: โต๊ะการศึกษารายงาน
คำสอนของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งเป็นแนวทางให้พุทธศาสนิกชนเดินตามครรลองที่ถูกต้องนั้น มีมากมาย โดยสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้รวบรวมธรรมะที่พระองค์ทรงเทศนาในโอกาสต่างๆ เรียกว่า "วลีทอง" ดังนี้
-เมื่อชนะมารในใจของตนได้แล้ว มารข้างนอกก็ทำอะไรไม่ได้
-ใครมีเรื่องจะต้องผจญใจ ก็ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้ทรงพิชิตมารด้วยพระบารมี คือความดี จะสามารถชนะใจตนเองได้ และจะเอาชนะเหตุการณ์ต่างๆ ได้
-น่าจะนึกถึงความแก่ ความตายกันบ้าง เพื่อจะได้ลดความมัวเมาและทำความดี
-หน้าที่ของคนเราที่จะพึงปฏิบัติต่อชีวิตร่างกาย คือ บริหารรักษาให้ปราศจากโรค ให้มีสมรรถภาพ และรีบประกอบประโยชน์ให้เป็นชีวิตดี ชีวิตอุดม
-วิสัยโลกจะต้องมีรัก แต่ให้มีสติควบคุมใจ มิให้ความรักมีอำนาจเหนือสติ
-การชนะนั้น ท่านมุ่งให้เอาชนะตนเอง คือชนะจิตใจที่ใฝ่ชั่วของตน เพื่อที่จะรักษาและเพิ่มพูน ความดีของตนให้ดียิ่งๆ ขึ้น
-การพัฒนาตน จำต้องพัฒนาให้ถึงจิตใจ ถ้าคนมีจิตใจไม่เจริญ ก็ยากจะพัฒนาส่วนอื่นๆ ให้เกิดผลสำเร็จได้
-การรักษาเกียรติ เป็นการรักษาธรรมอย่างหนึ่ง จะก้าวหน้าหรือถอยหลังด้วยเกียรติ หรือเพื่อรักษาเกียรติ ก็เป็นสิ่งที่พึงสรรเสริญเท่ากัน
-การทำประโยชน์ทุกอย่าง ย่อมต้องมีการเสียสละบ้างไม่มากก็น้อย เช่น ทำทานก็ต้องเสียสละทรัพย์
-ความเคารพในธรรม ทำให้ผู้ใหญ่เป็นที่เคารพของผู้น้อย
-ความเคารพในธรรม ทำให้คนเป็นคน
-คนที่รู้มาก แต่ใช้ความรู้นั้นช่วยตัวเองไม่ได้ เพราะขาดความเคารพในธรรม
-คนทุจริต ชื่อว่าไม่รักตน เพราะทำความทุกข์ให้แก่ตนเอง
-คนสุจริต ชื่อว่ารักตน เพราะทำความสุขให้แก่ตนเอง
-วิธีถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง คือให้ตั้งใจระลึกถึงพุทธคุณข้อใดข้อหนึ่งให้จริง แล้วพระพุทธเจ้าจะปรากฏขึ้นในพระพุทธคุณ ความหวาดหลัวและความหม่นหมองก็จะหายไปจากจิตใจ
-พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าใจเรื่องกรรม ไม่ใช่ให้คนกลัวกรรม หรืออยู่ใต้อำนาจกรรม แต่เพื่อให้ควบคุมกรรมในปัจจุบันของตน
-คนที่มีอำนาจเหนือกรรม คือคนที่ควบคุมจิต เจตนาของตนได้ และตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในธรรม
-ถ้าแผ่เมตตาจิตอยู่เนืองๆ จะระงับคู่เวรในอดีต ตลอดถึงปัจจุบันได้
-ผู้ที่สามารถรักษาจิตของตนได้ ตามพุทธโอวาทที่ว่า ไม่ทำชั่วทั้งปวง ทำดีให้ถึงพร้อม ทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ย่อมปิดทางอดีตกรรมที่ชั่ว และเปิดทางปัจจุบันกรรมที่ดี
-อดีตกรรมไรๆ ที่จะให้ผลโดยอาศัยใจนั้น ไม่มีอำนาจโดยลำพังตนเอง แต่อาจมีอำนาจครอบงำใจที่อ่อนแอ หากใจเข้มแข็ง ใจย่อมชนะกรรมที่เกี่ยวใจได้ทุกอย่าง
-ความขรุขระของชีวิต เพราะกรรมเก่านั้น คนเราสามารถทำกรรมปัจจุบัน ปรับปรุงสกัดกั้นกรรมเก่าได้ ดุจสร้างทำนบกั้นน้ำฉันนั้น
-ความเชื่อกรรม ถ้าเชื่อให้ถูกทาง ก็จะแก้ความเชื่อโชคลางต่างๆ ได้เป็นอันมาก
-ทำใจให้สบาย ร่างกายสบาย แม้จะขาดวัตถุไปมากหรือน้อย ก็ไม่เป็นทุกข์
-ภาวะทางใจที่เกิดขึ้นทุกอย่าง เกี่ยวกับชีวิตหรือแง่มุมในการมอง พระพุทธศาสนาสอนให้คิด หรือมองตามความเป็นจริงว่า ผิดถูก ดีชั่ว มีคุณมีโทษอย่างไรตามจริง
-คนที่มีใจเข้มแข็ง ยิ่งถูกค่อนแคะ ก็ยิ่งจะเกิดกำลังใจมากขึ้น
-แม้เป็นเรื่องจริง หากไม่ถึงเวลาที่ควรติหรือชม ก็อย่าไปติหรือชม นิ่งเสียดีกว่า
-คนที่ทำดีไม่น้อย เป็นทุกข์เพราะการทำดีของตน หรือไม่กล้าทำดี เพราะยังทำไม่ถึงความดีแห่งจิตใจของตน
-การทำจิตใจของตนให้มั่นคง เป็นการสร้างความดีให้แก่จิตใจ เป็นตัวความดีที่เป็นแก่นแท้ของความดีทั้งปวง ซึ่งจะป้องความทุกข์ไม่ให้มากระทบใจได้ทุกอย่าง
-ภาระในใจ แม้จะเป็นเรื่องดีมีประโยชน์ ถ้าไม่รู้จักจัดแจงแบ่งเบาให้แก่ตนเอง ก็จะทำให้เป็นทุกข์ใจได้เหมือนกัน
-ทรัพย์ของคนตระหนี่นั้น แม้จะมีมาก ก็เหมือนไม่มี เพราะไม่เกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น
-คนที่อยู่ด้วยกันได้ก็เพราะถือศีลธรรมต่อกัน แม้พวกโจรจะปล้นคนอื่น ก็ต้องไม่ปล้นกันเอง
-ศรัทธาที่ถูกต้อง เกิดจากศึกษาให้รู้ให้เข้าใจอย่างถูกต้อง
-วิธีชนะโดยไม่เบียดเบียนใคร เป็นความดีชั้นตรี การชนะที่เกื้อกูลเขาด้วย เป็นความดีชั้นโท การชนะความชั่วของตนเอง เป็นความดีชั้นเอก
-คนทำชั่ว แม้จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นคนดี ก็หาได้ชื่อว่าเป็นคนดีไม่ ผู้ที่รู้และค้านเป็นคนแรกก็คือตัวเองนั่นเอง
-ธรรมคือมิตรประจำตน ไม่มีพรากไปจากตน จึงย่อมช่วยตนอยู่เสมอ
-ถ้ารู้จักมองดูความเป็นไปต่างๆ ของตนในทางที่น่าหัวเราะเสียบ้าง ก็น่าจะมีทุกข์น้อยลง แต่การมองดูคนอื่นนั้น สู้มองดูตนเองไม่ได้
-คนเรานั้น นอกจากจะมีปัญญาแล้ว ยังต้องมีความคิดอีกด้วย จึงจะเอาตัวรอดได้จากอันตรายต่างๆ ในโลก
-คนฉลาดแท้ ย่อมไม่คิดเอาเปรียบ หรือคิดข่มเหงเบียดเบียนใคร แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ยอมให้ใครข่มเหงได้สำเร็จ
-ในการดำเนินชีวิต ถ้ากลัวจะต้องพบอุปสรรค ก็ทำอะไรไม่ได้ คนที่เข้มแข็งย่อมไม่ยอมแพ้ เมื่อพบอุปสรรคก็แก้ไขไปด้วยจิตใจที่มุ่งมั่น
-วิธีดับความปรารถนาต้องการ คือการหัดเป็นผู้ให้บ่อยๆ ให้เสมอๆ
-ผู้มีธรรม ถือเหตุผลเป็นสำคัญเสมอ ไม่ว่าใครจะทำผิดมาแล้วมากน้อยเพียงไร หากเห็นเหตุผลที่กระทำไปเช่นนั้น จักให้อภัยได้อย่างง่ายดาย
-การฝึกใจไม่ให้โกรธ เป็นการฝึกให้อภัยในความผิดของผู้อื่น ผู้ให้อภัยง่าย คือผู้ไม่โกรธง่ายนั่นเอง
-ไม่ว่าจะมีอารมณ์ใดเกิดขึ้น หากเพ่งดูใจตนเองให้เห็นอารมณ์นั้นแล้ว อารมณ์นั้นจะหมดไป ได้ความสุขมาแทนที่
-ผู้เจริญเมตตาอยู่เสมอ เป็นผู้ไม่โกรธง่าย ทั้งมีจิตใจเยือกเย็นเป็นสุข
-ผู้ที่ตายด้วยโรคภัยทางกาย ดีกว่าผู้ที่ตายแล้วในทางชื่อเสียงและคุณงามความดี ด้วยโรคภัยทางใจ คือกิเลส
-ความคิดนั้น ไม่ว่าคิดดีหรือคิดชั่ว เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะไม่ลบหายไปจากจิตใจ การพยายามควบคุมความคิดให้ถูกต้องอยู่เสมอ เป็นสิ่งควรทำด้วยกันทุกคน
-อภัยทานคือการยกโทษให้ อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ยิ่งกว่าผู้รับ
-การได้มาซึ่งสิ่งของใดๆ ด้วยวิธีอันมิชอบ เป็นการได้ไม่คุ้มเสีย เพราะสิ่งของเหล่านั้น เมื่อถึงเวลาก็หมดสิ้นไป แต่ความเสียหายอันเกิดจากการทุจริตจักยังคงอยู่
-วัดนั้นเป็นอารามภายนอก สำหรับเป็นนาบุญนาธรรมอยู่ส่วนหนึ่ง ควรจะมีวัดภายใน คือวัดภายในจิตใจตนเองอีกส่วนหนึ่งด้วย วัดแบบนี้พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า ธรรมาราม มีศรัทธาในพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นพุทธปฏิมา เป็นตู้พระธรรม และเป็นพระสงฆ์ วัดในใจนี้จะติดตามเราไปทุกสถานทุกเมื่อ ขอให้พากันมีศรัทธาตั้งมั่น ในพระรัตนตรัย จะได้มีพระพุทธปฏิมา ตู้พระธรรม และพระสงฆ์ อยู่ในใจทุกเมื่อ
-สันดานของคนเรานั้นต้องการผลสำเร็จ แต่ไม่อยากทำเหตุให้เหนื่อยยาก เช่น อยากถูกลอตเตอรี่ จนถึงขโมยเขาเป็นต้น ตัณหาในผลสำเร็จนี้เองเป็นเหตุให้คนลักขโมยเขา โกงเขา แม้การอยากถูกลอตเตอรี่กล่าวได้ว่าเป็นนิสัยขโมยอย่างหนึ่งเหมือนกัน เพราะฉะนั้นต้องควบคุมตัณหา ให้ผลสำเร็จนี้ อย่าไปตามใจตัณหา แต่ว่าส่งเสริมตัณหานั้นให้ไปอยากในการประกอบเหตุ ซึ่งจะทำให้ได้ผลเช่นนั้นในทางที่ชอบ นี่แหละเป็นหลักของพระพุทธศาสนา
-ผู้ที่วุ่นวายเร่าร้อนกับสถานะของอะไรๆ หลายอย่างในปัจจุบัน แม้หันมาลองดูความคิดความร้อน ในใจตนแล้ว หันเหความคิดที่เป็นเหตุแห่งความร้อนไปสู่ความเย็นเสีย ก็จะพ้นจากความเร่าร้อนวุ่นวายได้ ถ้าปล่อยใจให้คิดวนอยู่แต่ว่า เราจน ของแพง เขาทำให้ของราคาสูง ทีคนอื่นทำไมไม่ลำบากเหมือนเรา เราทำดีทำไมจึงไม่ได้ดี อะไรทำนองนี้ ก็จะวนเวียนอยู่แต่ในทะเลแห่งความร้อน
-พระพุทธองค์ทรงสอนไว้อย่างหนึ่งที่เป็นคุณอย่างยิ่งแก่ผู้ปฏิบัติ คือทรงสอนให้อยู่กับปัจจุบัน ไม่ให้อาลัยอดีต ไม่เพ้อฝันถึงอนาคต
-เมื่อชนะมารในใจของตนได้แล้ว มารข้างนอกก็ทำอะไรไม่ได้
-ใครมีเรื่องจะต้องผจญใจ ก็ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้ทรงพิชิตมารด้วยพระบารมี คือความดี จะสามารถชนะใจตนเองได้ และจะเอาชนะเหตุการณ์ต่างๆ ได้
-น่าจะนึกถึงความแก่ ความตายกันบ้าง เพื่อจะได้ลดความมัวเมาและทำความดี
-หน้าที่ของคนเราที่จะพึงปฏิบัติต่อชีวิตร่างกาย คือ บริหารรักษาให้ปราศจากโรค ให้มีสมรรถภาพ และรีบประกอบประโยชน์ให้เป็นชีวิตดี ชีวิตอุดม
-วิสัยโลกจะต้องมีรัก แต่ให้มีสติควบคุมใจ มิให้ความรักมีอำนาจเหนือสติ
-การชนะนั้น ท่านมุ่งให้เอาชนะตนเอง คือชนะจิตใจที่ใฝ่ชั่วของตน เพื่อที่จะรักษาและเพิ่มพูน ความดีของตนให้ดียิ่งๆ ขึ้น
-การพัฒนาตน จำต้องพัฒนาให้ถึงจิตใจ ถ้าคนมีจิตใจไม่เจริญ ก็ยากจะพัฒนาส่วนอื่นๆ ให้เกิดผลสำเร็จได้
-การรักษาเกียรติ เป็นการรักษาธรรมอย่างหนึ่ง จะก้าวหน้าหรือถอยหลังด้วยเกียรติ หรือเพื่อรักษาเกียรติ ก็เป็นสิ่งที่พึงสรรเสริญเท่ากัน
-การทำประโยชน์ทุกอย่าง ย่อมต้องมีการเสียสละบ้างไม่มากก็น้อย เช่น ทำทานก็ต้องเสียสละทรัพย์
-ความเคารพในธรรม ทำให้ผู้ใหญ่เป็นที่เคารพของผู้น้อย
-ความเคารพในธรรม ทำให้คนเป็นคน
-คนที่รู้มาก แต่ใช้ความรู้นั้นช่วยตัวเองไม่ได้ เพราะขาดความเคารพในธรรม
-คนทุจริต ชื่อว่าไม่รักตน เพราะทำความทุกข์ให้แก่ตนเอง
-คนสุจริต ชื่อว่ารักตน เพราะทำความสุขให้แก่ตนเอง
-วิธีถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง คือให้ตั้งใจระลึกถึงพุทธคุณข้อใดข้อหนึ่งให้จริง แล้วพระพุทธเจ้าจะปรากฏขึ้นในพระพุทธคุณ ความหวาดหลัวและความหม่นหมองก็จะหายไปจากจิตใจ
-พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าใจเรื่องกรรม ไม่ใช่ให้คนกลัวกรรม หรืออยู่ใต้อำนาจกรรม แต่เพื่อให้ควบคุมกรรมในปัจจุบันของตน
-คนที่มีอำนาจเหนือกรรม คือคนที่ควบคุมจิต เจตนาของตนได้ และตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในธรรม
-ถ้าแผ่เมตตาจิตอยู่เนืองๆ จะระงับคู่เวรในอดีต ตลอดถึงปัจจุบันได้
-ผู้ที่สามารถรักษาจิตของตนได้ ตามพุทธโอวาทที่ว่า ไม่ทำชั่วทั้งปวง ทำดีให้ถึงพร้อม ทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ย่อมปิดทางอดีตกรรมที่ชั่ว และเปิดทางปัจจุบันกรรมที่ดี
-อดีตกรรมไรๆ ที่จะให้ผลโดยอาศัยใจนั้น ไม่มีอำนาจโดยลำพังตนเอง แต่อาจมีอำนาจครอบงำใจที่อ่อนแอ หากใจเข้มแข็ง ใจย่อมชนะกรรมที่เกี่ยวใจได้ทุกอย่าง
-ความขรุขระของชีวิต เพราะกรรมเก่านั้น คนเราสามารถทำกรรมปัจจุบัน ปรับปรุงสกัดกั้นกรรมเก่าได้ ดุจสร้างทำนบกั้นน้ำฉันนั้น
-ความเชื่อกรรม ถ้าเชื่อให้ถูกทาง ก็จะแก้ความเชื่อโชคลางต่างๆ ได้เป็นอันมาก
-ทำใจให้สบาย ร่างกายสบาย แม้จะขาดวัตถุไปมากหรือน้อย ก็ไม่เป็นทุกข์
-ภาวะทางใจที่เกิดขึ้นทุกอย่าง เกี่ยวกับชีวิตหรือแง่มุมในการมอง พระพุทธศาสนาสอนให้คิด หรือมองตามความเป็นจริงว่า ผิดถูก ดีชั่ว มีคุณมีโทษอย่างไรตามจริง
-คนที่มีใจเข้มแข็ง ยิ่งถูกค่อนแคะ ก็ยิ่งจะเกิดกำลังใจมากขึ้น
-แม้เป็นเรื่องจริง หากไม่ถึงเวลาที่ควรติหรือชม ก็อย่าไปติหรือชม นิ่งเสียดีกว่า
-คนที่ทำดีไม่น้อย เป็นทุกข์เพราะการทำดีของตน หรือไม่กล้าทำดี เพราะยังทำไม่ถึงความดีแห่งจิตใจของตน
-การทำจิตใจของตนให้มั่นคง เป็นการสร้างความดีให้แก่จิตใจ เป็นตัวความดีที่เป็นแก่นแท้ของความดีทั้งปวง ซึ่งจะป้องความทุกข์ไม่ให้มากระทบใจได้ทุกอย่าง
-ภาระในใจ แม้จะเป็นเรื่องดีมีประโยชน์ ถ้าไม่รู้จักจัดแจงแบ่งเบาให้แก่ตนเอง ก็จะทำให้เป็นทุกข์ใจได้เหมือนกัน
-ทรัพย์ของคนตระหนี่นั้น แม้จะมีมาก ก็เหมือนไม่มี เพราะไม่เกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น
-คนที่อยู่ด้วยกันได้ก็เพราะถือศีลธรรมต่อกัน แม้พวกโจรจะปล้นคนอื่น ก็ต้องไม่ปล้นกันเอง
-ศรัทธาที่ถูกต้อง เกิดจากศึกษาให้รู้ให้เข้าใจอย่างถูกต้อง
-วิธีชนะโดยไม่เบียดเบียนใคร เป็นความดีชั้นตรี การชนะที่เกื้อกูลเขาด้วย เป็นความดีชั้นโท การชนะความชั่วของตนเอง เป็นความดีชั้นเอก
-คนทำชั่ว แม้จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นคนดี ก็หาได้ชื่อว่าเป็นคนดีไม่ ผู้ที่รู้และค้านเป็นคนแรกก็คือตัวเองนั่นเอง
-ธรรมคือมิตรประจำตน ไม่มีพรากไปจากตน จึงย่อมช่วยตนอยู่เสมอ
-ถ้ารู้จักมองดูความเป็นไปต่างๆ ของตนในทางที่น่าหัวเราะเสียบ้าง ก็น่าจะมีทุกข์น้อยลง แต่การมองดูคนอื่นนั้น สู้มองดูตนเองไม่ได้
-คนเรานั้น นอกจากจะมีปัญญาแล้ว ยังต้องมีความคิดอีกด้วย จึงจะเอาตัวรอดได้จากอันตรายต่างๆ ในโลก
-คนฉลาดแท้ ย่อมไม่คิดเอาเปรียบ หรือคิดข่มเหงเบียดเบียนใคร แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ยอมให้ใครข่มเหงได้สำเร็จ
-ในการดำเนินชีวิต ถ้ากลัวจะต้องพบอุปสรรค ก็ทำอะไรไม่ได้ คนที่เข้มแข็งย่อมไม่ยอมแพ้ เมื่อพบอุปสรรคก็แก้ไขไปด้วยจิตใจที่มุ่งมั่น
-วิธีดับความปรารถนาต้องการ คือการหัดเป็นผู้ให้บ่อยๆ ให้เสมอๆ
-ผู้มีธรรม ถือเหตุผลเป็นสำคัญเสมอ ไม่ว่าใครจะทำผิดมาแล้วมากน้อยเพียงไร หากเห็นเหตุผลที่กระทำไปเช่นนั้น จักให้อภัยได้อย่างง่ายดาย
-การฝึกใจไม่ให้โกรธ เป็นการฝึกให้อภัยในความผิดของผู้อื่น ผู้ให้อภัยง่าย คือผู้ไม่โกรธง่ายนั่นเอง
-ไม่ว่าจะมีอารมณ์ใดเกิดขึ้น หากเพ่งดูใจตนเองให้เห็นอารมณ์นั้นแล้ว อารมณ์นั้นจะหมดไป ได้ความสุขมาแทนที่
-ผู้เจริญเมตตาอยู่เสมอ เป็นผู้ไม่โกรธง่าย ทั้งมีจิตใจเยือกเย็นเป็นสุข
-ผู้ที่ตายด้วยโรคภัยทางกาย ดีกว่าผู้ที่ตายแล้วในทางชื่อเสียงและคุณงามความดี ด้วยโรคภัยทางใจ คือกิเลส
-ความคิดนั้น ไม่ว่าคิดดีหรือคิดชั่ว เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะไม่ลบหายไปจากจิตใจ การพยายามควบคุมความคิดให้ถูกต้องอยู่เสมอ เป็นสิ่งควรทำด้วยกันทุกคน
-อภัยทานคือการยกโทษให้ อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ยิ่งกว่าผู้รับ
-การได้มาซึ่งสิ่งของใดๆ ด้วยวิธีอันมิชอบ เป็นการได้ไม่คุ้มเสีย เพราะสิ่งของเหล่านั้น เมื่อถึงเวลาก็หมดสิ้นไป แต่ความเสียหายอันเกิดจากการทุจริตจักยังคงอยู่
-วัดนั้นเป็นอารามภายนอก สำหรับเป็นนาบุญนาธรรมอยู่ส่วนหนึ่ง ควรจะมีวัดภายใน คือวัดภายในจิตใจตนเองอีกส่วนหนึ่งด้วย วัดแบบนี้พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า ธรรมาราม มีศรัทธาในพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นพุทธปฏิมา เป็นตู้พระธรรม และเป็นพระสงฆ์ วัดในใจนี้จะติดตามเราไปทุกสถานทุกเมื่อ ขอให้พากันมีศรัทธาตั้งมั่น ในพระรัตนตรัย จะได้มีพระพุทธปฏิมา ตู้พระธรรม และพระสงฆ์ อยู่ในใจทุกเมื่อ
-สันดานของคนเรานั้นต้องการผลสำเร็จ แต่ไม่อยากทำเหตุให้เหนื่อยยาก เช่น อยากถูกลอตเตอรี่ จนถึงขโมยเขาเป็นต้น ตัณหาในผลสำเร็จนี้เองเป็นเหตุให้คนลักขโมยเขา โกงเขา แม้การอยากถูกลอตเตอรี่กล่าวได้ว่าเป็นนิสัยขโมยอย่างหนึ่งเหมือนกัน เพราะฉะนั้นต้องควบคุมตัณหา ให้ผลสำเร็จนี้ อย่าไปตามใจตัณหา แต่ว่าส่งเสริมตัณหานั้นให้ไปอยากในการประกอบเหตุ ซึ่งจะทำให้ได้ผลเช่นนั้นในทางที่ชอบ นี่แหละเป็นหลักของพระพุทธศาสนา
-ผู้ที่วุ่นวายเร่าร้อนกับสถานะของอะไรๆ หลายอย่างในปัจจุบัน แม้หันมาลองดูความคิดความร้อน ในใจตนแล้ว หันเหความคิดที่เป็นเหตุแห่งความร้อนไปสู่ความเย็นเสีย ก็จะพ้นจากความเร่าร้อนวุ่นวายได้ ถ้าปล่อยใจให้คิดวนอยู่แต่ว่า เราจน ของแพง เขาทำให้ของราคาสูง ทีคนอื่นทำไมไม่ลำบากเหมือนเรา เราทำดีทำไมจึงไม่ได้ดี อะไรทำนองนี้ ก็จะวนเวียนอยู่แต่ในทะเลแห่งความร้อน
-พระพุทธองค์ทรงสอนไว้อย่างหนึ่งที่เป็นคุณอย่างยิ่งแก่ผู้ปฏิบัติ คือทรงสอนให้อยู่กับปัจจุบัน ไม่ให้อาลัยอดีต ไม่เพ้อฝันถึงอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น