ไกลเกินจินตนาการ : PRAPAS.COM
www.Prapas.comคอลัมน์ คุยกับประภาส
นำ กระดาษพิมพ์ดีดขนาดเอสี่มาแผ่นหนึ่ง พับครึ่งครั้งแรก แล้วก็พับครึ่งครั้งที่สองครั้งที่สามทบไปเรื่อยๆ ถามว่าเมื่อพับไป 32 ครั้ง กระดาษจะมีความหนาเท่าไร
อาทิตย์ นี้ ขึ้นต้นมาผมก็ขออนุญาตชวนท่านผู้อ่านเล่นเกมด้วยกันเสียแล้ว มาลองสนุกกับความคิดกันดูสักวันเป็นไร โจทย์ข้างบนนั้นไม่ใช่คำถามเชาวน์หรือคำถามยียวนกวนประสาทอะไรเลยนะครับ ผมตั้งคำถามให้ท่านผู้อ่านลองจินตนาการดูเล่นๆ เมื่อได้คำตอบในใจไว้แล้ว เก็บคำตอบไว้ก่อนแล้วมาคุยเรื่อง "ความคิด" กัน
คำถามหนึ่งที่ผมมักถูกถามเสมอทั้งทางจดหมาย และเวลาไปบรรยายตามสถานศึกษา นั่นคือความคิดสร้างสรรค์ฝึกกันได้ไหม ตอบสั้นๆ เลยครับว่า ได้ อันที่จริงมนุษย์ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้วเต็มเปี่ยมจน แทบจะเรียกได้ว่ามันถูกแนบให้เกิดมาพร้อมกับมนุษย์เพื่อให้มนุษย์แตกต่างจาก สิ่งมีชีวิตอื่น นับแต่โลกถือกำเนิดสิ่งมีชีวิตขึ้นมา สิ่งมีชีวิตต่างวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลาและสภาพของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป สองวิธีที่ทำให้สิ่งมีชีวิตสืบสายพันธุ์ต่อไปได้ก็คือ การปรับตัว และการเอาชนะ
วิธีแรกนั้นสิ่งมีชีวิตทุกสิ่งไม่เว้นแต่มนุษย์ล้วนใช้มันอยู่
และ หลายสิ่งมีชีวิตก็ต้องสูญพันธ์หายไปเพราะกาลเปลี่ยนแปลงของโลกในบางครั้งมัน รุนแรงจนยากที่จะปรับตัวสู้ไหว ส่วนวิธีที่สองดูจะมีแต่มนุษย์เท่านั้นที่ใช้มันเป็น
วิธีที่สองนี่แหละครับ มันก็คือความคิดสร้างสรรค์นั่นเอง
กิลฟอร์ด นักจิตวิทยาชาวอเมริกันแบ่งความคิดของมนุษย์ออกเป็น 3 อย่าง
ผม ดูเขาแบ่งแล้วก็คิดตามว่า เออหนอเขาเข้าใจแบ่งดีแท้ๆ ฝรั่งคนนี้ มันทำให้เข้าใจได้ทุกครั้งว่าเวลาเราคิดแต่ละเรื่องเราคิดแบบไหนอยู่ สามแบบที่ว่าก็คือ
1.คิดแบบคำตอบถูกต้อง
2.คิดแบบประเมิน
3.คิดแบบหลายแง่มุม
คิด แบบคำตอบถูกต้อง อันนี้เราๆ ท่านๆ ก็ใช้กันอยู่ประจำเวลาบวกลบคูณหาร เช่น ขายของทอนเงิน รังวัดที่ดิน เย็บผ้าตามรอย เล่นดนตรีตามโน้ต เลื่อยไม้ตามเส้น ขับรถตามเลน ฯลฯ
คิด แบบประเมิน นึกออกไหมครับว่าเราใช้คำตอบแบบนี้ในชีวิตประจำวันอยู่บ่อยๆเหมือนกัน ตัวอย่างครับ รินน้ำดื่มใส่แก้ว(คงไม่มีใครคิดว่าจะตวงกี่ลิตร) การเตรียมเงินเพื่อไปเที่ยว การเพิ่มทหารเข้าในรักษาการณ์ในพื้นที่ การวิเคราะห์การตลาด หรือแม้แต่การตัดสินจะขึ้นเงินเดือนให้ใครเท่าไร ฯลฯ
คิด แบบหลายแง่มุม เป็นการคิดแบบหลายคำตอบ หลายทางเลือก ความคิดแบบนี้ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา และความคิดแบบนี้แหละครับคือตัวประกอบที่สำคัญที่สุดของความคิดสร้างสรรค์ สมมุติว่ามีใครสักคนคิดอย่างนี้ "กินก๋วยเตี๋ยวร้านไหนดีหนอ นายสองร้านเก่านี่รสชาดจำเจไปหน่อย" "หรือว่ามีอะไรที่อร่อยกว่าก๋วยเตี๋ยวไหมแถวนี้ พวกข้าว หรือขนมจีน" "ทำไมเราไม่เอาของอร่อยมาจากบ้านเราเองเลย" "อันที่จริงเราก็มีฝีมือนี่ ทำไมเราไม่มาตั้งร้านเสียที่นี่" "หรือว่าไปขายที่ตึกข้างๆ คนเยอะกว่าตั้งแยะ"
บอก ได้เลยว่าคนๆ นี้ก็นักคิดสร้างสรรค์คนสำคัญเลยครับ แม้ว่าการคิดแบบหลายแง่มุมจะเป็นตัวประกอบที่สำคัญที่สุดของความคิดสร้าง สรรค์ เพราะมันเป็นจุดเริ่มหลังจากนั้นเราก็จะเอาความคิดแบบประเมินและความคิดแบบ คำตอบถูกต้อง มาช่วยคิดหาคำตอบ
แต่ หลายครั้งความคิดแบบประเมิน และความคิดแบบคำตอบถูกต้องก็ถูกนำมาเป็นข้อมูลจุดประกายให้เกิดการคิดแบบ หลายแง่มุม อยู่บ่อยๆ นายกิลฟอร์ดยังเชื่ออีกว่าการฝึกคิดแบบหลายแง่มุมจะทำให้เรากลายเป็นคนที่ นักคิดสร้างสรรค์ที่ดี
การเรียนการสอนในโรงเรียนศิลปะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนครับ
ศิลปะเป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยความคิดสร้างสรรค์ ความแตกต่างเป็นสรณะที่ศิลปินยึดถือ
นำ กระดาษพิมพ์ดีดขนาดเอสี่มาแผ่นหนึ่ง พับครึ่งครั้งแรก แล้วก็พับครึ่งครั้งที่สองครั้งที่สามทบไปเรื่อยๆ ถามว่าเมื่อพับไป 32 ครั้ง กระดาษจะมีความหนาเท่าไร
อาทิตย์ นี้ ขึ้นต้นมาผมก็ขออนุญาตชวนท่านผู้อ่านเล่นเกมด้วยกันเสียแล้ว มาลองสนุกกับความคิดกันดูสักวันเป็นไร โจทย์ข้างบนนั้นไม่ใช่คำถามเชาวน์หรือคำถามยียวนกวนประสาทอะไรเลยนะครับ ผมตั้งคำถามให้ท่านผู้อ่านลองจินตนาการดูเล่นๆ เมื่อได้คำตอบในใจไว้แล้ว เก็บคำตอบไว้ก่อนแล้วมาคุยเรื่อง "ความคิด" กัน
คำถามหนึ่งที่ผมมักถูกถามเสมอทั้งทางจดหมาย และเวลาไปบรรยายตามสถานศึกษา นั่นคือความคิดสร้างสรรค์ฝึกกันได้ไหม ตอบสั้นๆ เลยครับว่า ได้ อันที่จริงมนุษย์ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้วเต็มเปี่ยมจน แทบจะเรียกได้ว่ามันถูกแนบให้เกิดมาพร้อมกับมนุษย์เพื่อให้มนุษย์แตกต่างจาก สิ่งมีชีวิตอื่น นับแต่โลกถือกำเนิดสิ่งมีชีวิตขึ้นมา สิ่งมีชีวิตต่างวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลาและสภาพของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป สองวิธีที่ทำให้สิ่งมีชีวิตสืบสายพันธุ์ต่อไปได้ก็คือ การปรับตัว และการเอาชนะ
วิธีแรกนั้นสิ่งมีชีวิตทุกสิ่งไม่เว้นแต่มนุษย์ล้วนใช้มันอยู่
และ หลายสิ่งมีชีวิตก็ต้องสูญพันธ์หายไปเพราะกาลเปลี่ยนแปลงของโลกในบางครั้งมัน รุนแรงจนยากที่จะปรับตัวสู้ไหว ส่วนวิธีที่สองดูจะมีแต่มนุษย์เท่านั้นที่ใช้มันเป็น
วิธีที่สองนี่แหละครับ มันก็คือความคิดสร้างสรรค์นั่นเอง
กิลฟอร์ด นักจิตวิทยาชาวอเมริกันแบ่งความคิดของมนุษย์ออกเป็น 3 อย่าง
ผม ดูเขาแบ่งแล้วก็คิดตามว่า เออหนอเขาเข้าใจแบ่งดีแท้ๆ ฝรั่งคนนี้ มันทำให้เข้าใจได้ทุกครั้งว่าเวลาเราคิดแต่ละเรื่องเราคิดแบบไหนอยู่ สามแบบที่ว่าก็คือ
1.คิดแบบคำตอบถูกต้อง
2.คิดแบบประเมิน
3.คิดแบบหลายแง่มุม
คิด แบบคำตอบถูกต้อง อันนี้เราๆ ท่านๆ ก็ใช้กันอยู่ประจำเวลาบวกลบคูณหาร เช่น ขายของทอนเงิน รังวัดที่ดิน เย็บผ้าตามรอย เล่นดนตรีตามโน้ต เลื่อยไม้ตามเส้น ขับรถตามเลน ฯลฯ
คิด แบบประเมิน นึกออกไหมครับว่าเราใช้คำตอบแบบนี้ในชีวิตประจำวันอยู่บ่อยๆเหมือนกัน ตัวอย่างครับ รินน้ำดื่มใส่แก้ว(คงไม่มีใครคิดว่าจะตวงกี่ลิตร) การเตรียมเงินเพื่อไปเที่ยว การเพิ่มทหารเข้าในรักษาการณ์ในพื้นที่ การวิเคราะห์การตลาด หรือแม้แต่การตัดสินจะขึ้นเงินเดือนให้ใครเท่าไร ฯลฯ
คิด แบบหลายแง่มุม เป็นการคิดแบบหลายคำตอบ หลายทางเลือก ความคิดแบบนี้ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา และความคิดแบบนี้แหละครับคือตัวประกอบที่สำคัญที่สุดของความคิดสร้างสรรค์ สมมุติว่ามีใครสักคนคิดอย่างนี้ "กินก๋วยเตี๋ยวร้านไหนดีหนอ นายสองร้านเก่านี่รสชาดจำเจไปหน่อย" "หรือว่ามีอะไรที่อร่อยกว่าก๋วยเตี๋ยวไหมแถวนี้ พวกข้าว หรือขนมจีน" "ทำไมเราไม่เอาของอร่อยมาจากบ้านเราเองเลย" "อันที่จริงเราก็มีฝีมือนี่ ทำไมเราไม่มาตั้งร้านเสียที่นี่" "หรือว่าไปขายที่ตึกข้างๆ คนเยอะกว่าตั้งแยะ"
บอก ได้เลยว่าคนๆ นี้ก็นักคิดสร้างสรรค์คนสำคัญเลยครับ แม้ว่าการคิดแบบหลายแง่มุมจะเป็นตัวประกอบที่สำคัญที่สุดของความคิดสร้าง สรรค์ เพราะมันเป็นจุดเริ่มหลังจากนั้นเราก็จะเอาความคิดแบบประเมินและความคิดแบบ คำตอบถูกต้อง มาช่วยคิดหาคำตอบ
แต่ หลายครั้งความคิดแบบประเมิน และความคิดแบบคำตอบถูกต้องก็ถูกนำมาเป็นข้อมูลจุดประกายให้เกิดการคิดแบบ หลายแง่มุม อยู่บ่อยๆ นายกิลฟอร์ดยังเชื่ออีกว่าการฝึกคิดแบบหลายแง่มุมจะทำให้เรากลายเป็นคนที่ นักคิดสร้างสรรค์ที่ดี
การเรียนการสอนในโรงเรียนศิลปะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนครับ
ศิลปะเป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยความคิดสร้างสรรค์ ความแตกต่างเป็นสรณะที่ศิลปินยึดถือ
โจทย์ในโรงเรียนศิลปะล้วนสอนให้ต้องคิดให้แตกต่างจากคนอื่นตลอดเวลา
แล้วความแตกต่างของศิลปะมาจากไหน
ก็มาจากความคิดหลายแง่มุมนั่นไงครับ มาทางฟากวิทยาศาสตร์บ้าง
ทฤษฎี ใหม่ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นก็ล้วนมาจากการตั้งสมมติฐานก่อนแทบทั้งสิ้น นึกดูดีๆ สิครับ นายสมมติฐานนี่ก็คือความคิดแบบหลายแง่มุมดีๆ นี่เอง หลายพันปีก่อน ความคิดเดิมเชื่อว่าคนเราเป็นโรคเพราะภูติผีปิศาจ
อยู่ๆ มาวันหนึ่งก็เกิดมีคนคิดมุมอื่นว่าอาจจะมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ทำให้เราเป็นโรค
ก็มาจากความคิดหลายแง่มุมนั่นไงครับ มาทางฟากวิทยาศาสตร์บ้าง
ทฤษฎี ใหม่ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นก็ล้วนมาจากการตั้งสมมติฐานก่อนแทบทั้งสิ้น นึกดูดีๆ สิครับ นายสมมติฐานนี่ก็คือความคิดแบบหลายแง่มุมดีๆ นี่เอง หลายพันปีก่อน ความคิดเดิมเชื่อว่าคนเราเป็นโรคเพราะภูติผีปิศาจ
อยู่ๆ มาวันหนึ่งก็เกิดมีคนคิดมุมอื่นว่าอาจจะมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ทำให้เราเป็นโรค
และ จากสมมติฐานนั้นก็มีการใช้ความคิดแบบประเมิน และแบบหาคำตอบถูกต้องมาพิสูจน์หาความจริง ถ้าความคิดแบบหลายแง่มุมเป็นตาน้ำของความคิดสร้างสรรค์
แล้วอะไรเป็นก้อนหินก้อนใหญ่ที่ขวางน้ำไม่ให้ไหล
ผมเคยถูกถามบ่อยๆ เหมือนกันคำถามนี้ แล้วผมก็ตอบบ่อยว่า
ความคิดความเชื่อแบบเคยชินนั่นแหละคือหินก้อนใหญ่
พราน ป่าคนหนึ่งเห็นกระต่ายตัวหนึ่งวิ่งออกจากโพรงมาชนตอไม้ตาย พรานป่าจึงคิดว่านี่คือวิธีจับกระต่ายที่ดีที่สุดเพราะเขาเห็นกระต่ายตายคา ตา เขาจึงเสาะหาตอไม้จำนวนมากมาวางไว้ตามโพรงเพื่อจับกระต่าย ลูกหลานของพรานป่าเติบโตมาก็ทำตามอย่างที่คนรุ่นพ่อรุ่นปู่ทำไว้ ไม่มีใครคิดแง่มุมอื่น ไม่มีใครคิดค้นหรือตั้งคำถามเรื่องการจับกระต่ายแบบใหม่ๆ
กรณี นี้ สมมุติว่าถ้ามนุษย์บริโภคกระต่ายเป็นอาหารเพียงอย่างเดียว มนุษย์คงสูญพันธุ์ไปแล้วด้วยความคิดแบบเคยชินอย่างนี้ มนุษย์ไปดวงจันทร์ได้ มนุษย์หาวิธีรักษาโรคที่ไม่เคยรักษาได้ มนุษย์สร้างสิ่งก่อสร้างที่สูงกว่าต้นไม้ทุกต้นในโลกได้ หรือแม้แต่ปรุงอาหารที่เมื่อเข้าปากแล้วอร่อยไปอีกไม่รู้กี่ปีได้ ก็ล้วนมาจากความคิดที่จะหลีกให้พ้นความเคยชินแทบทั้งนั้น
กลับมาที่คำถามที่ผมตั้งไว้ให้ท่านผู้อ่านได้เล่นเกมกันวันนี้ครับ
จะเรียกว่าเป็นแบบฝึกหัดให้น้องๆ หลายคนที่อยากฝึกคิดให้หลีกหนีความคิดแบบเคยชินก็ไม่รังเกียจ
ได้คำตอบกันไว้ในใจหรือยังครับว่า กระดาษขนาดเอสี่ พับครึ่ง 32 ครั้ง จะมีความหนาเท่าไร
คำตอบที่ถูกต้องคือ ไม่สามารถพับได้ คำตอบนี้หลายคนคงตอบถูก
ซึ่ง ต้องเรียกว่าสามารถจินตนาการให้พ้นจากแรงดึงดูดของความคิดแบบเคยชินได้ ความเคยชินมันบอกเราตลอดเวลาว่าน่าจะพับได้เพราะกระดาษมันบาง ใครไม่เชื่อก็ลองหากระดาษขนาดที่ว่ามาพับดู
ผมนั้นพับได้แค่ 6 ครั้งก็พับต่อไม่ได้แล้ว
ด้วยขนาดที่มันเล็กลงและความหนาที่เพิ่มขึ้น แบบฝึกหัดต่อมาครับ
คำถามเดิม แต่ให้เงื่อนไขเพิ่มว่าถ้าเรามีเครึ่องมือที่สามารถพับครึ่งกระดาษที่ว่าได้ 32 ครั้งตามโจทย์
พับเสร็จแล้วจะมีความหนาเท่าไร จินตนาการดูนะครับ แล้วเก็บคำตอบไว้ในใจว่าหนากี่เซนติเมตร ใครมีเครื่องคิดเลขอยู่ใกล้ๆ มาหาคำตอบพร้อมๆ กับผมเลยครับ
กระดาษพิมพ์ดีดโดยทั่วไปหนา 70 แกรม ที่ข้างห่อเขาเขียนไว้ว่า หนา 0.125 มิลลิเมตร
หนายังไม่ถึงมิลด้วยซ้ำ พับครึ่งก็หมายความว่าความหนาต้องเพิ่มเป็นสองเท่า
นั่น คือ 0.125 คูณ 2 เท่ากับ 0.25 มิลลิเมตร ก็ยังไม่ถึงมิลอยู่ดี พับครึ่งครั้งที่สอง 0.25 คูณ 2 เท่ากับ 0.5 มิลลิเมตร พับครึ่งครั้งที่สาม 0.5 คูณ 2 เท่ากับ 1 มิลลิเมตร
จิ้มเครื่องคิดเลขตามผมไปเรื่อยๆ นะครับ พอถึงครั้งที่หกความหนาก็กลายเป็น 8 มิลลิเมตร
ครั้งที่เจ็ดก็กลายเป็น 16 มิล ครั้งที่แปดก็เป็น 32 มิล ครั้งที่สิบก็ 128 มิล
และครั้งที่ยี่สิบความหนาก็กลายเป็น 131072 มิล หรือ 131 เมตร
เครื่องพับกระดาษยังคงทำหน้าที่พับต่อ ครั้งที่ยี่สิบเอ็ด ยี่สิบสอง ยี่สิบสาม พับไปเรื่อยๆ
จนถึงครั้งที่ 32 ตามโจทย์ ตัวเลขตรงกับผมไหมครับ 536,870,912 มิลลิเมตร หรือ 536 กิโลเมตร
กระดาษเอสี่หนึ่งแผ่น พับครึ่ง 32 ครั้งจะมีความหนาเท่ากับระยะทางจากกรุงเทพฯไปลำปาง จินตนาการไปถึงไปไหมครับ
แล้วอะไรเป็นก้อนหินก้อนใหญ่ที่ขวางน้ำไม่ให้ไหล
ผมเคยถูกถามบ่อยๆ เหมือนกันคำถามนี้ แล้วผมก็ตอบบ่อยว่า
ความคิดความเชื่อแบบเคยชินนั่นแหละคือหินก้อนใหญ่
พราน ป่าคนหนึ่งเห็นกระต่ายตัวหนึ่งวิ่งออกจากโพรงมาชนตอไม้ตาย พรานป่าจึงคิดว่านี่คือวิธีจับกระต่ายที่ดีที่สุดเพราะเขาเห็นกระต่ายตายคา ตา เขาจึงเสาะหาตอไม้จำนวนมากมาวางไว้ตามโพรงเพื่อจับกระต่าย ลูกหลานของพรานป่าเติบโตมาก็ทำตามอย่างที่คนรุ่นพ่อรุ่นปู่ทำไว้ ไม่มีใครคิดแง่มุมอื่น ไม่มีใครคิดค้นหรือตั้งคำถามเรื่องการจับกระต่ายแบบใหม่ๆ
กรณี นี้ สมมุติว่าถ้ามนุษย์บริโภคกระต่ายเป็นอาหารเพียงอย่างเดียว มนุษย์คงสูญพันธุ์ไปแล้วด้วยความคิดแบบเคยชินอย่างนี้ มนุษย์ไปดวงจันทร์ได้ มนุษย์หาวิธีรักษาโรคที่ไม่เคยรักษาได้ มนุษย์สร้างสิ่งก่อสร้างที่สูงกว่าต้นไม้ทุกต้นในโลกได้ หรือแม้แต่ปรุงอาหารที่เมื่อเข้าปากแล้วอร่อยไปอีกไม่รู้กี่ปีได้ ก็ล้วนมาจากความคิดที่จะหลีกให้พ้นความเคยชินแทบทั้งนั้น
กลับมาที่คำถามที่ผมตั้งไว้ให้ท่านผู้อ่านได้เล่นเกมกันวันนี้ครับ
จะเรียกว่าเป็นแบบฝึกหัดให้น้องๆ หลายคนที่อยากฝึกคิดให้หลีกหนีความคิดแบบเคยชินก็ไม่รังเกียจ
ได้คำตอบกันไว้ในใจหรือยังครับว่า กระดาษขนาดเอสี่ พับครึ่ง 32 ครั้ง จะมีความหนาเท่าไร
คำตอบที่ถูกต้องคือ ไม่สามารถพับได้ คำตอบนี้หลายคนคงตอบถูก
ซึ่ง ต้องเรียกว่าสามารถจินตนาการให้พ้นจากแรงดึงดูดของความคิดแบบเคยชินได้ ความเคยชินมันบอกเราตลอดเวลาว่าน่าจะพับได้เพราะกระดาษมันบาง ใครไม่เชื่อก็ลองหากระดาษขนาดที่ว่ามาพับดู
ผมนั้นพับได้แค่ 6 ครั้งก็พับต่อไม่ได้แล้ว
ด้วยขนาดที่มันเล็กลงและความหนาที่เพิ่มขึ้น แบบฝึกหัดต่อมาครับ
คำถามเดิม แต่ให้เงื่อนไขเพิ่มว่าถ้าเรามีเครึ่องมือที่สามารถพับครึ่งกระดาษที่ว่าได้ 32 ครั้งตามโจทย์
พับเสร็จแล้วจะมีความหนาเท่าไร จินตนาการดูนะครับ แล้วเก็บคำตอบไว้ในใจว่าหนากี่เซนติเมตร ใครมีเครื่องคิดเลขอยู่ใกล้ๆ มาหาคำตอบพร้อมๆ กับผมเลยครับ
กระดาษพิมพ์ดีดโดยทั่วไปหนา 70 แกรม ที่ข้างห่อเขาเขียนไว้ว่า หนา 0.125 มิลลิเมตร
หนายังไม่ถึงมิลด้วยซ้ำ พับครึ่งก็หมายความว่าความหนาต้องเพิ่มเป็นสองเท่า
นั่น คือ 0.125 คูณ 2 เท่ากับ 0.25 มิลลิเมตร ก็ยังไม่ถึงมิลอยู่ดี พับครึ่งครั้งที่สอง 0.25 คูณ 2 เท่ากับ 0.5 มิลลิเมตร พับครึ่งครั้งที่สาม 0.5 คูณ 2 เท่ากับ 1 มิลลิเมตร
จิ้มเครื่องคิดเลขตามผมไปเรื่อยๆ นะครับ พอถึงครั้งที่หกความหนาก็กลายเป็น 8 มิลลิเมตร
ครั้งที่เจ็ดก็กลายเป็น 16 มิล ครั้งที่แปดก็เป็น 32 มิล ครั้งที่สิบก็ 128 มิล
และครั้งที่ยี่สิบความหนาก็กลายเป็น 131072 มิล หรือ 131 เมตร
เครื่องพับกระดาษยังคงทำหน้าที่พับต่อ ครั้งที่ยี่สิบเอ็ด ยี่สิบสอง ยี่สิบสาม พับไปเรื่อยๆ
จนถึงครั้งที่ 32 ตามโจทย์ ตัวเลขตรงกับผมไหมครับ 536,870,912 มิลลิเมตร หรือ 536 กิโลเมตร
กระดาษเอสี่หนึ่งแผ่น พับครึ่ง 32 ครั้งจะมีความหนาเท่ากับระยะทางจากกรุงเทพฯไปลำปาง จินตนาการไปถึงไปไหมครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น