีเหตุการณ์ต่างๆมากมายที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับเวลาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ปกติหนึ่งๆ ที่มนุษย์รับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลง เช่นการเกิดฤดูกาลต่างๆ หรือเหตุการณ์ที่มีระยะสั้นเกินกว่ามนุษย์จะแยกออก เช่นเวลาที่แสงเดินทางมาเข้าตาเราหลังจากเปิดไฟ และสุดท้ายช่วงระยะเวลายาวนานเกินกว่ามนุษย์จะรับรู้ได้ เช่นอายุของโลกใบนี้ แต่นั่นก็ไม่เกินไปกว่าความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถคำนวณระยะเวลาต่างๆ ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ
เวลาที่จะได้พบในหนังสือเล่มนี้ครอบคลุมช่วงระยะเวลาทั้งหมดที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเรา และในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาสนี้ ตั้งแต่ช่วงเวลาที่น้อยที่สุดเท่าที่มนุษย์รู้จักคือเวลาของพลังค์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันผู้ที่ให้กำเนิดทฤษฎีเกี่ยวกับการแผ่รังสีของวัตถุดำซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในการศึกษากลศาสตร์ควอนตัม จนไปถึงระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดเกินกว่าเราจะจินตนาการได้ คือเวลาการสิ้นสุดของหลุมดำที่กลืนกินกาแล็กซีทางเชือกเผือกของเราไปก่อนหน้านั้นด้วยซ้ำ เกิดเป็นนิรันดร์อันมืดมิด ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่กล่าวในหนังสือเล่มนี้อธิบายด้วยทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่หลากหลาย ได้แก่ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ กลศาสตร์ควอนตัม กลศาสตร์นิวตัน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและทฤษฎีความโน้มถ่วง โดยที่อาจจะเป็นไปได้ในอีกไม่ช้าไม่นานนี้ว่านักวิทยาศาสตร์จะสามารถรวมทุกทฤษฎีเหล่านี้เข้าด้วยกันเกิดเป็นทฤษฎีที่อธิบายได้ทุกเรื่องที่เรียกว่า  “ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง”

สารบัญ : เกิดอะไรขึ้นในเวลา : Time in Powers of TEN

    • 10^0 วินาที = 1 วินาที
    • 10^1 วินาที = 10 วินาที
    • 10^2 วินาที = 100 วินาที = 1 นาที 40 วินาที
    • 10^3 วินาที = 1,000 วินาที = 16 นาที 40 วินาที
    • 10^4 วินาที = 10,000 วินาที = 2.78 ชั่วโมง

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Eisenhower Box วิธีจัดลำดับความสำคัญ

วิธีจัดลำดับความสำคัญของงานและบริหารเวลาด้วย Eisenhower Box

วิธีจัดลำดับความสำคัญของงานและบริหารเวลาด้วย Eisenhower Box
26/06/17   |   50.5k   |  
“ค่า”
เสียงหญิงสาวคนหนึ่งตะโกนตอบรับเมื่อเสียงเรียกจากหัวหน้าจบลง ก่อนจะรีบวางมือจากงานทุกอย่าง แล้วรีบตรงไปหาหัวหน้าทันที และเมื่อผ่านไปไปไม่ถึงสิบนาที หญิงสาวคนเดิมก็เดินกลับมาที่โต๊ะ พร้อมกับแฟ้มเอกสารกองใหญ่... มันก็คืองานชิ้นใหม่ที่ได้รับมาจากหัวหน้าสด ๆ ร้อน ๆ นั่นเอง

หญิงสาวมองแฟ้มที่อยู่ตรงหน้า สลับกับจอคอมพิวเตอร์ ก่อนเหลือบไปมองลิสต์งานที่ยาวเป็นหางว่าวอยู่ในสมุดโน้ต ก่อนจะถอนหายใจออกมาเฮือกใหญ่ อย่างไม่รู้ว่าจะเริ่มเคลียร์งานไหนก่อนดี

การจัดลำดับความสำคัญนับเป็นปัญหาที่หลาย ๆ คนพบในการทำงาน หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวันทั่วไป แม้เราจะรู้ตัวดีว่ามีหน้าที่อะไรบ้างที่ต้องทำ แต่หลายครั้งก็ยังไม่สามารถจัดการได้ว่าควรจะทำอะไรก่อนหรือหลังดี จนนำมาซึ่งปัญหาที่ทำให้ทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัววุ่นวาย และเหนื่อยโดยไม่จำเป็น เพื่อช่วยคนทำงานแก้ปัญหานี้
JobThai.com/REACHจึงมีวิธีการจัดลำดับการทำงานดี ๆ มาฝาก ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า Eisenhower Box ซึ่งที่มาจากแนวคิดของ Dwight D. Eisenhower อดีตประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา


ก่อนทำ Eisenhower Box ให้ตั้งคำถามกับตัวเองเกี่ยวกับงานแต่ละชิ้นว่า งานนั้นสำคัญหรือไม่ และงานนั้นเร่งด่วนไหม จากนั้นแบ่งประเภทงานออกเป็น 4 อย่าง คือ
  • งานที่มีความสำคัญและเร่งด่วน เป็นงานที่ต้องทำทันที ถ้าไม่เสร็จอาจเกิดปัญหาใหญ่ พยายามอย่าให้มีงานในช่องนี้มากเกินไป
  • งานที่สำคัญแต่ยังไม่เร่งด่วน เป็นงานที่ต้องหาเวลาจัดการทีหลัง ควรจะเป็นงานที่เราต้องใช้เวลาในการทำ แต่ระวังอย่าเผลอปล่อยทิ้งไว้เพราะคิดว่าเป็นงานไม่เร่งด่วน
  • งานที่ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน เป็นงานที่ให้คนอื่นทำแทนได้ แต่ถ้าฝากไม่ได้ควรจะพยายามใช้เวลาเคลียร์ให้เร็วที่สุด 
  • งานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน งานที่ไม่ควรมีอยู่ หรือควรจะทำในเวลาว่าง ซึ่งไม่ส่งผลเสียอะไรกับชีวิตการทำงานมากนัก
     

Eisenhower Box (อาจจะเรียกว่า Eisenhower Method หรือ Eisenhower Matrix) เป็นวิธีการบริหารเวลาด้วยการจัดลำดับความสำคัญในการทำงานง่าย ๆ มีวิธีการคือตั้งคำถามกับตัวเองว่า
  • งานนั้นสำคัญหรือไม่ โดยเกณฑ์การให้ความสำคัญก็คืองานหรือสิ่งที่เราจะต้องทำนั้นจะช่วยให้เรารักษาสถานะในการทำงานไว้ได้ หรือเข้าใกล้เป้าหมายในอนาคตได้ไหม
  • งานนั้นมีความเร่งด่วนหรือไม่ ต้องทำตอนนี้เดี๋ยวนี้ หรือจำเป็นต้องทำตอนนี้เพราะงานต้องส่งไม้ต่อไปให้คนอื่นอีกทอด หรือเอาไว้ทำทีหลังได้   

วิธีการนำไปใช้งาน

ใช้กระดาษเปล่า 1 ใบ เขียนตารางนี้ลงไปในกระดาษ แล้วเอาเอาลิสต์รายการงานที่คุณต้องทำมา แบ่งงานแต่ละอย่างในลิสต์ลงในช่องทั้ง 4 ช่อง ตามความสำคัญและความเร่งด่วน




ด่วน

ไม่ด่วน
 
สำคัญ


- รายงานที่ต้องใช้ในที่ประชุมพรุ่งนี้  - แผนการทำงานในสัปดาห์หน้า
 - Project ใหม่ที่จะนำเสนอในที่ประชุมในครั้งหน้า
 - แผนการท่องเที่ยวกับครอบครัวในวันหยุด
 
ไม่สำคัญ

 - โทรศัพท์หรือข้อความต่าง ๆ
 - เพื่อนร่วมงานที่มาขอความคิดเห็นเรื่องงาน
 - ตามติดกระทู้ดังในอินเทอร์เน็ต
 - ช็อปปิ้งออนไลน์

งานที่มีความสำคัญและเร่งด่วน: งานประเภทที่ต้องทำทันที

ต้องรีบทำก่อนเป็นงานประเภทที่ว่าถ้าเสร็จไม่ทันชีวิตจะตกอยู่ในหายนะ เช่น งานที่ใกล้ถึงกำหนดส่ง งานที่อาจจะเกิดวิกฤติที่ต้องรีบแก้ไข การเคลียร์งานในช่องนี้ให้เสร็จได้แต่ละงานนั้นกินพลังชีวิตไปมากเป็นไปได้อย่าพยายามให้มีงานที่เกิดในช่องนี้เยอะเกินไป นั่นเท่ากับว่าเราทำงานในแบบเชิงรับมากกว่าเชิงรุก ถ้ามีงานที่ตกอยู่ในช่องนี้เยอะ วิธีการที่นำมาจัดลำดับความสำคัญก็คือ เดดไลน์ของงาน หรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากงานนั้น

งานที่สำคัญแต่ยังไม่เร่งด่วน: งานประเภทที่ต้องหาเวลาจัดการในภายหลัง

ควรจะเป็นงานที่เราใช้เวลาด้วยมากที่สุด เช่น งานประเภทการวางแผน งานสร้างสรรค์ รวมถึงการสร้าง และรักษาความสัมพันธ์ต่าง ๆ ด้วย งานในช่องนี้จึงเป็นงานที่จะช่วยเราบรรลุเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ถึงงานในช่องนี้เราจะเห็นว่ามันไม่เร่งด่วนก็จริง แต่พยายามกำหนดแผนและเวลาในการทำงานของงานที่อยู่ในหมวดนี้ไว้ด้วย ถ้าเผลอปล่อยทิ้งไว้เพราะคิดว่าเป็นงานไม่เร่งด่วนโดยไม่ทำอะไรกับมันสักทีมันอาจจะย้ายไปอยู่ในกลุ่มความสำคัญและเร่งด่วนได้ 

งานที่ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน: งานประเภทที่ให้คนอื่นช่วยทำแทนได้

งานประเภทนี้จะเป็นงานประเภทที่ทำเสร็จไปก็ไม่ได้ทำให้เข้าใกล้เป้าหมายในการทำงานมากขึ้น แต่ก็มักเป็นงานที่เข้ามาแทรกบ่อย ๆ ระหว่างวัน เช่น ประชุมย่อย โทรศัพท์จากลูกค้า เพื่อนร่วมงานโผล่เข้ามาขัดจังหวะ หรืออีเมลที่ต้องตอบรายละเอียดจุกจิกซ้ำไปซ้ำมา งานในช่องนี้ให้พิจารณาว่าเราสามารถฝากให้คนอื่นช่วยทำแทนได้หรือไม่ ถ้าฝากไม่ได้พยายามใช้เวลาเคลียร์เรื่องนี้ให้เร็วที่สุด

งานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน: งานที่ไม่ควรมีอยู่ หรือควรจะทำในเวลาว่าง

งานที่ไม่ทำก็ไม่มีผลอะไร นอกจากจะทำให้เสียเวลาแล้ว ยังอาจจะทำให้เราห่างไกลเป้าหมายในการทำงานออกไปอีก ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วเก็บสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ไปทำวันอื่น หรือเอาไปทำในเวลาว่างจะดีกว่า

การนำไปปรับใช้จริงในช่วงแรกอาจจะยากในการแยกแยะสิ่งต่าง ๆ แต่ถ้าเราเข้าใจตัวเองดีและรู้ว่าเป้าหมายของตัวเองคืออะไร เราจะสามารถแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญได้ดียิ่งขึ้น

https://www.jobthai.com/REACH/career-tips/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2-eisenhower-box.html
เร่งด่วนและสำคัญ:
ไม่ต้องคิดมาก แต่ให้ลงมือทำทันที ที่สำคัญคือทำเป็นอย่างแรกของวันด้วย…ข้อดีหนึ่งของการทำสิ่งสำคัญคือ เมื่อทำแล้วจะช่วยลดสิ่งที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญในข้อถัดไปด้วย เช่นการออกกำลังกาย เราก็ไม่ต้องไปหาหมอบ่อยๆ ในกรณีฉุกเฉินอีกต่อไป หรือการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จะเพิ่มสติ ลดอาการเลินเล่อ ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน ไม่เสียเวลาในการตามแก้ไขสิ่งที่ทำผิดพลาด
เร่งด่วนไม่สำคัญ:
ถามตัวเองว่าจะลดสิ่งเหล่านี้ลงได้อย่างไร (แม้จะยังทำไม่ได้ในตอนนี้) หาทางทำสิ่งที่เรียกว่า Work smart เช่นถ้าเราสามารถจ่ายเงินค่าหอผ่านแอพพลิเคชันได้แทนที่จะเสียเวลาไปธนาคารก็จงรีบทำ…กลยุทธ์คือพยายามลดเวลาที่ใช้ไปในกล่องนี้ให้มากที่สุด แล้วเอาเวลาไปโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ในกล่องช่องถัดไป
ไม่เร่งด่วนสำคัญ:
ข้อนี้คือจุดตายที่สำคัญที่สุด !!!
มันคือสิ่งที่ทำให้ผู้สูงวัยจำนวนมากต้องนึกเสียดายวันวัยในขณะที่พวกเขายังเยาว์และมีแรงกำลังในการทำสิ่งต่างๆวิธีที่จะไม่พลาดคือการกำหนดเป้าหมาย และก่อร่างสร้างวินัย และเริ่มต้นทำทันที…ข้อนี้ไม่มีใครบังคับให้ทำหรอกนะครับ!!!แต่เราต้องลงมือทำด้วยตัวเอง อย่างปัจจุบันผมก็แบ่งเวลาในการอ่านหนังสือ Non-Fiction ดีๆ ทุกวันวันละ 4 ชั่วโมงซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพในงานเขียนของผมได้…
แล้วของคุณผู้อ่านล่ะครับ สิ่งนั้นคืออะไร ???
ไม่เร่งด่วนไม่สำคัญ:
สั้นๆ นะครับ…ตัดมันทิ้งเสียถ้าหากทำได้แต่ก็ไม่ง่ายเท่าไหร่หรอกนะครับ เพราะความบันเทิงรูปแบบต่างๆ
ที่มาพร้อมกับการพัฒนาของเทคโนโลยี…การใช้เวลาไร้สาระทั้งวัน…ประเด็นคือไม่ได้กำลังจะบอกว่าไม่ให้มีช่วงเวลาพักผ่อนเลย ในทางกลับกันการพักผ่อนเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญมากๆ เช่นกัน ที่จะช่วยให้เราทำงานได้อย่างเต็มที่และยืนระยะได้อย่างยาวนาน
จงแยกให้ออกระหว่างการรีชาร์ตแบตกับการเสพติด
มีงานวิจัยออกมาแล้วว่าหลายๆครั้งการเล่นโซเชียลมีเดียไม่ได้ทำให้เรามีความสุขแต่อาจทำให้เกิดการเปรียบเทียบและทุกข์ยิ่งกว่าเดิมแต่เราก็ยังเล่นมันเพราะ platform เหล่านี้ถูกออกแบบมาทุกอณูให้เราเสพติด
(ใครอยากศึกษาเพิ่มเติมสามารถหาอ่านในหนังสือชื่อ Hooked: How to Build Habit-Forming Products)

มีงานศึกษาพบว่าคนเรามักจะชอบทำงานที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ มากกว่างานที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน ซึ่งเป็นผลมาจากปรากฎการณ์ทางจิตวิทยาที่เรียกว่า ‘The Mere Urgency Effect’ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วมันเป็นเพียง “ภาพลวงตา” ที่เกิดขึ้นเพราะอันที่จริงเวลาที่เราเหลืออยู่นั้นก็เพียงพอที่จะใช้ในทำงานที่ ‘สำคัญมากกว่า’ ถึงแม้จะไม่เร่งด่วนก็ตาม [รูปโดย Bri Williams]
เราสามารถเอาชนะ The Mere Urgency Effect หรือ การที่เราผัดผ่อนไม่ยอมทำสิ่งที่เราอาจมานั่งเสียดายในภายหลังได้ด้วย ได้ด้วย 3 แนวทางนี้ 1.การหาแรงบันดาลใจ ‘ภายใน’ เพื่อลงมือทำงานที่สำคัญซึ่งอาจจะยากแต่ในท้ายที่สุดเราจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Active motivation ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้
2.ส่วนที่ยากที่สุดคือตอนเริ่ม แต่เมื่อเริ่มทำแล้วมันก็คงไม่ยาก ยิ่งถ้าเราทำให้งานที่สำคัญนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของนิสัยไปเลยก็ยิ่งทำให้เรารักษาความสมํ่าเสมอในการทำงานนั้นได้ ซึ่งสามารถอ่านได้ในหัวข้อที่ 2 ของบทความที่มีชื่อว่า “Done is better than perfect”
3.ในโลกยุคใหม่ที่มีสิ่งวุ่นวาย เช่นโซเชียลมีเดีย การที่เราโฟกัสกับงานที่สำคัญที่สุดอย่างใจจดใจจ่อ
ได้กลายเป็นทักษะใหม่ในศตวรรษที่ 21 ในการสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยม ซึ่งผู้อ่านสามารถเรียนรู้หลักการที่มีชื่อว่า DEEP WORK  ได้ในบทความนี้ครับ

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561

คนเราเกิดมาทำไม? อะไรคือนิยามของความรัก?

ชีวิตของพวกเรา ที่ไม่สามารถอยู่รอดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น

Q: ตัวเองเกิดมาทำไมครับ
A: ผมไม่เคยคิดเรื่องที่คุณยกขึ้นมาถามเลยนะ ผมเป็นแค่ biological entity ที่ไม่ต้องการความหมายของชีวิตที่ดีงามอะไร
Me : หรือเองก็เป็นแค่ entity ที่ไม่ต้องการความหมายของชีวิตที่ดีงามอะไรเลย
A: ตั้งแต่แรกเริ่มแล้วนะ ชีวิตเราไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากคนอื่นๆ ลองนึกถึงว่ามันจะเป็นเป็นไปได้ไหม สำหรับคุณที่จะเป็นหรือพูดอะไรบางอย่างประมาณนี้โดยไม่มีคนอื่น คุณไม่สามารถอยู่รอดได้ตั้งแต่เกิดมาแล้วถ้าไม่มีคนอื่นๆ
Me : เราจะอยู่คนเดียวรอดได้จริงๆ ไหม เราจะมีความสุขไหมถ้าไม่มีคนอื่นไม่มีความสัมพันธ์กันคนอื่นเลย
Q: อาจารย์คิดว่าอะไรที่เอามาตัดสินว่าคนคนนี้ประสบความสำเร็จในชีวิตคะ
A: ผมอยากจะพูดว่า ผมไม่ใช่พระเจ้า เพราะฉะนั้น ผมไม่สามารถตัดสินใครได้เลย
Me : เราไม่ควรตัดสินใครเลย เพราะเราไม่รู้เบื้องหลังความคิดของทุกคน และใช่เลยผมไม่ใช่พระเจ้า และไม่มีอำนาจดลบันดาลใดๆ
Q:  ความรักคืออะไร
A: บางที (ความรัก) มันคงเป็นความสุขจากการเจ็บป่วยทางจิตใจล่ะมั้ง
ที่ผมใช้คำว่าบางที เพราะในโลกยุคโบราณ ความรักถูกมองว่าเป็นความเจ็บป่วยนะ ด้วยการเติบโตขึ้นมาของคริสตศาสนา ความรักในรูปแบบอันศักดิ์สิทธิ์ (agape) เลยครอบครองความหมายไป และในยุคที่สังคมชนชั้นกลางเกิดขึ้นมา ความรักก็ได้แสดงออกถึงชัยชนะ โดยเฉพาะความรักแบบโรแมนติกที่ใช้พลังก้าวข้ามชนชั้น
ซินเดอเรลล่าก็เป็นโมเดลความรักในทำนองนี้ ถ้าความรักคือรูปแบบหนึ่งของความเจ็บป่วย แล้วเราจะรักษามันยังไง? ถ้าเราใช้โมเดลแบบซินเดอเรลล่า คำตอบคงเป็นการตามหารองเท้าอีกข้างที่หายไป หรือการรักษาตัวเองก็คงเป็นทางเลือกหนึ่ง
Me : ความรักอาจเป็นทางเลือก เลือกเข้าไปในความสัมพันธ์และบ้างเราเป็นผู้เลือกบ้างคนอื่นเป็นผู้เลือก เลือกวางให้เราอยู่ตรงไหนในชีวิตเขาหรือให้เขาวางอยู่ตรงไหนในชีวิตเรา
 Q: อาจารย์ช่วยอธิบายคำกล่าวของอาจารย์ที่ว่า “ในสมัยก่อนความรักเป็นอาการป่วยชนิดหนึ่ง” คือผมไม่ค่อยเข้าใจอะครับ
A: ลองดูคนที่กำลังมีความรักสิ ดูเหมือนจะควบคุมตัวเองไม่ได้เลยนะ 555
Me : เมื่อเข้าใจแล้วเราน่าจะควบคุมความรักได้ จัดสรรได้ และถ้าไม่มีเงื่อนไขอะไรเลยให้ลองถามตัวเองดูว่าเราจะทำอย่างไรกับมัน และเงื่อนไขต่างๆ เราจะจัดการกับมันอย่างไร
Q: อาจารย์คิดว่า มุมมองเรื่องอายุกับความรัก ของผู้หญิงกับผู้ชายแตกต่างกันยังไงครับ? ไม่เอาฐานะมาเกี่ยวก่อนนะครับ
A: ผมไม่คิดว่าจะสามารถตอบคำถามนี้ได้ ผมคิดว่าชนชั้นคือสิ่งมีความเกี่ยวข้องด้วย มันมีบทบาทสำคัญต่อความคิดเกี่ยวกับความรักอยู่เสมอๆ
 Me : เอาเหตุผลทั้งหมดออกไป ยังไม่รู้ว่าจะเป็นความรักอยู่ไหม แต่ภูมิหลังเบื้องหลังต่างๆ มีผลกับการจัดการความรักของคนทุกเพศทุกวัยทุกชนชั้น
Q: อาจารย์ครับทำไมความรักต้องเป็นสิ่งที่เรา(มนุษย์)ต้องปิดบังแล้วรอวันที่จะเปิดเผยมันล่ะครับ
A: ผมไม่ค่อยเข้าใจสิ่งที่คุณหมายถึงเท่าไหร่ ถ้าคุณหมายถึงความรักที่มาแล้วก็จากไปอยู่เรื่อยๆ โดยที่เราไม่ต้องไปตามหามัน ถ้าเป็นแบบนั้น คนๆ หนึ่งจะสามารถทำตัวเป็นปกติได้ เพราะไม่ว่ายังไงก็ตาม เดี๋ยวความรักก็จะมาเอง พอเป็นแบบนี้มันก็เหมือนโชคชะตาเหมือนกัน
 Me : ถ้าไม่มีเหตุผลอะไรเลย เมื่อเราชอบเราควรแสดงออกโดยไม่ต้องรออะไร บางคนรอโชคชะตาจนความรักหลุดลอยไป บางคนพยายามแทบตายความรักก็ไม่เป็นดั่งใจ
Q: อาจารย์ครับ ทำไมร้านเหล้าเมืองไทยต้องเปิดแต่เพลงอกหัก
A: คุณคาดหวังอะไรจากเพลงล่ะ? เพลง Pop มักพูดถึงเรื่องการตกหลุมรัก การเลิกรัก และความรักแบบ Sexual
 Me: คนผิดหวังมีเยอะมั้ง และคนก็ชอบหวังสูงกว่าที่ตัวเองควรจะได้ แต่ความรักมันจะยังคงเป็นสิ่งสวยงามและไม่ควรเลิกรัก ต้องกลับไปดูว่าคุณรักเพราะอะไร
Q: คนที่หึงกับคนที่ถูกหึง ใครมีอำนาจในความสัมพันธ์มากกว่ากันเหรอครับ
A: ความอิจฉานำไปสู่ อาชญากรรมของความปรารถนา ระหว่างคนสองคน ถ้าหนึ่งคนถูกฆ่า คิดว่าใครจะมีอำนาจมากกว่ากัน?
 Me : อยู่ที่ความสัมพันธ์นั้นคุณมีพันธสัญญาอะไร และคุณอยู่ในจารีตแบบไหน
Q: อาจารย์ครับ นิยามความรักของอาจารย์คืออะไรครับ
A: ขอโทษด้วยนะ ผมไม่รู้เรื่องนี้เลย
Me : จนถึงวันนี้ ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ขอโทษด้วยนะทุกคนที่เข้าไปเป็นความทรงจำแย่ๆ
edit note
Q : https://thematter.co/pulse/thanes-group-relationship-dialogue/54191
A : Thanes Wongyannava
Me : เฉลิมชัย เอื้อวิริยะวิทย์ 

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

5 things to quit! 5 เรื่องต้องเลิก!

1. Trying to please everyone การพยายามทำให้ทุกคนพอใจ 2. Fearing change กลัวการเปลี่ยนแปลง 3. Living in the past จมอยู่กับอดีต 4. Putting yourself down ทำให้ตัวเองต้องรู้สึกแย่ 5. Overthinking คิดมากคิดเยอะเกินไป

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เราไม่ได้ห่างกันมากนะ ห่างกันแค่นี้เอง

1.Mercury 57,910,000 กม. จากดวงอาทิตย์
2.Venus 108,200,000 กม. จากดวงอาทิตย์
3.Mars   227,900,000 จากดวงอาทิตย์
4 Jupiter 778,500,000 จากดวงอาทิตย์
5 Saturn  1,503,983,449 กม.จากดวงอาทิตย์
6  Uranus  2,871,000,000 กม.จากดวงอาทิตย์
7  Neptune  4,498,000,000 กม.จากดวงอาทิตย์
8  ดาวเคราะห์แคระ พลูโต. (หัวใจ)ไกลสุดขอบฟ้า.7,375,927,931 กม
ระบบดาว Alpha Centauri ห่างจากระบบสุริยะ 4.3 ปีแสง
อารยธรรมมนุษย์บนโลกเรานับว่าช่างเยาว์และไร้เดียงสายิ่งนัก อวกาศไม่ว่ามันจะมีจุดกำเนิดเมื่อไหร่และจะจบลงอย่างไร อารยธรรมมนุษย์ที่เราคิดว่ายิ่งใหญ่นั้นแท้จริงเป็นเพียงเศษอณูธุลีในอวกาศที่เกิดขึ้นและอาจดับไปเงียบๆโดยหากมีใครสักคนที่สร้างอวกาศขึ้นมาเขาอาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเคยมีอารยธรรมอย่างเราๆดำรงอยู่ อายุของอวกาศอย่างน้อยก็นับว่าโบราณยิ่งนักเมื่อเทียบกับวิทยาการมนุษย์ในช่วงไม่กี่พันปี มันเทียบกันไม่ได้ครับ เมื่อหันกลับมามองสังคมโลกของเรา ผมรู้สึกว่ามันไร้ค่าและเสียเวลามากที่จะมารบราฆ่าฟันกันเพื่อช่วงชิงอำนาจความเป็นใหญ่ เรายังไร้เดียงสายิ่งนัก
https://pantip.com/topic/32878218/page2