เซนกับเต๋าที่คุณจิกพูดถึง.. อาจจะเพราะความที่เชื่อในเซนอยู่ก่อนแล้วก็ได้ เมื่อมีใครมาพูดถึงเรื่องที่เราเชื่ออยู่แล้วก็เลยคล้อยตามไปได้ไม่ยาก แต่อย่างหนึ่งที่ขอออกตัว (กัน) ไว้ก่อนคือ “เซนคือพุทธ-พุทธคือเซน” ในความเชื่อที่มีในเซนจึงเป็นความเชื่อเดียวกับที่มีในพุทธ พูดถึงเซน...ขอ “ฉาย” อีกรอบก็แล้วกัน
“จะให้พ้นทุกข์ ง่ายนิดเดียว พระท่านสอนว่า ให้รู้เหตุแห่งทุกข์ แล้วปล่อยวาง” สั้น-ง่าย แต่อึ้งเหมือนกันเมื่อต้องลงมือทำ...ถ้าจำได้ เราเคยพูดถึง “ปล่อยวางอย่างเซน” ไปแล้วในครั้งก่อนๆ ซึ่ง นอกจาก “ปล่อยวางอย่างเซน” แล้วยังมี “คิดแบบเซน” และอะไรต่อมิอะไรจาก “เซน” เซน...คือพุทธ... พุทธศาสนาเราดีๆ นี่เอง “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” พุทธสอนอย่างนี้.. เซนก็บอกไว้อย่างนี้เหมือนกัน...
- ยึดมั่นคราใด เป็นทุกข์ครานั้น
- ชีวิตที่มีค่า ดูได้จากเนื้อหาสาระ ไม่ใช่ดูที่รูปแบบที่สวยหรู
- รู้จักปลง รู้จักยอม รู้จักเย็น
- ต้องมั่นใจให้ได้ ว่าไม่มีอะไรได้ดังใจเรา
- การปลง เป็นการยุติเรื่องนั้นให้หยุดอยู่แต่แค่นั้น
- ชีวิตที่ประสบความสำเร็จ กับชีวิตที่ร่ำรวย มันคนละเรื่องกัน
- เพราะไม่รู้ตัวอยู่เสมอๆ พอความคิดเกิดขึ้นก็ตั้งตัวไม่ติด พลัดตกลงไปในกระแสแห่งความคิด
ที่ชอบมากที่สุดเห็นจะเป็นบทนี้ “การปลง เป็นการยุติเรื่องนั้นให้หยุดแต่แค่นั้น” ซึ่งนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะปลงได้ หรือบรรลุได้ในทันทีที่เราอ่านหนังสือเล่มนี้จบ แต่มันทำให้เราได้รู้ว่าแม้เราไม่สามารถที่จะกำหนดปัจจัยภายนอกได้ แต่เราสามารถกำหนดสิ่งที่อยู่ในใจเราได้ หรือกระทั่งการกระทำของเราได้ สติ จะทำให้เรากำหนดการกระทำของตัวเราเองได้... การยุติทุกอย่างได้หรือไม่ได้นั้นอยู่ที่เรา
ที่บอกว่าพุทธคือเซน และเซนคือพุทธมาจากตรงนี้
“จะให้พ้นทุกข์ ง่ายนิดเดียว พระท่านสอนว่า ให้รู้เหตุแห่งทุกข์ แล้วปล่อยวาง” นี่จากหนังสือพุทธศาสนา
“การปลง เป็นการยุติเรื่องนั้นให้หยุดแต่แค่นั้น”
เล่มนี้มาจากหนังสือเกี่ยวกับเซน
นี่คือความศรัทธาในพุทธและในเซนที่เราคิดว่าไม่ต่างกัน ทีนี้พออ่านมะเฟืองรอฝานซึ่งมีเรื่องของเต๋าเข้ามาด้วย...เต๋าบอกว่า “ในดำมีขาวในขาวมีดำ” (หยิน-หยาง) ส่วนเซนบอกว่า “ไม่มีดำ ไม่มีขาว” นั่นคือไม่มีอะไรเลย...ขณะที่พุทธบอกว่า “อนัตตา” คือความว่างเปล่า สรุปแล้วทั้งพุทธ เซน และเต๋าเลยมีพื้นฐานมาจากที่เดียวกัน มาแยกกันตรง “วิธีปฏิบัติ” แต่ความเชื่อนั้นไม่ค่อยแตกต่าง... และไม่ว่าจะเต๋า พุทธ เซน ก็สอนให้คนเป็นคนดี เหมือนกัน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น