วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เกิดอะไรขึ้นในเวลา : Time in Powers of TEN

เกิดอะไรขึ้นในเวลา : Time in Powers of TEN

?เกิดอะไรขึ้นในเวลา : Time in Powers of TEN
ท่องไปกับเรื่องราวของช่วงเวลาต่างๆ เหล่านี้
  • เรื่องราวของจักรวาลวิทยา ที่อธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่เศษเสี้ยววินาทีแรกของบิกแบงที่นำไปสู่การเกิดเป็นเอกภพจวบจบปัจจุบัน และต่อไปในอนาคตที่เดินทางไปถึงจุดจบของมัน
  • เรื่องราวของการสลายตัวของธาตุหรืออนุภาคต่างๆ ที่แสดงให้เห็นว่าการมีอยู่ของมันบางตัวนั้นสั้นเสียจนมีคำถามว่าแล้วมันจะเกิดมายังไง หรือแม้กระทั้งบางตัวที่อายุยาวนานเสียจนเกินกว่าอายุของเอกภพเสียอีก
  • เรื่องราวของวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต โดยการย้อนเวลากลับไปหาคำตอบว่า บรรพบุรุษจำพวกแรกของสิ่งมีชีวิตถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้เมื่อใด
  • เรื่องราวของเคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีคาบเวลาของการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกันไปตั้งแต่สั้นมากๆ ไปจนถึงยาวมากเสียจนพลังงานของมันมีค่าอันน้อยนิด แต่กลับให้คุณมหาศาล
เวลาเป็นปริมาณที่เกี่ยวข้องอย่างมากกับการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเวลาในการทำข้อสอบของนักเรียน เวลาในการทำงาน 1 โปรเจคสำหรับมนุษย์เงินเดือน เวลาที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอล 1 แมตซ์ หรือแม้กระทั่งเวลาที่ใช้ในการเดินทางไปทำงานในแต่ละวัน เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงเลี่ยงที่จะกล่าวไม่ได้เลยว่าเวลามีค่ามากมายมหาศาลขนาดไหนสำหรับเด็กนักเรียนที่ทำข้อสอบไม่ทัน มนุษย์เงินเดือนที่ต้องปิดจ็อบโครงการให้ทันวันเดดไลน์  ทีมฟุตบอลที่ตามหลังอยู่ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ และเวลาที่ฉิวเฉียดในการตอกบัตรของคนทำงานในวันที่รถติด
เวลาในแง่ของกระบวนการณ์ทางวิทยาศาสตร์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน นิยามของมันในทางวิทยาศาสตร์อาจหมายถึง ชั่วระยะหนึ่งของการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในจักรวาลของเรานี้มีเหตุการณ์ต่างๆมากมายที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับเวลาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ปกติหนึ่งๆ ที่มนุษย์รับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลง เช่นการเกิดฤดูกาลต่างๆ หรือเหตุการณ์ที่มีระยะสั้นเกินกว่ามนุษย์จะแยกออก เช่นเวลาที่แสงเดินทางมาเข้าตาเราหลังจากเปิดไฟ และสุดท้ายช่วงระยะเวลายาวนานเกินกว่ามนุษย์จะรับรู้ได้ เช่นอายุของโลกใบนี้ แต่นั่นก็ไม่เกินไปกว่าความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถคำนวณระยะเวลาต่างๆ ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ
เวลาที่จะได้พบในหนังสือเล่มนี้ครอบคลุมช่วงระยะเวลาทั้งหมดที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเรา และในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาสนี้ ตั้งแต่ช่วงเวลาที่น้อยที่สุดเท่าที่มนุษย์รู้จักคือเวลาของพลังค์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันผู้ที่ให้กำเนิดทฤษฎีเกี่ยวกับการแผ่รังสีของวัตถุดำซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในการศึกษากลศาสตร์ควอนตัม จนไปถึงระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดเกินกว่าเราจะจินตนาการได้ คือเวลาการสิ้นสุดของหลุมดำที่กลืนกินกาแล็กซีทางเชือกเผือกของเราไปก่อนหน้านั้นด้วยซ้ำ เกิดเป็นนิรันดร์อันมืดมิด ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่กล่าวในหนังสือเล่มนี้อธิบายด้วยทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่หลากหลาย ได้แก่ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ กลศาสตร์ควอนตัม กลศาสตร์นิวตัน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและทฤษฎีความโน้มถ่วง โดยที่อาจจะเป็นไปได้ในอีกไม่ช้าไม่นานนี้ว่านักวิทยาศาสตร์จะสามารถรวมทุกทฤษฎีเหล่านี้เข้าด้วยกันเกิดเป็นทฤษฎีที่อธิบายได้ทุกเรื่องที่เรียกว่า  “ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง”

สารบัญ : เกิดอะไรขึ้นในเวลา : Time in Powers of TEN

    • 10^0 วินาที = 1 วินาที
    • 10^1 วินาที = 10 วินาที
    • 10^2 วินาที = 100 วินาที = 1 นาที 40 วินาที
    • 10^3 วินาที = 1,000 วินาที = 16 นาที 40 วินาที
    • 10^4 วินาที = 10,000 วินาที = 2.78 ชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น: