วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564

รายละเอียดตัวชี้วัดในหลักสูตรวิทยาการคำนวณ

 ขอให้ผู้เรียนอ่านรายละเอียดตัวชี้วัดในหลักสูตรวิทยาการคำนวณตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หนึ่งรอบ

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

  • ป.๑/๑ แก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้การลองผิดลองถูกและการเปรียบเทียบ
  • ป.๑/๒ แสดงลำดับขั้นตอนการทํางานหรือการแก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์หรือข้อความ
  • ป.๑/๓ เขียนโปรแกรมอย่างง่ายโดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ
  • ป.๑/๔ ใช้เทคโนโลยีในการสร้างจัดเก็บ เรียกใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์
  • ป.๑/๕ ใช้เทคโนโลยสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกัน ดูแลรักษาอุปกรณ์เบื้องต้น

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

  • ป.๒/๑ แสดงลำดับขั้นตอนการทํางานหรือการแก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์หรือข้อความ
  • ป.๒/๒ เขียนโปรแกรมอย่างง่ายโดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ และตรวจหา ข้อผิดพลาดของโปรแกรม
  • ป.๒/๓ ใช้เทคโนโลยีในการสร้าง จัดหมวดหมู่ค้นหา จัดเก็บ เรียกใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์
  • ป.๒/๔ ใช้เทคโนโลยสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกัน ดูแลรักษาอุปกรณ์เบื้องต้น ใช้งานอย่างเหมาะสม

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

  • ป.๓/๑ แสดงอัลกอริทึมในการทํางานหรือการแก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์หรือข้อความ
  • ป.๓/๒ เขียนโปรแกรมอย่างง่ายโดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ และตรวจหา ข้อผิดพลาดของโปรแกรม
  • ป.๓/๓ ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้
  • ป.๓/๔ รวบรวม ประมวลผล และ นําเสนอข้อมูลโดยใช้ซอฟตแวร์ตามวัตถุประสงค์
  • ป.๓/๕ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ต

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

  • ป.๔/๑ ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา การอธิบายการทํางาน การคาดการณ์ผลลัพธ์จากปัญหาอย่างง่าย
  • ป.๔/๒ ออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ และตรวจหา ข้อผิดพลาดและแก้ไข
  • ป.๔/๓ ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
  • ป.๔/๔ รวบรวม ประเมิน นําเสนอข้อมูลและสารสนเทศโดยใช้ซอฟตแวร์ที่หลากหลาย เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
  • ป.๔/๕ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

  • ป.๕/๑ ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา การอธิบายการทํางาน การคาดการณ์ผลลัพธ์จากปัญหาอย่างง่าย
  • ป.๕/๒ ออกแบบและเขียนโปรแกรม ที่มีการใช้เหตุผลเชิงตรรกะอย่างง่าย ตรวจหาข้อผิดพลาดและแก้ไข
  • ป.๕/๓ ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาข้อมูลติดต่อสื่อสารและทํางานร่วมกันประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
  • ป.๕/๔ รวบรวม ประเมิน นําเสนอข้อมูลและสารสนเทศตามวัตถุประสงค์โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตที่หลากหลายเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน
  • ป.๕/๕ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย มีมารยาท เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

  • ป.๖/๑ ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการอธิบายและออกแบบวิธีการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจําวัน
  • ป.๖/๒ ออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน ตรวจหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมและแก้ไข
  • ป.๖/๓ ใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมลูอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ป.๖/๔ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทํางานร่วมกันอย่างปลอดภัยเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเคารพในสิทธิของผู้อื่นแจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

  • ม.๑/๑ ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงนามธรรมเพื่อแก้ปัญหาหรีออธิบายการทํางานที่พบในชีวิตจริง
  • ม.๑/๒ ออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย เพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์
  • ม.๑/๓ รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิประมวลผล ประเมินผล นําเสนอข้อมูลและสารสนเทศตามวัตถุประสงค์โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตที่หลากหลาย
  • ม.๑/๔ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ใช้สื่อและแหล่งข้อมูลตามข้อกําหนดและข้อตกลง

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

  • ม.๒/๑ ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงคํานวณในการแก้ปัญหาหรือการทํางานที่พบในชีวิตจริง
  • ม.๒/๒ ออกแบบและเขียนโปรแกรมที่ใช้ตรรกะและฟังก์ชันในการแก้ปัญหา
  • ม.๒/๓ อภิปรายองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อประยุกต์ใช้งานหรือแก้ปญหาเบื้องต้น
  • ม.๒/๔ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบ สร้างและแสดงสิทธิในการเผยแพร่ผลงาน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

  • ม.๓/๑ พัฒนาแอพพลิเคชันที่มีการบูรณาการกับวิชาอื่นอย่างสร้างสรรค์
  • ม.๓/๒ รวบรวมข้อมูล ประมวลผล ประเมินผล นําเสนอข้อมูลและสารสนเทศตามวัตถุประสงค์โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตที่หลากหลาย
  • ม.๓/๓ ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิเคราะห์สื่อ และ ผลกระทบจากการให้ข่าวสารที่ผิดเพื่อการใช้งานอย่างรู้เท่าทัน
  • ม.๓/๔ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบต่อสังคมปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบธรรม

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

  • ม.๔ ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคํานวณในการพัฒนาโครงงานที่มีการบูรณาการกับวิชาอื่นอย่างสร้างสรรค์และเชื่อมโยงกับชีวิตจริง

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

  • ม.๕ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาหรือเพิ่มมูลค่าให้กับบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตจริงอย่างสร้างสรรค์

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

  • ม.๖ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนําเสนอและแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัย มีจริยธรรม และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อการดําเนินชีวิตอาชีพ สังคม และวัฒนธรรม

อ้างอิงจาก คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)

ประเด็นที่ได้รับการพูดถึงในการัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณได้แก่

  • แหล่งทรัพยากรแผนการสอนและเครื่องมือการสอนโค้ดดิง ซึ่งหนึ่งในแหล่งทรัพยากรที่ได้รับความนิยมสูงสุดแหล่งหนึ่งคือ code.org
  • การสอนโค้ดดิงผ่านกิจกรรมถอดปลั๊ก (Unplugged activities) ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดการเขียนโปรแกรมโดยไม่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ กิจกรรมถอดปลั๊กทำให้นักเรียนให้ความสนใจกับแนวคิดที่คุณครูต้องการสอนผ่านการทำกิจกรรมที่น่าสนใจมากกว่าการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นกิจกรรมถอดปลั๊กยังทำให้การเรียนการสอนวิทยาการคำนวณบางส่วนสามารถกระทำได้แม้มีอุปสรรคในการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจาก code.org แล้ว แหล่งทรัพยากรการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมถอดปลั๊กที่เป็นที่นิยมอีกแหล่งคือ csunplugged.org
  • ใบอนุญาต (License) การใช้งานสื่อที่อนุญาตให้นำไปดัดแปลงและใช้งานได้ เช่น ใบอนุญาต Creative Commons

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความรู้และทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล

ตารางต่อไปนี้แสดงตัวอย่างแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลได้

ชื่อแหล่งเรียนรู้มีภาษาไทยผู้เผยแพร่ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องระดับ
Be Internet Awesome.Googleการรู้ดิจิทัลและการเป็นพลเมืองดิจิทัลเบื้องต้น
code.orgcode.orgการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
ก้าวแรกสู่การสร้างคุณค่าด้วยข้อมูลChula MOOCการประมวลผลข้อมูลเบื้องต้น
Introduction to computational thinkingBBCแนวคิดเชิงคำนวณเบื้องต้น
โปรแกรมไพทอนสำหรับวิทยาการข้อมูลThai MOOCการประมวลผลข้อมูลระดับกลาง
สู้ๆ นะ

ไม่มีความคิดเห็น: