วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ทักษะแห่งอนาคตใหม่ 21st Century Skills

ประโยคเด็ดจากหนังสือ 

  • ในศตวรรษที่ 21 บททดสอบความแข็งแกร่งทางการศึกษาที่แท้จริง คือการที่นักเรียนมองดูสิ่งที่พวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อน แล้วรู้ว่าจะทำอะไรกับสิ่งนั้น — John Bransdford (หน้า 44)
  • ความสามารถในการแยกสาระออกจากขยะในกองข้อมูล เป็นทักษะอีกประเภทหนึ่งที่สำคัญสำหรับศตวรรษที่ 21 — Christ Dede (หน้า 114)
  • การสอนโดยไม่มีการเรียนรู้ ไม่เรียกว่าการสอน แต่เป็นแค่การนำเสนอ — Dufour (หน้า 149)
  • สอนให้น้อยลง เรียนรู้ให้มากขึ้น (Teach less, learn more) คือกรอบวิสัยทัศน์ด้านการศึกษาของสิงคโปร์ — Fogarty & Pete (หน้า 171)
  • ห้องเรียนตกยุคไปแล้ว บอกลาห้องเรียน เลิกสร้างห้องเรียนได้แล้ว — Roger Schank (หน้า 208)
  • สื่ออิเล็กทรอนิกส์มอบโอกาสให้คนเพิ่มจำนวนความสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย การสร้างความสัมพันธ์แบบออนไลน์มีอุปสรรคเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับโอกาสที่ได้ — Johnson (หน้า 321)
  • อัตลักษณ์ หมายถึง เราคือใคร? .. “อัตลักษณ์ออนไลน์” มาจากความเฉลียวฉลาดในข้อความ วิธีการเขียน ความคล่องแคล่ว และความลึกซึ้งในการโต้ตอบ รวมทั้งความฉลาด มุมมอง และการมีส่วนร่วมที่โดดเด่น — Johnson (หน้า 326)
  • มนุษย์มีความต้องการที่จะสื่อสารมาโดยตลอด เพียงแต่รูปแบบเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลง ..หน้าที่ของพวกเราในฐานะนักการศึกษาคือ การให้ความสำคัญกับการสื่อสารพร้อมกับติดตามเทคโนโลยีให้ทัน หากเราเน้นแต่เครื่องมือจนลืมจุดประสงค์ เราก็จะติดอยู่ในวังวนของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วไปตลอดกาล — Douglas Fisher & Nancy Frey (หน้า 335)
  • แน่นอนว่านโยบายด้านเทคโนโลยีในโรงเรียนไม่ใช่สิ่งเดียวที่จำเป็นต้องเปลี่ยน เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย ลองนึกถึงแหล่งรวมวิดีโอฟรีมากที่สุดอย่าง YouTube ซึ่งถูกห้ามในโรงเรียนส่วนใหญ่ โรงเรียนของเราใช้ YouTube เป็นประจำ จนไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่า เราจะวางแผนการสอนได้โดยไม่อาศัยคลิปวิดีโอ เพราะทุุกอย่างที่เรามองหาอยู่ในนั้นหมด ซึ่งน่าอัศจรรย์มาก — Douglas Fisher & Nancy Frey (หน้า 342)
  • ให้ยุติการห้ามใช้เทคโนโลยี และหันไปเน้นที่การสอนมารยาท — Douglas Fisher & Nancy Frey (หน้า 340)
  • เทคโนโลยีล้ำหน้า ข้อมูลล้าหลัง — Alan November (หน้า 394)
  • การออกแบบวัฒนธรรมการเรียนการสอน ที่ให้อำนาจแก่นักเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดความรับผิดชอบมากขึ้นในการบริหารการเรียนรู้ของตนเอง ได้ทำงานร่วมกับเพื่อนในชั้นและผู้คนทั่วโลก มีความสำคัญกว่าการยัดเยียดเทคโนโลยีเข้าสู่โมเดลการศึกษาแบบอุตสาหกรรมอย่างที่เป็นอยู่– Alan November (หน้า 404)
  • ผู้ใหญ่หลายคนเห็นว่าเว็บเป็นเรื่องของรสนิยม ไม่ได้มองว่ามันเป็นเครื่องมือสื่อสารขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกับที่นักเรียนจำนวนมากเห็น นักการศึกษาจำนวนมากยังคงใช้ชีวิตแห่งการเรียนรู้ด้วยกระดาษ — Will Richardson (หน้า 423)
  • เมื่อนักเรียนเข้าสู่โลกในการทำงาน สังคม และชีวิตในศตวรรษที่ 21 จะพบว่า นิสัยชอบการแข่งขันแบบสุดขั้วเป็นสิ่งที่ไม่เข้าท่า ความเป็นผู้นำไม่ได้มาจากลำดับชั้น แต่มาจากอิทธิพลและการช่วยเหลือ ผลงานไม่ได้วัดจากความสำเร็จของแต่ละคน แต่วัดจากความสำเร็จของทีมงานโดยรวม ซี่งทีมที่ว่านี้ อาจเป็นทีมนานาชาติที่มีสมาชิกจากทั่วโลกก็ได้ — Douglas Reeves (หน้า 443)

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

International Phonetic Alphabet (IPA)

International Phonetic Alphabet (IPA)

International Phonetic Alphabet (IPA)


Consonants

การออกเสียงในภาษาอังกฤษ จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ voice กับ voiceless อธิบายง่ายๆ คือ การเปล่งเสียงแล้วมีลมผ่านออกจากปากมากน้อยหรือแทบจะไม่มี ดังนั้นเสียงพยัญชนะต่อไปนี้จะเขียนกำกับให้ทราบตามความแตกต่างของคำ เช่น p กับ b นั้นออกเสียงต่างกันอย่างไร เป็นต้น นอกจากนี้ได้ใส่ key word เพื่อช่วยในการจำเสียงมาให้ด้วย...

1. [p] - voiceless ออกเสียง [เพ่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “พ” เช่น put, pack, happy
2. [b] - voice ออกเสียง [เบ่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “บ” เช่น bad, back, rubber

3. [t] - voiceless ออกเสียง [เท่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “ท” เช่น too, tie
4. [d] - voice ออกเสียง [เดอะ] เทียบเสียงกับอักษร “ด” เช่น dead, die

5. [k] - voiceless ออกเสียง [เค่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “ค” เช่น cap, key, quick, accept
6. [g] - voice ออกเสียง [เกอะ] เทียบเสียงกับอักษร “ก” เช่น gas, game, guest

7. [s] - voiceless ออกเสียง [ส] เทียบเสียงกับอักษร “ซ,” เช่น sea, city, psychology, sip
8. [z] - voice ออกเสียง [ซึ] เทียบเสียงกับอักษร “ซ” เช่น zoo, zip, zero,

9. [f] - voiceless ออกเสียง [ฟ่ะ] เทียบเสียงกับอักษร “ฟ” เช่น food, fan, phone, few
10. [v] - voice ออกเสียง [วู] เทียบเสียงกับอักษร “ว” เช่น voice, van, view
11. [w] ออกเสียง [ว่ะ] เทียบเสียงกับอักษร “ว” เช่น week, wet, white

เสียง consonant 3 นี้ (12, 13, 14) เรียกว่า nasal consonant คือเวลาเปล่งเสียงให้ลมออกทางจมูก

12. [m] ออกเสียง [อืม] เทียบเสียงกับอักษร “ม” เช่น map, men, some
13. [n] ออกเสียง [อึน] เทียบเสียงกับอักษร “น” เช่น not, sun, know, pneumonia
14. [ŋ] ออกเสียง [อึง] เทียบเสียงกับอักษร “ง” เช่น long, sung, ring

15. [l] - voice ออกเสียง [เล่อะ] (ลิ้นต้องแตะระหว่างฟันหน้ากับเพดานปาก) เทียบเสียงกับอักษร “ล” เช่น light, long
16. [r] ออกเสียง [เรอ] (ลิ้นไม่แตะเพดานปาก) เทียบเสียงกับอักษร เช่น right, wrong

17. [θ] ออกเสียง [ตะ] เทียบเสียงกับอักษร “ต” เช่น think, thing, thank
18. [ð] ออกเสียง [ดะ] เทียบเสียงกับอักษร “ด” เช่น they, then

19. [∫] ออกเสียง [เช่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “ช” เช่น she, ship, machine, show, tissue
20. [3] ออกเสียง [เฉ่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “ช” เช่น vision, Asian, usual, measure

21. [j] ออกเสียง [เยียะ] เทียบเสียงกับอักษร “ย” เช่น yes, use

22. [h] ออกเสียง [ฮ่ะ] เทียบเสียงกับอักษร “ฮ” เช่น he, hot, who

23. [t∫] ออกเสียง [เช่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “ฌ” เช่น cheap, church, nature, watch, check
24. [d3]ออกเสียง [เจอะ] เทียบเสียงกับอักษร “จ” เช่น job, judge, general, joke, major

25. [tr] ออกเสียง [ทระ] เทียบเสียงกับอักษร “ทร” เช่น tree, try, trip
26. [dr] ออกเสียง [ดระ] เทียบเสียงกับอักษร “ดร” เช่น dry, drip, draw

27. [ts] ออกเสียง [สึ] (ใช้ออกเสียงพหูพจน์ที่ลงท้ายด้วย ts) เทียบเสียงกับอักษร “ส” เช่น cats
28. [dz] ออกเสียง [ซึ] (ใช้ออกเสียงพหูพจน์ที่ลงท้ายด้วย ds) เทียบเสียงกับอักษร “ซ” เช่น birds

คำแนะนำ:
1. การฝึกออกเสียง voice และ voiceless นั้นควรถือกระดาษหรือขนนก บริเวณปาก เพื่อสังเกตดูความแตกต่าง เช่น ลองฝึกออกเสียงคำว่า few กับ view จะเห็นความแตกต่างของลมที่ออกมาจากปาก
2. ลองฝึกเสียง consonant ข้างต้นแบบเป็นคู่ เพราะได้จัดเรียงและจับคู่ เช่น ลองฝึก p คู่กับ b, หรือ f คู่กับ v
3. แนะนำว่าเวลาค้นหาคำใน dictionay ให้ดูการออกเสียง phonetic ด้วย เพื่อช่วยในการออกเสียงอย่างถูกต้อง เพราะภาษาอังกฤษไม่มีกฎตายตัวว่าออกเสียงอย่างไรจากการเขียน (คือ ไม่ได้ออกเสียงตามทีเขียน) เพราะฉะนั้น phonetic จะเป็นตัวกำหนดค่ะ

การเทียบเสียงพยัญชนะไทยกับเสียงพยัญชนะอังกฤษ

ก = g [เกอะ]
ข ค ฆ = k [เค่อะ]
ง = ŋ [อึง]
จ = d3 [เจอะ]
ฉ ช = 3 [เฉ่อะ]
ซ = z [ซึ]
ฌ = t∫ [เช่อะ]
ญ ย = j [เยียะ]
ฎ ด = d [เดอะ]
ฎ ต = θ [ตะ]
ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ = t [เท่อะ]
ณ น = n [อึน]
บ = b [เบ่อะ]
ป ผ พ ภ = p [เพ่อะ]
ฝ ฟ = f [ฟ่ะ]
ม = m [อืม]
ร ฬ = r [เรอ] (ลิ้นไม่แตะเพดานปาก)
ล = l [เล่อะ] (ลิ้นต้องแตะระหว่างฟันหน้ากับเพดานปาก)
ว = w [ว่ะ] หรือ v ออกเสียง [วู]
ศ ษ ส = s [สึ]
ห ฮ = h [ฮ่ะ]
อ มักจะใช้ออกเสียง vowel

Vowels

1. [i] ออกเสียง [อี] เช่น he, feed, beat
2. [ɪ] ออกเสียง [อิ] เช่น it, bit, did, hit
3. [e] ออกเสียง [เอะ] เช่น pen,
4. [æ] ออกเสียง [แอะ] เช่น map, bad, mad
5. [u:] ออกเสียง [อู] เช่น two, too, boot, food
6. [ʊ] ออกเสียง [อุ] เช่น book, took, look
7. [ɑ:] ออกเสียง [อาร์] เช่น far, car
8. [ə] ออกเสียง [อะล] เช่น ago, available
9. [ʌ] ออกเสียง [อ่ะ] เช่น bus, but, mud, mother
10. [ɜ:] ออกเสียง [เออร์] เช่น bird, first, shirt, murder
11. [eɪ] ออกเสียง [เอ] เช่น date, paid, may
12. [ɔɪ] ออกเสียง [ออย] เช่น boy, toy, voice
13. [ɪə] ออกเสียง [เอียร์] เช่น here
14. [eə] ออกเสียง [แอร์] เช่น hair
15. [əʊ] ออกเสียง [โอ] เช่น no, boat
16. [aɪ] ออกเสียง [ไอ, อาย] เช่น buy, eye, cry
17. [aʊ] ออกเสียง [เอา] เช่น out, how, about
18. [ʊə] ออกเสียง [อัวร์] เช่น sure, tour
19. [ɔ:] ออกเสียง [ออ] เช่น door
20. [ɒ] ออกเสียง [เอาะ] เช่น office 

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Chard C5

Size: 41"
Top: Solid Cedar
Back & Sides: Rosewood
Fingerboard&bridge: Rosewood
Neck: Rosewood
Pick up: Contact FISHMAN

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน ก้อง ห้วยไร่

ฮักกันมาแต่ดนแล้ว 
บ่มีวี่แววเปลี่ยนแปลงไป
ตั้งแต่ทางมีแต่ขี้ไหง  
แล้วจังได๋คือมาเป็นลายต่าง
สิบสิฮ่างหรือซาวสิฮ่าง  
สิจับมือกันหย่างว่าซั่นว่า
หัวใจสะหวอยน้องบ่หัวซา  
บัดสิว่าเฮาไปกันบ่ได้

"รักกันมาตั้งนาน 
ไม่มีวี่แววว่าจะเปลี่ยนแปลงไป
ตั้งแต่ถนนมีแต่ฝุ่นไคล 
แล้วทำไมถึงเปลี่ยนไปอย่างนี้
สิบ-ยี่สิบปัญหาประดัง  (สิฮ่าง=จะพัง เป็นสำนวน)
จะจับมือกันก้าวเดินไช่ไหม
หัวใจสลายน้องไม่สนใจ มาบอกได้ไงเราไปกันไม่ได้"

ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน
ไสว่าสิมีกันและกัน
ไสว่าสิฮักแพงกัน 
ไสว่าสิมีกันตลอดไป
ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน 
ไสว่าสิมีกันเรื่อยไป
ไสว่าสิบ่แบ่งใจ 
ไสว่าสิมีแค่..เฮา

"ไหนบอกจะไม่ทิ้งกัน
ไหนบอกจะมีกันและกัน
ไหนบอกจะดูแลกัน 
ไหนบอกจะมีกันตลอดไป
ไหนบอกจะไม่ทิ้งกัน 
ไหนบอกจะมีกันเรื่อยไป
ไหนบอกจะไม่แบ่งใจ
ก็ไหนบอกจะมีแค่เรา"

น้ำตาพังลงหย่าวๆ
ย้อนผุสาวเปลี่ยนใจไห้จนเซ
บ่คิดบ่ฝันว่าฮักจะฮ่างสิเพ
สะเลเตดอกนี้ไร้กลิ่นหอม
เฮ็ดจังได๋หัวใจบ่พร้อม
หรือต้องยอมฮับความเป็นจริงอิหลี
ไห้สาเด้อ ให้ตายมื้อนี
ให้คนที่ลืมสัญญา

น้ำตาหลั่งรินไหล
เพราะเธอเปลี่ยนใจ สะอื้นไห้หา
ไม่คิดไม่ฝันพลันรักจะพังเพ
สะเลเต* ดอกนี้ไร้กลิ่นหอม 
ให้ทำยังไงในเมื่อใจยังไม่พร้อม
หรือต้องยอมรับความจริงซะที
ร้องไห้เถิดนะ จนขาดใจวันนี้
ให้คนที่ลืมสัญญา
*(ชื่อดอกมหาหงส์ในภาษาอีสาน)

ทวงสัญญา คองถ่าจนจ่อย
ไปมิดจ้อยบ่หวนคืนมา...

รอทวงสัญญา คอยท่าจนผอม
เธอหายต๋อม ไม่หวนกลับมา...

แปล

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

การตั้ง Action ให้กับกีต้าร์

 (right click – save as)
 
 
Steel-string acoustic guitar Bass E Treble E
Action at the 1st fret   .023"   .013"  
Action at the 12th fret   .090"   .070"  
Relief: .002" at the 8th fret          
Nylon-string acoustic guitar Bass E Treble E
Action at the 1st fret   .030"   .024"  
Action at the 12th fret   .156"   .125"  
Relief: .002" at the 8th fret          
Electric guitar Bass E Treble E
Action at the 1st fret   .024"   .010"  
Action at the 12th fret   .078"   .063"  
Relief: .001" at the 8th fret          
Bass Bass E Treble G
Action at the 1st fret   .022"   .020"  
Action at the 17th fret   .105"   .094"  
Relief: .014" at the 7th fret