มหายานสูตราลังกา
ของ
พระมหาพุทธรักษ์ ปราบนอก
ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
อธิการที่ 16
อุทานโศลกในการสงเคราะห์ประเภทของบารมี
*****
โศลกว่าด้วยการจำแนกตัวเลข 6 โศลก
1 ตัวเลข ลักษณะ ลำดับ นิรุกติ คุณแห่งการฝึกฝน ประเภทแห่งสิ่งเหล่านี้ การสงเคราะห์ ฝักฝ่ายอันต่าง คุณอันพึงรู้และการวินิจฉัยกันและกัน
2 ความถึงพร้อมแห่งโภคะ อัตตภาพ ความถึงพร้อมแห่งการประพฤติรอบและการปรารภ อันเกิดขึ้นยิ่ง และแม้การบรรลุความไม่มีอำนาจของกิเลส การเป็นผู้ไม่เดือดร้อน ในสิ่งที่ได้ประทำแล้ว
อรรถาธิบาย โศลกที่ 1 เป็นดังนี้ / การเกิดขึ้นอันยิ่งมี 4 ประการ ด้วยบารมี 4 ประการ / การถึงพร้อมแห่งโภคะด้วยทาน / การถึงพร้อมแห่งอัตภาพด้วยศีล / การถึงพร้อมแห่งการประพฤติรอบด้วยกษานติ / ด้วยประการอย่างนี้ เป็นที่รักของชนจำนวนมาก เพราะการเสพและการถือเอาบารมีนั้น / การถึงพร้อมแห่งการปรารภด้วยความเพียร ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยการงานทั้งปวง / การบรรลุถึงความไม่มีอำนาจของกิเลสด้วยบารมี 5 เพราะข่มไว้ซึ่งกิเลสด้วยฌาน/ เป็นผู้ไม่เดือดร้อนในสิ่งที่ได้ทำแล้วด้วยบารมีที่ 6 เพราะการรู้รอบในความที่กายทั้งปวงเป็นสิ่งไม่มีอยู่ / ด้วยเหตุนั้น หลังจากกระทำยิ่งซึ่งการปรารภการกระทำอันไม่มีกิเลสและไม่วิปริตแล้ว บารมี 6 ก็เป็นอันตั้งมั่น
3 เป็นผู้ประกอบพร้อมในประโยชน์ของสัตว์กระทำการเข้าไปตัดรอนซึ่งการบริจาคด้วยการบวงสรวง ย่อมประพฤติประโยชน์ตนด้วยประการทั้งปวงด้วยการกล่าวซึ่งการตั้งมั่นอันเป็นไปกับด้วยการเริ่มต้น
อรรถาธิบาย โศลกที่ 2 เป็นดังนี้ / พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบโดยชอบในประโยชน์ของสัตว์ด้วยทาน ศีล กษานติ บารมี 3 โดยลำดับ และย่อมกระทำประโยชน์แก่สัตว์ด้วยการบริจาคด้วยการไม่เข้าไปฆ่าและด้วยการไม่ตามฆ่า / และย่อมประพฤติประโยชน์ตนอันมีประการทั้งปวงด้วยจิตอันตั้งมั่นและด้วยวิมุกติอันเป็นไปกับด้วยการเริ่มต้น / อาศัยความเพียรแล้ว เพราะการกำหนดจิตอันตั้งมั่นด้วยฌานและปัญญาโดยลำดับเมื่อจิตตั่งมั่นแล้วจึงหลุดพ้น / นี้แล คือบารมี 6 ปรารภประโยชน์ตนและประโยชน์บุคคลอื่น /
4 ด้วยการไม่ฆ่า ด้วยการไม่เบียดเบียน ด้วยการไม่โกรธต่อผู้เบียดเบียน ด้วยความไม่เสียใจต่อกริยา ด้วยการเจารจาด้วยดีกับชนผู้ดูหมิ่น เป็นประโยชน์ตนและประโยชน์คนอื่น เพราะเหตุนั่นแล/
อรรถาธิบาย โศลกที่ 3 เป็นดังนี้ / การกระทำของพระโพธิสัตว์ ด้วยบารมีมีทานเป็นต้น เป็นการประพฤติเพื่อประโยชน์คนอื่น / ด้วยการไม่เข้าไปตัดรอนอุปการะแห่งบุคคลอื่น ตามลำดับ / ด้วยการไม่เบียดเบียน ไม่โกรธต่อผู้เบียดเบียน / ไม่เสียใจในการประทำอันประกอบด้วยประโยชน์ด้วยการเจรจาด้วยคำสุภาษิตกับชนผู้มีอำนาจมีฤทธิ์เป็นต้นและผู้ดูหมิ่น เพราะเข้าไปตัดเสียซึ่งความสงสัย / ด้วยเหตุดังนี้ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประพฤติประโยชน์ตน เพราะประพฤติประโยชน์คนอื่น / และเป็นผู้ได้รับโพธิอันยิ่งใหญ่ จากการกระทำเพื่อคนอื่น และการกระทำเพื่อตน / บารมี 6 เพราะการกระทำอันยิ่งเพื่อประโยชน์คนอื่นอันเป็นไปกับด้วยกาล/
5 ผู้ไม่ยินดีในโภคะมีความเป็นผู้หนักในธรรมเป็นผู้ไม่มีในความเป็น 2 เป็นผู้มีโยคะอันไม่หลอกลวง มียานอันสูงสุดอันไม่มีใดเสมอนี้
อรรถาธิบาย โศลกที่ 4 เป็นดังนี้ / ความไม่ยินดีในโภคะของพระโพธิสัตว์ด้วยทานเพราะการไม่เข้าไปเพ่งเล็ง / ความเป็นผู้หนักอันมั่นคงในการศึกษาของพระโพธิสัตว์ด้วยศีลและสมาธิ / เป็นผู้ไม่เบื่อหน่ายด้วยกษานติและความเพียร และในความเป็น 2 ในการกระทำเพื่อสัตว์และอสัตว์ผู้มีทุกข์และในการประกอบกุศลตามลำดับ / โยคะอันไม่หลอกลวงด้วยฌานและปัญญาอันสงเคราะห์ด้วยสมถะและวิปัสสนา / ด้วยเหตุนั้น บารมี 6 โดยการกระทำยิ่งในการสงเคราะห์ด้วยมหายาน โดยย่อ /
6 มรรคอันไม่ยึดมั่นในอารมณ์ทั้งหลาย อีกอย่างในการสำรวมจากการเป็นสิ่งตรงข้ามเพื่อการบรรลุ ในการไม่ทอดทิ้งสัตว์อีกอย่างในการชำระเครื่องกีดขวาง
อรรถาธิบาย โศลกที่ 5 เป็นดังนี้ / มรรคอันไม่ยึดมั่นในอารมณ์ทั้งหลาย คือ ทานในที่นี้ ด้วยความฝึกฝนในการบริจาค เพราะไปปราศจากความยึดมั่นนั้น/ ในการสำรวมจากการเป็นสิ่งตรงข้ามเพื่อการบรรลุ คือ ศีล ในการบรรลุถึงอารมณ์แห่งภิกษุผู้สำรวมตั้งมั่น อันไม่เป็นไปเพื่อการเป็นฝึกฝ่ายจากการงานทั้งปวง / การอนุเคราะห์สัตว์ คือ กษานติ ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งทุกข์อันเป็นอุปการะทั้งปวง / ในการเจริญกุศล คือ ความเพียร เพราะการถึงพุทธินั้น ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร / มรรคในการชำระเครื่องกีดขวาง คือ ฌาน และปัญญา เพราะการชำระเครื่องกีดขวางคือกิเลสและความรู้ทั้ง 2 นั้น / มรรค คือ อุบายวิธี / บารมี 6 จากการกระทำยิ่งในมรรคอันมีอาการทั้งปวงอย่างนี้ /
7 เพราะได้กระทำยิ่งในไตรสิกขาแล้ว บารมี 6 อันพระชินเจ้าได้กล่าวถึงแล้วว่ามี 3 ในตอนต้นสุดท้ายมี 2 ในตอนที่ 2 มี 1 ในตอนที่ 3 /
อรรถาธิบาย โศลกที่ 6 เป็นดังนี้ / ในที่นี้อธิศีลสิกขา คือ บารมี 3 เพราะสงเคราะห์เข้ากับการดูแลและบริวาร / เพราะว่าผู้ไม่มีความเพ่งเล็งในโยคะ ด้วยทานในการสมาทานศีล และสมาทานแล้ว ย่อมรักษาด้วยกษานติ ด้วยความไม่โกรธ เป็นต้น / อธิจิต อธิปัญญา 2 ประการถูกสงเคราะห์เป็นด้วยความเป็น 2 อันสุดท้ายคือ ด้วยฌานและปัญญาตามลำดับ / ในสิกขาบท 3 นี้พึงทราบว่าวิริยบารมีเป็นหนึ่ง / เพราะความที่วิริยะเป็นสหายแก่บารมีทั้งปวง /
โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะ 6 โศลก
8 ท่านอันทำลายฝ่ายตรงข้ามถึงแล้วด้วยชญานอันไม่มีการแยกแยะ อันบริสุทธิ์ด้วยความปรารถนาทั้งปวงอันยังสัตว์ให้แก่รอบมี 3 ประการ
อรรถาธิบาย ทานของพระโพธิสัตว์มีลักษณะ 4 / ทำลายฝ่ายตรงข้าม เพราะประหารเสียซึ่งความตระหนี่ / สหคตด้วยความรุ้อันไม่แยกแยะ เพราะประกอบด้วยการบรรลุธรรมไนราตมยะ บริบูรณ์ด้วยความปรารถนาทั้งปวง เพราะบุคคลใดย่อมปรารถนาสิ่งใด ให้สิ่งนั้นแก่บุคคลนั้น / ยังสัตว์ให้แก่รอบสงเคราะห์สัตว์ด้วยทานอันมี 3 ประการแล้ว จึงประกอบเฉพาะไว้ในยาน 3
9 ศีล อันทำลายฝ่ายตรงข้าม อันถึงแล้วด้วยชญานอันไม่มีการแยกแยะ อันบริบูรณ์ด้วย ความปรารถนาทั้งปวงอันยังสัตว์ให้แก่รอบมี 3 ประการ
10 กษานติ อันทำลายฝ่ายตรงข้าม อันถึงแล้วด้วยชญานอันไม่มีการแยกแยะ อันบริบูรณ์ด้วยความปรารถนาทั้งปวงอันยังสัตว์ให้แก่รอบมี 3 ประการ
11 วีรยะ อันทำลายฝ่ายตรงข้าม อันถึงแล้วด้วยชญานอันไม่มีการแยกแยะ อันบริบูรณ์ด้วยความปรารถนาทั้งปวงอันยังสัตว์ให้แก่รอบมี 3 ประการ
12 ธยาน อันทำลายฝ่ายตรงข้าม อันถึงแล้วด้วยชญานอันไม่มีการแยกแยะ อันบริบูรณ์ด้วยความปรารถนาทั้งปวงอันยังสัตว์ให้แก่รอบมี 3 ประการ
13 ปัญญา อันทำลายฝ่ายตรงข้าม อันถึงแล้วด้วยชญานอันไม่มีการแยกแยะ อันบริบูรณ์ด้วยความปรารถนาทั้งปวงอันยังสัตว์ให้แก่รอบมี 3 ประการ
อรรถาธิบาย ลักษณะทางมี 3 ประการอย่างไร ก็พึงทราบลักษณะแห่งศีลเป็นต้นก็อย่างนั้นเหมือนกัน / แต่ว่าฝ่ายตรงข้ามของสิ่งเหล่านั้น คือ ความโกรธต่อการทุศีล ความซัดส่ายไปสู่ความเกียจคร้าน และปัญญาทรามโดยลำดับ / ความมีความบริบูรณ์ด้วยความปรารถนาทั้งปวง คือ เพราะมีความบริบูรณ์แห่งความปรารถนาด้วย การสำรวมกายวาจา การอดกลั้นต่อความผิด การปรารถนาเพื่อช่วยเหลือ การตัดเสียซึ่งความสงสัย เพราะมีความบริบูรณ์แห่งความปรารถนาด้วย มีศีลเป็นต้น / ความเป็นสิ่งยังสัตว์ให้แก่รอบคือ เพราะการประกอบด้วยศีลเป็นต้นแล้วให้แก่รอบในยาน 3 /
โศลกว่าด้วยการจำแนกลำดับ
14 การกล่าวด้วยการอุบัติขึ้นก่อนขณะและหลังโดยลำดับ อันต่ำทราม อันสูงส่ง อันเป็นสถานที่เริ่มต้นและความเป็นสิ่งละเอียดอ่อนอันมั่นคง
อรรถาธิบาย การแสดงออกโดยลำดับแห่งทานเป็นต้นเหล่านั้นด้วยเหตุ 3 / ด้วยความถึงพร้อมแต่ก่อนขณะและภายหลัง / เพราะบุคคลผู้ไม่มีความเพ่งเล็งในโภคะ สมาทานศีลแล้ว ผู้มีศีลเป็นผู้มีความอดกลั้น ผู้มีความอดกลั้น ปรารภความเพียร ผู้ปรารภความเพียร ทำสมาธิให้เกิด ผู้มีจิคตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ทั่วตามความเป็นจริง / เพราะความเป็นผู้ต่ำทรามในตอนก่อนก็ตั้งอยู่ในที่สูงส่งในตอนท้าย / ทานเป็นสิ่งต่ำทราม ศีลนั่นแลเป็นสิ่งสูงส่ง กระทั่งว่า ธยานเป็นสิ่งต่ำทราม ปัญญาเป็นสิ่งสูงส่ง / จากจุดเริ่มต้นอันหยาบแห่งตอนต้น เป็นความละเอียดอ่อนในตอนท้าย / เพราะว่าทานเป็นของหยาบ เพราะเข้าถึงง่ายและเพราะกระทำได้ง่าย / ศีลเป็นสีงละเอียดกว่าทานนั้น เพราะเข้าถึงได้ยากและเพราะกระทำได้ยาก / เป็นอย่างนี้กระทั่งถึงธยานเป็นของหยาบ ปัญญาเป็นของละเอียดอ่อน /
โศลกว่าด้วยการจำแนกนิรุกติ
15 ความเป็นผู้ขัดสนจากเครื่องเลี้ยงชีวิตและเพราะการได้ความหนาวเย็น ผู้โกรธเพราะความสิ้นไป โยคะอันประเสริฐ การรักษาใจด้วย โยคะอันประเสริฐ ความรู้อันเป็นปรมัตถ์ เป็นคำกล่าว
อรรถาธิบาย ทานก็คือ เครื่องเลี้ยงชีวิตแห่งผู้ขัดสน / ศีล คือ การได้รับความหนาวเย็นจากทานและศีลทั้ง 2 นั้น จึงมีอารมณ์ นิมิต กิเลสอันถูกประหาร / กษานติ คือความโกรธเพราะการสิ้นไป เพราะการสิ้นไปแห่งความโกรธ วิริยะ คือ การประกอบความเพียร เพราะการประกอบในกุศลธรรม / ธยาน คือ ย่อมทรงไว้ซึ่งใจอันเป็นใหญ่ / ปัญญา คือ ย่อมรู้ปรมัตถ์
โศลกว่าด้วยการจำแนกภาวนา
16 ภาวนา อาศัยอุปธิแล้วย่อมกล่าวว่าเป็นนมัสการ การอาศัยเช่นนั้น อุบายวิธี วิมุกติ แห่งสิ่งทั้งปวงนั่นเทียว
โศลกว่าด้วยประเภทแห่งทาน 2 โศลก
17 เจตนาแห่งอรรถ การให้อันอาศัยมูล ความถึงพร้อมแห่งโภคะและอัตภาพ ความบริบูรณ์อันอนุเคราะห์ความเป็น 2 /
18 บัณฑิตเลือกเฟ้นธรรม อามิสและอภัยทาน อันเห็นแล้ว อันประกอบด้วยความไม่ตระหนี่แล้วจึงให้ทาน
อรรถาธิบาย การถือเอาประโยชน์ เป็นสวภาวะของทานในปฏิคาหก/ เจตนาอันเกิดขึ้นด้วยความไม่โลภเป็นต้น เป็นเหตุ / การถึงพร้อมแห่งโภคและการถึงพร้อมแห่งอัตภาพ อันนับด้วยอายุเป็นต้น เป็นผล อันเป็นสถานะทั้ง 5 ในพระสูตร / การอนุเคราะห์ตนและผู้อื่นและความบริบูรณ์แห่งการรวบรวมมหาโพธิ เป็นกรรม / การประกอบอันไม่ตระหนี่ คือ เป็นไปในความไม่ตระหนี่ / ด้วยการจำแนกการให้ธรรม อามิส และอภัย อันเห็นแล้ว เป็นหน้าที่
โศลกว่าด้วยประเภทแห่งศีล 2 โศลก
19 องค์ 6 อันมีภาวะอันสงบเป็นที่สุด อันให้ตั้งมั่นในสุคติอันไม่มีความกลัว เพราะสงบตั้งมั่น อันประกอบพร้อมด้วยการสั่งสมบุญ
20 อันได้ธรรมตาอันสังเกตุแล้ว ย่อมมีอยู่ในสภาวะอันมีกำลังบัณฑิตรู้จักศีลอย่างนี้แล้ว พึงสมาทาน /
อรรถาธิบาย องค์ 6 เป็นสวภาวะ / องค์ 6 คือ ผู้มีศีล ย่อมอยู่จนกระทั่งสมาทานแล้วศึกษาในสิกขาบท / อันมีภาวะอันสงบเป็นที่สุด เป็นเหตุ / เพราะสมาทานด้วยการอภิปรายนิรวาณ / การให้ความตั้งมั่นในสุคติเป็นผล / เพราะการถึงสุคติด้วยศีล / และเพราะได้ความตั้งมั่นแห่งจิตด้วยลำดับแห่งความไม่เดือดร้อนภายหลัง เป็นต้น / อันไม่มีความหวาดกลัวเพราะสงบตั้งมั่น เป็นกรรม / เพราะว่าศีลเป็นที่พึ่งแห่งคุณทั้งปวง / และสงบ เพราะความสงบจากการเผาไหม้ของกิเลส / ปฏิบัติปาณาติบาต เป็นต้น / อันประกอบด้วยการสั่งสมบุญเป็นโยคะ เพราะประพฤติชอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม / อันได้ความที่แห่งธรรมอันสังเกตุได้ ย่อมมีในสภาวะอันมีกำลัง เป็นหน้าที่ ในที่นี้ การได้การสังเกตุ คือ การนับพร้อมว่าเป็นปฏิโมกขสังวร / การได้ธรรมตา คือ การนับพร้อมว่าการสำรวมจากอาสวะในฌาน / หน้าที่อันแตกต่างแห่งศีลเหล่านี้ เพราะเป็นไปโดยความแตกต่าง 3 ประการ / มีอยู่ในการสังวร คือ อาจาระและหน้าที่/
โศลกว่าด้วยประเภทแห่งกษานติ 2 โศลก
21 ความปรารถนาและความรู้ในการให้อภัย ด้วยความกรุณา ด้วยการอาศัยธรรม อันนับว่าเป็นอนุสัย 5 อันกระทำเพื่อประโยชน์ทั้ง 2 นั้น
22 ตบะ อันประกอบด้วยพละ อันเป็นที่ทราบว่ามี 3 ประการ บัณฑิตรู้กษานติอย่างนี้แล้ว พึงสมาทาน /
อรรถาธิบาย ความปรารถนาและความรู้ในการให้อภัย เป็นสวภาวะของกษานติอันมี 3 ประการ / ความปรารถนาอันเป็นอุปการะแก่กษานติ กล่าวคือ กระทำแล้วซึ่งความปรารถนา / กษานติด้วยการข่มทุกข์ไว้และกษานติด้วยการหลงลืมธรรม ตามลำดับ / เพราะกรุณาและเพราะอาศัยธรรม เป็นเหตุ / อีกประการ คือ การอาศัยธรรม / และความปรารถนาเพื่อได้ฟังการสมาทานศีล การนับว่าเป็นอนุสัย 5 ประการเป็นผล / เหมือนดังที่กล่าวแล้วในพระสูตร / ด้วยอนุสัย 5 ในกษานติ / ไม่เป็นผู้มากด้วยเวร / ไม่เป็นผู้มากด้วยความแตกต่าง / เป็นผู้มากด้วยสุขและโสมนัส /เป็นผู้ไม่มีวิปฏิสาร ย่อมทำกาละ / หลักจากกายแตกย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อันเป็นทิพย์ ดังนี้ / อันกระทำเพื่อประโยชน์ 2 คือ การข่มความปรารถนาและการกระทำอันยิ่งนี้เป็นกรรม / เหมือนดังที่กล่าวว่า / บุคคลใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้วให้สงบด้วยตน บุคคลนั้นผุ้กระทำเพื่อประโยชน์ทั้ง 2คือ เพื่อตน และเพื่อผู้อื่น ดังนี้ /
ตบะอันประกอบด้วยพละ เป็นโยคะ / เหมือนที่กล่าวว่า / กษานติเป็นตบะอันยิ่งยอดดังนี้ / การเป็นไปแห่งการทรงไว้เฉพาะในกษานติเหล่านั้น เป็นหน้าที่ในความอดทนทั้งหลาย / เป็นที่ทราบว่ามี 3 ประการ คือ หน้าที่อันแตกต่างโดยประเภทแห่งกษานติ 3ประการ เหมือนอย่างที่กล่าวแล้ว ก่อน /
โศลกว่าด้วยประเภทแห่งความเพียร 2 โศลก
23 อุตสหะในกุศลอันชอบ ศรัทธา ฉันทะอันตั้งมั่นเจริญด้วยคุณมีสติ เป็นต้น และความเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส
24 เข้าไปใกล้คุณมีอโลภะเป็นต้น และมี 7 ประการในความเพียรเหล่านั้น บัณฑิตรู้ความเพียรอย่างนี้แล้วพึงสมาทาน /
อรรถาธิบาย อุตสาหะในกุศลอันชอบ / เป็นสวภาวะกุศล คือ อุตสาหะ ในกิจของคนอื่น เพื่อการนำออกซึ่งความสงสัยอันชอบคือ อุตสาหะ ในโมกษะแห่งอัญเดียรถีย์ เพื่อการนำออกความสงสัย / ศรัทธาฉันทะอันตั้งมั่นคือ เหตุ เพราะว่าผู้มีศรัทธาย่อมปรารภความเพียร / การเจริญด้วยคุณมีสติเป็น เป็นผล / เพราะคุณมีสติ สมาธิ เป็นต้น เกิดขึ้นแก่ผู้มีวิริยะอันปรารภแล้ว / อันเป็นปฏิบักษ์ต่อกิเลสเป็นกรรม / เหมือนอย่างที่กล่าวว่า / แต่ว่าผู้ปรารภความเพียรย่อมอยู่เป็นสุขเพราะไม่เกลือนกล่นด้วยธรรมอันเป็นบาป อกุศล ดังนี้ / เข้าไปใกล้คุณมีอโลภะเป็นต้น เป็นโยคะ / การทรงไว้เฉพาะในการปรารภความเพียรเหล่านี้ เป็นหน้าที่ / มี 7 ประการ คือ ประเภทแห่งหน้าที่ / อีกประการหนึ่งความเพียรคือ ไตรสิกขาอันมีอธิศีล เป็นต้นและการกระทำอันติดต่ออันเป็นไปทางกายและอันเป็นไปทางใจ /
โศลกว่าด้วยประเภทแห่งฌาน 2 โศลก
25 ความตั้งมั่นแห่งใจ อันยิ่งใหญ่สติ วิริยะตั้งมั่น ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งสุข เป็นผู้เป็นไปในการอยู่ด้วยอภิญญาและอำนาจ
26 ย่อมมีความเป็นใหญ่แห่งธรรมและมี 3 ประการบัณฑิตรู้ฌานอย่างนี้แล้วพึงสมาทาน
อรรถาธิบาย ความตั้งใจมั่นแห่งใจอันยิ่งใหญ่ เป็นสวภาวะ / สติวิริยะ ตั้งมั่น เป็นเหตุ / เมื่อความไม่พร้อมแห่งพื้นฐาน มีอยู่เพราะอาศัยความเพียรจากสมาบัติและอภินิหาร / การเกิดขึ้นพร้อมแห่งความสุขคือ ผล เพราะความที่การเกิดขึ้นแห่งโพธิเพราะมีฌานเป็นผล / อันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการอยู่ด้วยอภิญญาเป็นกรรม / เพราะความเป็นไปในอำนาจด้วยอภิญญานั้น ด้วยฌาน / และเพราะเป็นไปในอำนาจแห่งพรหมวิหารอันประเสริฐ / ความเป็นใหญ่แห่งธรรมเป็นโยคะ เพราะความเป็นใหญ่ / เหมือนที่กล่าวว่า / ธรรมทั้งปวงมีสมาธิเป็นประมุข ดังนี้ / ย่อมมีในวิริยะนั้นเป็นหน้าที่การทรงไว้เฉพาะนี้เป็นหน้าที่ในฌานทั้งหลาย / มี 3 ประการ คือ เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร เท่านั้น / ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร / อีกประการ สหคตด้วยปิติ / สหคตด้วยเสียใจ / สหคตด้วยอุเบกขา / นี้เป็นประเภทแห่งหน้าที่ /
โศลกว่าด้วยประเภทแห่งปัญญา 2 โศลก
27 การเลือกเฟ้นความรู้โดยชอบ ความสงบตั้งมั่น เพื่อการหลุดพ้นด้วยดี แสดงความเป็นอยุ่ด้วยปัญญาจากกิเลส /
28 ย่อมรู้ธรรมอันยอดเยี่ยม 3 ประการ บัณฑิตรู้ปัญญาอย่างนี้แล้วพึงสมาทาน
อรรถาธิบาย การเลือกเฟ้นความรู้โดยชอบเป็นสวภาวะ / โดยชอบ คือ ความรู้อันไม่โอ้อวด กล่าวคือ เลือกเฟ้นโดยชอบในกิจอันเป็นโลกิยะ เพื่อกำจัดความสงสัย / ความยินดีตั้งมั่น เป็นเหตุ / จิตอันอบรมแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง / เพราะเหตุนั้นห่างจากกิเลสเพื่อการหลุดพ้นด้วยดีเป็นผล / เพราะว่าเป็นผู้มีวิโมกข์จากกิเลสด้วยผลนั้น / ด้วยการเลือกเฟ้นด้วยโลกิยะ ด้วยโลกุตตระอันเลว ด้วยโลกุตตระอันยิ่งใหญ่ / การแสดงการเป็นอยู่ด้วยปัญญา กล่าวคือ เป็นอยู่ด้วยปัญญาและแสดงการเป็นอยู่นั้น เป็นกรรม / เพราะว่า ปัญญาอันเป็นอนุตตระย่อมเป็นอยู่แห่งผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญานั้น / ย่อมแสดงธรรมโดยชอบดังนี้ / ความยอดเยี่ยมแห่งธรรมเป็นโยคะ เพราะความเป็นสิ่งยอดเยี่ยม / เหมือนดังที่กล่าวธรรมทั้งปวงมีปัญญาเป็นยอดเยี่ยม ดังนี้ / รู้ว่ามี 3 ประการ ในปัญญานั้นเป็นหน้าที่ / เพราะการเป็นไปในปัญญาด้วย 3 วิธีและโดยประเภท / โลกิยะ โลกุตตระอันเลว โลกุตตระอันยิ่งใหญ่ / โดยประเภทแห่งอรรถ 6 แห่งทานที่ให้แล้วและไม่ให้แล้วอันเฉพาะตน ท่านกล่าวว่าเป็นประเภท /
โศลกว่าด้วยการจำแนกการสังเคราะห์
29 ธรรมอันเป็นกุศลทั้งปวง เป็นสิ่งอันพึงรู้ด้วยหมวด 2 อันพร้อมด้วยการซัดส่ายไปเป็นสิ่งอันถือเอารอบ ผสังเคราะห์) ด้วยบารมี 222 /
อรรถาธิบาย ธรรมอันเป็นกุศลทั้งปวง คือ ธรรมมีทานเป็นต้น / ในที่นี้อันซัดส่ายไปด้วยบารมี 2 เพราะความที่ไม่อบรมพร้อมด้วยศีลอันสมาทานการให้ทาน ประการที่ 1 / อันอบรมแล้ว เพราะอบรมด้วยปัญญาอันเป็นจริงด้วยฌานอันเป็นที่สุดทั้ง 2 / กษานติ วิริยะทั้ง 2 /เพราะการไม่อบรมและอบรมแล้ว 3 คู่
โศลกว่าด้วยการจำแนกฝักฝ่าย 6 โศลก
30 ทานอันไม่ยึดติด ทานอันไม่ยึดติด ทานอันไม่ยึดติด ทานอันไม่ยึดติด ทานอันไม่ยึดติด ทานอันไม่ยึดติดของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
อรรถาธิบาย การไม่ยึดติด 7 ประการ เป็นฝักฝ่ายแห่งทาน / ไม่ยึดติดในการเสวย ไม่ยึดติดในอารมณ์ ไม่ยึดติดเพียงแต่ความสันโดษ ไม่ยึดติดในการตกไปแห่งฝ่าย ไม่ยึดติดในการกระทำตอบ ไม่ยึดติดในวิบาก และไม่ยึดติดในฝ่ายตรงข้าม นี้เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งอนุสัยในการได้ของฝ่ายตรงข้าม / และไม่ยึดติดในการเพ่งเล็ง / อีกประการหนึ่ง การไม่เพ่งเล็งมี 2 ประการ / การเพ่งเล็งในมนสิการ เพราะการถูกต้องซึ่งหีนยาน / และการเพ่งเล็งในความไม่แยกแยะ เพราะการไม่แยกแยะทายก ปฏิคาหก และทาน / ดังนั้น การยึดติดมี 7 ประการ เหมือนที่กล่าวแล้ว กิจอันควรทำ 7 แห่งทานท่านกล่าวว่าเป็นความไม่ยึดติด /
31 ศีลอันไม่ยึดติด ศีลอันไม่ยึดติด ศีลอันไม่ยึดติด ศีลอันไม่ยึดติด ศีลอันไม่ยึดติด ศีลอันไม่ยึดติดของพระโพธิสัตว์
32 กษานติอันไม่ยึดติด กษานติอันไม่ยึดติด กษานติอันไม่ยึดติด กษานติอันไม่ยึดติด กษานติอันไม่ยึดติด กษานติอันไม่ยึดติด ของพระโพธิสัตว์
33 วิริยะอันไม่ยึดติด วิริยะอันไม่ยึดติด วิริยะอันไม่ยึดติด วิริยะอันไม่ยึดติด วิริยะอันไม่ยึดติด วิริยะอันไม่ยึดติด ของพระโพธิสัตว์
34 ฌานอันไม่ยึดติด ฌานอันไม่ยึดติด ฌานอันไม่ยึดติด ฌานอันไม่ยึดติด ฌานอันไม่ยึดติด ฌานอันไม่ยึดติด ของพระโพธิสัตว์
35 ปํญญาอันไม่ยึดติด ปํญญาอันไม่ยึดติด ปํญญาอันไม่ยึดติด ปํญญาอันไม่ยึดติด ปํญญาอันไม่ยึดติด ปํญญาอันไม่ยึดติด ของพระโพธิสัตว์
อรรถาธิบาย เหมือนการยึดติดของทานที่กล่าวแล้วพึงทราบว่าในศีลอย่างนั้นจนกระทั่งถึงปัญญา / แต่ว่าในที่นี้ พึงทราบว่าการยึดติด เพราะความเป็นผู้ทุศีลด้วยความเป็นไปรอบแห่งความยึดติดในการเสวยอันวิเศษ เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งอนุสัยอันเป็นฝ่ายตรงข้ามจากการยึดติดในฝ่ายตรงข้าม / การเพ่งเล็งอันไม่แยกแยะ เพราะเป็นไปในมณฑล 3 ตามโยคะ /
โศลกว่าด้วยการจำแนกคุณ 23 โศลก
36 ผู้เกิดแต่พระพุทธเจ้าได้บริจาคตนเองเพื่อผู้มาก่อนเพื่อขอหรือชักชวนอย่างไม่มีความสงสาร ไม่ถามถึงการกระทำตอบ ไม่รอคอยผลและด้วยการให้ทานนี้ ท่านปรารถนาให้สัตว์บรรลุโพธิ 3 ประการ โดยมีความรู้ ท่านได้ตั้งมั่นการให้ทานไว้ในโลกตลอดกาล
บทและอรรถอันรู้ได้ง่ายอย่างนี้
37 หมวด 3 แห่งศีลอันพุทธาสุตา (ผู้เกิดแต่พระพุทธเจ้า) ยึดถือแล้วอันเป็นที่เกิดแห่งความเพียร ผู้ไม่ปรารถนาสวรรค์และเมื่อถึงความสงบอันความยึดถือไม่ครอบงำได้ในสวรรค์นั้น ผู้ยกชนทั้งปวงขึ้นสู่โพธิ 3 ประการ ด้วยศีลนั้นแล ด้วยการครอบครองความรู้ศีลอันไม่รู้จักสิ้นก็ตั้งมั่นในโลก
อรรถาธิบาย ศีลมี 3 ประการ / ศีลคือความสำรวม / ศีลคือการยึดถือพร้อมซึ่งกุศลธรรม / และศีลคือการกระทำเพื่อประโยชน์คนอื่น / สวภาวะ คือ ความมีอัตตาเดียว / สวภาวะแห่งความเพียรมี 2 ประการ /
38 ความอดทนอันผู้เกิดแต่พระพุทธเจ้ามีความสามารถอันกระทำได้โดยยาก อันเป็นความผิดทั้งปวงของชนทั้งหลาย อันไม่เป็นที่ปรารถนาเพื่อสวรรค์ และอันเป็นเพราะความสิ้นไปแห่งอุปการะ เพราะความไม่กลัว ท่านยกชนทั้งปวงขึ้นสู่โพธิ 3 ประการ ด้วยความอดทนอันยอดเยี่ยม และด้วยการถือครองความรู้ ความอดทนอันไม่รู้จักสิ้น อันท่านตั้งมั่นไว้แล้วในโลกอีก
อรรถาธิบาย อย่างนี้ / ด้วยความอดทนอันยอดเยี่ยม คือ อดกลั้นด้วยการข่มทุกข์ไว้ และอดกลั้นต่อความผิดของผู้อื่น ตามลำดับ /
39 ความเพียรอันผู้เกิดแต่พระพุทะเจ้ากระทำแล้ว อันไม่มีอุปกา อันเป็นอุปกรณ์และการประกอบ ย่อมทำลายหมู่แห่งกิเลสโดยตนเองและ โดยคนอื่น และเพื่อกาถึงโพธิอันยอดเยี่ยม ท่านยกชนทั้งปวงขึ้นสู่โพธิ 3 ประการด้วยความเพียรนั้น และโดยการยึดถือความรู้ ความเพียรอันไม่รู้จักสิ้น ท่านก็ตั้งมั่นไว้แล้วในโลก /
อรรถาธิบาย คืออย่างนี้ / ความเพียรอันเป็นเครื่องมือ และความเพียรคือ การประกอบ /
40 ธยาน (ฌาน) อันผู้เกิดแต่พระพุทธเจ้าให้เกิดพร้อมแล้ว อันมากด้วยสมาธิ โดยประการทั้งปวง อยู่แล้วด้วยความสุขในฌาน อันประเสริฐ มีการอุบัติในภพอันเลวเป็นที่อาศัยด้วยความกรุณา และยกหมู่ชนทั้งปวงขึ้นสู่โพธิ 3 ประการ ด้วยฌานนั้นและ โดยการถือครองความรู้ ฌานอันไม่รู้จักสิ้นอันท่านตั้งมั่นไว้แล้วในโลกอีก
อรรถาธิบาย คืออย่างนี้ / มากด้วยสมาธิ คือ ยึดถือสมาธิแห่งพระโพธิสัตว์เป็นอนันต์ /
41 ความรู้อันผู้เกิดแต่พระพุทธเจ้ารู้แล้ว อันไม่ติดขาดซึ่งการสืบต่อโดยประการทั้งปวงไม่มีความยึดมั่น ไปนำให้เกิดในความหมุนไปความหมุนไปพร้อมด้วยพระพุทธเจ้ามีแต่ที่ไหน ด้วยความรู้นั้นท่านยกหมู่ชนทั้งปวงขึ้นสู่โพธิ 3 ประการ ด้วยการยึดถือสัตว์ท่านได้ตั้งมั่นความรู้อันไม่รู้จักสิ้นไว้ในโลกแล้วอีก
อรรถาธิบาย คืออย่างนี้ ความสืบต่ออันยึดถือพร้อมซึ่งปรมัตถ์ สามัญลักษณะ ความไม่มีตัวตนแห่งบุคคล และธรรม / คำว่าเชฺญยํ จ ยตฺ คือ ความรู้อันมีลักษณะประเภทต่างๆมีอนันตสวเกต เป็นต้น / ความไม่รู้จักสิ้นไปเพราะการถือครองความรู้อันไม่มีการแยกแยะแห่งบารมีทั้งหลายมีทานเป็นต้น เป็นความไม่รู้จักสิ้นไปแม้ในนิรวาณอันไม่มีอุปธิเหลือ / อีกประการหนึ่ง ด้วยการยึดถือสัตว์ด้วยความรู้และเพราะความไม่ยึดถือแห่งสัตว์เพราะความกรุณา / อรรถอันแยกย่อยแห่งโศลกทั้ง 6 เหล่านั้น อันท่านแสดงแล้วด้วยโศลกที่ 7 /
42 ความยินดี ความไม่มีอามิส อรรถอันยิ่งใหญ่และความไม่รู้จักสิ้นไปคุณ 4 ประการอันบุคคลพึงรู้อย่างย่อของบารมีมีทานเป็นต้น
อรรถาธิบาย คือย่างนี้ / ในที่นี้ โดยบาทที่หนึ่งแห่งทานเป็นต้นความใจกว้างอันท่านแสดงแล้ว / โดยบาทที่ 2 ท่านแสดงความไม่มีอามิส /ด้วยบาทที่ 3 ท่านแสดงความมีประโยชน์ยิ่งใหญ่ เพราะการเกิดประโยชน์แก่สัตว์อันยิ่งใหญ่ / ด้วยบาทที่ 4 ท่านแสดงความไม่รู้จักสิ้น และพึงทราบด้วยโศลกนี้ท่านแสดงหมวด 4 แห่งทานเป็นต้นเหล่านั้น /
43 ความยินดีอันเต็มด้วยทรรศนะในผู้ขอ และความไม่ยินดี ความทะเยอทะยาน ผู้มีความกรุณาปราณี ผู้ให้สิ่งเหล่านั้นย่อมครอบงำด้วยโยคะอันยิ่ง
อรรถาธิบาย ในชนผู้ขอ เพราะมีความเห็นซึ่งผู้ให้และได้ความต้องการแล้ว มีมโนรถอันบริบูรณ์ ท่านเรียกว่า ความยินดี / ความไม่ยินดีคือ เพราะความเห็นอันไม่บริบูรณ์ / ความทะเยอทะยานคือ ความเห็นยังไม่บริบูรณ์เช่นเดียวกัน / สิ่งนั้นท่านเรียกว่า "ยิ่ง" ของพระโพธิสัตว์เพราะการเห็นผู้ขอและเพราะความบริบูรณ์แห่งมโนรถ / ความไม่ยินดีเพราะความไม่บริบูรณ์แห่งทรรศนะ / ดังนั้น ผู้ให้ผู้มีความกรุณาปราณี ย่อมครอบงำสิ่งทั้งปวง เพราะโยคะอันยิ่ง /
44 เพราะความกรุณาปราณีต่อชีวิต โภคะ ภรรยา ชนเหล่าอื่น ตลอดเวลาในสัตว์ทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมไม่ยินดีซึ่งความไม่มีกาม ไม่มีความยินดี ด้วยการเลี้ยงดู ได้อย่างไร
อรรถาธิบาย ไม่มีความยินดีด้วยสิ่งเหล่านั้น คือไม่มีความยินดีด้วยชี่วิตโภคะและภรรยาอันเป็นของบุคคลอื่น / ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงแสดงคุณแห่งศีล คือ การเว้นจากกายทุจริตเป็นต้น อันมี 3 ประการ /
45 ไม่มีความแห่งเล็ง มีจิตเสมอ ไม่มีความกลัว ผู้ให้แก่คนทั้งปวงเพราะมีความกรุณาเป็นเหตุ ผู้ประเสริฐพึงกล่าวคำอันไม่จริงเพื่อการเข้าไปฆ่าคนอื่นได้อย่างไร
อรรถาธิบาย ด้วยโศลกนี้ท่านแสดงคุณแห่งการเว้นจากการกล่าวมุสา / ไม่พึงกล่าวมุสาเพราะเหตุแห่งคน เพราะการไม่เพ่งเล็งในกายและชีวิต / หรืออีกประการหนึ่ง เพราะเหตุแห่งคนอื่นด้วยความรักต่อชนอันเป็นที่รัก / หรือด้วยความกลัว เพราะกลัวพระราชาเป็นต้น / หรือเพราะการได้อามิสอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเหตุ / เพราะพระโพธิสัตว์เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งในกายและชีวิตของตน / มีจิตเสมอ เพราะความเป็นผู้มีจิตเสมอด้วนตนในสรรพสัตว์ / ไม่มีภัย (ความกลัว) เพราะการก้าวล่วงภัยทั้ง 5 ประการ / ผู้ให้แก่คนทั้งปวง เพราะสละสิ่งของของตนทั้งปวงแก่ผุ้มีความต้องการ / ด้วยเหตุไร ท่านจะพึงกล่าวเท็จเล่า /
46 ผู้มีความปรารถนาประโยชน์อันเสมอ มีความกรุณา เป็นผู้หวาดกลัวอย่างยิ่งต่อการเกิดทุกข์แก่คนอื่น เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วในวินัยแห่งสัตว์ เป็นผู้ไกลอย่างยิ่งจากโทษทางคำพูดอันมี 3 ประการ
อรรถาธิบาย พระโพธิสัตว์เป็นผู้ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูลอันเสมอในสรรพสัตว์ จักกระทำการกล่าวร้ายเพื่อทำลายมิตรของบุคคลอื่นได้อย่างไร / มีความกรุณา เพราะอภิปรายการดับทุกข์ของคนอื่น เป็นผู้กล่าวอย่างยิ่งต่อการเกิดทุกข์ของคนอื่น ท่านจักกล่าวคำผรุสวาท เพื่อการเกิดทุกข์ของคนอื่นได้อย่างไร / ท่านเป็นผู้ประกอบโดยชอบ ในวินัยของสัตว์ทั้งหลาย จักกล่าวคำเพ้อเจ้อได้อย่างไร เพราะเหตุนั้นในความเป็นผู้ไกลจากโทษทางคำพูด 3 ประการ การกล่าวว่าร้าย การกล่าวคำหยาบ และคำเพ้อเจ้อ /
47 เป็นผู้ให้แก่คนทั้งปวง มีความกรุณาปราณี ผู้มีความฉลาดในการเกิดขึ้นแห่งธรรมอันอาศัยกันเกิดขึ้น พึงข่มไว้ซึ่งกิเลสทางใจอันมีอาการทั้งปวงในสิ่งเหล่านั้นอย่างไร
อรรถาธิบาย การเบียดเบียน พยาบาท และมิจทิฐิ ตามลำดับ / เหล่านั้นอันบัณฑิตปริญญาเอกพึงทราบว่าเป็นคุณ คือ ความมีศีลบริสุทธิ์ เพราะประกอบอย่างวิเศษในธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นผู้ทุศีล /
48 รู้และยินดีในการทำอุปการะ และในบุคคลผู้ทำความเดือดร้อนนั้น รู้จักทำประโยชน์เกื้อกูลย่อมได้ เป็นผู้มีความกรุณาปราณี พึงอดกลั้นในทุกข์
อรรถาธิบาย พึงเป็นผู้อดกลั้นในบุคคลผู้ทำความเดือดร้อน / ในที่นี้พระโพธิสัตว์ ผู้รู้ในอุปการะ ย่อมได้ พึงเป็นผู้มีความอดกลั้นจากความมีกษานติอันมีการรวบรวมเป็นิมิต และจากทุกข์ / และในที่นี้ พระโพธิสัตว์ย่อมได้ความยินดีในทุกข์อันเป็นเหตุแห่งประโยชน์เกื้อกูล เพราะเหตุไรจึงควรอดกลั้นต่ออะไร / เพราะความรู้ในการทำความเดือดร้อนย่อมไม่เป็น ไปความรู้ในความทุกข์ย่อมไม่เป็นไปทั่ว /
49 เพราะความไปปราศแห่งการรู้ของคนอื่นเพื่อคนอื่น เพราะความรักในคนอื่นอันยิ่งเกินกว่าตนตลอดเวลา เพราะการประพฤติทุกกรกิริยา ความเพียรกระทำได้โดยยากของผู้มีความกรุณา
อรรถาธิบาย พระโพธิสัตว์ผู้มีความกรุณา / เพราะการประพฤติทุกข์กิริยาเพื่อบุคคลอื่นของผู้มีความกรุณาเป็นการกระทำอันยากและเป็นการกระทำอันได้ยากยิ่ง / กระทำได้ยากอย่างไร / เพราะความไปปราศแห่งความรู้ของคนอื่นยิ่งเกินกว่าตนตลอดเวลา / กระทำได้ยากยิ่งอย่างไร / สิ่งใดเป็นความเป็น ไปปราศแห่งความรู้ของคนอื่น และความรักอันยิ่งกว่าตนสิ่งนั้นเป็นความเพียร /
50 สุขเล็กน้อย สุขของตน ฌานอันยึดติดอันเสื่อมได้อันหลงในความสิ้นไป เป็นที่ทราบว่าเป็นการต้านทานของพระโพธิสัตว์เพราะความวิปริต
อรรถาธิบาย ฌานอันมีสุขเล็กน้อยแห่งโลกิยชน สุขเฉพาะตนของพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า / อันยึดติดในกายของตนของโลกิยชนและในนิรวาณของพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า / อันเสื่อมได้ของโลกิยชน อันสิ้นไปของพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะสิ้นไปในนิรวาณอันไม่มีอุปธิหลงเหลือ / อันมีความหลง ด้วยความหลงอันเศร้าหมองและไม่เศร้าหมองแห่งโยคะของคนทั้งปวง / อีกประการหนึ่ง ฌานของพระโพธิสัตว์มีสุขมาก มีสุขทั้งคนอื่นและตน ไม่ยึดติด ไม่เสื่อม ไม่สิ้นไป และไม่มีความหลง
51 การสัมผัสในความมืดและประทีปในที่มืด เป็นเช่นใด ความรู้ 3 ประการก็เป็นเช่นนั้น แต่ว่าความรู้อันไม่สมดุลแห่งความไม่สมดุลด้วยความกรุณา เป็นเช่นกับด้วยแสงแห่งพระอาทิตย์
อรรถาธิบาย ความรู้เป็นเช่นกับการสัมผัสมือในความมืด เป็นความไม่พยายามในการปฏิบัติเพื่ออารมณ์อันเฉพาะและเป็นความรู้แห่งความรู้เฉพาะตนฯด้วยประทีปอันเป็นโพรง ความรู้อันแสดงแล้ว อันประจักษ์แล้ว อันไม่มีมลทินแห่งพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้าฯเพียงดังแสงแห่งพระอาทิตย์ ความรู้ประจักษ์แล้วโดยรอบไม่มีนิมิตของพระโพธิสัตว์ฯ ด้วยเหตุนั้นความรู้จึงเป็นสิ่งไม่สมดุล
52 การให้โดยวัตถุจากพื้นฐาน จากนิมิต จากเนื้อหา จากเหตุ จากความรู้ จากเกษตร จากการอาศัย เป็นที่ทราบว่ายอดเยี่ยม
อรรถาธิบาย ในที่นี้ โดยพื้นฐานคือ พระโพธิสัตว์ / วัตถุคือ วัตถุอันเป็นของตนเพื่ออามิสทาน เป็นสิ่งยอดเยี่ยม /แต่ว่าความไม่กลัวต่อความกลัวในอบายและสังสารแห่งอภัยทาน / มหายานแห่งธรรมทาน / โดยเหตุ คือวาสนาแห่งทานบารมีในกาลก่อน / ความรู้อันไม่มีการแยกแยะ ท่านที่บริสุทธิ์ด้วยมณฑล 3 ย่อมให้ทานนั้น พึงให้เพราะการไม่แยกแยะปฏิคาหก / เกษตรมี 5 ประการ / ผู้มีความต้องการผู้มีความทุกข์ ไม่มีที่พึ่ง ผู้ประพฤติทุจริต และผู้มีคุณ / บรรดาเกษตร 4 ประการ เกษตรอันยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง /คือที่ 5 ในอภาวะ /โดยการอาศัยมี 3 วิธี อาศัยสิ่งนั้นแล้วจึงให้ / คือ อธิมุกติ มนสิการ และสมาธิ / อธิมุกติ เช่นเดียวกับอธิมุกติมนัสการที่กล่าวแล้วในการจำแนกภาวนา / มนัสการ เช่นเดียวกันมนัสการที่กล่าวแล้ฝในการยินดียิ่งและการเสพรับ / สมาธิเช่นเดียวกับความเป็นผู้เสพสมบัติของท้องฟ้า เป็นต้น / ทานเพราะการบรรลุความเยี่ยมยอด โดยพื้นฐานเป็นต้น เป็นทานอันบรม / พึงทราบว่าเป็นสิ่งไม่มีที่เปรียบ / บุคคลย่อมให้สิ่งใด โดยสิ่งใดแก่สิ่งใด จากสิ่งใด ของสิ่งใด และในสิ่งใด ด้วยกายยึดครองสิ่งนั้นจนกระทั่งถึงอาการต่างๆ คือทานแล
53 ศีล จากพื้นฐาน จากวัตถุ จากนิมิต จากเนื้อหา จากเหตุ จากความรู้ จากเกษตร และจากการอาศัย เป็นที่ทราบว่ายอดเยี่ยม
54 [กษานติ จากพื้นฐาน จากวัตถุ จากนิมิต จากเนื้อหา จากเหตุ จากความรู้ จากเกษตรและจากการอาศัย เป็นที่ทราบว่ายอดเยี่ยม] วิริยะ จากพื้นฐาน จากวัตถุ จากนิมิต จากเนื้อหา จากเหตุ จากความรู้ จากเกษตร และจากการอาศัย เป็นที่ทราบว่ายอดเยี่ยม
55 ฌาน จากพื้นฐาน จากวัตถุ จากนิมิต จากเนื้อหา จากเหตุ จากความรู้ จากเกษตร และจากการอาศัย เป็นที่ทราบว่ายอดเยี่ยม
56 ปัญญา จากพื้นฐาน จากวัตถุ จากนิมิต จากเนื้อหา จากเหตุ จากความรู้ จากเกษตร และจากการอาศัย เป็นที่ทราบว่ายอดเยี่ยม
อรรถาธิบาย ความสงสัยของพระโพธิสัตว์เป็นวัตถุอันยอดเยี่ยมแห่งศีล / ในการไม่ประหารสัตว์มีชีวิต ผู้มีกำลังเลวและกำลังชั่ว เป็นวัตถุอันยอดเยี่ยมแห่งกษานติ /แห่งวิริยะ คือการเจริญบารมีและการประหารฝ่ายตรงข้ามแห่งบารมีนั้น / แห่งฌาน คือ สมาธิของพระโพธิสัตว์ / แห่งปัญญา คือ ตถตา / เกษตรของสิ่งเหล่านี้ทั้งปวงมีศีลเป็นต้น คือ มหายาน / ส่วนที่เหลือก็พึงทราบว่าเหมือนกับตอนก่อน /
57 ทานอันเป็นสุขแห่งสัตว์ผู้เดียวอันไม่ทำร้ายตลอดกัปป์จำนวนมาก ความรักของพระโพธิสัตว์พึงมี จะป่วยกล่าวไปใยจากความวิปริต /
อรรถาธิบาย ถ้าว่า ทานของพระโพธิสัตว์เป็นสิ่งให้ความสุขแก่สัตว์ผู้เดียวไซร้ และแก่ตน ก็เป็นผู้ไม่ทำร้ายตลอดหลายกัปป์ / ถึงอย่างนั้น ความรักของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น พึงมีอันมีตนวิเศษด้วยความกรุณาและไม่เพียงแต่สุขแก่สัตว์ผู้เดียวเท่านั้น แต่ย่อมมีแก่ตนเอง เพราะได้ทำการอนุเคราะห์ตลอดหลายกัปป์ /
58 ผู้มีร่างกายย่อมปรารถนาอรรถทรัพย์โดยประการใด ผู้มีปัญญาย่อมสร้างไว้ในผู้มีร่างกาย โดยประการนั้นทรัพย์อันชนปรารถนาเพราะเหตุแห่งสรีระฉันใด ความสงบอันผู้มีปัญญาย่อมสร้าง ฉันนั้น
อรรถาธิบาย ในที่นี้ ความต้องการอันมีก่อน ถูกอธิบายในความต้องการอันมีในภายหลัง /
59 เมื่อบุคคลให้สรีระแล้วก็จะ ไม่เป็นทุกข์ถ้อยคำอะไรในเรื่องโชคชะตาอันต่ำสุด นี้ เป็นความสุขอันเป็น โลกุตตระเขาจักได้รับความสุขอันยอดเยี่ยมนั้นอีก
อรรถาธิบาย ในที่นี้เมื่อบุคคลให้สรีระแล้วก็จะ ไม่เป็นทุกข์ สิ่งนี้ท่านแสดงว่าเป็นโลกุตตรสุข เขาย่อมถึงความสุขนั้นอันเป็นโลกกุตตระอีก เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสิ่งยอดเยี่ยมแห่งสิ่งอันเป็นโลกุตตระ /
60 ผู้มีความต้องการด้วยการ ได้สิ่งที่น่ายินดีตามต้องการอันเป็นการรับ ย่อมไม่พอต่อ ความยินดี ด้วยการให้สิ่งที่มีอยู่ทั้งปวง ผู้มีปัญญาย่อมเว้นซึ่งความยินดี ตามความยินดีแห่งชนผู้มีความต้องการ /
อรรถาธิบาย ด้วยการได้สิ่งที่น่ายินดีตามที่ต้องการ คือ ด้วยการได้และได้รับสิ่งที่ต้องการ / ด้วยการให้สิ่งที่มีอยู่ทั้งปวง คือ ด้วยการให้แม้กระทั่งชีวิตของตนเอง /
61 ผู้ขอมีโภคสมบูรณ์แล้วย่อมไม่เพ่งเล็งตนอันเป็นผู้มีอยู่ผู้มีปัญญาให้ทรัพย์จากทานที่มีอยู่ทั้งปวงย่อมถึงความเป็นผู้มีอยู่ตามควร
62 ผู้มีความต้องการไม่ถึงทรัพย์เป็นเครื่องปลื้มใจอันวิบูลย์อันเป็นอุปการะ ย่อมนับเพราะเหตุแห่งการได้จากทายก ด้วยทานอันดีผู้มีปัญญา ให้แก่ผู้มีความต้องการแล้วตามวิธี ย่อมถึงซึ่งการรู้ว่าเป็นอุปการะอันยิ่งใหญ่ /
อรรถาธิบาย เพราะความวิเศษแห่งกรุณา / ทั้ง 2 โศลกมีเนื้อความอันอธิบายแล้ว /
63 สัตว์ผู้มีร่างกาย ผู้มีความโศกไปปราศแล้วเอง ผู้มีรูปแห่งความแข็งแรง ถือเอาแล้วซึ่งทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ย่อมบริโภค เพียงดังต้นไม้แห่งโภคอันเจริญด้วยผลอันยิ่งในหนทาง ผู้มีโภคะยิ่งผู้สร้างความโชคดี เขาไม่ใช่คนอื่นจากพระโพธิสัตว์
อรรถาธิบาย การสร้างความโชคดีแห่งผู้มีโภคะยิ่งคือ ผู้มีโภคะยิ่งผู้สร้างความโชคดี พึงทราบว่าเขาไม่ใช่คนอื่นจากพระโพธิสัตว์ / ส่วนที่เหลือมีเนื้อความอันอธิบายแล้ว /
64 ความเพียรอันควรรู้ได้จากความแตกต่างแห่งเหตุและกรรมของความเพียรอันเป็นประธาน จากความแตกต่างแห่งประการ จากความแตกต่างแห่งพื้นฐาน จากความแตกต่างฝ่ายปฏิปักษ์อันสัมพันธ์ 4 ประการ เป็นการประดิษฐ์
อรรถาธิบาย ความเพียรควรรู้ได้โดยประเภทอันมี 6 ประการ / ด้วยความแตกต่างแห่งประธาน / ด้วยความแตกต่างแห่งอาการนั้น / [ด้วยความแตกต่างแห่งกรรม] ด้วยความแตกต่างแห่งประการ / ด้วยความแตกต่างแห่งพื้นฐาน / และด้วยความแตกต่างแห่งปฏิปักษ์อันไม่สัมพันธ์ 4 ประการ / ด้วยโศลกอันมีในภายหลังแห่งอุเทศนี้ อันท่านแสดงแล้ว /
65 ความเพียรอันเลิศมีในท่ามกลางแห่งคณะอันขาวเพราะเความเพียรที่ได้ตามนั้นมีจากพื้นฐาน ด้วยความเพียร ผู้มีความเชื่อ มีสุขด้วยดีเป็นอยู่ มีความสำเร็จในโลกุตตระและโลกิยะ
อรรถาธิบาย ความเพียรอันยอดเยี่ยมมีอยู่ในท่ามกลางแห่งคณะอันขาว คือในท่ามกลางแห่งคณะอันขาวทั้งปวง คือ ความเป็นประธานแห่งกุศลธรรมทั้งปวงอันท่านแสดงด้วยความเพียร / เพราะว่าความเพียรที่ได้ตามนั้นมีจากพื้นฐาน คือ เหตุแห่งความเป็นประธานอันท่านแสดงแล้ว / เหตุใดพื้นฐานแห่งความเพียร เป็นการได้กุศลธรรมทั้งปวง / เพราะว่าด้วยความเพียร ผู้มีความเชื่อ เป็นสุขด้วยดี ผู้อยู่อยู่ มีความสำเร็จในโลกุตตระ และโลกิยะ คือกรรมอันท่านแสดงแล้วเพราะว่าด้วยความเพียรบุคคลจึงเป็นผู้อยู่เป็นสุขอันยอดเยี่ยมในทิฐิธรรม / และความสำเร็จอันเป็นโลกุตตระทั้งปวงและอันเป็นโลกิยะอันบุคคลพึงทำ /
66 ด้วยความเพียร บุคคลย่อมเข้าถึงความน่าปรารถนาในภพอันเข้าถึงได้ด้วยความเพียรและพลังอันบริสุทธิ์ด้วยความเพียร เขาก้าวข้ามสักกายทิฐิ เป็นผู้หลุดพ้น เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งโพธิอันยอดเยี่ยมด้วยความเพียร
อรรถาธิบาย มีประการอย่างนี้ / การกระทำความเพียร ท่านแสดงด้วยหนทางแห่งการเข้าถึง / เพราะความแตกต่างแห่งความสำเร็จอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระ / ในที่นี้ความมีพลัง เป็นความสำเร็จอันเป็นโลกิยะ เพราะไม่กระทำที่สุดแห่งความมีตัวตน /
67 อีกประการหนึ่ง บุคคลคิดว่า ความเพียรอันเสื่อมและไม่เจริญงอกงามเป็นใหญ่ในโมกษะ เป็นฝักฝ่ายและฝ่ายตรงข้าม เมื่อบุคคลเข้าไปในตัตวะ เป็นผู้เป็นไปรอบและความเพียรอันมีประโยชน์ยิ่งใหญ่ เป็นอันอื่นจากคำที่กล่าวออกแล้ว /
68 พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสซึ่งความเพียรอันมีประการทั้งปวงว่าความเพียรแห่งอุปกรณ์ เป็นประถมจากนั้นคือ ความเพียรแห่งการประกอบอันเป็นการเกื้อกูลตามวิธี อันไม่ซ้อนเร้น อันไม่สิ้นไป และอันไม่ยินดี
อรรถาธิบาย ความแตกต่างแห่งประการนั้น โดยประการฉะนี้ / ในที่นี้ ความเพียรอันเสื่อมและไม่เจริญงอกงาม[ด้วยการละอกุศลธรรมตามโศลกที่ 2] และด้วยความเจริญขึ้นแห่งกุศลธรรมตามโศลกที่ 2 ในการละทั้งหลายโดยชอบ / มีโมกษะเป็นใหญ่คือ ความเพียรในอินทรีย์ทั้งหลาย / เพราะความมีโมกษะเป็นใหญ่ด้วยประโยชน์ เพราะเหตุใดอินทรีย์ทั้งหลาย / เป็นฝักฝ่ายและฝ่ายตรงข้าม เพราะพละทั้งหลายมีอรรถอันไม่แพร่ไปในฝ่ายตรงข้าม / บุคคลเมื่อเข้าไปในความเป็นตัตวะแล้ว เพราะความตั้งมั่นในหนทางแห่งการเห็นโพชฌงค์ / เป็นไปรอบ เพราะเหตุแห่งความเป็นไปรอบของพื้นฐาน ในภาวนามรรคในองค์แห่งมรรคทั้งหลาย ความเพียรอันมีประโยชน์ยิ่งใหญ่เพราะเป็นใหญ่แห่งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นอันมีสวภาวะแห่งบารมี ความเพียรแห่งอุปกรณ์เพราะประกอบด้วยดี เพื่อการประกอบ / ความเพียรแห่งการประกอบคือ เป็นการประกอบเหมือนอย่างนั้น / ความเพียรอันไม่ซ่อนเร้นคือ เมื่อความยอดเยี่ยมอันบุคคลพึงถึงทับ เป็นความเจริญขึ้นแห่งความซ่อนเร้น / ความเพียรอันไม่สิ้นไป เพราะการไม่กำเริบด้วยทุกข์ยิ่งในเพราะการร้อนและหนาวเป็นต้น / ความเพียรอันไม่ยินดีคือ ไม่ยินดีด้วยการบรรลุเพียงเล็กน้อย / ในพระสูตรท่านกล่าวด้วยความเพียรแห่งอุปกรณ์เป็นต้น เหล่านี้ อย่างนี้ / ผู้มีความสามารถ ผู้มีความเพียร ผู้มีความอุตสาหะ ผู้มีความพยายามในความอาจหาญ ผู้มีธุระอันไม่ทอดทิ้ง ย่อมประกอบในธรรมอันเป็นกุศลตามลำดับ /
69 ความเพียรอันต่ำ กลาง และสูง เป็นอย่างอื่น โดยพื้นฐานอันชนประกอบแล้วในยาน 3 ความเพียรอันปรารถนาในประโยชน์เล็กน้อยและประโยชน์ยิ่งใหญ่ เพราะประกอบในพุทธิอันเป็นพื้นฐานอันยอดเยี่ยม
อรรถาธิบาย ในที่นี้ ความแตกต่างแห่งความเพียรท่านแสดงด้วยความแตกต่างแห่งพื้นฐาน / ชนใดประกอบในยาน 3 ความเพียรอันต่ำ กลาง สูง พึงทราบโดยลำดับ ด้วยพื้นฐานแห่งชนนั้น / เพราะเหตุไร / เพราะการประกอบในพุทธิอันเป็นพื้นฐานอันซ่อนเร้นหรืออันละเอียด / เพราะว่าพื้นฐานอันซ่อนเร้น เป็นพื้นฐานแห่งผู้ประกอบในยาน 2 เพราะกระทำเพื่อประโยชน์ตนอย่างเดียว / ความละเอียดอ่อนแห่งผู้ประกอบในมหายาน เพราะกระทำเพื่อประโยชน์คนอื่น / ดั้งนั้นความเพียรอันปรารถนาประโยชน์เล็กน้อยและประโยชน์ยิ่งใหญ่ เพราะกระทำเพื่อประโยชน์ตนเองและเพราะกระทำเพื่อประโยชน์(ตนและคนอื่น)ตามลำดับ /
70 ผู้มีความเพียรอันโภคะทำให้แพ้ ย่อมไม่มี ผู้มีความเพียรอันกิเลสทำให้แพ้ ย่อมไม่มี ผู้มีความเพียรอันความเศร้าโศกทำให้แพ้ ย่อมไม่มี ผู้มีความเพียรอันการบรรลุทำให้แพ้ ย่อมไม่มี
อรรถาธิบาย ความแตกต่างแห่งปฏิปักษ์อันไม่สัมพันธ์ 4 ประการนี้ อย่างนี้ / ความไม่สัมพันธ์กัน ย่อมไม่เป็นไปในทานเป็นต้น โดยประการใดความไม่สัมพันธ์กันนั้นแห่งทานเป็นต้นมี 4 ประการ / ผู้ยึดมั่นในกิเลส เพราะถูกกิเลสนั้นท่วมทับ / ผู้มีความเศร้าโศก เพราะเศร้าโศกต่อการประกอบและประกอบยิ่งในทานเป็นต้น / การบรรลุถึง เพราะยินดีในทานเป็นต้นอันมีประมาณน้อย / ท่านกล่าวว่าความเพียร 4 ประการ มีอยู่ในความแตกต่างแห่งความเป็นปฏิบักษ์
โศลกว่าด้วยการจำแนกการวินิจฉัยซึ่งกันและกัน
71 ด้วยการสังเคราะห์กันและกัน โดยประเภท โดยธรรม โดยนิมิต การวินิจฉัยบารมี 6 เป็นสิ่งพึงรู้ได้ โดยประการทั้งปวง
อรรถาธิบาย การวินิจฉัยโดยการสงเคราะห์กันและกัน / ด้วยการสงเคราะห์ศีลและกษานติ ด้วยการให้ความไม่กลัว เพราะเหตุว่าให้ความไม่กลัวแก่ศีลและกษานติเหล่านั้น / ฌานและปัญญา ด้วยการให้ธรรม เพราะเหตุว่าให้ธรรม แต่ฌานและปัญญาเหล่านั้น / เพราะเหตุว่าให้การสงเคราะห์ทั้งสองแก่ความเพียรของทั้ง 2 นั้น / การสงเคราะห์ทานเป็นต้นทั้งปวง ด้วยศีลอันเป็นผู้สงเคราะห์กุศลธรรม / ด้วยประการอย่างนี้ การสงเคราะห์กันและกันด้วยกษานติ เป็นต้น เป็นสิ่งควรประกอบโยคะตามสมควร / การวินิจฉัยโดยประเภท / ทาน 6 ประการทานแห่งทาน ท่านแห่งศีล จนกระทั่งทานแห่งปัญญา / เพราะการอยู่ด้วยศีลเป็นต้นในสันดานของคนอื่น / การวินิจฉัยโดยธรรม / ธรรมเหล่าใดมีพระสูตรเป็นต้น อันท่านแสดงในอรรถทั้งหลายมีทานเป็นต้นเหล่าใด / ธรรมทั้งหลายเหล่าใดมีทานเป็นต้นอันท่านแสดงในธรรมทั้งหลายมีพระสูตรเป็นต้นเหล่าใด / พึงทราบว่าเป็นการสงเคราะห์กันและกันของธรรมเหล่านั้น / การวินิจฉัยโดยนิมิต / ทานเป็นนิมิตแห่งศีลเป็นต้น / แห่งการหมุนไปในศีลเป็นต้นแห่งผู้ไม่มีความเพ่งเล็งในโภคะ / แม้ศีลก็เป็นนิมิตแห่งท่านเป็นต้น / การสมาทานการสังวรของภิกษุด้วยการประกอบการสงเคราะห์เพื่อตนทั้งปวง และเพื่อการประกอบกษานติของผู้มีศีลอันตั้งมั่นแล้ว / และการสมาทานศีลแห่งผู้ยึดถือกุศลธรรมเป็นนิมิตแห่งทานเป็นต้น ทั้งปวง / ภาวะแห่งนิมิตของกันและกันของธรรมมีกษานติเป็นต้นเป็นโภคะ /
โศลก 7 โศลกว่าด้วยการจำแนกวัตถุแห่งการสงเคราะห์ / วัตถุแห่งการสงเคราะห์มี 4 (สังคหวัตถุ) ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานตตา / ในที่นี้ /
72 ทานอันเสมอเป็นที่ปรารถนาเหมือนกับการกล่าววาจาอ่อนหวานเป็นอุเทศในบารมีทั้งปลาย / การประพฤติประโยชน์เป็นการให้คนอื่นสมาทานในทาน/ ด้วยการได้นั้น การกล่าวสอนบารมีด้วยการยึดถือบารมี เป็นการให้คนอื่นสมาทานบารมีนี้คือ ประโยชน์ / ความมีตนเสมอคือ ให้บุคคลอื่นสมาทานในสิ่งใด มีความประพฤติตามด้วยตนในสิ่งนั้น / สังคหวัตถุ 4 ประการนี้ ถูกปรารถนาอีก เพื่อประโยชน์อะไร / เพราะว่านี้เพื่อประโยชน์แก่คนเหล่าอื่น /
73 อุบายผู้กระทำการอนุเคราะห์ผู้อนุเคราะห์ ผู้เป็นไปทั่ว ผู้เป็นไปตามเป็นสิ่งที่พึงรู้จากสังคหวัตถุ 4 ประการ
อรรถาธิบาย ผู้กระทำการอนุเคราะห์ซึ่งทานคือ อุบาย / การกล่าวคำอ่อนหวานเพราะการเกิดขึ้นแห่งการอนุเคราะห์อันเป็นไปทางกาย ด้วยอามิสทาน คือ ผู้อนุเคราะห์ เพราะอนุเคราะห์ประโยชน์อันอยู่เหนือความสงสัย / การประพฤติประโยชน์คือ ผู้เป็นไปทั่ว / เพราะเป็นไปทั่วในกุศล / ความมีตนเสมอคือ ผู้อนุเคราะห์ เพราะว่ารู้แล้วว่า ผู้ให้คนอื่นสมาทาน เป็นผู้พูดอย่างไรทำอย่างนั้นในกุศล ย่อมเป็นไปด้วยกุศลนั้น ย่อมประพฤติตาม /
74 ความเป็นเพียงดังภาชนะโดยอันต้น เป็นการหลุดพ้น โดยอันที่สอง การปฏิบัติโดยอันที่สาม การชำระหมดจดโดยอันที่ 4 /
อรรถาธิบาย โดยอามิสทาน ความเป็นภาชนะแห่งการถูกต้องการแบ่งปันซึ่งธรรม / โดยการกล่าวคำอ่อนหวาน ย่อมหลุดพ้นซึ่งธรรมนั้น เพราะการตัดเสียซึ่งความสงสัยที่เกิดขึ้นในอรรถนั้น / โดยการประพฤติประโยชน์ย่อมปฏิบัติตามสมควรแก่ธรรม / โดยความมีตนเสมอ ย่อมชำระการปฏิบัตินั้น เพราะพยายามตลอดกาลยาวนาน / นี้เป็นกรรมแห่งสังคหวัตถุ /
75 ความเป็นสังคหวัตถุ 4 เป็นสิ่งที่ถูกรู้โดยหมวด 2 แห่ง การสงเคราะห์ โดยอามิส โดยธรรม และโดยธรรม โดยพื้นฐาน /
อรรถาธิบาย ความเป็นหมวด 2 แห่งสังคหวัตถุอื่นอีก พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ไว้แล้ว คือ การสงเคราะห์ด้วยอามิส และการสงเคราะห์ด้วยธรรม / การสงเคราะห์สังคหวัตถุ 4 เหล่านี้ โดยหมวด 2 เหล่านั้น /
การสงเคราะห์ด้วยอามิสเป็นที่หนึ่ง / การสงเคราะห์ด้วยธรรมเป็นส่วนที่เหลือ / อีกประการหนึ่ง ส่วนที่เหลือเหล่านั้น ด้วยธรรม 3 ประการ / ธรรมคือพื้นฐาน ธรรมคือการปฏิบัติ และ ธรรมคือความบริสุทธิ์ ตามลำดับ /
76 การบรรลุอันต่ำ กลาง สูง อันผูกพัน อันไม่ผูกพัน เป็นการสงเคราะห์อันไม่ผูกพัน โดยประการทั้งปวงและพึงทราบว่าเป็นความแตกต่างด้วยอาการ
อรรถาธิบาย นี้เป็นความแตกต่างแห่งอาการ / ในที่นี้ การสงเคราะห์อันต่ำ กลาง สูง พึงทราบในการประยุกต์ด้วยยาน 3 ของพระโพธิสัตว์ตามลำดับ / ความผูกพันโดยการบรรลุในภูมิเป็นที่ประพฤติอธิมุกติ / ความไม่ผูกพันโดยการบรรลุแห่งการเข้าไปถึงภูมิ / ความไม่ผูกพันโดยประการทั้งปวง เพราะการเกิดขึ้นพร้อมอย่างแน่นอน เพื่อประโยชน์ของสัตว์ในภูมิ มีภูมิ 8 เป็นต้น
77 วิธีอันเป็นที่อาศัยพร้อมนั้น ด้วยการประยุกต์เพื่อความรักในบริษัทในความสำเร็จประโยชน์ทั้งปวง เพื่อคนทั้งปวง ถูกสอนว่าเป็นอุบายแห่งความสุข
อรรถาธิบาย สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกประยุกต์ในความรักในบริษัท สิ่งนี้นั้นแลเป็นอุบายด้วยสิ่งเหล่านั้นทั้งปวง สังคหวัตถุ 4 อันอาศัยพร้อมแล้วด้วยอุบายนั้น / เพราะว่าในความสำเร็จประโยชน์ทั้งปวง เพื่อชนทั้งปวง พระพุทธเจ้าสอนว่าเป็นอุบายแห่งความสุข /
78 ผู้สงเคราะห์จักถูกสงเคราะห์ ถูกสงเคราะห์อยู่ในเดี๋ยวนี้บุคคลเหล่านั้นทั้งปวง ผู้เป็นไปอยู่ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นการยังสัตว์ให้แก่รอบ /
อรรถาธิบาย โดยโศลกนี้ ท่านแสดงความเป็นหนทางเอกแห่งสังคหวัตถุ 4 ในการยังสรรพสัตว์ให้แก่รอบแม้ในโลก 3 / เพราะความไม่มีแห่งหนทางอื่น /
79 ด้วยประการดังนี้ พุทธิอันมีโภคะ ไม่ยึดติดอย่างต่อเนื่องเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งความสงบและการไม่กำเริบ มีตนอันตั้งมั่น เป็นผู้ไม่มีความแตกต่างแห่งภพ อารมณ์และนิมิต เป็นผู้สงเคราะห์เพื่อหมู่สัตว์
อรรถาธิบาย โดยโศลกนี้ท่านแสดงการประกอบสังคหวัตถุแห่งพระโพธิสัตว์ผู้ตั่งมั่นในบารมี 6 ตามที่กล่าวแล้ว เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งประโยชน์คนและคนอื่น และด้วยสังคหวัตถุตามบารมี โดยลำดับ
อธิการที่ 16 ว่าด้วยบารมี ในมหายานสูตรสังการ จบ
***********
ว่าด้วยการจำแนกบูชาพระพุทธเจ้า
*****
โศลกว่าด้วยการจำแนกบูชาพระพุทธเจ้า 7 โศลก
1 การบูชาพระพุทธเจ้าในที่พร้อมหน้า และไม่พร้อมหน้าด้วยจีวรเป็นต้น เพื่อการเติมความเป็น 2 แห่งการรวบรวมจิตอันเลื่อมใสอย่างลึกซึ้ง
2 การบูชาพระพุทธเจ้าของสัตบุรุษผู้มีปณิธานในความที่พระพุทธเจ้าไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดอีก ผู้ไม่ได้รับความเป็น 3 เป็นผลที่ได้
3 บุคคลอื่นอีกตั้งมั่นเพื่อความแก่รอบแห่งสัตว์ไม่มีประมาณ บุคคลอื่นมีอุปธิและจิตนี้เป็นการฝังไว้แห่งอธิมุกติ
4 บุคคลอื่นแห่งการอนุเคราะห์และการอดกลั้น และ โดยการประพฤติดีงามความเป็นเจ้าของและความเข้าใจใน โภคะแห่งการหลุดพ้นและแห่งความเป็นตถตา
ด้วยโศลกทั้ง 4 เหล่านี้ มีประการอย่างนี้
5 การบูชาจากพื้นฐาน วัตถุ นิมิต เนื้อหา เหตุ ความรู้ เกษตร การอาศัย อันท่านแสดงไว้แล้ว
อรรถาธิบาย พึงทราบว่า / ในที่นี้พื้นฐานคือ พระพุทธเจ้าผู้เห็นได้และเห็นไม่ได้ / วัตถุ คือ จีวรเป็นต้น / นิมิต คือจิตอันสหคตด้วยความเลื่อมใสอย่างลึกซึ้ง / เนื้อหาง คือ เพื่อความบริบูรณ์แห่งการสะสมบุญและความรู้ / เหตุ คือ ปณิธานอันมีในกาลก่อนว่า "การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าพึงเป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้าพเจ้า" / ความรู้คือ ความไม่แยกแยะ เพราะการไม่ได้ผู้บูชา ผู้ควรบูชา และการบูชา / เกษตร คือสัตว์ไม่มีประมาณ / เพื่อความแก่รอบแห่งสัตว์นั้น การประกอบการบูชานั้น เพื่อการเข้าถึงความแก่รอบ / การอาศัย คือ อุปธิและจิต / ในที่นี้ อาศัยอุปธิบูชาด้วยจีวรเป็นที่บูชา เป็นต้น / และอาศัยจิต บูชาด้วยการลิ้มรสการอนุโมทนาการยินดียิ่งและการกระทำไว้ในใจ / เหมือนดังที่กล่าวไว้แล้วด้วยอธิมุกติเป็นต้น เพราะการเกิดขึ้นแห่งโพธิจิต เป็นอธิมุกติแห่งมหายานธรรม / เพราะว่าปณิธานนั้นแหละที่ท่านกล่าวว่าการฝังไว้(นิธาน) ในที่นี้ เพราะเหตุแห่งการทำเป็นโศลก / โดยการอนุเคราะห์แก่สัตว์ / การประพฤติที่กระทำไว้ยากเป็นความอดกลั้นต่อความทุกข์ / มีความประพฤติดีงามด้วยบารมี / การพิจารณาธรรมโดยแยบคาย / บุคคลนั้นเป็นผู้เสวยความมีอยู่แห่งความเป็นเช่นนั้นอันไม่วิปริต / มีสัมมาทิฐิในทรรศนมรรค /เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้รู้ในความมีอยู่โดยความรู้ตามความเป็นจริง /
ผู้หลุดพ้น เพราะการหลุดพ้นจากกิเลสของสาวก / โดยความเป็นเช่นนั้น เพื่อการบรรลุโพธิอันยิ่งใหญ่ นี้เป็นความแตกต่างแห่งการบูชา
6 การบูชานั้น มี 2 ประการ ด้วยเหตุและด้วยผล ด้วยตนเองและแม้ด้วยคนอื่น ด้วยการทำสักการะเพื่อการได้และด้วยการปฏิบัติ
7 การบูชานั้น เป็นที่รู้กันว่าเล็กน้อย ยิ่งใหญ่ มีมานะและไม่มีมานะ เพราะการประกอบเพราะคติ และเพราะปณิธาน
อรรถาธิบาย นี้คือความแตกต่างแห่งประการอย่างอื่นอีกมีอรรถเป็นต้นอย่างนี้ / ในที่นี้เหตุเป็นอดีต ผลเป็นปัจจุบัน เหตุเป็นปัจจุบัน ผลเป็นอนาคต พึงทราบอดีต ปัจจุบัน อนาคต ของเหตุและผล ด้วยประการอย่างนี้แล / ความมีตนเป็นใหญ่คือ ด้วยตน ความเป็นภายนอกคือ ด้วยคนอื่น / โดยการทำสักการะเพื่อการได้คือ ความเด่นชัด / โดยการปฏิบัติคือ ความตั้งมั่น / เล็กน้อยคือเลว ยิ่งใหญ่คือประณีต / อีกประการหนึ่ง มีมานะ คือ เลว ไม่มีมานะ คือประณึต เพราะไม่มีการแยกแยะแห่งมณฑล 3 / ด้วยการประกอบในระหว่างแห่งกาลคือ ในที่ไกล / ด้วยการประกอบในกาลนั้นคือ ในที่ใกล้ / อีกอย่างหนึ่งในคติอันห่างไกลคือ ในที่ไกล / ในคติอันเป็นไปโดยรอบคือ ในที่ใกล้ / อีกอย่างหนึ่งปณิธานเพื่อประกอบการบูชาอันใด การบูชานั้นอยู่ในที่ไกล เพื่อกระทำการบูชาอันประณีตใด การบูชานั้นอยู่ในที่ใกล้ / อีกประการหนึ่งมีคำกล่าวว่า พึงทราบว่าการบูชาเป็นยอดเยี่ยม /
8 การบูชาในพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นยอดเยี่ยม เพราะจิตของตน เพราะอัธยาศัยในการหลุดพ้นด้วยธรรม เพราะความโน้มเอียง เพราะความไม่มีการหลอกลวง เพราะการยึดถืออุบายวิธี เพราะการเข้าไปสู่ความเป็นผู้มีการงานหนึ่งเดียวจากการงานทั้งปวง
อรรถาธิบาย ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยจิตของตน ด้วยอาการ 5 เหล่านี้ เป็นยอดเยี่ยม / เพราะหลุดพ้นด้วยธรรมแห่งมหายานอันประกอบพร้อมแล้วในการบูชานั้น / โดยอัธยาศัยคือ ด้วยอัธยาศัย 9 ประการ / ด้วยอัธยาศัยคือ ความพอใจ อนุโมทนา และความยินดียิ่ง /และอัธยาศัยคือ ความไม่อิ่ม ความไพบูลย์ การอุทิศ อุปการะ การปราศจากการฉาบทา และความงดงาม บุคคลเหล่าใดเห็นเฉพาะการเจริญบารมี / เพราะความโน้มเอียงคือ ด้วยสมาธิอันเป็นคลังสมบัติแห่งท้องฟ้าเป็นต้น / เพราะการยึดถืออุบายวิธีแห่งความรู้อันไม่หลอกลวง / เพราะการเข้าไปสู่ความเป็นผู้มีการงานเพียงหนึ่งเดียวแห่งมหาโพธิสัตว์ทั้งปวง คือ เพราะการงานอันผสมผสานและปนเปกันอย่างยิ่ง /
โศลกว่าด้วยการจำแนกการคบกัลยาณมิตร 7 โศลก /ในที่นี้ด้วยโศลกทั้ง 5 และกิ่งโศลก
9 การคบอันท่านแสดงแล้วโดยพื้นฐาน โดยนิมิต โดยเนื้อหา โดยเหตุ โดยความรู้ โดยเกษตร และโดยการอาศัย /
10 พึงคบมิตร ผู้มีตนอันฝึกแล้ว มีความสงบ ยิ่งด้วยคุณผู้ไม่เกียจคร้าน ผู้เจริญด้วยอาคม ผู้มีความรู้ทั่ว ผู้ประกอบด้วยวาจา ผู้มีความกรุณา และผู้เว้นจากการทอดธุระ
อรรถาธิบาย นี้แลเป็นพื้นฐานเพื่อการคบมิตรผู้มีคุณ / ผู้ฝึกแล้ว ด้วยการฝึกอินทรีย์มีการประกอบศีลเป็นต้น / ผู้สงบคือ มีอัธยาศัยโดยการประกอบสมาธิ ด้วยความสงบแห่งใจ / ผู้เข้าไปสงบ เพราะความสงบแห่งกิเลสเข้าไปตั้งมั่นด้วยการประกอบปัญญา / ผู้ยิ่งด้วยคุณ คือ ไม่เสมอหรือไม่หย่อน / ผู้ไม่เกียจคร้านคือ ไม่เป็นผู้แตกต่างในประโยชน์ของคนอื่น / ผู้เจริญด้วยอาคมคือ ผู้ได้ฟังมาไม่น้อย / ความเป็นผู้รู้ทั่ว เพราะบรรลุความเป็นตัตวะ / ผู้ประกอบด้วยวาจาคือประกอบการกระทำคำพูด / มีใจกรุณา เพราะไม่มีใจเห็นแก่อามิส / เว้นจากการทอดธุระ เพราะแสดงธรรมอันกระทำความจริงอย่างต่อเนื่อง /
11 ก.คบมิตรด้วยการได้สักการะ ด้วยการบริการและด้วยการปฏิบัติ /
อรรถาธิบาย ด้วยประการดังนี้ / วัตถุแห่งการคบ /
11 ข.ผู้มีปัญญา มีอัธยาศัยในการรู้ความเป็นเช่นนั้นในธรรมพึงเข้าไปหามิตรในสมัยและนอบน้อม
อรรถาธิบาย นี้คือ นิมิตอันมีอย่างสาม / ความมีความต้องการในความรู้ / ความเป็นผู้รู้จักกาล / และความเป็นผู้ไม่มีมานะ /
12 ก.ในผลที่ถึง เป็นผู้ไม่ปรารถนาในสักการะและลาภ และในเนื้อหา
อรรถาธิบาย นี้คือ เนื้อหา ไม่คบเพื่อการ ได้ผลและเพื่อการสักการะและลาภ /
12 ข.ด้วยการปฏิบัติตามที่ถูกสอนแล้ว ผู้เป็นปราชญ์พึงมีจิตอันเป็นไมตรีในการคบนั้น /
อรรถาธิบาย ดังนี้ / การปฏิบัติตามที่ถูกสอนแล้ว เป็นเหตุแห่งการคบ / เพราะการผูกจิตด้วยความมีไมตรี /
13 ก.ถึงความฉลาดในยาน 3 แล้ว พึงถึงความสำเร็จแห่งยานอันเป็นของตนด้วยความรู้
อรรถาธิบาย ดังนี้ / ความรู้เพราะฉลาดในยาน 3 /
13 ข.เพื่อการยังสัตว์ไม่มีประมาณให้แก่รอบและเพื่อเข้าถึงเกษตรอันบริสุทธิ์ /
อรรถาธิบาย เกษตรอันมีอย่าง 2 แห่งการคบนั้น ดังนี้ / สัตว์ไม่มีประมาณและพุทธเกษตรอันบริสุทธิ์ / เพราะฟังธรรมแล้วประดิษฐานในเกษตรเหล่านั้น / และตั้งมั่นในเกษตรนั้นๆ /
14 ก.ผู้ประกอบด้วยคุณมีความอ่อนโยนเป็นต้นในธรรมและคบมิตร เพราะไม่หวังอามิสด้วย
อรรถาธิบาย การอาศัยแห่งการคบ ดังนี้ / อาศัยความอ่อนโยนในธรรมและจึงคบกัลยณมิตร / ไม่อาศัยอามิส / ดังนั้น พึงทราบความแตกต่างแห่งประการของการคบ ด้วยโศลกต่อไปนี้กับอีกกึ่งหนึ่ง /
14 ข. 15 ก. ผู้มีปัญญาคบมิตรเพราะเหตุ เพราะผล เพราะการเข้าถึงความมีธรรมเป็นใหญ่ เพราะภายนอก เพราะการได้ยิน ได้ฟัง เพราะโยคะ ในใจ และเพราะการตามประกอบ ความมีใจอันมีมานะและไม่มีมานะ
อรรถาธิบาย เพราะเหตุ เพราะผล คือ ความแตกต่างมีอดีตเป็นต้น เหมือนในตอนก่อนผู้มีปัญญาคบมิตร เพราะการเข้าถึงความมีธรรมเป็นใหญ่ และเป็นภายนอกคือ ความแตกต่างแห่งความเป็นภายในและความเป็นภายนอก / เพราะว่าการเข้าถึงความมีธรรมเป็นใหญ่ เพราะกระแสแก่งความมีธรรมเป็นใหญ่ โดยภายนอกคือจากภายนอก เพราะการได้ยิน ได้ฟังและเพราะ โยคะ ในใจคือ ความแตกต่างแห่งความหยาบและละเอียด / การฟังเป็นสิ่งหยาบ การคิดและภาวนาเป็นความละเอียด/ดังนั้น โยคะในจิตพึงมี /เพราะการตามประกอบความมีมานะและไม่มีมานะ คือ ความแตกต่างแห่งความเลว และความประณีต /
15 ข.ดังนั้น ผู้มีปัญญาพึงคบกัลยาณมิตร เพราะคติ การประกอบและปณิธาน
อรรถาธิบาย เหมือนในตอนก่อน พึงประกอบความแตกต่างแห่งความไกลและความใกล้ ดังนี้ / อีกประการหนึ่ง การคบอันไหนเป็นยอดเยี่ยมดังนี้ โศลกที่ 7 (ว่า)
16 การคบมิตรดี เป็นยอดเยี่ยมเพราะมีจิตของตน เพราะอัธยาศัยในการหลุดพ้นด้วยธรรม เพราะความโน้มเอียง เพราะไม่มีการหลอกลวง เพราะการยึดถืออุบายวิธี เพราะการเข้าไปสู่ความเป็นผู้มีการงานเพียงหนึ่งเดียวจากการงานทั้งปวง
อรรถาธิบาย เหมือนในตอนก่อน ดังนี้ /
โศลกว่าด้วยการจำแนกความไม่มีประมาณ 12 โศลก
17 ความเป็นพรหมอันมีฝ่ายตรงข้ามเลว ไปด้วยความรู้อันไม่หลอกลวง เจริญด้วยพื้นฐานอันมีอย่าง 3 สัตว์ให้แก่รอบในความเป็นปราชญ์
อรรถาธิบาย การอยู่ด้วยความเป็นพรหม 4 ประการ คือความไม่มีประมาณ / ไมตรี กรุณา มุทิตา และอุเบกขา / อีกประการหนึ่ง พึงทราบลักษณะ 4 เหล่านี้ในพระโพธิสัตว์ / เพราะความมีฝ่ายตรงข้ามเลว / เพราะการประกอบวิเศษในปฏิปักษ์ / ความวิเศษแห่งการหมุนไป เพราะการหมุนไปแห่งพื้นฐานอันมีอย่าง 3 /คือ พื้นฐานแห่งสัตว์ พื้นฐานแห่งธรรม และพื้นฐานแห่งการไม่ได้ธรรม / และควารมวิเศษแห่งกรรม / เพราะการยังสัตว์ให้แก่รอบ / เพราะพื้นฐานแห่งธรรมของสัตว์ / อีกประการหนึ่งเป็นไปในหมู่สัตว์หรือธรรมอะไร / การไม่มีพื้นฐานและการมีพื้นฐานในหมู่สัตว์หรือธรรมอะไร /
18 บุคคลเหล่านั้นย่อมเป็นไปในผู้มีความต้องการความสุข ในผู้มีทุกข์ ในสุข ในเศร้าหมอง ในธรรมแห่งตถาคต ผู้เป็นปราชญ์ที่แสดงแล้ว
อรรถาธิบาย พื้นฐานแห่งสัตว์คือ ย่อมเป็นไปในหมู่สัตว์ผู้มีความต้องการความสุขจนกระทั่งในเศร้าหมอง / เหมือนอย่างนั้นไมตรีคือ อาการแห่งการประกอบพร้อมเพื่อสุขในสัตว์ทั้งหลาย / กรุณาคือ อาการไม่ประกอบด้วยทุกข์ / มุทิตา คือ อาการแห่งการไม่ประกอบสุข / อาการแห่งการสังหารความไม่มีกิเลสแห่งสัตว์เหล่านั้นในเวทนาอันเป็นอุเบกขา / พื้นฐานแห่งธรรม คือ ย่อมเป็นไปในธรรมที่แสดงแล้ว การเป็นอยู่อันท่านแสดงแล้ว / การไม่มีพื้นฐานแห่งความเป็นตถตา / และความไม่มีพื้นฐานแห่งความไม่แตกต่างคือ ความไม่มีพื้นฐานแล / เหมือนอย่างว่า /
19 เมื่อมีอรรถแห่งความเป็ตตถตาและเพราะได้กษานติจึงเป็นผู้บริสุทธิ์ ไมตรีเป็นสิงไม่มีพื้นฐานเพราะหมวด 2 แห่งกรรม แม้เพราะความสิ้นไปแห่งกิเลส
อรรถาธิบาย ไมตรี พึงทราบว่าไม่มีพื้นฐานด้วยเหตุ 4 ประการนี้ / เพราะความไม่มีพื้นฐานแห่งความเป็นตถตา / เพราะไม่ได้ธรรมและกษานติอันไม่อุบัติในภูมิ 8 /เป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยการถูกต้องธาตุ / และด้วยหมวด 2 แห่งกรรม / ไม่ตรีใดอันสงเคราะห์ด้วยกายกรรมอันไหลไปและด้วยความสิ้นไปแห่งกิเลส / เหมือนอย่างนั้น ความไม่มีพื้นฐานแห่งกิเลสที่กล่าวว่า เพราะคำว่า ย่อมเข้าไปตัดความมีปมอันสำเร็จด้วยใจชื่อว่า ความไม่มีพื้นฐาน ดังนี้ /
20 ก. เหล่านั้นพึงรู้ว่าเป็นสิ่งไม่เคลื่อนไหว ทั้งเคลื่อนไหว เป็นความพอใจแห่งความกรุณาและไม่เป็นความพอใจแห่งความกรุณา
อรรถาธิบาย พึงทราบพรหมวิหาร 4 ประการเหล่านั้น / ในที่นี้ เคลื่อนไหวอันมีส่วนแห่งความเสื่อม เพราะความเสื่อมรอบ / ไม่เคลื่อนไหวอันมีส่วนแห่งความตั้งมั่น เพราะความไม่เสื่อมรอบ / ความพอใจเป็นสิ่งเศร้าหมอง ความไม่พอใจ เป็นสิ่งไม่เศร้าหมอง /ด้วยความกรุณาคือสุขอันโลเลและมีจิตหยาบ / นี้คือความแตกต่างแห่งประการมีความมีส่วนแห่งความเสื่อมเป็นต้นของพรหมวิหาร / อีกอย่างหนึ่งในพรหมวิหารเหล่านั้น /
20 ข.พระโพธิสัตว์ผู้ตั้งมั่นในความไม่เคลื่อนไหวอันไปปราศจากความยึดมั่น
อรรถาธิบาย ไม่มีในความไม่เคลื่อนไหว ไม่มีแม้ในความพอใจ /
21 ผู้มีสวภาวะอันมาตามพร้อมแล้ว เป็นผู้อ่อน กลาง เป็นผู้มีภูมิอันเลว มีอัธยาศัยอันเลว มีมานะ เป็นผู้เลว แต่ว่าเป็นผู้ยิ่งโดยประการอื่น
อรรถาธิบาย นี้คือ ความแตกต่างแห่งความเป็นผู้อ่อนหรือผู้ยิ่ง / ผู้มีสวภาวะอันไม่มาตามพร้อมแล้ว เป็นผู้อ่อนอันมีอย่าง 6 ในที่นี้ / แม้ว่าทั้งปวงเป็นผู้มาตามพร้อมแล้ว / เหล่าใดเป็นผู้อ่อนและกลาง / แม้เหล่าใดผู้มีภูมิอันเลวเพ่งเล็งโพธิสัตวภูมิอันยอดเยี่ยมแล้ว /แม้มีอัธยาศัยเลว / แม้มีมานะด้วยพระสาวกเป็นต้น / เหล่าใดเป็นผู้เว้นจากธรรมและกษานติอันไม่เกิดอีก เป็นผู้เลวเหล่านั้นเป็นผู้อ่อน มีอรรถดังนี้แล / แต่ว่าเป็นผู้ยิ่งโดยประการอื่น คือพึงทราบความเป็นผู้ยิ่งโดยปริยายตามที่กล่าวมาแล้ว /
22 ในกาลใดผู้มีปัญญาอยู่ด้วยพรหมวิหาร บังเกิดในกามภูมิยังสัมภาระให้เต็มและยังสัตว์ให้แก่รอบด้วยสัมภาระนั้น
23 ไม่อยู่ปราศจากพรหมวิหารในที่ทั้งปวง และเว้นจากฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้ประมาทแล้วปัจจัยนั้นอันมีกำลัง ย่อมไม่ถึงซึ่งการกระทำวิเศษ
อรรถาธิบาย ความแตกต่างแห่งเหตุ ผล และลิงค์ / ในที่นี้การอยู่ด้วยพรหมวิหาร คือ เหตุ / เกิดในสัตว์ผู้มีกาม คือผลอันวิบาก / การยังสัมภาระให้เต็มคือ ผลอันยิ่งใหญ่ / การ ยังหมู่สัตว์ให้แก่รอบคือ ผลแห่งการกระทำของบุรุษ / ผู้ไม่อยู่ปราศจากพรหมวิหารเกิดแล้วในที่ทั้งปวงคือผลอันไหลออก / และผู้เว้นจากฝ่ายตรงข้ามคือ ผลอันประกอบพร้อมวิเศษ / การไม่ถึงการกระทำวิเศษด้วยปัจจัยอันมีกำลังคือ ลิงค์ / ผู้ประมาทในปฏิปักษ์ ผู้ไม่ยินดีและไม่เป็นผู้มีหน้าพร้อม / ความแตกต่างแห่งคุณและโทษด้วยโศลก 4 เหล่าอื่น(คือ) /
24 พระโพธิสัตว์ผู้ประกอบพยาบาท วิหิงสา ความไม่ยินดียิ่งและด้วยกามราคะแห่งพยาบาท ย่อมถูกต้องโทษอันมีอย่างมากมาย
อรรถาธิบาย นี้คือโทษ / ใรความไม่มีแห่งพรหมวิหาร เพราะประกอบฝ่ายตรงข้ามกับพรหมวิหารนั้น / ในที่นิ้ พยาบาทเป็นต้น เป็นฝ่ายตรงข้ามกับไมตรี เป็นต้น ตามลำดับ / กามราคะ แห่งพยาบาทเป็นฝ่ายตรงข้ามแห่งอุเบกขา / เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่าย่อมถูกต้องโทษอันมีอย่างมาก /
25 ย่อมฆ่าตนด้วยกิเลส ย่อมฆ่าสัตว์ ย่อมฆ่าศีล เสื่อมจากยศและลาภ เสื่อมจากการรักษาของพระศาสดา
26 ผู้เป็นไปด้วยอธิกรณ์ไม่มียศ เกิดในที่อื่นอันไม่มีการรักษาเป็นผู้เสื่อมจากการได้และไม่ได้ ย่อมถึงซึ่งทุกข์ใหญ่ในใจ
อรรถาธิบาย ในที่นี้ ท่านแสดงโทษเมื่อบุคคลมีใจพยาบาทตนเอง พยาบาทคนอื่น พยาบาททั้ง 2 อย่าง ด้วยบท 3 บทแรก / ด้วยบททั้ง 6มีความปรารถนา เป็นต้น ท่านแสดงว่าทิฐิธรรม ย่อมประสบความเสื่อม / ก็ย่อมประสบอย่างไร / ย่อมตำหนิตน / ตำหนิคนอื่นแม้เทวดา / แม้พระศาสดาและพรหมจารี ผู้รู้ เหล่าอื่นย่อมติเตียนโดยธรรม /และผู้บาป ผู้มีศัพท์และโศลกอันมีโทษในทิศน้อยทิศใหญ่ ย่อมไม่ประพฤติ นี้คือ ความปรารถนาจนกระทั่งถึงผู้ไม่มียศ อันท่านแสดงแล้วด้วยโศลกนี้ ตามลำดับ / ด้วยบททั้ง 3 ที่เหลือทิฐิธรรมและสัมปรายิกธรรมย่อมประสบความเสื่อมในสัมปรายิกภาพ /ท่านแสดงทุกข์อันเป็นไปในทางใจ โทมนัส ความเดือดร้อนว่าเป็นโทษนั้น /
27 โทษเหล่านี้ทั้งหมดย่อมไม่มีแก่ผู้ตั้งมั่นในไม่ตรีเป็นต้น ผู้ไม่เศร้าหมอง ย่อมไม่ละสังสาร เพื่อประโยชน์แห่งสัตว์
อรรถาธิบาย อย่างนี้ / ท่านแสดงคุณอันมีอย่าง 3 ในการประกอบพรหมวิหาร / ความไม่มีโทษตามที่กล่าวแล้วแห่งบุคคลผู้ไม่เศร้าหมองการไม่ละสังสารเพราะเหตุแห่งสัตว์ /
28 เจตนามีไมตรีเป็นต้นนี้ของผู้เกิดแต่พระชินเจ้า ย่อมมีในสัตว์ทั้งหลายฉันใด ย่อมไม่มีในผู้มีบุตรเพียงคนเดียวผู้มีคุณแก่สรรพสัตว์ฉันนั้น
อรรถาธิบาย ท่านแสดงเจตนาแห่งไม่ตรีเป็นต้นของพระโพธิสัตว์ด้วยโศลกนี้ ดังนี้ /
โศลกว่าด้วยการจำแนกกรุณา เพราะปรารภประเภทแห่งพื้นฐานของกรุณานั้น 2 โศลก
29-30 มีความกรุณาต่อสัตว์ ผู้อันไฟติดทั่วแล้ว ผู้เป็นไปในอำนาจของศัตรู ไม่ก้าวลวงทุกข์ เจริญในความมือ ตั้งอยู่ในหนทางอันลำบาก ผูกติดอยู่กับเครื่องผูกใหญ่ โลเลในการก้าวล่วงอารมณ์อันมียาพิษใหญ่ หลงทาง ตั้งอยู่ในหนทางเลว ผู้ไม่มีกำลัง
อรรถาธิบาย ในที่นี้ผู้บริโภคกามสุขด้วยกามราคะ / เป็นไปในอำนาจของศัตรูคืออันตรายอันมารกระทำแล้ว ไม่ประกอบในกุศล ไม่ก้าวล่วงทุกข์ มีทุกข์ครอบงำในนรกเป็นต้น / เจริญในความมืดประพฤติทุกจริตโดยส่วนเดียว / เพราะประชุมพร้อมด้วยวิบากแห่งกรรม / ตั้งอยู่ในหนทางอันลำบาก มีปรินิพพานอย่างอื่นเพราะไม่เข้าไปตัดเสียซึ่งที่สุดซึ่งสังสารวัฏ / ผูกติดอยู่กับเครื่องผูกใหญ่คือ ตั้งมั่นในโมกษะแห่งอัญเดียรถีย์ เพราะถูกผูกด้วยเครื่องผูกคือ ยึดถือ ในทิฐิชั่วต่างๆ โลเลในการก้าวล่วงอารมณ์อันมียาพิษใหญ่ คือ ยึดติดในสมาบัติ / เพราะสมาบัติสุขแห่งบุคคลเหล่านั้นเป็นสิ่งเศร้าหมอง / สำราญในการหลอกลวงอันไม่ก้าวล่วงยาพิษอย่างไร / เพราะความเนิ่นช้าจากการนั้น / หลงทางคือ มีอภิมานะ เพราะหลงทางแห่งความหลุดพ้น / ตั้งอยู่ในหนทางอันชั่ว คือ ประกอบในหีนยาน ไม่เที่ยงแท้ / ไม่มีกำลังคือพระโพธิสัตว์ผู้มีสัมภาระไม่บริบูรณ์ / นี้คือพื้นฐานแห่งความกรุณาของพระโพธิสัตว์ต่อสัตว์อันมีอย่าง 10 ดังนี้แล /
โศลกว่าด้วยการเห็นผล 5 แห่งความกรุณา
31 โพธิแห่งผู้เกิดแต่พระชินเจ้า ผู้อาศัยธรรมอันเข้าไปตัดการเบียดเบียน อันเป็นพีชะแห่งโพธิที่สูงสุด อันนำมาซึ่งสุข อันเป็นแสงสว่าง อันเป็นเหตุที่น่าปรารถนา อันเกิดขึ้นแห่งสวภาวะไม่อยู่ในที่ไกล /
อรรถาธิบาย เพราะเหตุนั้น ด้วยความเข้าไปทำลายการเบียดเบียน ท่านแสดงผลแห่งการไม่ประกอบพร้อม เพราะไม่ประหารเสียงซึ่งวิหิงสาอันเป็นปฏิปักษ์ / ผลแห่งความเป็นใหญ่เพราะความเป็นพีชะแห่งโพธิที่สูงสุด /ผลแห่งการกระทำของบุรุษด้วยการนำมาซึ่งความสุขและกระทำความสว่างไสว เพื่อคนอื่นและตนตามลำดับ / ผลแห่งวิบากด้วยความมีเหตุอันน่าปรารถนา / ผลแห่งการไหลออก ด้วยการให้ความเป็นสวภาวะ เพราะให้ผลแห่งกรุณาอันวิเศษ / อาศัยกรุณาอันมีอย่าง 5 อย่างนี้ พึงทราบว่าความเป็นแห่งพุทธะอยู่ในที่ไม่ไกล /
โศลกว่าด้วยความที่นิรวาณในสังสารอันไม่มั่นคง
32 เมื่อรู้การถึงสังสารอันเลิศเสมอ อันมีทุกข์และไม่มีตัวตน ผู้มีความกรุณา มีพุทธิอันเลิศ ย่อมไม่ถึงความโศกเศร้าและไม่ถูกผูกติดด้วยโทษทั้งหลาย
อรรถาธิบาย พระโพธิสัตว์รู้รอบซึ่งสังสารทั้งปวงตามความเป็นจริง ย่อมไม่เข้าถึงความโศกเศร้า เพราะความเป็นผู้มีกรุณา / ไม่ถูกผูกติดด้วยโทษทั้งหลาย เพราะความมีพุทธิอันเลิศ / ย่อมเป็นผู้ไม่ตั้งมั่นในนิรวาณในสังสารอย่างนี้ตามลำดับ /
โศลกว่าด้วยความรู้รอบซึ่งสังสาร
33 ผู้ไม่เพ่งโลกอันมีความทุกข์ ถึงความทุกข์และรู้ว่าเป็นเหมือนเช่นนั้น ย่อมเว้นรอบอุบายอันยิ่งหรือไม่ถึงความเดือดร้อน ผู้มีความกรุณาปราณี
อรรถาธิบาย มีความทุกข์คือ มีความกรุณา / รู้ว่าเป็นเหมือนเช่นนั้นคือ ย่อมรู้อุบายวิธีในการเว้นทุกข์นั้นตามความทุกข์อันเป็นจริง / ทุกข์ของคนนั้นย่อมดับไปด้วยเหตุใด / รู้ทุกข์ในสังสารตามความเป็นจริง ความเดือดร้อนย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยอุบายเป็นการสละรอบ พระโพธิสัตว์อันท่านแสดงว่ามีความวิเศษแห่งกรุณา /
โศลกว่าด้วยประเภทแห่งกรุณา 2 โศลก
34 ผู้มีความกรุณาโดยปกติ โดยการนับ โดยการประกอบการทบทวนการฝึกฝนในกาลก่อนและเป็นผู้ทำลายฝ่ายตรงข้ามเพราะการ ได้ความบริสุทธิ์ของผู้มีใจกรุณาอันนับว่ามีอย่าง 4
อรรถาธิบาย ประเสริฐกว่า เพราะวิเศษโดยโคตรตามลำดับ / เพราะทดสอบคุณและโทษ / เพราะความเจริญแห่งที่สุดของการเกิด / และพึงทราบว่าเพราะการได้ความมีราคะ ไปปราศ / เมื่อการประหารวิหิงสาอันเป็นฝ่ายตรงข้ามมีอยู่ ย่อมได้ความบริสุทธิ์กล่าวคือ เพราะการได้ความเป็นผู้มีราคะไปปราศ/
35 สิ่งใดไม่เสมอสิ่งนั้นไม่เป็นความกรุณา เพราะอัธยาศัยหรือเพราะการปฏิบัติ เพราะการมีราคะไปปราศแล้วหรือเพราะการไม่ได้รับผู้ใด ไม่มีความกรุณาเหมือนอย่างนั้น ไม่ใช่พระโพธิสัตว์
อรรถาธิบาย ในที่นี้ ความเสมอในความมีสุขเป็นต้น รู้แล้วว่าในที่นี้สิ่งนี้อันรู้อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งทุกข์ / เพราะไม่สิ้นไปในนิรวาณอันไม่มีอุปธิเหลือ / เพราะการได้ความเสมอด้วยตนและผู้อื่น เพราะอัธยาศัยของผู้เขาไปสู่ภูมิแล้ว / โดยการปฏิบัติเพราะการกระทำการแปรไปแห่งทุกข์ / เพราะความมีราคะไปปราศคือ เพราะประหารวิหิงสาอันเป็นฝ่ายตรงข้าม / เพราะการไม่ได้รับคือ เพราะไม่มีธรรมและกษานติอันไม่อุบัติ/
โศลกว่าด้วยการภาพเฉพาะแห่งต้นไม้ของความกรุณา 5 โศลก
36 กรุณา กษานติ ความคิด ปณิธาน การเกิด ความแก่รอบแห่งสัตว์ นี้คือต้นไม้แห่งความกรุณา มีโคนใหญ่เป็นต้น มีดอก ใบ และผล
อรรถาธิบาย ในที่นี้ พึงทราบว่าต้นไม้แห่งความกรุณาอันตั้งมั่นด้วยโคน ลำต้น กิ่งใบ ดอกและผล 5 / ความกรุณาแห่งต้นไม้นั้นเป็นโคน/ กษานติคือ ลำต้น / การคิดเพื่อสัตว์คือ กิ่ง/ ปณิธานในการเกิดอันงดงามคือ ใบ/ การเกิดอันงดงามคือ ดอก / ความแก่รอบแห่งสัตว์คือ ผล/
37 กรุณาไม่พึงเป็นโคน การประพฤติอันกระทำได้ยาก ไม่พึงเป็นความอดทนและความสิ้นไปแห่งทุกข์ ผู้มีปัญญา ไม่พึงคิดเพื่อสัตว์
38 พุทธิอันเว้นจากการคิด ไม่พึงกระทำปณิธานในการเกิดอันขาวไม่พึงถึงการเกิดอันงดงาม ไม่พึงยังสัตว์ให้แก่รอบ
อรรถาธิบาย โดยโศลกทั้ง 2 ท่านสาธยายภาวะมีโคนเป็นต้น แห่งกรุณาเป็นต้น เพราะการสาธยายการประสบในโศลกก่อนและโศลกหลัง/
39 ไมตรีอันมีน้ำคือ กรุณา ความเป็นผู้มีความสุขในทุกข์นั้น เป็นการเลี้ยงดูอันไพบูลย์ ความเจริญด้วยสาขาอย่างกว้างขวาง พึงรู้ว่าเป็นโยนิโสมนสิการ
40 การถือเอกการตกไปและการบริจาคแห่งผู้มีปณิธาน เพราะไม่ขาดสาย เพราะการต่อเนื่องโดยความสำเร็จแห่งปัจจัยอันมีอย่างสองดอก แล้วจึงมีผลอันไม่สัมพันธ์จากดอกนั้น/
อรรถาธิบาย โดยโศลกทั้ง2 นี้ ท่านแสดงการสาธยายโคนต้นไม้แห่งต้นไม้คือ ความกรุณา/ เพราะว่ากกรุณาท่านกล่าวว่าเป็นโคนต้นไม้ / ไมตรีหนึ่งแห่งต้นไม้นั้น เพราะอายตนะนั้นด้วยกรุณา / ไมตรีจิตมีความทุกข์เพราะทุกข์ของคนอื่น / จากนั้น ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะกรุณา เมื่อพระโพธิสัตว์ประกอบประโยชน์ของตน ในที่นั้น การเลี้ยงดูอันบริบูรณ์เพราะเกิดขึ้นแห่งความสุข อรรถว่า การเลี้ยงดูด้วยกษานติ/ เพราะว่ากษานตินั้นท่านกล่าวแล้วว่าเป็นลำต้น/และลำต้นอันไพบูลย์/ เพราะโยนิโสมนสิการจึงมีความเจริญแห่งสาขาอันมีจำนวนมากในมหายาน /เพราะว่าการคิดท่านกล่าวแล้วว่าเป็นสาขา/ โดยลำดับแห่งการดับและการเกิดขึ้นของบุคคลอื่นในกาลก่อน เพราะไม่ตัดขาดความต่อเนื่องของปณิธาน / พึงทราบความที่ท่านสาธยายการยึดถืออันตกต่ำและการสละแห่งปณิธาน / เพราะความสำเร็จแห่งปัจจัยอันมีในภายใน เพราะการยังสันดานของตนให้แก่รอบ พึงทราบว่าการเกิดอันไม่มีสัมพันธ์เป็นเพียงดังดอก /เพราะความสำเร็จแห่งปัจจัยภายนอก เพราะการยังสันดานของคนอื่นให้แก่รอบ เป็นผล พึงทราบว่าเป็นการยังสัตว์ให้แก่รอบ/
โศลกว่าด้วยการสรรเสริญกรุณา
41 ใครไม่ทำความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ผู้กระทำคุณคือความกรุณาใหญ่ ความสุขอันไม่สมดุลย่อมมีในทุกข์ อันเป็นเหตุเกิดความกรุณาของคนเหล่านั้น
อรรถาธิบาย ในที่นี้ คุณคือความกรุณาอันยิ่งใหญ่ อันท่านแสดงแล้วด้วยถึงคาถาหลัง / ส่วนที่เหลือมีเนื้อความอันท่านอธิบายแล้ว / โศลกว่าด้วยการไม่ข้องอยู่ในความกรุณา
42 ใจถูกความกรุณาห้ามไว้ย่อมไม่ตั้งอยู่ในความสงบแห่งความกรุณาปราณี ในความมีสุขอันเป็นของโลก ความรักในชีวิตของตนพึงมีแต่ที่ไหนแล
อรรถาธิบาย ความรักในโลกิยสุข และในชีวิตของตนแห่งโลกทั้งปวง / แม้ในที่นี้ ใจของพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ไม่มีความรักอันตั้งอยู่ในนิรวาณ อันเข้าไปสงบแห่งทุกข์ทั้งปวง / แต่ว่าใจของพระโพธิสัตว์ไม่ตั้งอยู่ในนิรวาณ เพราะเข้าไปสู่ความกรุณา / ความรักต่อสิ่งทั้งสองจักมีแต่ที่ไหน
โศลกว่าด้วยความพิเศษแห่งความรักและกรุณา 3 โศลก
43 ความรักใดอันเป็นความผิดพลาดย่อมไม่มี อันเป็นโลกิยะย่อมไม่มี ความกรุณาและความรักอันไม่ผิดพลาด ในผู้มีปัญญาและไม่เป็นโลกิยะ
อรรถาธิบาย ก็ความรักอันมีตัณหาของมารดาบิดาและผู้เลี้ยงดู เป็นไปกันด้วยความผิดพลาด / ความรักของผู้อยู่ความความกรุณาอันเป็น โลกียะ แม้ไม่มีความผิดพลาดก็เป็นโลกียะ / แต่ความรักอันสำเร็จแต่ตัณหาของพระโพธิสัตว์ทั้งไม่ผิดพลาดและก้าวล่วงความเป็นโลกิยะด้วย/ ท่านกล่าวแล้วว่า อีกประการหนึ่ง ความคิดผิดพลาดจักมีอย่างไร ดังนี้/
44 โลกอันอาศัยในความร้อนรน เพราะไม่รู้ทุกข์และในความมืดใหญ่ อุบายใดเพื่อช่วยเหลือไม่พึงมีอย่างไร อุบายนั้นเป็นความไม่ผิดพลาด
อรรถาธิบาย ควรประกอบว่าในความร้อนรนเพราะทุกข์และในความมืดใหญ่เพราะไม่รู้ / ส่วนที่เหลือมีอรรถอันอธิบายแล้ว / ท่านกล่าวว่าย่อมก้าวล่วงซึ่งโลกได้อย่างไร ดังนี้/
45 ความรักของพระผู้รู้โพธิโดยปัจเจก ผู้ทำลายศัตรูในโลกย่อมไม่มี จะป่วยกล่าวไปใยถึงความรักของบุคคลอื่น ท่านไม่พึงเป็นโลกุตตระได้อย่างไร
อรรถาธิบาย ผู้รู้โพธิแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้า / ส่วนที่เหลือมีอรรถอันอธิบายแล้ว
46 ทุกข์ใด ย่อมมีในความไม่มีทุกข์ ด้วยความกรุณาของพระโพธิสัตว์ในเบื้องต้น ย่อมมีความเดือดร้อน แต่การยึดถืออันบุคคลสัมพันธ์แล้วย่อมยินดียิ่ง
อรรถาธิบาย ในความไม่มีแห่งทุกข์คือ อภาวะแห่งทุกข์อันเป็นนิมิต / ทุกข์ใดย่อมเกิดขึ้นแห่งพระโพธิสัตว์ เพราะมีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ในเบื้องต้น ย่อมมีความเดือดร้อน ในภูมิเป็นที่ประพฤติเพื่อหลุดพ้น / ด้วยความมีตนเสมอด้วยคนอื่น เพราะการสัมผัสทุกข์ตามความเป็น / แต่ว่าครั้นสัมผัสแล้วย่อมเพลิดเพลินในภูมิอันมีอัธยาศัยอันปริสุทธิ์มีอรรถดังนี้แล/
โศลกว่าด้วยการครอบงำสุขด้วยทุกข์เพราะความกรุณา
47 ทุกข์ใดอันอัศจรรย์สิ่งกว่านี้ย่อมครอบงำความมีสุขทั้งปวงเป็นโลกอันเกิดขึ้นด้วยความกรุณาใด เขาเป็นผู้หลุดพ่นมีอรรถอันกระทำแล้ว
อรรถาธิบาย ทุกข์ใดอันอัศจรรย์กว่านี้ย่อมไม่มี สุขของพระโพธิสัตว์อันเกิดขึ้นเพราะความกรุณาย่อมมี / ย่อมครอบงำอันเป็นโลกิยะทั้งปวง / เขาเป็นผู้หลุดพ้นด้วยสุขใด แม้เป็นพระอรหันต์มีอรรถอันกระทำแล้วจักป่วยกล่าวไปใยถึงบุคคลอื่นเล่า/
โศลกว่าด้วยการสรรเสริญทานที่กระทำด้วยความกรุณา
48 ทานที่ประกอบด้วยความกรุณา ย่อมกระทำความสุขจากการให้แก่ผู้เป็นปราชญ์ด้วยการอุปโภคสุขนั้นอันเป็นไปในโลกธาตุทั้ง 3 ย่อมไม่ได้สัมผัสเสี้ยวแห่งสุขนั้น
อรรถาธิบาย สุขด้วยเครื่องอุปโภคอันเป็นไปในโลกธาตุทั้ง 3 ที่บุคคลกระทำแล้วใด สุขนั้นย่อมไม่สัมผัสเสี้ยวแห่งสุขนั้น นี้คืออรรถแห่งกึ่งหลัง(ของโศลก)/ ส่วนที่เหลือมีอรรถอันอธิบายแล้ว/
โศลกว่าด้วยการเข้าถึงยิ่งซึ่งทุกข์ด้วยความกรุณา
49 บุคคลย่อมไม่ละสังสารอันมีทุกข์ ด้วยความกรุณาเพื่อสัตว์ ทุกข์เพราะเหตุแห่งประโยชน์ของคนอื่นจักไม่เกิดขึ้นพร้อมด้วยผู้มีความกรุณาเพราะเหตุไร /
อรรถาธิบาย ก็ทุกข์ทั้งปวงเป็นไปในภายในทุกข์แห่งสังสาร / ทุกข์ทั้งปวงเป็นการเข้าถึงยิ่ง เพราะการเข้าถึงยิ่งแห่งทุกข์นั้น/
ในที่นี้โศลกว่าด้วยความเจริญขึ้นแห่งผลนั้น/
50 กรุณา ทาน โภคะ ย่อมยังความเจริญขึ้นแห่งความปราณีให้เกิดขึ้นตลอดเวลา สุขอันเกิดขึ้นเพราะความรักและการอนุเคราะห์และอันกระทำซึ่งอำนาจ ก็มีจากสิ่งนั้น
อรรถาธิบาย ทั้ง 3 อย่าง ย่อมเป็นไปในการเกิดทั้งปวงของพระโพธิสัตว์ เพราะการประกอบกรุณา / กรุณา โดยการฝึกฝน / ทานโดยอำนาจกรุณา / โภคะ โดยอำนาจทาน / สุขอันมีผลเป็นอย่าง 3 ย่อมมีจากสามสิ่งนี้ / อันเกิดขึ้นเพราะความรักคือ เพราะกรุณา / อันเกิดขึ้นเพราะการอนุเคราะห์คือ เพราะ โภคะ /
โศลกว่าด้วยความอุตสหะในทาน
51 ย่อมเจริญ ถูกทำให้เจริญในทาน ถูกทำให้แก่รอบถึงความสุข ข้าพเจ้าย่อมชักชวนย่อมนำไป ได้พูดอย่างนี้ว่า กรุณาตั้งมั่นแล้วต่อพระโพธิสัตว์ผู้ไม่มีความมีอยู่ในทานด้วยคุณหก / ด้วยความเจริญแห่งสภาวะ / ด้วยความเจริญด้วยโภคะ / ด้วยการยังสัตว์ให้แก่รอบด้วยทาน / ผู้ให้ย่อมยังสุขให้เกิดขึ้น / เพราชักชวนบุคคลอื่นด้วยสัมภาระแห่งมหาโพธิ / และเพราะนำไปใกล้มหาโพธิ
โศลกว่าด้วยความมีแห่งสุขด้วยความมีสุขของบุคคลอื่น
52 เพราะมีความกรุณาจึงมีทุกข์ในทุกข์ ความกรุณาให้ความสุขไม่ได้ ความเป็นผู้มีสุขพึงมีด้วยเหตุไร ย่อมยังตนให้เป็นสุขเพราะยึดถือด้วยความกรุณาปราณีต่อความสุขของคนอื่น
อรรถาธิบาย เพราะความกรุณาพระโพธิสัตว์จึงมีทุกข์ เพราะความทุกข์ของบุคคลอื่นไม่อนาทรต่อสัตว์ทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีความสุขอย่างไร / เพราะเหตุนั้นมอบความสุขให้คนอื่นแล้ว พึงทราบว่าพระโพธิสัตว์จึงทำตนให้มีความสุข /
โศลกว่าด้วยการสรรเสริญพร้อมแห่งทานด้วยความกรุณา 6 โศลก
53 โดยปกติ ผู้มีความกรุณาเป็นผู้ไม่ปรารถนาความสุขเพื่อตน ย่อมให้ทานของตนเพื่อความสุขของบุคคลอื่นหรือ ความสุขของเราเป็นสิ่งประกอบด้วยความสุขของคนอื่น ด้วยโภคะ
อรรถาธิบาย สุขของผู้มีความกรุณาเว้นจากสุขของคนอื่นย่อมไม่มี / พระโพธิสัตว์เว้นจากสุขอันประกอบด้วยความกรุณาแล้ว ย่อมไม่ปรารถนาสุขอันเป็นผลแห่งทาน/
54 ทานที่เป็นไปกับด้วยผลอันเราให้แล้วในสัตว์ทั้งหลาย เพราะสุขแห่งสุขนั้น ถ้าว่าผลนั้นไม่มีแก่สัตว์เหล่านั้น สิ่งที่เราพึงทำแก่สัตว์เหล่านั้นย่อมมี
อรรถาธิบาย การให้ทานและทานเป็นทานมีผลอันเราให้แล้วในสัตว์ทั้งหลาย / สุขแห่งสัตว์เหล่าใด สุขนั้นเป็นของเราเหมือนกัน / ดังนั้น พึงให้ผลในสัตว์เหล่านั้นเพียงใด ย่อมเป็นความปรารถนาว่าผลดังนี้ เพียงนั้น / พระโพธิสัตว์ย่อมตามสอนซึ่งเรื่องทานด้วยความกรุณา /
55 ผู้ให้โภคะและความเศร้าโศก โภคะอันดีงามกว่าจำนวนมากย่อมมาถึง แต่ว่าสุขนั้นอันเราไม่ได้รู้ว่า เราเป็นผู้มีฝั่งอันบริบูรณ์ในทานของเรา /
อรรถาธิบาย โภคะของผู้ให้ผู้มีหน้าปราศจากโภคะ ย่อมตั้งมั่นจำนวนมากยิ่งกว่า /และงดงามยิ่งกว่า / นี้เป็นธรรมดาแห่งจิต เพราะความใจกว้างยิ่งกว่า / แต่ว่าสุขนั้นอันเราไม่รู้ว่าเพราะเหตุใด โภคะจึงตั้งมั่นอย่างนั้น / เพราะเหตุใด เราเป็นผู้ปรารถนาการผูกในทานไม่ใช่ในสุขเป็นธรรมเนียม /
56 ท่านย่อมเพ่งเล็งข้าพเจ้าในการบริจาคสิ่งที่มีอยู่ทั้งปวงด้วยความกรุณาอย่างต่อเนื่อง อันท่านพึงรู้ว่า เราไม่มีความต้องการด้วยผลนั้นมิใช่หรือ ดังนี้
อรรถาธิบาย เราใดย่อมบริจาคผลแห่งทานทั้งปวง เป็นนิตย์ด้วยความกรุณา พึงทราบว่าความต้องการด้วยผลย่อมไม่มีแก่เราดังนี้ เพราะว่าพระโพธิสัตว์ย่อมสรรเสริญทาน
57 ก.เราเป็นผู้ยินดียิ่งในทานหามิได้ และเมื่อผลนั้นมาถึงแล้วก็ไม่รังเกียจผลนั้น
อรรถาธิบาย เหมือนอย่างนั้นแล
57 ข.แม้ความอดทนเว้นจากทาน ก็ไม่เป็นผู้ยินดียิ่งในทานนั้นเทียว/
อรรถาธิบาย ด้วยประการอย่างนี้ โศลกนี้มีเนื้อหางความอันอธิบายแล้ว
58 ก. ท่านไม่ให้ผล ซึ่งสิ่งที่ไม่กระทำแล้ว เพราะเป็นผู้หวังในการกระทำตอบ นี้ไม่สมดุลด้วยเรา
อรรถาธิบาย ย่อมกระทำต่อท่านด้วยทานใด ทานย่อมไม่ให้ผลแก่บุคคลนั้น / เพราะเหตุนั้น ท่าน ไม่เสมอกับด้วยเรา เพราะมุ่งหวังการทำตอบ / เพราะว่าเราเป็นอย่างนั้น
58 ข. เป็นผู้ไม่คาดหวังต่อการทำตอบแทน ผู้ให้ผลในที่อื่นใดความปรารถนาของท่านย่อมมีแก่บุคคลนั้น
มีอรรถอันอธิบายแล้ว
โศลกว่าด้วยการให้ความกรุณา 2 โศลก
59 การให้ความกรุณาของผู้เกิดแต่พระชินเจ้า ไม่มีความผิดพลาด เป็นหนทางบริสุทธิ์นำประโยชน์เกื้อกูลมาให้ รักษาด้วยดี ไม่มีการจมลงและไม่มีการยึดมั่น
อรรถาธิบาย ในที่นี้ไม่มีความผิดพลาด เพราะไม่เบียดเบียนคนอื่นแล้วให้ / เป็นหนทางบริสุทธิ์ เพราะให้วัตถุอันคิดแล้ว / เพราะเว้นจากยาพิษอาวุธและสิ่งมึนเมา เป็นต้น / นำประโยชน์เกื้อกูลมาให้ เพราะสงเคราะห์ด้วยทานแล้วประกอบในกุศล / รักษาด้วยดี กระทำการไม่เบียดเบียนคนรอบข้างแล้วให้แก่คนอื่น / ไม่มีการจมลง เพราะไม่เบียดเบียนผู้มีความต้องการในการขอหรือให้แก่ตนเอง เพราะไม่ถึงความเป็นอื่นแห่งความแก่ทักษิณา / ไมม่มีการยึดมั่น เพราะ ไม่มีการปรารถนาวิบากจากการกระทำตอบแทน/อีกประการหนึ่ง/
60 การให้ความกรุณาของผู้เกิดแต่พระชินเจ้ามีผล ไพบูลย์ ประเสริฐสุด ต่อเนื่อง ยินดี ปราศจากอมิส บริสุทธิ์ นำไปสู่โพธิ นำไปสู่กุศล
อรรถาธิบาย ในที่นี้ มีผล เพราะให้วัตถุอันเป็นภายในและอันเป็นภายนอก / ไพบูลย์ เพราะให้วัตถุอันหลากหลาย / ประเสริฐสุด เพราะให้วัตถุอันประณีต / ต่อเนื่อง เพราะให้เนืองๆ / ยินดี เพราะให้สิ่งชอบใจอันไม่มีประมาณ / ไม่มีอามิส เช่นเดียวกับไม่มีการยึดติด / บริสุทธิ์เช่นเดียวกับเป็นหนทางบริสุทธิ์ / นำไปสู่โพธิ เพราะน้อมใจสู่มหาโพธิ / นำไปสู่กุศล เช่นเดียวกับ นำประโยชน์เกื้อกูลมาให้/
โศลกว่าด้วยความวิเศษแห่งอุปโภคะ(ความเพลิดเพลินยินดี)
61 ผู้มีความกรุณา มีใจอันมั่นตรงต่อความสุข 3 ประการย่อมเข้าถึงความยินดี เพราะการบริจาคฉันใด ผู้มีโภคะย่อมไม่ได้ความยินดีในอุปโภคะฉันนั้น
อรรถาธิบาย ในที่นี้ สุข 3 ประการ คือ ปรีติเพราะให้อนุเคราะห์คนอื่น และปรีติเพราะสังสมสัมภาระเพื่อโพธิ / ส่วนที่เหลือมีเนื้อความอันอธิบายแล้ว /
โศลกว่าด้วยความกรุณาอันเป็นอภินิหารของบารมี
62 กรุณาเพราะสงสาร กรุณาเพราะใจเร็ว กรุณาเพราะโกรธ กรุณาในผู้ประมาททั้งหลาย กรุณาในอารมณ์อันเป็นปรตันตระ และกรุณาเพราะถือมั่นในสิ่งผิด
อรรถาธิบาย ในที่นี้ ความสงสารคือ ความตระหนี่ / ใจเร็วคือทุศีล อันทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน/ โกรธคือโกรธ / ประมาท คือ เกียจคร้าน / อารมณ์อันเป็นปรตันตระ คือ จิตอันซัดส่ายไปในการทั้งหลาย / ถือมั่นในสิ่งผิดคือ ปัญญาทราม มีความเป็นเดียรถีย์เป็นต้น / ในความกรุณาเหล่านี้ ความกรุณาใดมีอยู่ในความตั้งมั่นแห่งธรรมอันเป็นฝ่ายตรงข้ามกับบารมี ความกรุณานั้น คือความกรุณาเพราะสงสารเป็นต้น / และความกรุณานั้น เกิดขึ้นพร้อมเพื่ออภินิหารแห่งบารมีเพราะประทุษร้ายฝ่ายตรงข้ามนั้น / เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าอภินิหารบารมี/
โศลกว่าด้วยการแสดงปัจจัยแห่งกรุณา
63 ความกรุณาของพระโพธิสัตว์ เพราะสุข เพราะทุกข์ เพราะการทำให้สืบต่อ ความกรุณาของพระโพธิสัตว์ เพราะเหตุ เพราะมิตร เพราะสวภาวะ
อรรถาธิบาย ในที่นี้ ท่านแสดงปัจจัยแห่งพื้นฐานแห่งความกรุณาด้วยกึ่งโศลกแรก/
การได้เวทนาอันมีอย่าง 3 เพราะความกรุณาอันมีทุกข์ 3 ประการ / เพราะว่าเวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นการสืบต่อสุขและทุกข์ เพราะนำสุขและทุกข์นั้นมาอีก / ด้วยกึ่งโศลกหลัง ท่านแสดงปัจจัยโดยรอบแห่งเหตุและความเป็นใหญ่ ด้วยความกรุณา เพราะเหตุ มิตร และสวภาวะ ตามลำดับ /
โศลกว่าด้วยความยิ่งใหญ่แห่งกรุณา
64 ความกรุณาของพระโพธิสัตว์ เสมอ พึงรู้ได้ความอาศัย เป็นการปฏิบัติ มีราคะ ไปปราศ ไม่มีการยึดติด และบริสุทธิ์
อรรถาธิบาย ในที่นี้ เสมอ เพราะรู้ว่า เวทนานี้อย่างใดอย่างหนึ่งในความตั้งมั่นแห่งเวทนาอันมีอย่าง3 / เวทนานั้นควรเป็นทีอาศัย เพราะความกรุณาด้วยจิต / แม้การปฏิบัติก็เพราะเป็นการต้านทานรอบ / มีราคะ ไปปราศแล้ว เพราะประหารเสียซึ่งวิหิงสาอันเป็นฝ่ายตรงข้ามกับความกรุณานั้น / ไม่มีความยึดติด เพราะไม่ยึดติดต่อความกรุณาของตนและผู้อื่น / บริสุทธิ์ เพราะได้รับธรรมและกษานติอันเป็นเหตุให้อุบัติในภูมิทั้ง8/
65 การเจริญไมตรีอันเลิศ ความมีจิตของตน ความมีธรรม ความมีอธิโมกข์ ความอาศัยความเป็นตัวของตัว ความไม่มีหลอกลวง และความเป็นหนึ่ง
อรรถาธิบาย มีประการดังนี้ / เนื้อความแห่งอนุสารอันแสดงแล้สในตอนก่อนอันบัณฑิต พึงไปตาม/
66 ด้วยประการดังนี้ ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในพระผู้มีพระภาคเจ้ากระจายไปด้วยอุปธิอันยิ่งใหญ่ บูชายิ่งด้วยกริยา คบเนืองนิตย์ด้วยมิตรผู้มีคุณและประโยชน์เกื้อกูลมาก อนุเคราะห์แก่โลก ย่อมถึงซึ่งความสำเร็จทั้งปวง /
อรรถาธิบาย โดยโศลกนี้ท่านแสดง คุณตามลำดับแห่งการบูชา การคบ การนอบน้อม ตามที่กล่าวแล้ว อย่างย่อๆ / อรรถแห่งกระจายไปด้วยอุปธิอันยิ่งใหญ่และบูชายิ่งด้วยกริยา พึงทราบว่าเป็นการกระจายไปซึ่งการบูชา และผู้บูชาด้วยสัจกิริยาอันมีอำนาจ /อีกประการหนึ่งสัจกิริยาพึงทราบว่าคือ สัมมาปฏิบัติ / เป็นผู้มีการปฏิบัติบูชาและสักการบูชา / มิตรผู้มีคุณมากด้วยคุณอย่างอื่น / พึงทราบด้วยความเป็นผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล / ย่อมถึงความสำเร็จทั้งปวงคือ ย่อมบรรลุความสำเร็จแห่งประโยชน์ของตนและผู้อื่น ด้วยประการฉะนี้
อธิการที่ 17 ความไม่มีประมาณแห่งการบูชาและการคบ ในมหายานสูตรลังการ จบ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น