วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เลิกเป็นคนดี แล้วจะมี ความสุข

บทที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
 01 เลิก“เป็นคนดี” 7
02 เลิก“กลัวการถูกเกลียด” 12
 03 เลิก“ใช้ชีวิตในสังคมที่ถูกสร้างขึ้น” 18
04 เลิก“กลัวที่ต้องอยู่คนเดียว” 23
05 เลิก“ติดสอยห้อยตามเพื่อนๆ” 26
06 เลิกคิดว่า“ฉันใช้ชีวิตเพียงลำพังไม่ได้” 29
บทที่ 2 ปฏิสัมพันธ์
07 เลิก“ยอมเสียสละตัวเอง” 37
08 เลิก“เอาใจทุกคน” 39
09 เลิก“ปั้นยิ้มเสแสร้ง” 42
10 เลิก“นิสัยปฏิเสธไม่เป็น” 45
11 เลิก“อดกลั้นไม่ตอบโต้” 51
12 เลิก“กลัวการปะทะกับผู้อื่น” 55
13 เลิก“เก็บซ่อนความรู้สึกที่แท้จริง” 59 1
4 เลิก“ทำตามคนอื่น” 61
15 เลิก“เกรงใจจนเกินเหตุ” 65
บทที่ 3 ความเชื่อ
16 เลิก“เป็นแค่คนธรรมดา” 69
17 เลิก“กังวลกับการมีเพื่อนน้อย” 73
18 เลิก“แคร์สังคม” 78
19 เลิก“ทำตามกฎ” 82
20 เลิก“เป็นคนมีศีลธรรม” 86
21 เลิก“ยัดเยียดคุณงามความดีที่ตัวเองเชื่อให้คนอื่น” 90
บทที่ 4 ทรัพย์สินเงินทอง
22 เลิก“เลี่ยงบทสนทนาเกี่ยวกับเงิน ๆทองๆ” 95
23 เลิก“ประเมินตัวเองต่ำเกินไป” 99
24 เลิก“เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น” 103
25 เลิก“ทำตัวเป็นเจ้านายฉันเพื่อน” 106
26 เลิก“ยอมแพ้ตั้งแต่ยังไม่ลงมือทำ” 110
27 เลิก“หวาดกลัวสายตาเย็นชาของผู้อื่น” 116
28 เลิก“เป็นคนเถรตรงเกินไป” 121
บทที่ 5 ความรัก
29 เลิก“เปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับอีกฝ่าย” 127
30 เลิก“เก็บซ่อนอารมณ์” 130
31 เลิก“ผูกมัดอีกฝ่าย” 134
32 เลิก“เก็บกดอารมณ์ของตัวเอง” 138
33 เลิก“ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่าง” 140
34 เลิก“พยายามทำให้ผู้อื่นยอมรับคุณค่าของตัวเอง” 144
35 เลิก“ยื้อความสัมพันธ์ที่เป็นไปไม่ได้” 149
บทที่ 6 การสร้างผลผลิตใหม่
36 เลิก“สอนให้ใครเป็นคนดี” 153
37 เลิก“หลบเลี่ยงความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเอง” 157
38 เลิก“ผูกมัดกับกฎเกณฑ์ว่า‘ต้องทำ’” 161
บทส่งท้าย เรื่องน่าคิดจากการเปลี่ยน“คนดี”เป็น“ผู้ใหญ่ที่แท้จริง” 167
ประวัติผู้เขียน 172

01 เลิก“เป็นคนดี”
คนที่เลิกไม่ได้: มีแต่ความสัมพันธ์ที่น่าอึดอัดและเคร่งเครียด
คนที่เลิกได้: เป็นตัวของตัวเองได้อย่างเป็นธรรมชาติ

มนุษย์ทุกคนย่อมอยากเป็น“คนดี” ไม่มีใครอยากถูกคนอื่นเกลียด มีแต่อยากให้คนชื่นชอบตัวเองให้ มากที่สุด การจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มคนได้ เราต้องปรับตัวให้ เข้ากับคนรอบข้างและลดทิฐิของตัวเองลงในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเราทำมากเกินไป ก็อาจกลายเป็นความสัมพันธ์ที่อึดอัดและ เคร่งเครียดได้ คนดีมักต้องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน แต่การเก็บกด ความเป็นตัวเองไว้เพื่อให้เข้ากับทุกคน และคบหากันโดยซ่อนความรู้สึก ที่แท้จริงของตัวเองไว้ กลับยิ่งทำให้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับใครไม่ได้เลย สุดท้ายก็กลายเป็นความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นและจบลงแบบผิวเผิน ไม่อาจ คบหาอย่างลึกซึ้งหรือจริงใจต่อกันได้ คนที่เอาแต่ปั้นยิ้มให้คนอื่นโดยไม่พูดถึงความรู้สึกของตัวเอง หรือคนที่เห็นด้วยกับคนอื่นตลอดเวลา จะถูกคนรอบข้างมองว่ากำลัง สวมหน้ากาก

แม้จะอยากสร้างความสนิทสนมกับผู้อื่น แต่การเออออเห็นด้วยกับ อีกฝ่ายเพียงอย่างเดียวไม่อาจสื่อความคิดที่แท้จริงของเราได้ และคนส่วนใหญ่ ก็มักไม่ค่อยสนใจ“คนที่ไม่แสดงความรู้สึก” คนที่ไม่ค่อยแสดงอารมณ์ทางสีหน้า หรือที่เรียกว่า poker face มักไม่ค่อยมีคนเข้าใกล้ เพราะคนอื่นไม่รู้ว่าเขาคิดอะไรอยู่ จึงรู้สึกไม่ดี นอกจากนี้หากเอาแต่คิดว่าไม่อยากถูกเกลียด คู่สนทนาก็จะรู้สึกถึง ความตึงเครียดหรือตื่นตระหนกของเราเวลาพูดคุยกัน ทำให้เกิดบรรยากาศ และภาพลักษณ์ที่น่าอึดอัดได้ การไม่สื่อความคิดที่แท้จริงออกไปทำให้ไม่อาจรับรู้ความรู้สึกของกัน กลายเป็นความสัมพันธ์แบบผิวเผิน คนจะคิดว่า “ไม่รู้เขาคิดอะไรอยู่” หรือ “เขาก็เป็นคนดีอยู่หรอกนะ…” แต่จะไม่ยอมรับเข้ากลุ่มหรือเป็นพวกด้วย หรือถึงจะเข้ากลุ่มได้ แต่ก็เหมือนมีกำแพงกั้นและไม่อาจเข้าไปอยู่ในใจใคร ได้ เรียกว่าเป็นคนที่ไม่มีอะไรให้จดจำ

นอกจากนี้คนดีมักไม่ค่อยมองเห็นคุณค่าตัวเอง เวลาได้รับคำชม จึงไม่กล้าตอบรับตรงๆ เพราะคิดว่าตัวเองไม่มีข้อดีให้คนชื่นชม หากมีคน ชมว่า“เสื้อสวยจัง” เขาอาจตอบว่า“ขอบคุณ” แต่ก็ไม่กล้าดีใจไปกับคำชมนั้น นอกจากนี้เจ้าตัวยังไม่อยากให้อีกฝ่ายคิดว่า“ชมแค่นี้ทำเป็นเหลิง” บางครั้งจึงตอบกลับไปว่า“ไม่ขนาดนั้นหรอก” เหมือนเป็นการปฏิเสธคำชม ซึ่งทำให้อีกฝ่ายเสียความรู้สึกและยิ่งคิดว่า“อุตส่าห์ชมแท้ๆ” หรือ “ต่อให้เรา ชมเขาก็ไม่ดีใจหรอก” สรุปแล้ว การที่คนดีมักทำสิ่งต่างๆโดยคิดว่า “ถ้าทำแบบนี้เขาจะ ไม่เกลียดเราใช่ไหม หรือเขาจะชอบเราไหม” กลับยิ่งส่งผลตรงกันข้าม และมีแต่จะทำให้ตัวเองกดดัน การจะพัฒนาปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมให้ได้ดีนั้น ต้องเริ่มจากการ สื่อความคิดหรือตัวตนของเรา สังเกตปฏิกิริยาของอีกฝ่ายหรือคนรอบข้าง แล้วตอบรับให้สอดคล้องกับปฏิกิริยานั้น

เวลาเราบอกว่า “ผมคิดแบบนี้” อีกฝ่ายอาจจะโกรธ ขำ ดีใจ หรือ เศร้าใจ เมื่อเราเห็นท่าทีนั้นแล้ว จึงค่อยเรียนรู้ว่าจะตอบสนองกลับไป อย่างไร เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ไปในทางที่ดีและผูกพันกันมากขึ้น แต่หากไม่แสดงตัวตนออกไปก็จะไม่เห็นปฏิกิริยาที่ผู้อื่นหรือ คนในสังคมมีต่อตัวเองได้ ดังนั้นเราก็จะไม่รู้ว่าต้องปรับปรุงหรือแก้ไข ตรงไหนบ้าง ส่งผลให้ยิ่งกลัวการแสดงตัวตนมากขึ้น กลายเป็นวงจรอุบาทว์ ที่ทำให้เรามีนิสัยซ่อนตัวตนหนักขึ้นไปเรื่อยๆ

บางส่วนบางตอนจาก https://www.amarinbooks.com/wp-content/uploads/2018/11/Stop-to-be-good-then-happy.pdf

ไม่มีความคิดเห็น: