นิตยสารคิด (Creative Thailand)
LIFE AFTER COVID-19 มิถุนายน 2563 | ปีที่ 11 ฉบับที่ 9
Life After Covid-19 แนวคิดเพื่อการปรับตัวสู่อนาคต
ดูเหมือนว่าโควิด -19 จะยังไม่โบกมือลาพวกเราไปง่าย ๆ อย่างที่ใจหวัง และเราทุกคนต่างต้องเริ่มเรียนรู้ที่จะอยู่กับไวรัสนี้อย่างมีสติ ที่สำคัญคือต้องรอบคอบ
เพราะแม้โรคระบาดนี้จะยังไม่หายไปไหน แต่สิ่งหนึ่งที่ได้พรากจากพวกเราทุกคนไปก่อนแล้วนั้น กลับเป็น ‘วิถีชีวิตก่อนโควิด-19’ ที่เราคุ้นเคย ดังนั้น ไม่ว่าเราจะอยู่ในภาคส่วนไหนของสังคม จึงต่างต้องปรับตัวเพื่อไปสู่ ‘วิถีชีวิตปกติใหม่’ หรือ Next Normal กันทั้งนั้น
นิตยสารคิดฉบับพิเศษนี้ได้ชวน 11 นักคิดและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาจับเข่าคุยถึงหนทางเอาตัวรอดในยุคโควิด-19 รวมถึงโลกและวิถีชีวิตหลังจากนี้ ที่อาจน่ากลัวกว่าโรคระบาด หากเรายังไม่คิดที่จะเรียนรู้และปรับตัวจากความเปลี่ยนแปลง
Life After Covid-19 แนวคิดเพื่อการปรับตัวสู่อนาคต
ดูเหมือนว่าโควิด -19 จะยังไม่โบกมือลาพวกเราไปง่าย ๆ อย่างที่ใจหวัง และเราทุกคนต่างต้องเริ่มเรียนรู้ที่จะอยู่กับไวรัสนี้อย่างมีสติ ที่สำคัญคือต้องรอบคอบ
เพราะแม้โรคระบาดนี้จะยังไม่หายไปไหน แต่สิ่งหนึ่งที่ได้พรากจากพวกเราทุกคนไปก่อนแล้วนั้น กลับเป็น ‘วิถีชีวิตก่อนโควิด-19’ ที่เราคุ้นเคย ดังนั้น ไม่ว่าเราจะอยู่ในภาคส่วนไหนของสังคม จึงต่างต้องปรับตัวเพื่อไปสู่ ‘วิถีชีวิตปกติใหม่’ หรือ Next Normal กันทั้งนั้น
นิตยสารคิดฉบับพิเศษนี้ได้ชวน 11 นักคิดและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาจับเข่าคุยถึงหนทางเอาตัวรอดในยุคโควิด-19 รวมถึงโลกและวิถีชีวิตหลังจากนี้ ที่อาจน่ากลัวกว่าโรคระบาด หากเรายังไม่คิดที่จะเรียนรู้และปรับตัวจากความเปลี่ยนแปลง
แนวคิดเพื่อการปรับตัวสู่อนาคต
ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี
ให้ความเห็นว่า “สิ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ คือคนจะเกิดความรู้สึกใหม่ ซึ่งความรู้สึกใหม่นี้คือเรื่อง ‘ความใกล้กันของคน’ เนื่องจากมนุษย์
เป็นสัตว์สังคม เพราะฉะนั้นเรามีแนวโน้มทางจิตวิทยาที่จะอยากอยู่ใกล้กัน จึงได้เกิดสังคมหมู่บ้าน และสังคมเมือง แต่จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ความรู้สึก
อยากอยู่ใกล้กันจำต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น จะเปลี่ยนกระทั่งนิสัยมนุษย์ และนำมาสู่การดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ ที่ทำให้การอยู่ใกล้กัน ทั้งการทำงาน
ใกล้กัน ใช้ชีวิตใกล้กัน หรือกระบวนการพัฒนาเป็นเมือง (Urbanization Process) ช้าลงพอสมควร”
ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์
โลกเปลี่ยนคนปรับ : เราจะอยู่ในโลกหลังวิกฤต
อย่างเป็นปกติสุขได้อย่างไร
เราติดกับดักของ เศรษฐกิจเส้นตรง (Linear Economy)
ซึ่งเป็นระบบที่นำทรัพยากรมาผลิตสินค้าตาม “ห่วงโซ่คุณค่า” (Value
Chain) โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม คิดเพียงแต่มุ่ง
สร้างกำไร
วิกฤตครั้งนี้ทำให้เราต้องปรับระบบเศรษฐกิจมาเป็น เศรษฐกิจ
หมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นระบบที่นำสิ่งเหลือใช้และทรัพยากร
ที่มีอย่างจำกัดมาหมุนเวียนสร้างประโยชน์ใหม่ มุ่งเน้นความประหยัด
ในปัจจัยนำเข้า ประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต และประโยชน์สูงสุดที่
ได้รับจากผลผลิต 7 ที่ผ่านมามนุษย์ดำเนินชีวิตในรูปแบบ การตักตวงผลประโยชน์
จากส่วนรวม (Exploitation of the Commons) คิดถึงแต่การเอาความดี
ใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น (Internalizing the Goods & Externalizing the Bads)
และผลประโยชน์ที่ตกกับลูกหลานตนเองเท่านั้น
หากแต่โลกหลังโควิด-19 มนุษย์ต้องหันมาฟื้นฟู เยียวยา รักษาผลประโยชน์
ของส่วนรวม (Remedy of the Commons) ไตร่ตรองถึงข้อเสียที่อาจเกิดขึ้น
ในสิ่งดีๆ (Negative Side of the Goods) อีกทั้งต้องมองหาข้อดีที่มีในสิ่ง
ที่แย่ (Positive Side of the Bads) เปลี่ยนความคิดการสร้างประโยชน์ให้แก่
พวกพ้อง มาเป็นการคิดสิ่งดีๆ เพื่อคนส่วนใหญ่และคนรุ่นหลัง ก่อนหน้านี้
มนุษย์ใช้ชีวิตที่มุ่งเน้นสู่การแข่งขันทั้งในระดับปัจเจกบุคคล องค์กร และประเทศ
แต่เมื่อได้เผชิญกับวิกฤตโควิด-19 นั่นทำให้ตระหนักว่ามนุษย์เราไม่ได้ถูก
แบ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งขององค์กรหรือประเทศอีกต่อไป แต่เป็นพลเมือง
ของโลก เพราะฉะนั้น การฟื้นฟูโลกให้ดีขึ้นจึงเป็นหน้าที่สำคัญของเราทุกคน
เพื่อความสงบสุขและความอยู่ดีมีสุขที่จะเกิดขึ้นกับเราทุกคน
ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
ขับเคลื่อนโลกใหม่
ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูล ความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว
“สิ่งแรกคือเราต้องมีสมดุล ระหว่างการใช้ Big Data (หรือ Data อะไรก็แล้ว
แต่) กับข้อมูลส่วนตัว เพราะมันเป็นเหรียญสองด้าน การที่เรามีขีดความ
สามารถทางด้านนี้สูงขึ้น สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นก็คือ เราจะสามารถทำความ
เข้าใจกับความต้องการของประชาชนและสังคม หรือแม้กระทั่งผู้ประกอบการ
ได้ดียิ่งขึ้น ไม่ต้องเดาสุ่มว่าคนอยากได้อะไร เพราะเดี๋ยวนี้ Big Data
มันเกิดขึ้นเรียลไทม์ ไม่ต้องรอเอาข้อมูลจากเดือนที่แล้วมาสกัดดูว่าคนคิด
อย่างไร เราสามารถบอกได้ว่าเมื่อชั่วโมงที่แล้วคนคิดอะไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งภาคธุรกิจในการสร้างตลาด และภาครัฐในการตอบสนอง
กับความต้องการของประชาชน
อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญอันหนึ่งคือเรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจหรือ
ความเชื่อมั่นในตัวระบบ (Trust) ซึ่งถึงแม้ว่าระดับของความไว้เนื้อเชื่อใจนี้จะ
สูงขึ้นกว่าในอดีตมาก เนื่องจากเรามีระบบรักษาความปลอดภัยทางด้าน
ข้อมูลที่ดีขึ้น แต่ความเสี่ยงก็ยังมีหลงเหลืออยู่ และนี่เป็นเหตุผลใหญ่ที่เรา
จะต้องมีกฎหมาย 2 ฉบับขึ้นมาคู่กัน คือกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล
(PDPA) ที่จะป้องกันไม่ให้ข้อมูลของเราถูกเอาไปใช้แบบผิดวัตถุประสงค์ และ
กฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่จะคุ้มครองเราจากแฮกเกอร์สิ่งสำคัญคือเราจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเสริมสร้างความสัมพันธ์
ในช่วงที่มันเป็นรอยต่อ หรือในช่วงที่มีช่องว่างของความห่างกันได้อย่างไรบ้าง
ยังมีอีกหลายอย่างที่สังคมไทยสามารถเรียนรู้และนำไปออกแบบสร้างสรรค์
ด้วยวิธีคิดใหม่ ๆ ที่ต้องเน้นคำว่าใหม่ ๆ เพราะว่าถ้าเรามัวแต่ไปคิดอยู่ใน
กรอบเดิม มันอาจจะใช้ไม่ได้แล้ว มาถึงวันนี้ผมหวังว่าทุกภาคส่วนจะใช้
วิกฤตครั้งนี้ให้เป็นโอกาสในการคิดสิ่งใหม่ ๆ ผลักดันและขับเคลื่อนสิ่งใหม่ ๆ
ให้สังคมไทยก้าวต่อไปได้อย่างดีและยั่งยืน”
ดร. การดี เลียวไพโรจน์ กลยุทธ์เปลี่ยนโหมดไฟลต์บังคับ
ให้เป็นโหมดเลือกได้ เมื่อโลกทั้งโลกต้อง
ปรับตัว คำ ถามอาจไม่ได้อยู่ที่ว่าอะไรบ้างคือสิ่งที่จะ
เปลี่ยนแปลงตลอดไป หรืออะไรที่จะเป็นเพียงการปรับเปลี่ยน
ชั่วคราวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ตรงหน้า แต่สิ่งที่เรา
ควรพูดถึงยิ่งกว่าในเวลานี้ก็คือ เราจะทำ อะไรได้บ้างจาก
สถานการณ์ที่โลกทั้งใบต้องเผชิญร่วมกัน
ชีวิตปกติใหม่ที่เรา “เลือกได้”
เบอร์กิต มาเกอร์ (Prof. Birgit Mager)
Service Design และแผนการใหม่ ของธุรกิจวันพรุ่งนี ในวันนี้ ธุรกิจไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดเล็ก ที่ต้องการมัดใจลูกค้า บริษัทออกแบบชั้นนำ หรือแม้กระทั่งบริการสาธารณะ
ที่หวังจะตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนนั้น เริ่มเข้าใจถึงประโยชน์ และพยายามที่จะนำศาสตร์นี้มาปรับใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับ
องค์กรหรือธุรกิจของตนเองมากมาย ที่มาคงเป็นเพราะหัวใจสำคัญของการออกแบบบริการคือการมุ่งเน้นให้ “คน” เป็นจุดศูนย์กลางของการทำความเข้าใจ
เพื่อค้นหาความต้องการ ปัญหา และโอกาสที่ซ่อนอยู่ในอินไซต์ (Insight) ผ่านกระบวนการสำรวจ (Exploration) สร้างแนวคิดใหม่ (Creation) และทดสอบ
แก้ไข (Reflection & Implementation) จนกลายเป็น “บริการ” ที่ซ่อนอยู่ภายในสิ่งของ เครื่องไม้เครื่องมือ และพื้นที่ที่เปิดรับคนมากหน้าหลายตา
สร้างการเปลี่ยนแปลงและกลายเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตของผู้คน บริบทใหม่กับเครื่องมือและกระบวนการที่เปลี่ยนไป “รูปแบบการทำงานใหม่บนพื้นที่ดิจิทัลจะไม่มีวันหายไป
แม้ว่าวิกฤตนี้จะจบสิ้นลง ในทางกลับกันมันกลับยิ่งช่วยขับเน้นคุณค่า
ความสำคัญของการออกแบบบริการให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ศาสตร์ซึ่งมีหัวใจ
สำคัญในการทำความเข้าใจคนผู้เป็นศูนย์กลางอย่างลึกซึ้งอย่างการออกแบบ
บริการนั้น กำลังเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะต้องถูกนำมาใช้ในการทำความเข้าใจ
ความเป็นมนุษย์ในบริบทใหม่ของโลก ที่ต่อไปนี้จะต้องเผชิญกับความท้าทาย
ที่เข้มข้นขึ้นภายใต้สภาวะความกดดันทางเศรษฐกิจและความไม่แน่นอน
ที่เป็นไปอยู่ในทุกวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น