วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

ปรัชญาชีวิตของ ฌอง-ปอล ซาร์ตร์

...การทำลายเสรีภาพของบุคคลหนึ่งบุคคลใด เป็นการลดทอนบุคคลนั้น ให้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นมนุษย์ไปเป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง...
คุณผู้อ่าน​ที่รัก,


คลิกดูภาพขยาย
ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ (Jean-Paul Sartre, 2448-2523) ​เป็นนักคิดนักเขียน​ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง​ของศตวรรษ​ที่ 20 ​เป็นต้น​ความคิดปรัชญาเอกซิสเตนเชียลลิสม์ ​ซึ่งให้​ความสำคัญ​กับเสรีภาพของมนุษย์ จน​เป็นต้นเค้าของเรื่อง​ราวการยืนหยัด​เพื่อเสรีภาพของผู้คนทั่วโลกจนถึง ปัจจุบัน

ซาร์ตร์ เชื่อว่าสภาวะของมนุษย์ทุกคนล้วนเริ่มต้นจาก​ความว่างเปล่า ​เมื่อมีชีวิตอุบัติขึ้น​บนโลกแล้ว​ สิ่ง​ที่มนุษย์มี​เป็นสิ่งแรก​คือเสรีภาพ ชีวิตหลังจากนั้น​ ​จะ​เป็นอย่างไร มี​ความหมายหรือไม่ ล้วนเกิดจากเสรีภาพในการเลือก​ใช้ชีวิตของคนๆ​นั้น​

มนุษย์มี​ความแตกต่าง​กับวัตถุสิ่งของอื่นในโลก วัตถุสิ่งของไม่มี​ความ​สามารถ​ที่​จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง​ไปจากสิ่ง​ที่​เป็น อยู่​ ​แต่มนุษย์​สามารถจัดการให้ตัวเอง​เป็น หรือไม่​เป็นอะไร​​ได้ ขึ้น​อยู่​​กับการตัดสินใจเลือก​จะ​เป็น(หรือไม่​เป็น)ของตนเอง

ซาร์ตร์พูดว่า เสรีภาพ​เป็นพื้นฐานของมนุษย์ "มนุษย์​คือเสรีภาพ" ​ความ​เป็นมนุษย์​และเสรีภาพ​เป็นสิ่ง​ที่แยกออกจากกันไม่​ได้ ​ถ้าปราศจากเสรีภาพแล้ว​ มนุษย์ก็ไม่ต่างจากก้อนหิน​ที่อยู่​ในโลก ดังนั้น​การทำลายเสรีภาพของบุคคลหนึ่ง​บุคคลใด จึงเท่า​กับ​เป็นการลดทอนบุคคลนั้น​ ให้เปลี่ยนสภาพจากการ​เป็นมนุษย์​ไป​เป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง​

เสรีภาพมีอยู่​ในมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าเรา​จะตระหนักในเสรีภาพหรือไม่ก็ตาม

เสรีภาพมี​ความสัมพันธ์​โดยตรง​กับการตัดสินใจ ​และมนุษย์ทุกคนมีเอกสิทธิ์ในการเลือกตัดสินใจในเรื่อง​ของตัวเอง เวลา​ที่เราเกิดเรื่อง​ยุ่งยากใจ เราอาจขอคำชี้แนะจากผู้อื่น​ที่มีประสบการณ์มากกว่า เราอาจขอ​ความเห็นจากคนรอบข้างมากมาย​หลายคน ​แต่​ที่สุดแล้ว​เรา​จะถูกทิ้งให้​ต้องเลือกตัดสินใจตามลำพังเสมอ

ไม่ มีทางใด​ที่เรา​จะหลีกเลี่ยงการตัดสินใจ​ได้เลย​ การไม่ตัดสินใจหรือไม่สนใจ​ที่​จะตัดสินใจ ก็​คือการเลือกตัดสินใจแล้ว​ว่า​จะไม่ตัดสินใจ

นอกจากเชิดชูเสรีภาพแล้ว​ ซาร์ตร์ยังย้ำให้ตระหนักถึง​ความรับผิดชอบ ​เพราะ​ความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเริ่มจาก​ความว่างเปล่า เสรีภาพในการดำรงชีวิต​ได้สร้างตัวตนของเราขึ้น​มา ​และการกระทำต่างๆ​ของมนุษย์ล้วนเกิดจากการตัดสินใจของตัวเอง​ทั้งสิ้น (ขอยกตัวอย่าง​เพื่อ​ความเข้าใจ -- การเชื่อฟัง​และทำตามคำพ่อแม่ ซาร์ตร์ถือว่า เราตัดสินใจ​ที่​จะเชื่อฟัง​และทำตาม เรามีเสรีภาพ​ที่​จะปั้น​แต่งชีวิตเราเอง​โดยไม่ยอมเชื่อฟังก็​ได้) ดังนั้น​มนุษย์จึงไม่​สามารถหลีกเลี่ยง​ความรับผิดชอบต่อเรื่อง​ราวของตนเอง ​ได้เลย​

การ กล่าวอ้างว่า ชีวิตมนุษย์​เป็นทาสอารมณ์​ความรู้สึก​และสิ่งแวดล้อมต่างๆ​ หรือ​เป็นเรื่อง​ของ"พรหมลิขิต" หรือ"ดวงดาว"ต่างๆ​นั้น​ ​เป็นการกล่าวแก้ตัวของคน​ที่ไม่มี​ความรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเอง ​และ​ต้องการให้สิ่งอื่นมาทำหน้า​ที่รับผิดชอบแทน ฯ

---​---​

​เป็นผู้นำแนวคิดเอกซิสเตนเชียลลิสม์ - Existentialism ถ้าสนใจเพิ่มเติมขอแนะนำให้ลองอ่าน "ปรัชญาชีวิตของ ฌอง-ปอล ซาร์ตร์" เรียบเรียง​โดย พินิจ รัตนกุล 216 หน้า สำนักพิมพ์สามัญชน

ก่อนจบขอยก​เอา​ความตอน​ที่กล่าวถึง เสรีภาพ​กับวรรณกรรมสักหน่อย​..

ซาร์ตร์ เขียนไว้ว่า.. การเขียนหนังสือ​เป็นงานประเภทหนึ่ง​ของมนุษย์​ที่มีผลกระทบต่อผู้อื่น ดังนั้น​จึง​ต้อง​เป็นงาน​ที่มี​ความรับผิดชอบเจืออยู่​ด้วย ผู้เขียนไม่ควรคิดว่าผลงานตน​จะผ่านสายตาผู้อื่น​เป็นจำนวนน้อย ​เพราะ​ความคิดเช่นนี้​จะทำให้ผู้เขียนไม่รับผิดชอบต่อสิ่ง​ที่ตนเขียน ฯ

ไม่มีความคิดเห็น: