วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

โอวาท ท่านปรมาจารย์แห่งนิกายเซน

โอวาท ท่านปรมาจารย์ ตักม้อ
"ผู้ยิ่งใหญ่ แห่ง วัดเส้าหลิน"
สังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘ แห่งชมพูทวีป
และเป็นองค์ที่ ๑ แห่งจีน สมัยราชวงศ์ซ่ง


๑. ...เมื่อละทิ้งความคิดเพ้อเจ้อ
ใจย่อมสุขสงบเอง ตามธรรมชาติ...
"ใจสงบก็คือ ความรู้สึกเหมือนหิน
ตกลงบนพื้นโลกอันกว้างใหญ่..."

๒."...อย่าดำรงชีวิต โดยเกาะแน่น
กับความกลุ้มใจเด็ดขาด.."

๓. หลักแท้ในการบำเพ็ญวิปัสสนาญาณ
ต้องมีปัญญาคอยกำกับ และต้องปฏิบัติตาม
หลัก ๔ ประการขณะบำเพ็ญ คือ
๑.ชดใช้บาป ๒.ตามลิขิตกรรม
๓.ไม่แสวงหาสิ่งใด ๔.ยึดถือธรรม

๔. ...ผจญทุกข์ไม่บ่น รับไว้โดยเต็มใจ...

๕. ถ้าใจเกิดความละโมบ..ทุกข์ตามมาทันที

๖. "..จิตเดิมแท้นั้นคือธรรม..ต้องละทิ้งความคิด
เพ้อเจ้อ ตั้งหน้าปฏิบัติธรรมสู่ความว่าง
ละทิ้งใจที่ตระหนี่ถี่เหนียว"

๗. สวรรค์และนรกต่างก็อยู่ที่ใจ...
อย่าดื้อรั้นถือตัวจนเกินไป...!
๘.หลงและตื่นตัว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน...
ถ้าไม่หลง ก็ไม่สำนึก!

๙. "ให้เข้าใจความว่าง แต่อย่าหลงความว่าง...
ไม่ยึดมั่น ใจจึงว่าง"

๑๐. "มองดูทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านไปในอดีต
เหมือนภาพในความฝัน...
มองดูทุกสิ่งทุกอย่างในปัจจุบัน เหมือนเป็นฟ้าแลบ..
มองดูทุกสิ่งทุกอย่างในอนาคต..
เหมือนเมฆหมอกที่ล่องลอยอยู่ไปมา.."

๑๑. ..อารมณ์ความคิดทั้งหลายก็ล้วน เกิดดับ..

๑๒. "ไม่ยึดมั่นในเรื่องได้เสีย
จิตที่เป็นทุกข์ จะเป็นอิสระ"

๑๓. "ดำรงชีวิตด้วยใจอิสระ
ไม่ถูกความอยากควบคุม..."

๑๔. "มองเห็นจิตเดิมแท้ของตน"
...นี่คือจุดหมายของวิปัสสนาญาณ

๑๕. ถ้าเราสำคัญสิ่งใดเป็นสิ่งดี และเข้าใกล้มัน
ใจเราเริ่มเอียงเอนแล้ว...

๑๖. ...สนใจธรรมมากเกินไป
ย่อมผูกมัดตนเองไม่มีอิสระ...

๑๗. นักปราชญ์ผู้สร้างประโยชน์แก่มนุษย์
รู้ว่าใจ คือ ธรรม..
...แต่คนโง่เที่ยวแสวงหาธรรม
ไปในที่ต่างๆ อย่างไร้จุดหมาย

๑๘. "ใจ คือ พระธรรม...ดังนั้น
จึงไม่ต้องไปหาพระธรรมนอกใจ"

๑๙. "ถ้าคิดที่จะปฏิบัติธรรม...
ต้องพัฒนาจิตใจให้ยิ่งใหญ่
เกรียงไกรและต้องวางใจ
ไว้นอกเหนือกฎเกณฑ์ที่มีเขตจำกัด.."

๒๐. ...ไม่สนใจจุดยืน
ไม่เป็นผู้ยึดมั่นใดๆ ทำใจสงบสุข..

๒๑. "เพียงอาศัยคำสอน ของผู้มีชื่อเสียง
ไม่ใช่สัจธรรมแท้...ไม่ใช่สัจธรรมแท้..."

๒๒. ...ยึดมั่นในความคิดของตนเกินไป
จะไม่สามารถเข้าถึงพุทธธรรม

๒๓. "รวมทุกข์ กับสุข เป็นอันหนึ่งอันเดียว...
นั่นคือ หนทางแห่งพุทธธรรม"

๒๔. เห็นสรรพสิ่ง แต่ใจไม่หวั่นไหว
สับสน ใจไม่ฟุ้งซ่าน...

๒๕. ...แท้จริง "เกิดกับตาย คือ นิพพาน"
ซึ่งอยู่ ณ กลางใจ..



แปลโดย วันทิพย์ สินสูงสุด
หนังสือ อภิมหามงคลธรรม

ไม่มีความคิดเห็น: