ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน
แต่งานแต่งงานเป็นเรื่องของคนหลายคน
ลุงเคยอ่านเจอที่คุณประภาสเคยเขียนไว้ตอนไหนสักตอนหนึ่งในหนังสือของเขา
ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน ประโยคนี้ฟังดูง่าย
แต่ทำเป็นเล่นไป อาจมีคนเป็นหมื่นเป็นแสนไม่เข้าใจประโยคง่ายๆนี้
หลายคนเจ็บปวดกับความรัก เพราะดันให้ความรักเป็นของคนแค่คนเดียว
บางคนก็ให้เป็นเรื่องของตัวเอง นั่นคือตามใจแต่ตัวเอง เอาตัวเองเป็นใหญ่ ไม่สนใจอีกคนหนึ่ง
บางคนก็ให้เป็นเรื่องของอีกคน นั่นคือตามใจแต่คนรัก เอาตัวคนรักเป็นใหญ่ ไม่สนใจตัวเอง
สิ่งมีชีวิตในโลกนี้จะดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้จำต้องมี การปรับตัว
ปรัชญาข้อนี้คุณประภาสแกอธิบายมาจากทฤษฎีของดาร์วิน
นอกจากการปรับตัวแล้ว สิ่งมีชีวิตที่มีชื่อว่ามนุษย์ทำมากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นก็คือ การเอาชนะ
ปรัชญาข้อนี้ คุณประภาสแกก็อธิบายมาจากวิถีของ เอดิสัน กาลิเลโอ
เอะอะอะไร คุณประภาสแกก็ทูนแต่พวกนักวิทยาศาสตร์ยันเต
อย่าไปว่าแกเลย
กาลิเลโอนั้นน่าสนใจที่สุด เพราะพี่ท่านใช้ทั้งการปรับตัวและเอาชนะ ยอมติดคุกหัวโตเพื่อเขียนตำราวิทยาศาสตร์เล่มยิ่งใหญ่ของโลก
ความรักก็เป็นอย่างนั้น
ความรักเป็นเรื่องของคนของสองคน ความรักจำเป็นต้องอยู่รอด
ความรักจึงจำต้องปรับตัวและต้องเอาชนะ
ฟังดูโหดจัง ต้องเอาชนะด้วยหรือ
พุทโธ่... คนรักกันทำไม่ถูกไม่ควร จะไปยอมได้อย่างไร
ถ้าฝ่ายหนึ่งยอมตลอดเวลา ความรักจะกลายเป็นเรื่องของคนๆเดียวทันที
ใครที่คิดว่าเรื่องเอาชนะเป็นเรื่องโหดร้าย
คุณประภาสแกก็เคยเล่าเรื่องของซุนวูให้ฟัง
รบร้อยชนะร้อย ยังหาใช่ความยอดเยี่ยมไม่
มิต้องรบแต่ชนะได้ จึงเป็นความยอดเยี่ยม
ปรัชญาสูงสุดของซุนวูว่าไว้
นอกจากการปรับตัวและการเอาชนะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของมหาบุรุษแล้ว
อีกข้อหนึ่งซึ่งจะทำให้มนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่เป็นมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่อันประเสริฐ
นั่นก็คือ การเปิดใจ
รับฟังทุกคำเห็น มองทุกอย่างเป็นไปได้ มองความผิดพลาดของตัวเองได้ ยอมรับความผิดหวังได้ ยอมรับความสมหวังได้
เอดิสันเปิดใจกว่าสองพันครั้ง เพื่อรับวัสดุใหม่ๆในการสร้างหลอดไฟให้ชาวโลก
ไอน์สไตน์ เปิดใจรับจินตนาการของตัวเองบนเนินเขาว่ามันอาจเป็นจริงได้ในทางคณิตศาสตร์ จนเกิดฟิสิกส์ยุคใหม่
เจ้าชายสิทธัตถะเปิดใจรับคำสอนจากอาจารย์หลายต่อหลายคน เพื่อคนหาคำตอบของชีวิต และสุดท้ายพระองค์ยังเปิดใจอันใสที่สุดในจักรวาลเพื่อฟังเสียงจากสมาธิของ ตัวเอง
ในความรัก
คนสองคนต้องการ การเปิดใจ อย่างที่สุด
ไม่ เปิดใจ แล้วจะ เชื่อใจ กันได้อย่างไร
ความเชื่อใจนี่แหละคือเสาเข็ม อันปักลึกมั่นคงของตึกที่ชื่อว่า ความรัก
เมื่อเราเจอใครสักคนที่เราเราคิดว่าใช่ วินาทีนั้นน่าจะเป็นครั้งแรกที่ต้อง เปิดใจ ตัวเองก่อน
ใช่ จริงไหม หรือแค่พึงใจในหน้าตาและบุคลิก หรือแค่เหมือนใครสักคนที่เราขาดหายไป ? หรือใช่เพราะ เขาสาละวนเอาใจแต่เราคนเดียว
เปิดใจตัวเองจริงๆว่า เขาใช่สำหรับเราไหมและเราใช่สำหรับเขาไหม
อันนี้ต้องดูดีๆ ต้องเปิดใจจริงๆ ไม่ใช่เอาแต่ใจ แล้วหลอกตัวเองว่าใช่
คุณประภาสแกบอกมาว่า บางทีแกก็เรียกการรู้ว่า ใช่หรือ ไม่ใช่ จากการเปิดใจอันนี้ว่า สัมผัสที่หก
ไม่เพียงแต่เรื่องความรักดอก มันจะมีกับทุกเรื่องจริงๆ ถ้าเรา เปิดใจ
โดยคุณ : ชาลี - [ 25 ก.ย. 2549 , 10:09:35 น.]
...............................
เมื่อแรกอ่าน แอบค่อนลุงชาลีเสียหายว่า ตอบมาตั้งยาวมันก็ต้องถูกสักข้อเชียวแหล่ะ
เหมือนเวลาเราไปดูดวงเรื่องเนื้อคู่ ถ้าหมอดูบอกมาเยอะๆ มันต้องมีสักข้อที่ตรงกับคนที่เราคิดว่าใช่
จนวันหนึ่งถึงได้เข้าใจ คำตอบของลุงชาลี เฉียบคมจริงๆค่ะ
กิริยาของการสิ้นสุดภาวะเก็บใจนั้น นุ่มนวลมากกว่าที่คิด
ไม่เหมือนรถชน ไม่เหมือนตกจากที่สูง
"ความรัก"เป็นเรื่องซับซ้อนอ่อนไหวที่อธิบายยากนัก
ใช้ตัวหนังสือมามาก แต่ก็เหมือนไม่สามารถเขียนแทนใจได้สักที
หายหน้าหายตัวหนังสือไปเรียนหนังสือเสียหลายวัน
ว่าจะเขียนนิดเดียว มันก็ยาวอีกจนได้สิน่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น