วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566

อย่าให้ความอาย (หรือความเกรงใจ) ทำลายชีวิตคุณ

Don't Let Embarrassment Kill You" อย่าปล่อยให้ความอับอายฆ่าคุณ



 อย่าให้ความอาย (หรือความเกรงใจ) ทำลายชีวิตคุณ - ฉบับปรับปรุง โดย โจวเหวยลี

How to cope with psychological disorder of shyness

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้คือการทำให้ทุกคนตระหนักถึงอันตรายของความลำบากใจและกำจัดความเจ็บป่วยทางจิตที่เกิดจากความลำบากใจ เรียนรู้ที่จะปฏิเสธผู้อื่นและความต้องการ เรียนรู้ที่จะสรรเสริญและสื่อสาร หยุดเป็นคนขี้ขลาดและต่ำต้อย และเป็นนายของชีวิต

เราชื่นชมในความซื่อสัตย์และความอ่อนน้อมถ่อมตนมาโดยตลอด ตั้งแต่เด็กๆ พ่อแม่ของเราได้สั่งสอนให้เราถ่อมตัวและเชื่อว่าความทุกข์เป็นพรเป็นผลให้คนส่วนใหญ่เขินอายจึงไม่เถียงและยอมรับ ประนีประนอมเมื่อเผชิญกับความยากลำบาก 

สังคมเริ่มปฏิบัติตามกฎแห่งป่า การอยู่รอดของผู้ที่เหมาะสมที่สุด และกฎแห่งป่ามากขึ้นเรื่อย ๆ ขออภัย กลายเป็นสัญลักษณ์ของความขี้ขลาด การไร้ความสามารถ และความนับถือตนเองต่ำ 

เรามักถูกทำร้ายด้วยความเขินอาย—— ความอายที่จะต่อสู้เพื่อผลประโยชน์อันสมควร ประสบความสูญเสีย อายที่จะปฏิเสธข้อเรียกร้องที่ไม่สมเหตุสมผล เกิดปัญหาอยู่ตลอดเวลา เขินอายที่จะชมเชย ส่งผลให้สูญเสียโอกาสเลื่อนตำแหน่ง... 

หนังสือ "อย่าปล่อยให้ความลำบากใจทำร้ายคุณ" จะทำให้คุณตระหนักถึงอันตรายของความอับอายอย่างครบถ้วนและกำจัดความเจ็บป่วยทางจิตที่เกิดจากความลำบากใจได้อย่างสมบูรณ์ 

เรียนรู้ที่จะปฏิเสธผู้อื่นและคำขอ เรียนรู้ที่จะสรรเสริญและสื่อสาร หยุดเป็นคนขี้ขลาดและด้อยกว่า และเป็นนายของชีวิต! ! !

ปรมาจารย์ด้านตลกแชปลินเคยกล่าวไว้ว่าเรียนรู้ที่จะพูดว่า "ไม่แล้วชีวิตคุณจะดีขึ้นมาก!

“ความอาย” หรือ “ความเกรงใจ” ในหนังสือเล่มนี้หมายถึง ความขี้เกรงใจ คนอื่นจนตัวเองต้องเสียเปรียบ มีความไม่เชื่อมั่นในจิตใจ เกรงหรือกลัวว่าตนจะเสียหน้า 

ไม่มีความกล้า หวั่นไหวต่อคำพูดของคนอื่น คิดว่าตนเองมีปมด้อย ขี้กลัว ขี้ขลาด ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่เชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าปฏิเสธ ทั้ง ๆ ที่ไม่ต้องการหรือไม่เห็นด้วย ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นกลัวคนฟังจะว่าเอา ไม่กล้าพูดความรู้สึกของตนเองออกมา หรือกลัว หรือขี้เกรงใจเขา ไม่กล้าที่จะ ปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง ไม่กล้าปฏิเสธข้อเรียกร้องที่ไม่สมเหตุสมผล 

ในโลกนี้มีคนแปลกหน้าอยู่ทุกแบบ อยากขอความช่วยเหลือ คุณอาจจะเจอใครก็ได้ บางคนเย่อหยิ่งและมีไหวพริบดี บางคนเข้าถึงได้ง่ายและน่ารัก บางคนหลอกลวงและตบหน้าอกดังต่อหน้าพวกเขา แต่กลับเงียบไป บางคนชอบทำตัวลึกลับและจัดการให้เสร็จได้ แค่โทรศัพท์มาแต่บอกว่าเรื่องนี้รับมือยากมาก...

เนื่องจากเราต้องการผู้อื่น เราก็จะรู้สึกด้อยกว่าเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้อื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จับเสือบนภูเขามันง่าย แต่บอกใครยากเมื่อต้องพูดต้องกัดกระสุนแล้วจับให้สุด จะได้เห็นอนาคตที่สดใสอีกครั้ง

บทที่ 1 “ความอาย หรือ ความเกรงใจ” คือตัวถ่วงความสำเร็จและเป็นตัวการสำคัญของความล้มเหลว 

เรียนรู้ 4 ทฤษฎี ที่มีผลต่อชีวิตของคุณ 

 1. ทฤษฎีการประทับตรา : ความคิดบวกจะทำให้ชีวิตดีขึ้น ความคิดลบ จะทำลายตัวเรา 

ทฤษฎีตีตรา หรือ ประทับตรา (Labeling Theory) โดย Howard S. Becker นักสังคมวิทยา ชาวชิคาโก หัวใจหลักคือ “การที่คนเราถูกสังคมตีตราว่าเป็นคนเลว ทำให้เกิดการผลักดันให้ เป็นคนเลว” นั่นคือถ้าเราถูกคนอื่นด่าว่าไม่ฉลาดเป็นเวลานาน ก็ทำให้คิดว่าตัวเองไม่ฉลาดได้ ทฤษฎีนี้เเบ่งความรุนเเรงสามระดับ คือ ระดับครอบครัว ระดับสังคม และระดับกฎหมาย

เปลี่ยนวิธีคิดตนเอง ฉีกตราประทับที่ไม่ดีออก แล้วติด ตราประทับใหม่แทนที่ 

กำจัด “ตราประทับเก่า” ให้หมดไป 

ตำหนิตัวเองให้น้อยลง ชื่นชมตัวเองให้มากขึ้น

มาร์ก ทเวน นักเขียนชื่อดังชาวอเมริกันกล่าวไว้ว่า “คำชมเพียงประโยคเดียว ทำให้ผมสามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกสองเดือน” 

ดังนั้นหากไม่มี ใครชม ก็ให้พูดชมตัวเอง เพราะคำชมเชยนั้นส่งผลให้มีกำลังใจชีวิตมี ความก้าวหน้ามากขึ้น แม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม เมื่อตัวเองทำผิดพลาด จงหาทางออกให้ตัวเอง อย่าจมปลักอยู่กับความผิดพลาดเหล่านั้น การ มีสติและรู้จัก “ปลอบใจตัวเอง” นั้นมีความสำคัญอย่างมาก

2. ทฤษฎีผีเสื้อกระพือปีก : ระมัดระวังอย่าให้เรื่องเล็ก ๆ ส่งผลกระทบ ต่อชีวิต 

ทำความเข้าใจกับ “ทฤษฎีผีเสื้อกระพือปีก” ในปี 1963 เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ นักอุตุนิยมวิทยาชาวอเมริกันได้ วิเคราะห์ทฤษฎีนี้ลงในบทความของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งนิวยอร์กว่า “‘ทฤษฎีผีเสื้อกระพือปีก’ หากได้รับการพิสูจน์และได้รับการยอมรับ แน่นอนว่าการกระพือปีกของนกนางนวลทะเลตัวหนึ่ง สามารถเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศได้เช่นกัน”

ทฤษฎีผีเสื้อกระพือปีก (The Butterfly Effect) ค้นพบโดย เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ ซึ่งได้ค้นพบ โดยบังเอิญเช่นกันเกี่ยวกับ ทฤษฎีความโกลาหล (Chaos Theory) จากการสังเกตพฤติกรรม ความโกลาหล ไร้ระเบียบ หรืออลวนอลหม่าน ขณะทดลองจำลองสถานการณ์การปฏิสัมพันธ์ ระหว่างอุณหภูมิกับกระแสลมเพื่อพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพลมฟ้าอากาศ ผลสรุปที่ ได้กล่าวถึงความมหัศจรรย์ของการกระทำในสิ่งเล็ก ๆ จนละเลยมองข้ามความสำคัญไป แต่การ กระทำเล็ก ๆ เมื่อปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปกลับส่งผลกระทบขยายวงกว้าง เพราะสิ่งที่คิด (ไปเอง) ว่าเป็นการกระทำเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ หากเมื่อปล่อยให้ขยายออกไปหรือเมื่อเวลาล่วงผ่านไป ผลการกระทำอาจแผ่ขยายส่งผลไปสู่ระดับวงกว้างได้ เหมือนคำว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว”

นหากเห็นความสำคัญของ “ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” และต้องการเปลี่ยนแปลงตนเอง คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ 

1. ต้องขยันและมุ่งมั่นในทุก ๆ วัน อยู่กับปัจจุบัน

2. ต้องมี “สายตาที่เฉียบคม” ตัดไฟแต่ต้นลม ความสามารถในการสังเกต เรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม ลึกซึ้งและถูกต้องแม่นยำ ซึ่งเป็นหนึ่ง ในปัจจัยที่สำคัญของโครงสร้างทางสติปัญญาของตัวเรา

3. ต้องมีจิตใจที่แข็งแกร่ง 


3. ทฤษฎีเท้าค่อยย่างเข้าประตู : อย่าปล่อยให้ความเกรงใจ ทำให้ใคร ๆ เอาเปรียบคุณ  “ปรากฏการณ์ได้คืบเอาศอก”

การไม่ลงรอยกันของการรู้คิด

ในชีวิตของคนเรานั้น เราต้องประสบกับ “ปรากฏการณ์การได้คืบ เอาศอก” หลายครั้ง เป็นเพราะว่าเรา “เกรงใจ” ที่จะปฏิเสธนั่นเอง ทำให้ตนเองสูญเสียผลประโยชน์ที่พึงจะได้รับไปเป็นจำนวนมาก 

การป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของ “ปรากฏการณ์ได้คืบเอาศอก” ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยาก ขอให้ทำตามข้อแนะนำด้านล่างนี้ 

1. ต้องมีสติระลึกได้อยู่เสมอ จำไว้ให้ดีว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” อะไรที่ควรปฏิเสธก็ให้ปฏิเสธ ในทางจิตวิทยานั้น “ความเกรงใจ” เป็น อารมณ์ที่ไม่อาจคาดเดาได้ ซึ่งอารมณ์นี้จะถูกควบคุมโดยผู้อื่น ทำให้คุณ ต้องเลือก สุดท้ายคุณเป็นฝ่ายเสียผลประโยชน์เอง

2. หลีกเลี่ยงการกลัวเสียหน้าจากการ “จำเป็นต้องรักษาสัญญา ที่ให้ไว้แต่แรก” คือ เมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ ท่ามกลางแรงกดดันจากทั้งภายในและภายนอก เพื่อเป็นการรักษาหน้า ของตนเอง จึงจำเป็นต้องทำตามสัญญาที่ให้ไว้แต่แรก 

ในหลาย สถานการณ์ “การทำตามสัญญาที่ให้ไว้” นั้น จะได้รับการยอมรับว่าเป็น พฤติกรรมที่น่ายกย่อง ส่วน “การผิดสัญญา” ถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี โลเล เอาแน่เอานอนไม่ได้ แต่บางครั้งทำให้เราเสียเปรียบ นักเขียนชาว อเมริกันเคยกล่าวว่า “ความรู้สึกกลัวเสียหน้านั้นเหมือนเป็นปีศาจชั่วร้าย ภายในจิตใจ” เพราะในความเป็นจริงพฤติกรรมเช่นนี้ทำให้เราต้องสูญเสีย ผลประโยชน์ หากฝืนที่จะทำแบบนี้ต่อไป เราก็ไม่ต่างอะไรจากคนโง่เขลา

3. สร้างขอบเขตจำกัดให้กับตัวเอง “ขอบเขตจำกัด” คือขีดจำกัด ในระดับที่ตัวเราสามารถรับได้ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามควรจะมีขอบเขตจำกัด หากมีอะไรเกินไปกว่าขอบเขตจำกัดก็ควรพูดออกไปว่า “ไม่” ด้วยน้ำเสียง ที่หนักแน่น อย่าเอาแต่ “เกรงใจ” คนอื่น อย่ายอมให้คนอื่นจูงจมูกคุณ ได้ ไม่เช่นนั้นแล้วคนที่เสียเปรียบจะเป็นตัวคุณเองตลอดไป

4. อย่ารับปากง่ายๆ จงคิดก่อนทำ ก่อนที่จะพูดอะไรออกมา ควร จะคิดให้รอบคอบเสียก่อน อย่ารับปากอะไรง่าย ๆ เรื่องอะไรที่ตัวเอง ไม่มีความสามารถหรือไม่ถนัด อย่าไปรับปากสุ่มสี่สุ่มห้า

4. ทฤษฎีไวน์และน้ำเสีย : ระวังการใช้ชีวิต ต้องกำจัดเรื่องหรือสิ่งของที่ไม่ดีเสียก่อน ก่อนที่มันจะทำลายชีวิตเรา

Schopenhauer’s Law of Entropy : “If you put a spoonful of wine in a barrel full of sewage, you get sewage. If you put a spoonful of sewage in a barrel full of wine, you get sewage.”

หากคุณเทไวน์จำนวน หนึ่งช้อนโต๊ะลงไปในถังที่บรรจุน้ำเสีย ไวน์ที่คุณเทลงไปจะกลายเป็นน้ำเสีย และหากคุณเทน้ำเสียจำนวนหนึ่งช้อนโต๊ะลงไปในถังไวน์ มันจะกลายเป็นน้ำเสียเช่นกัน*

ในชีวิตของคนเรานั้น จงอย่าหลงระเริงไปกับความสุขและ ความสบายเพียงชั่วขณะ อย่าให้ความสำคัญกับความทุกข์เพียงชั่วครู่ อย่าทะนงกับทรัพย์สินที่มีเพียงชั่วคราว และอย่าเพิกเฉยคิดว่าน้ำเสีย เพียงหนึ่งช้อนโต๊ะไม่มีความสำคัญ “ทฤษฎีไวน์และน้ำเสีย” แสดงให้เห็น ว่า เราต้องกำจัดเรื่องหรือสิ่งของที่ไม่ดีเสียก่อน ก่อนที่มันจะทำลายชีวิต เรา ซึ่งความอาย หรือความเกรงใจ ไม่กล้าที่จะปฏิเสธ หรือไม่เชื่อมั่น ตนเองนั้นเปรียบเหมือน “น้ำเสีย” ที่จะทำลายชีวิตเราได้ ดังนั้นจึงต้อง ทำการรับมือและกำจัดให้หมดไปก่อนจะกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต

คนเราต้อง ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง อย่าทำเหมือนการเทน้ำเสียลงไปผสมกับไวน์  

คนเราจึงต้อง “รู้จักตนเอง” ว่าเป็นคนอย่างไร เมื่อรู้จักตนเองแล้วจะช่วยทำให้เราระมัดระวังการ ใช้ชีวิตไม่ทำในสิ่งไม่ดีหรือเรื่องไม่ดี ไม่ปล่อยให้มันมาทำร้ายชีวิตเราได้ แต่การรู้จักตนเองนั้นทำได้ยากกว่าการเข้าใจสิ่งอื่น ๆ 

วลีดังของหลู่ซวิ่น นักเขียนชื่อดังของจีนในช่วงคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 ที่ทุกคนต่างยอมรับอย่าง “ผู้ที่รู้จักตนเอง คือผู้รู้อย่างแท้จริง” นักจิตวิทยาชาวจีนเรียกพฤติกรรมของคนที่ไม่รู้จักและเข้าใจตัวเองว่า“ปรากฏการณ์ซูตงโพ”* แล้วเราต้องทำอย่างไรจึงรับมือกับ “ปรากฏการณ์ ไวน์และน้ำเสีย”

“ปรากฏการณ์ซูตงโพ” คือปรากฏการณ์ที่คนเราไม่รู้จักและไม่เข้าใจในตนเองอย่างแท้จริง ต้อง ให้คนอื่นมาวิพากษ์วิจารณ์เราถึงจะรู้ว่าตัวเราเป็นอย่างไร ซึ่งคล้ายกับบทกวีของซูตงโพบทหนึ่ง ของกวีจีนชื่อดัง นักจิตวิทยาชาวจีนจึงนำชื่อของเขาตั้งเป็นชื่อของปรากฏการณ์นี้

1. เดินออกมาจากกำแพงที่ “ตัวเอง” สร้าง เพื่อทำลายขีดจำกัดที่ตัวเองกำหนดขึ้น “ใช้ผู้อื่นเป็นกระจกสะท้อน” เปรียบพฤติกรรมข้อดี ข้อเสียของตัวเองกับผู้อื่น เพื่อที่จะได้รู้จัก “ตัวเอง” มากขึ้น

2. ใช้คำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่นมากำจัด “การรู้จักตัวเองในแบบผิด ๆ” โดยปกติแล้ว เราจะรู้จักผู้อื่นมากกว่ารู้จัก “ตัวเอง”เหมือนกับคำพูดที่ว่า “คนที่อยู่ในเกมหรือสถานการณ์จะมองไม่ทะลุ แต่คนที่อยู่นอกเกมหรือนอกสถานการณ์จะมองได้ทะลุปรุโปร่ง” ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญและนำคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่นมาคิดวิเคราะห์ เพื่อให้รู้จัก “ตัวเอง” มากขึ้น

3. ต้องทำความเข้าใจกับวิธีการวิเคราะห์และแยกแยะ เพราะมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการรู้จัก “ตัวเอง” วิธีการวิเคราะห์และแยกแยะที่สำคัญนั้นประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้คือ ต้องรู้จักมองปัญหาสองด้าน ต้องยอมรับในคำตักเตือนของผู้อื่น แต่อย่าหูเบาจนถึงขนาดให้ใครมาจูงจมูก เมื่อเจอปัญหาต้องมีสติ ควบคุมอารมณ์ให้ได้ อย่าใช้อารมณ์แก้ปัญหา เป็นต้น

4. ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นให้มากขึ้น หมั่นเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพราะคุณจะได้ทดสอบฝีมือและความสามารถของตัวเองจากกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งจะทำให้รู้จัก “ตัวเอง” มากขึ้น

เข้าใจถึงสาเหตุของ “ความเกรงใจ” วิธีป้องกันและแก้ไขเพื่อเปลี่ยนเป็นคนใหม

“ทุกเรื่องที่เกิดขึ้นล้วนมีสาเหตุ ทุกอย่างมีเหตุ มีผล พูดง่าย ๆ ก็คือ เมื่อคุณต้องเจอกับเหตุการณ์ ใด ๆ ก็ตาม อย่าคิดว่ามันไม่สามารถเข้าใจได้หรือ เป็นสิ่งที่แปลกประหลาด เพราะทุกเรื่องที่เกิดขึ้น ล้วนแล้วแต่มีเหตุผลทั้งสิ้น ชีวิตของคุณในวันนี้เป็นผลมาจากการกระทำในอดีตของคุณ”


ไม่มีความคิดเห็น: