วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คอลัมน์ คุยกับประภาส : วิลเลี่ยม เจมส์ - 9 ม.ค. 2548

ท่าม กลางเสียงร้องระงม และความอลหม่านของผู้คนนับพันในซากปรักหักพัง ผู้ชายคนหนึ่งกลับเดินสวนฝูงชนที่กำลังวิ่งหนีเอาตัวรอด กลับเข้าไปยังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ

พ. ศ.2449 นครซานฟรานซิสโกแทบจะราบเป็นหน้ากลอง แม้ตึกสูงในยุคนั้นจะไม่สูงมากนัก แต่แรงเขย่าจากแผ่นดินไหวก็ถล่มจนพังลงมาแทบทั้งเมือง หลายจุดเกิดไฟไหม้ซ้ำ ผู้ที่รอดชีวิตแทบทั้งหมดขวัญเสียอย่างหนัก ด้วยเกิดมาไม่เคยพบเคยเห็นวินาศภัยที่ร้ายแรงขนาดนี้

นอกจากหน่วย กู้ภัย และนักผจญเพลิงที่กำลังทำงานกันอย่างขะมักเขม้นแล้ว ก็มีชายชราวัย 64 ปีคนนี้แหละครับที่เดินสวนฝูงชนเข้าไปในเหตุการณ์ธรณีวิบัติครั้งร้ายแรง

ชื่อของเขาคือ วิลเลี่ยม เจมส์

ใน เหตุการณ์ครั้งนั้น คุณตาเจมส์ของเราได้ทำสิ่งที่ใครเห็นเข้าก็ต้องหันมองจนเหลียวหลัง เขาเดินถือสมุดบันทึกเล่มเล็กๆ เล่มหนึ่งไว้ในมือแล้วก็เดินไปยังกลุ่มคนที่เพิ่งรอดชีวิตจากตึกถล่ม แล้วก็จดคำสัมภาษณ์ความรู้สึกสดๆ ร้อนๆ ของผู้คนเหล่านั้นเอาไว้ ดูๆ ไปก็คล้ายๆ นักข่าว แต่คุณตาเจมส์ไม่ใช่นักข่าวนะครับ จะว่าไปแล้วชื่อวิลเลี่ยม เจมส์ นี่ถ้าไปพูดให้นักศึกษาทางจิตวิทยาและปรัชญาทุกวันนี้ฟัง ทุกคนต้องรู้จักเขาเป็นอย่างดี

เขาเป็นนักปรัชญาผู้ริเริ่มแนวคิด หน้าที่นิยม (Functionalism) คำฝรั่งนี่มันแปลยากนะครับ บางแห่งก็เรียกแนวความคิดปรัชญากลุ่มนี้ว่า หน้าที่ทางจิต ยิ่งงงไปกันใหญ่นะผมว่า

ขออนุญาตชวนให้ลองฟังเขาดูหน่อยนะครับว่า แนวคิดหน้าที่นิยมของคุณตาเจมส์เขาว่าอย่างไร วิชาปรัชญานี่จะว่ายากก็ยากจะยากจะสนุกก็สนุก ฟังแล้วมึนได้ไม่แพ้กินเหล้าหรือนั่งเมาเรือกลางทะเลเลย

คุณตา เจมส์ ให้ความสนใจอย่างมากในเรื่องพฤติกรรม โดยเฉพาะการเรียนรู้ และเน้นศึกษาการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ของตนเอง ถึงตรงนี้แล้วผมว่าเราน่าจะเรียกแนวคิดของคุณตาเจมส์ว่า แนวคิดพฤติกรรมนิยม มากกว่า ว่าไหมครับ

คุณตาเจมส์เชื่อว่า ความรู้จะเกิดขึ้นได้ จากความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มนุษย์จะได้รับความรู้ต่อเมื่อตนเองเป็นผู้ลงมือกระทำเอง

สอง ย่อหน้านี้อ่านแล้วเข้าใจยากดีไหมครับ ถ้าไม่เข้าใจก็คิดเสียว่าเข้าทางคุณตาเจมส์พอดี เพราะแกก็บอกไว้แล้วว่า ความรู้จะเกิดได้ต่อเมื่อตนเองเป็นผู้ลงมือกระทำ หรือมีเหตุการณ์มาเกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่ใช่ไปฟังไปอ่านมาจากไหน

เพื่อน ผมคนหนึ่งเป็นผู้บริหารในธุรกิจเกี่ยวกับรายการโทรทัศน์ เขาเล่าให้ฟังถึงน้องคนหนึ่งที่เขาส่งให้ไปถ่ายทำสารคดีเหตุการณ์คลื่นยักษ์ สึนามิถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้

น้องคนที่กำลังจะถูกส่งลงใต้นี้ทำหน้า ปุเลี่ยนๆ เมื่อได้รับคำสั่ง แล้วก็บอกหัวหน้าตัวเองไปว่า เขาเป็นคนกลัวผีมาก งานที่เขากำลังถูกส่งไปทำนี้มีคนตายเป็นพัน เขายอมรับว่าเขากลัว แต่ในเมื่อเป็นหน้าที่เป็นคำสั่งเขาก็ต้องลงไป

แต่เมื่อกลับขึ้นมากรุงเทพฯ การณ์กลับเปลี่ยนไปว่าเขาต้องรีบมาขอบคุณหัวหน้าเขายกใหญ่ที่ส่งเขาลงไป

เขา บอกว่าการลงไปทำงานครั้งนี้มันทำให้เขาได้สัมผัสคำว่า "ชีวิต" อย่างใกล้ชิดที่สุด เขาได้เห็นการช่วยเหลือกันของผู้คนอย่างไม่คิดถึงสิ่งตอบแทน ได้ลงไปช่วยผู้ตกทุกข์ได้ยากด้วยตัวเอง ได้เห็นความเป็นและความตายอยู่ข้างหน้าอย่างไม่รู้สึกรังเกียจรังงอนใดๆ มันเป็นความรู้สึกที่เขาไม่เคยสัมผัสมาก่อน

หรือนี่แหละ? คือคำยืนยันทฤษฎีของวิลเลี่ยม เจมส์

จะ ว่าไปแล้วถ้าคุณตาเจมส์ได้มาเที่ยวประเทศไทยเสียหน่อย แล้วได้มานั่งคุยกับหลวงปู่ของเราอีกสักหน่อย ก็จะพบว่าสิ่งที่คุณตาเจมส์พูดถึงนั้นคืออันเดียวกับที่ทางพุทธเราเรียกว่า พุทธะ คือการรู้อย่างภาวะหยั่งรู้ หรือการรู้ด้วยตัวเอง อย่างที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทำเป็นตัวอย่างเมื่อก่อนพุทธศักราช

ตลอด ชีวิตของคุณตาเจมส์ แกทุ่มเทไปกับการค้นคว้าเรื่องราวทางจิตที่เกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์ หลายคนยกย่องให้แกเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาภาคทดลอง บ้างก็เรียกว่าแกเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางจิตวิทยา

หลักจิตวิทยาใหญ่ๆ ของคุณตาเจมส์ย้ำการพึ่งพาตนเอง และการสร้างลักษณะนิสัยที่สร้างสรรค์ คนที่อยู่รอบๆ ข้างๆ คุณตามักจะถูกแกกระตุ้นให้ทำอะไรใหม่ๆ ในชีวิตตลอดเวลา เช่นเขียนหนังสือสักเล่ม ปั้นรูปปั้นสักรูป เดินทางข้ามมหาสมุทรสักครั้ง ฯลฯ

ตอนที่แกเที่ยวเดินสอบถามความ รู้สึกของผู้คนที่เพิ่งรอดพ้นเหตุการณ์แผ่นดินไหว ตอนนั้นแกดำรงตำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัยอยู่ พลังอันเต็มเปี่ยมของอาจารย์เจมส์นี้นับเป็นที่เลื่องลือของลูกศิษย์ลูกหา อย่างมาก เล่ากันว่าหลายครั้งที่คุณตาเจมส์สอนหนังสืออยู่นั้น ด้วยความที่ติดพันอยู่กับการกำลังอธิบายและเขียนกระดานดำไปด้วย คุณตาเจมส์จะไม่เสียเวลาแม้แต่จะลบกระดานแล้วเขียนใหม่ แต่คุณตาจะพูดไปเขียนไปจนกระทั่งกระดานดำหมดที่เขียน ต้องมาคุกเข่าเขียนต่อบนพื้นห้อง โดยที่ไม่มีใครหัวเราะการกระทำนี้แม้แต่คนเดียว เพราะทุกคนก็ถูกดึงดูดให้สนใจเรื่องที่อาจารย์เจมส์บรรยายอยู่

อาจารย์อย่างนี้ใครได้เป็นลูกศิษย์ก็ถือว่าบุญโขเลยครับ

เท่า ที่ผมอ่านแนวความคิดของคุณตาเจมส์ดู คำพูดเดียวที่น่าจะร้อยรัดทุกรายละเอียดของแนวคิดของแกทั้งหมดเป็นทฤษฎี เดียวกัน ก็คือ มนุษย์มีศักยภาพล้นเหลือที่จะทำอะไรก็ได้โดยการกระทำ

ผม ไม่รู้ว่าแกเคยพูดประโยคนี้หรือเปล่า แต่ถ้าให้ผมสร้างหนังอัตชีวประวัติของวิลเลี่ยม เจมส์ ผมคงเขียนบทใส่ปากนักแสดงที่เป็นพระเอกว่า "พฤติกรรมกำหนดชะตากรรม"

อยาก ให้ลองฟังข้อปลีกย่อยของแนวคิดของคนที่เคยมีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อ 100 ปีก่อนคนนี้ดูครับ ผมว่าน่าสนใจทีเดียว ยิ่งกับบรรยากาศที่สลดหดหู่มาสองสามสัปดาห์ติดต่อกันอย่างนี้ คนบางคนน่าจะได้อ่านครับ

กิริยาควบคุมอารมณ์ คุณตาเจมส์ให้ลองทำหน้าทำตาขึงขังใส่กระจกเงาดู กล้ามเนื้อที่เกร็งบนใบหน้า ปากที่แสยะออก ถ้าเราทำไปสักพักมันจะทำให้เรารู้สึกโกรธขึ้นมาจริงๆได้ เรื่องนี้ผมช่วยยืนยันได้ครับ ไม่เชื่อลองนึกถึงตอนเราที่โกรธใครสักคนแล้วดันทะลุปล้องออกปากด่าขึ้นมา คราวนี้ความโกรธจะยิ่งทวีคูณแล้วครับ เพราะไอ้กิริยาท่าทางที่เราโกรธนี่แหละเป็นตัวส่งให้โกรธยิ่งขึ้น อารมณ์เศร้านี่ก็เหมือนกัน ถ้ามัวแต่ทำหน้าเศร้ากอดเข่าเจ่าจุกอยู่ อารมณ์เศร้ามันจะหนักขึ้นไปเรื่อยๆ ตามกิริยาท่าทางของเรา

งานกระตุ้น พลัง ทฤษฎีนี้ใครที่เป็นประเภทสุขนิยมหรือออกแนวขี้เกียจหน่อยคงไม่ชอบ คุณตาเจมส์เชื่อว่าการทำงานหนักต่างหากที่ทำให้เรามีพลังไม่ใช่พักผ่อนหย่อน ใจแล้วถึงมีพลัง ใครที่นึกไม่ออกว่าคนทำงานหนักแล้วยิ่งกระตุ้นให้มีพลังเป็นอย่างไร ก็ลองตามไปดูคุณหมอพรทิพย์ของผมที่กำลังทำงานมหากุศลอยู่ที่ภาคใต้ ผมยังนึกสงสัยอยู่เลยว่าแกซ่อนแหล่งพลังงานไว้ตรงไหน ทำไมไม่รู้จักหมดเสียที หรือทฤษฎีของคุณตาเจมส์จะเป็นจริง

นิสัย บ่มได้ วิลเลี่ยม เจมส์น่าจะเป็นนักจิตวิทยาคนแรกๆ ที่พูดถึงเรื่องนี้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า การมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอกทางร่างกาย มันจะถูกจารึกไว้ในเซลล์สมอง และเมื่อปฏิสัมพันธ์บ่อยๆ รอยนั้นจะถูกจารึกแน่นขึ้น จากพฤติกรรมกลายเป็นนิสัย และจากนิสัยกลายเป็นสันดาน ไม่ต่างอะไรกับมะม่วงที่แม้ไม่สุกจากต้นก็บ่มให้สุกได้

กังวลนิดๆ มีชีวิตชีวา ต้องนับว่าแนวความคิดนี้แปลกทีเดียว แต่คุณตาเจมส์ก็ออกตัวไว้ด้วยว่า แม้แกจะชอบความเครียดน้อยๆ ที่ทำให้สมองตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ไม่ได้หมายถึงความเครียดประเภททำลายตัวเอง

จะเป็นพระแม่อุมา หรือเจ้าแม่กาลี คุณตาเจมส์พูดไว้เป็นร้อยปีแล้วว่า มนุษย์มีทั้งด้านดีและด้านร้ายในตัวคนหนึ่งๆ แม้ฮินดูจะกล่าวถึงปางโหดร้ายและปางใจดีของพระแม่อุมาหลายพันปีแล้วก็ตาม คุณตาเจมส์แนะว่าถ้าด้านดีของเราเชื่อมั่นในความดีของมนุษยชาติ ก็ให้ศรัทธาด้านนั้นของตัวเอง แล้วก็อยู่กับมัน ผมเองก็เชื่อว่าใครก็ตามที่ศรัทธาในความดีของเพื่อนมนุษย์ เขานั่นแหละจะเป็นตัวสร้างสรรค์ความดีนั้นเองตลอดเวลา

ฝากไว้เป็น ประโยคสุดท้ายครับ ประโยคของคุณตาเจมส์ นักปรัชญาชาวอเมริกันคนนี้ คนที่เชื่อว่ามนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อลิขิตชะตากรรมของตัวเอง มิได้ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อเดินตามพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างต้อยๆ ฝากเผื่อแผ่ไปยังคนที่กำลังคิดว่าถูกชะตากรรมเล่นงานด้วย

"อย่าหวาดกลัวชีวิต จงเชื่อมั่นว่าชีวิตมีค่าควรแก่การดำรงอยู่ แล้วความเชื่อจะช่วยให้มันเป็นจริงตามนั้น"


ประภาส ชลศรานนท์
----------------------------------------

แรงบันดาลใจ ในชีวิตนั้น ประกอบไปด้วย 

1. การเปลี่ยนแปลง (Change) จิตรกรเอกของโลกอย่างปิคาสโซกล่าวไว้ว่า
ข้าพเจ้ามักทำในสิ่งที่คิดว่าตัวเองทำไม่ได้เสมอ เพื่อจะได้รู้ไงว่า
ทำอย่างไรจึงจะทำสิ่งนั้นให้ได้ หรือคารอล เบอร์เนตต์ กล่าวว่า
มีแต่เพียงตัวเราเองเท่านั้น ที่จะเปลี่ยนชีวิตเราได้
ไม่มีใครช่วยเราได้หรอกในเรื่องนี้
2. รู้จักต่อสู้ดิ้นรน (Coping) วิลเลียม เจมส์ พูดได้น่าฟังว่า จงเชื่อว่า
การมีชีวิตอยู่นั้นมีค่า แล้วความเชื่อนี้จะผลักดันให้มันเป็นจริง
3. ปรารถนา (จะทำอะไรสักอย่างให้สำเร็จ) (Aspiration) วินเซนต์ แวน โกะห์
จิตรกรฝีมือเยี่ยม บอกว่า ต่อให้มีแรงดลใจอย่างเดียว
ก็ไม่พอหรอกที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ หากไม่ลงมือสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา
4. ความสุข (Happiness) อริสโตเติล นักปราชญ์ กล่าวว่า
ความสุขขึ้นอยู่กับตัวของคุณเองนั่นแหละ ถ้าคิดว่า ตัวเองมีความสุขมันก็สุข
แต่ถ้าไม่ มันก็ไม่ ความคิดของมนุษย์นี่แหละ ที่สามารถบั่นทอนหรือสนับสนุน
ให้เกิดกำลังใจต่อสู้ชีวิตต่อไป
5. หยิ่งในศักดิ์ศรี (Self-Esteem) ไมเคิล แองเจโล กล่าวว่า จงมีศรัทธาในตัวตน
อย่าเอาตัวเองไปเปรียบกับใคร ทุกคนล้วนมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์
-เจ้านายไม่ใช่พระเจ้าที่จะรู้ไปหมดทุกออย่าง
-จงมั่นใจ หากเราเป็นคนมีความสามารถและตตั้งใจในการทำงาน วันนี้ เจ้านายไม่เห็น
แต่พรุ่งนี้ท่านอาจชื่นชมคุณ
-ถึงคุณจะเก่งเพียงใด มีความสามารถสุดยออดแค่ไหนก็ตาม
คุณก็ไม่สามารถทำงานให้สำเร็จได้ หากคุณไม่ได้รับความร่วมมือจากทีมงาน
-จงให้ความสำคัญกับคนทุกคนในองค์กรของคุณ แม้บุคคลเป็นเพียงพนักงานทำความสะอาด
เพราะทุกคนมีความสำคัญเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันที่หน้าที่
-เมื่อเพื่อนร่วมงานไม่ดีกับท่าน จงทำดีกับเขาเป็นสองเท่า
แล้วท่านจะได้ใจเขาพร้อมกับเพื่อนคืนมา
-หากคิดจะเปลี่ยนงาน..จงมั่นใจเสียก่อนวว่าคุณได้งานใหม่แน่ๆและงานนั้นต้องดีกว่าที่เดิม
มีความสุขมากกว่า..มีรายได้ที่ดี


-ไม่มีใครหรอก....ที่ไม่เคยพบอุปสรรค
-ไม่มีใครหรอก....ที่ไม่เคยผิดพลาด
-ไม่มีใครแน่...ที่ไม่เคยพ่ายแพ้ต่อสิ่งงใด

"อย่าหวาดกลัวชีวิต จงเชื่อมั่นว่า ชีวิตมีค่าควรแก่ การดำรงอยู่แล้ว ความเชื่อของคุณ จะช่วยให้เป็น จริงตามนั้น"

วิลเลียม เจมส์ นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่แห่งอเมริกาในรอยต่อศตวรรษที่ 19-20 บอกว่า มนุษย์ส่วนใหญ่ถูกโปรแกรมให้รู้สึกเหนื่อยเมื่อถึงเวลาเหนื่อย มนุษย์เราใช้พลังน้อยกว่าที่มีอยู่จริง เขาบอกว่า หากคุณผลักความเหนื่อยออกไปอีกสักนิด คุณจะได้งานมากกว่าเดิม อย่างไม่น่าเชื่อ

แน่ละ ความหมายของ วิลเลียม เจมส์ มิใช่ต้องการให้คนทำงานจนตายคาที่ แต่ให้ลองทดสอบดูว่า บางครั้งการยอมแพ้เกิดจากใจไม่สู้ ไม่ใช่กายไม่พร้อม

เราอาจไม่ต้องทำถึงขนาดขยันจนต้องเข้าโรงพยาบาล ซึ่งอาจมากเกินพอดี แต่คำถามคือแค่ไหนคือความพอดี เท่าไรคือความเหมาะสม

บางคนทำงานได้มากมายกว่าจะเหนื่อย บางคนทำนิดเดียวก็ 'รู้สึก' เหนื่อยแล้ว บางคนไม่ทำอะไรเลย ก็ยังเหนื่อย

ผมไม่เคยเห็นใครที่ขยันแล้วชีวิตฉิบหาย ตรงกันข้าม คนที่ชีวิตพังหลายส่วนใหญ่เกิดจากความขี้เกียจ ความเขลา และความโลภ

ไม่มีใครตายไปเพราะทำงานหนัก

ไม่มี ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยเห็น

ไม่มีอะไรได้มาโดยไม่ต้องลงแรง

ถึงจะเอนกายนอนพัก ก็ยังต้องออกแรงเขยื้อนกาย ถึงจะเดินถอยหลัง ก็ยังต้องออกแรง
จะยกธงขาวยอมแพ้ก็ยังต้องออกแรงยกธง

ไม่มีความคิดเห็น: