วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เกิดอะไรขึ้นในเวลา : Time in Powers of TEN

เกิดอะไรขึ้นในเวลา : Time in Powers of TEN

?เกิดอะไรขึ้นในเวลา : Time in Powers of TEN
ท่องไปกับเรื่องราวของช่วงเวลาต่างๆ เหล่านี้
  • เรื่องราวของจักรวาลวิทยา ที่อธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่เศษเสี้ยววินาทีแรกของบิกแบงที่นำไปสู่การเกิดเป็นเอกภพจวบจบปัจจุบัน และต่อไปในอนาคตที่เดินทางไปถึงจุดจบของมัน
  • เรื่องราวของการสลายตัวของธาตุหรืออนุภาคต่างๆ ที่แสดงให้เห็นว่าการมีอยู่ของมันบางตัวนั้นสั้นเสียจนมีคำถามว่าแล้วมันจะเกิดมายังไง หรือแม้กระทั้งบางตัวที่อายุยาวนานเสียจนเกินกว่าอายุของเอกภพเสียอีก
  • เรื่องราวของวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต โดยการย้อนเวลากลับไปหาคำตอบว่า บรรพบุรุษจำพวกแรกของสิ่งมีชีวิตถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้เมื่อใด
  • เรื่องราวของเคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีคาบเวลาของการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกันไปตั้งแต่สั้นมากๆ ไปจนถึงยาวมากเสียจนพลังงานของมันมีค่าอันน้อยนิด แต่กลับให้คุณมหาศาล
เวลาเป็นปริมาณที่เกี่ยวข้องอย่างมากกับการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเวลาในการทำข้อสอบของนักเรียน เวลาในการทำงาน 1 โปรเจคสำหรับมนุษย์เงินเดือน เวลาที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอล 1 แมตซ์ หรือแม้กระทั่งเวลาที่ใช้ในการเดินทางไปทำงานในแต่ละวัน เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงเลี่ยงที่จะกล่าวไม่ได้เลยว่าเวลามีค่ามากมายมหาศาลขนาดไหนสำหรับเด็กนักเรียนที่ทำข้อสอบไม่ทัน มนุษย์เงินเดือนที่ต้องปิดจ็อบโครงการให้ทันวันเดดไลน์  ทีมฟุตบอลที่ตามหลังอยู่ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ และเวลาที่ฉิวเฉียดในการตอกบัตรของคนทำงานในวันที่รถติด
เวลาในแง่ของกระบวนการณ์ทางวิทยาศาสตร์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน นิยามของมันในทางวิทยาศาสตร์อาจหมายถึง ชั่วระยะหนึ่งของการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในจักรวาลของเรานี้มีเหตุการณ์ต่างๆมากมายที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับเวลาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ปกติหนึ่งๆ ที่มนุษย์รับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลง เช่นการเกิดฤดูกาลต่างๆ หรือเหตุการณ์ที่มีระยะสั้นเกินกว่ามนุษย์จะแยกออก เช่นเวลาที่แสงเดินทางมาเข้าตาเราหลังจากเปิดไฟ และสุดท้ายช่วงระยะเวลายาวนานเกินกว่ามนุษย์จะรับรู้ได้ เช่นอายุของโลกใบนี้ แต่นั่นก็ไม่เกินไปกว่าความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถคำนวณระยะเวลาต่างๆ ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ
เวลาที่จะได้พบในหนังสือเล่มนี้ครอบคลุมช่วงระยะเวลาทั้งหมดที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเรา และในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาสนี้ ตั้งแต่ช่วงเวลาที่น้อยที่สุดเท่าที่มนุษย์รู้จักคือเวลาของพลังค์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันผู้ที่ให้กำเนิดทฤษฎีเกี่ยวกับการแผ่รังสีของวัตถุดำซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในการศึกษากลศาสตร์ควอนตัม จนไปถึงระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดเกินกว่าเราจะจินตนาการได้ คือเวลาการสิ้นสุดของหลุมดำที่กลืนกินกาแล็กซีทางเชือกเผือกของเราไปก่อนหน้านั้นด้วยซ้ำ เกิดเป็นนิรันดร์อันมืดมิด ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่กล่าวในหนังสือเล่มนี้อธิบายด้วยทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่หลากหลาย ได้แก่ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ กลศาสตร์ควอนตัม กลศาสตร์นิวตัน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและทฤษฎีความโน้มถ่วง โดยที่อาจจะเป็นไปได้ในอีกไม่ช้าไม่นานนี้ว่านักวิทยาศาสตร์จะสามารถรวมทุกทฤษฎีเหล่านี้เข้าด้วยกันเกิดเป็นทฤษฎีที่อธิบายได้ทุกเรื่องที่เรียกว่า  “ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง”

สารบัญ : เกิดอะไรขึ้นในเวลา : Time in Powers of TEN

    • 10^0 วินาที = 1 วินาที
    • 10^1 วินาที = 10 วินาที
    • 10^2 วินาที = 100 วินาที = 1 นาที 40 วินาที
    • 10^3 วินาที = 1,000 วินาที = 16 นาที 40 วินาที
    • 10^4 วินาที = 10,000 วินาที = 2.78 ชั่วโมง

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Eisenhower Box วิธีจัดลำดับความสำคัญ

วิธีจัดลำดับความสำคัญของงานและบริหารเวลาด้วย Eisenhower Box

วิธีจัดลำดับความสำคัญของงานและบริหารเวลาด้วย Eisenhower Box
26/06/17   |   50.5k   |  
“ค่า”
เสียงหญิงสาวคนหนึ่งตะโกนตอบรับเมื่อเสียงเรียกจากหัวหน้าจบลง ก่อนจะรีบวางมือจากงานทุกอย่าง แล้วรีบตรงไปหาหัวหน้าทันที และเมื่อผ่านไปไปไม่ถึงสิบนาที หญิงสาวคนเดิมก็เดินกลับมาที่โต๊ะ พร้อมกับแฟ้มเอกสารกองใหญ่... มันก็คืองานชิ้นใหม่ที่ได้รับมาจากหัวหน้าสด ๆ ร้อน ๆ นั่นเอง

หญิงสาวมองแฟ้มที่อยู่ตรงหน้า สลับกับจอคอมพิวเตอร์ ก่อนเหลือบไปมองลิสต์งานที่ยาวเป็นหางว่าวอยู่ในสมุดโน้ต ก่อนจะถอนหายใจออกมาเฮือกใหญ่ อย่างไม่รู้ว่าจะเริ่มเคลียร์งานไหนก่อนดี

การจัดลำดับความสำคัญนับเป็นปัญหาที่หลาย ๆ คนพบในการทำงาน หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวันทั่วไป แม้เราจะรู้ตัวดีว่ามีหน้าที่อะไรบ้างที่ต้องทำ แต่หลายครั้งก็ยังไม่สามารถจัดการได้ว่าควรจะทำอะไรก่อนหรือหลังดี จนนำมาซึ่งปัญหาที่ทำให้ทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัววุ่นวาย และเหนื่อยโดยไม่จำเป็น เพื่อช่วยคนทำงานแก้ปัญหานี้
JobThai.com/REACHจึงมีวิธีการจัดลำดับการทำงานดี ๆ มาฝาก ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า Eisenhower Box ซึ่งที่มาจากแนวคิดของ Dwight D. Eisenhower อดีตประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา


ก่อนทำ Eisenhower Box ให้ตั้งคำถามกับตัวเองเกี่ยวกับงานแต่ละชิ้นว่า งานนั้นสำคัญหรือไม่ และงานนั้นเร่งด่วนไหม จากนั้นแบ่งประเภทงานออกเป็น 4 อย่าง คือ
  • งานที่มีความสำคัญและเร่งด่วน เป็นงานที่ต้องทำทันที ถ้าไม่เสร็จอาจเกิดปัญหาใหญ่ พยายามอย่าให้มีงานในช่องนี้มากเกินไป
  • งานที่สำคัญแต่ยังไม่เร่งด่วน เป็นงานที่ต้องหาเวลาจัดการทีหลัง ควรจะเป็นงานที่เราต้องใช้เวลาในการทำ แต่ระวังอย่าเผลอปล่อยทิ้งไว้เพราะคิดว่าเป็นงานไม่เร่งด่วน
  • งานที่ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน เป็นงานที่ให้คนอื่นทำแทนได้ แต่ถ้าฝากไม่ได้ควรจะพยายามใช้เวลาเคลียร์ให้เร็วที่สุด 
  • งานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน งานที่ไม่ควรมีอยู่ หรือควรจะทำในเวลาว่าง ซึ่งไม่ส่งผลเสียอะไรกับชีวิตการทำงานมากนัก
     

Eisenhower Box (อาจจะเรียกว่า Eisenhower Method หรือ Eisenhower Matrix) เป็นวิธีการบริหารเวลาด้วยการจัดลำดับความสำคัญในการทำงานง่าย ๆ มีวิธีการคือตั้งคำถามกับตัวเองว่า
  • งานนั้นสำคัญหรือไม่ โดยเกณฑ์การให้ความสำคัญก็คืองานหรือสิ่งที่เราจะต้องทำนั้นจะช่วยให้เรารักษาสถานะในการทำงานไว้ได้ หรือเข้าใกล้เป้าหมายในอนาคตได้ไหม
  • งานนั้นมีความเร่งด่วนหรือไม่ ต้องทำตอนนี้เดี๋ยวนี้ หรือจำเป็นต้องทำตอนนี้เพราะงานต้องส่งไม้ต่อไปให้คนอื่นอีกทอด หรือเอาไว้ทำทีหลังได้   

วิธีการนำไปใช้งาน

ใช้กระดาษเปล่า 1 ใบ เขียนตารางนี้ลงไปในกระดาษ แล้วเอาเอาลิสต์รายการงานที่คุณต้องทำมา แบ่งงานแต่ละอย่างในลิสต์ลงในช่องทั้ง 4 ช่อง ตามความสำคัญและความเร่งด่วน




ด่วน

ไม่ด่วน
 
สำคัญ


- รายงานที่ต้องใช้ในที่ประชุมพรุ่งนี้  - แผนการทำงานในสัปดาห์หน้า
 - Project ใหม่ที่จะนำเสนอในที่ประชุมในครั้งหน้า
 - แผนการท่องเที่ยวกับครอบครัวในวันหยุด
 
ไม่สำคัญ

 - โทรศัพท์หรือข้อความต่าง ๆ
 - เพื่อนร่วมงานที่มาขอความคิดเห็นเรื่องงาน
 - ตามติดกระทู้ดังในอินเทอร์เน็ต
 - ช็อปปิ้งออนไลน์

งานที่มีความสำคัญและเร่งด่วน: งานประเภทที่ต้องทำทันที

ต้องรีบทำก่อนเป็นงานประเภทที่ว่าถ้าเสร็จไม่ทันชีวิตจะตกอยู่ในหายนะ เช่น งานที่ใกล้ถึงกำหนดส่ง งานที่อาจจะเกิดวิกฤติที่ต้องรีบแก้ไข การเคลียร์งานในช่องนี้ให้เสร็จได้แต่ละงานนั้นกินพลังชีวิตไปมากเป็นไปได้อย่าพยายามให้มีงานที่เกิดในช่องนี้เยอะเกินไป นั่นเท่ากับว่าเราทำงานในแบบเชิงรับมากกว่าเชิงรุก ถ้ามีงานที่ตกอยู่ในช่องนี้เยอะ วิธีการที่นำมาจัดลำดับความสำคัญก็คือ เดดไลน์ของงาน หรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากงานนั้น

งานที่สำคัญแต่ยังไม่เร่งด่วน: งานประเภทที่ต้องหาเวลาจัดการในภายหลัง

ควรจะเป็นงานที่เราใช้เวลาด้วยมากที่สุด เช่น งานประเภทการวางแผน งานสร้างสรรค์ รวมถึงการสร้าง และรักษาความสัมพันธ์ต่าง ๆ ด้วย งานในช่องนี้จึงเป็นงานที่จะช่วยเราบรรลุเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ถึงงานในช่องนี้เราจะเห็นว่ามันไม่เร่งด่วนก็จริง แต่พยายามกำหนดแผนและเวลาในการทำงานของงานที่อยู่ในหมวดนี้ไว้ด้วย ถ้าเผลอปล่อยทิ้งไว้เพราะคิดว่าเป็นงานไม่เร่งด่วนโดยไม่ทำอะไรกับมันสักทีมันอาจจะย้ายไปอยู่ในกลุ่มความสำคัญและเร่งด่วนได้ 

งานที่ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน: งานประเภทที่ให้คนอื่นช่วยทำแทนได้

งานประเภทนี้จะเป็นงานประเภทที่ทำเสร็จไปก็ไม่ได้ทำให้เข้าใกล้เป้าหมายในการทำงานมากขึ้น แต่ก็มักเป็นงานที่เข้ามาแทรกบ่อย ๆ ระหว่างวัน เช่น ประชุมย่อย โทรศัพท์จากลูกค้า เพื่อนร่วมงานโผล่เข้ามาขัดจังหวะ หรืออีเมลที่ต้องตอบรายละเอียดจุกจิกซ้ำไปซ้ำมา งานในช่องนี้ให้พิจารณาว่าเราสามารถฝากให้คนอื่นช่วยทำแทนได้หรือไม่ ถ้าฝากไม่ได้พยายามใช้เวลาเคลียร์เรื่องนี้ให้เร็วที่สุด

งานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน: งานที่ไม่ควรมีอยู่ หรือควรจะทำในเวลาว่าง

งานที่ไม่ทำก็ไม่มีผลอะไร นอกจากจะทำให้เสียเวลาแล้ว ยังอาจจะทำให้เราห่างไกลเป้าหมายในการทำงานออกไปอีก ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วเก็บสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ไปทำวันอื่น หรือเอาไปทำในเวลาว่างจะดีกว่า

การนำไปปรับใช้จริงในช่วงแรกอาจจะยากในการแยกแยะสิ่งต่าง ๆ แต่ถ้าเราเข้าใจตัวเองดีและรู้ว่าเป้าหมายของตัวเองคืออะไร เราจะสามารถแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญได้ดียิ่งขึ้น

https://www.jobthai.com/REACH/career-tips/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2-eisenhower-box.html
เร่งด่วนและสำคัญ:
ไม่ต้องคิดมาก แต่ให้ลงมือทำทันที ที่สำคัญคือทำเป็นอย่างแรกของวันด้วย…ข้อดีหนึ่งของการทำสิ่งสำคัญคือ เมื่อทำแล้วจะช่วยลดสิ่งที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญในข้อถัดไปด้วย เช่นการออกกำลังกาย เราก็ไม่ต้องไปหาหมอบ่อยๆ ในกรณีฉุกเฉินอีกต่อไป หรือการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จะเพิ่มสติ ลดอาการเลินเล่อ ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน ไม่เสียเวลาในการตามแก้ไขสิ่งที่ทำผิดพลาด
เร่งด่วนไม่สำคัญ:
ถามตัวเองว่าจะลดสิ่งเหล่านี้ลงได้อย่างไร (แม้จะยังทำไม่ได้ในตอนนี้) หาทางทำสิ่งที่เรียกว่า Work smart เช่นถ้าเราสามารถจ่ายเงินค่าหอผ่านแอพพลิเคชันได้แทนที่จะเสียเวลาไปธนาคารก็จงรีบทำ…กลยุทธ์คือพยายามลดเวลาที่ใช้ไปในกล่องนี้ให้มากที่สุด แล้วเอาเวลาไปโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ในกล่องช่องถัดไป
ไม่เร่งด่วนสำคัญ:
ข้อนี้คือจุดตายที่สำคัญที่สุด !!!
มันคือสิ่งที่ทำให้ผู้สูงวัยจำนวนมากต้องนึกเสียดายวันวัยในขณะที่พวกเขายังเยาว์และมีแรงกำลังในการทำสิ่งต่างๆวิธีที่จะไม่พลาดคือการกำหนดเป้าหมาย และก่อร่างสร้างวินัย และเริ่มต้นทำทันที…ข้อนี้ไม่มีใครบังคับให้ทำหรอกนะครับ!!!แต่เราต้องลงมือทำด้วยตัวเอง อย่างปัจจุบันผมก็แบ่งเวลาในการอ่านหนังสือ Non-Fiction ดีๆ ทุกวันวันละ 4 ชั่วโมงซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพในงานเขียนของผมได้…
แล้วของคุณผู้อ่านล่ะครับ สิ่งนั้นคืออะไร ???
ไม่เร่งด่วนไม่สำคัญ:
สั้นๆ นะครับ…ตัดมันทิ้งเสียถ้าหากทำได้แต่ก็ไม่ง่ายเท่าไหร่หรอกนะครับ เพราะความบันเทิงรูปแบบต่างๆ
ที่มาพร้อมกับการพัฒนาของเทคโนโลยี…การใช้เวลาไร้สาระทั้งวัน…ประเด็นคือไม่ได้กำลังจะบอกว่าไม่ให้มีช่วงเวลาพักผ่อนเลย ในทางกลับกันการพักผ่อนเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญมากๆ เช่นกัน ที่จะช่วยให้เราทำงานได้อย่างเต็มที่และยืนระยะได้อย่างยาวนาน
จงแยกให้ออกระหว่างการรีชาร์ตแบตกับการเสพติด
มีงานวิจัยออกมาแล้วว่าหลายๆครั้งการเล่นโซเชียลมีเดียไม่ได้ทำให้เรามีความสุขแต่อาจทำให้เกิดการเปรียบเทียบและทุกข์ยิ่งกว่าเดิมแต่เราก็ยังเล่นมันเพราะ platform เหล่านี้ถูกออกแบบมาทุกอณูให้เราเสพติด
(ใครอยากศึกษาเพิ่มเติมสามารถหาอ่านในหนังสือชื่อ Hooked: How to Build Habit-Forming Products)

มีงานศึกษาพบว่าคนเรามักจะชอบทำงานที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ มากกว่างานที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน ซึ่งเป็นผลมาจากปรากฎการณ์ทางจิตวิทยาที่เรียกว่า ‘The Mere Urgency Effect’ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วมันเป็นเพียง “ภาพลวงตา” ที่เกิดขึ้นเพราะอันที่จริงเวลาที่เราเหลืออยู่นั้นก็เพียงพอที่จะใช้ในทำงานที่ ‘สำคัญมากกว่า’ ถึงแม้จะไม่เร่งด่วนก็ตาม [รูปโดย Bri Williams]
เราสามารถเอาชนะ The Mere Urgency Effect หรือ การที่เราผัดผ่อนไม่ยอมทำสิ่งที่เราอาจมานั่งเสียดายในภายหลังได้ด้วย ได้ด้วย 3 แนวทางนี้ 1.การหาแรงบันดาลใจ ‘ภายใน’ เพื่อลงมือทำงานที่สำคัญซึ่งอาจจะยากแต่ในท้ายที่สุดเราจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Active motivation ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้
2.ส่วนที่ยากที่สุดคือตอนเริ่ม แต่เมื่อเริ่มทำแล้วมันก็คงไม่ยาก ยิ่งถ้าเราทำให้งานที่สำคัญนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของนิสัยไปเลยก็ยิ่งทำให้เรารักษาความสมํ่าเสมอในการทำงานนั้นได้ ซึ่งสามารถอ่านได้ในหัวข้อที่ 2 ของบทความที่มีชื่อว่า “Done is better than perfect”
3.ในโลกยุคใหม่ที่มีสิ่งวุ่นวาย เช่นโซเชียลมีเดีย การที่เราโฟกัสกับงานที่สำคัญที่สุดอย่างใจจดใจจ่อ
ได้กลายเป็นทักษะใหม่ในศตวรรษที่ 21 ในการสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยม ซึ่งผู้อ่านสามารถเรียนรู้หลักการที่มีชื่อว่า DEEP WORK  ได้ในบทความนี้ครับ

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561

คนเราเกิดมาทำไม? อะไรคือนิยามของความรัก?

ชีวิตของพวกเรา ที่ไม่สามารถอยู่รอดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น

Q: ตัวเองเกิดมาทำไมครับ
A: ผมไม่เคยคิดเรื่องที่คุณยกขึ้นมาถามเลยนะ ผมเป็นแค่ biological entity ที่ไม่ต้องการความหมายของชีวิตที่ดีงามอะไร
Me : หรือเองก็เป็นแค่ entity ที่ไม่ต้องการความหมายของชีวิตที่ดีงามอะไรเลย
A: ตั้งแต่แรกเริ่มแล้วนะ ชีวิตเราไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากคนอื่นๆ ลองนึกถึงว่ามันจะเป็นเป็นไปได้ไหม สำหรับคุณที่จะเป็นหรือพูดอะไรบางอย่างประมาณนี้โดยไม่มีคนอื่น คุณไม่สามารถอยู่รอดได้ตั้งแต่เกิดมาแล้วถ้าไม่มีคนอื่นๆ
Me : เราจะอยู่คนเดียวรอดได้จริงๆ ไหม เราจะมีความสุขไหมถ้าไม่มีคนอื่นไม่มีความสัมพันธ์กันคนอื่นเลย
Q: อาจารย์คิดว่าอะไรที่เอามาตัดสินว่าคนคนนี้ประสบความสำเร็จในชีวิตคะ
A: ผมอยากจะพูดว่า ผมไม่ใช่พระเจ้า เพราะฉะนั้น ผมไม่สามารถตัดสินใครได้เลย
Me : เราไม่ควรตัดสินใครเลย เพราะเราไม่รู้เบื้องหลังความคิดของทุกคน และใช่เลยผมไม่ใช่พระเจ้า และไม่มีอำนาจดลบันดาลใดๆ
Q:  ความรักคืออะไร
A: บางที (ความรัก) มันคงเป็นความสุขจากการเจ็บป่วยทางจิตใจล่ะมั้ง
ที่ผมใช้คำว่าบางที เพราะในโลกยุคโบราณ ความรักถูกมองว่าเป็นความเจ็บป่วยนะ ด้วยการเติบโตขึ้นมาของคริสตศาสนา ความรักในรูปแบบอันศักดิ์สิทธิ์ (agape) เลยครอบครองความหมายไป และในยุคที่สังคมชนชั้นกลางเกิดขึ้นมา ความรักก็ได้แสดงออกถึงชัยชนะ โดยเฉพาะความรักแบบโรแมนติกที่ใช้พลังก้าวข้ามชนชั้น
ซินเดอเรลล่าก็เป็นโมเดลความรักในทำนองนี้ ถ้าความรักคือรูปแบบหนึ่งของความเจ็บป่วย แล้วเราจะรักษามันยังไง? ถ้าเราใช้โมเดลแบบซินเดอเรลล่า คำตอบคงเป็นการตามหารองเท้าอีกข้างที่หายไป หรือการรักษาตัวเองก็คงเป็นทางเลือกหนึ่ง
Me : ความรักอาจเป็นทางเลือก เลือกเข้าไปในความสัมพันธ์และบ้างเราเป็นผู้เลือกบ้างคนอื่นเป็นผู้เลือก เลือกวางให้เราอยู่ตรงไหนในชีวิตเขาหรือให้เขาวางอยู่ตรงไหนในชีวิตเรา
 Q: อาจารย์ช่วยอธิบายคำกล่าวของอาจารย์ที่ว่า “ในสมัยก่อนความรักเป็นอาการป่วยชนิดหนึ่ง” คือผมไม่ค่อยเข้าใจอะครับ
A: ลองดูคนที่กำลังมีความรักสิ ดูเหมือนจะควบคุมตัวเองไม่ได้เลยนะ 555
Me : เมื่อเข้าใจแล้วเราน่าจะควบคุมความรักได้ จัดสรรได้ และถ้าไม่มีเงื่อนไขอะไรเลยให้ลองถามตัวเองดูว่าเราจะทำอย่างไรกับมัน และเงื่อนไขต่างๆ เราจะจัดการกับมันอย่างไร
Q: อาจารย์คิดว่า มุมมองเรื่องอายุกับความรัก ของผู้หญิงกับผู้ชายแตกต่างกันยังไงครับ? ไม่เอาฐานะมาเกี่ยวก่อนนะครับ
A: ผมไม่คิดว่าจะสามารถตอบคำถามนี้ได้ ผมคิดว่าชนชั้นคือสิ่งมีความเกี่ยวข้องด้วย มันมีบทบาทสำคัญต่อความคิดเกี่ยวกับความรักอยู่เสมอๆ
 Me : เอาเหตุผลทั้งหมดออกไป ยังไม่รู้ว่าจะเป็นความรักอยู่ไหม แต่ภูมิหลังเบื้องหลังต่างๆ มีผลกับการจัดการความรักของคนทุกเพศทุกวัยทุกชนชั้น
Q: อาจารย์ครับทำไมความรักต้องเป็นสิ่งที่เรา(มนุษย์)ต้องปิดบังแล้วรอวันที่จะเปิดเผยมันล่ะครับ
A: ผมไม่ค่อยเข้าใจสิ่งที่คุณหมายถึงเท่าไหร่ ถ้าคุณหมายถึงความรักที่มาแล้วก็จากไปอยู่เรื่อยๆ โดยที่เราไม่ต้องไปตามหามัน ถ้าเป็นแบบนั้น คนๆ หนึ่งจะสามารถทำตัวเป็นปกติได้ เพราะไม่ว่ายังไงก็ตาม เดี๋ยวความรักก็จะมาเอง พอเป็นแบบนี้มันก็เหมือนโชคชะตาเหมือนกัน
 Me : ถ้าไม่มีเหตุผลอะไรเลย เมื่อเราชอบเราควรแสดงออกโดยไม่ต้องรออะไร บางคนรอโชคชะตาจนความรักหลุดลอยไป บางคนพยายามแทบตายความรักก็ไม่เป็นดั่งใจ
Q: อาจารย์ครับ ทำไมร้านเหล้าเมืองไทยต้องเปิดแต่เพลงอกหัก
A: คุณคาดหวังอะไรจากเพลงล่ะ? เพลง Pop มักพูดถึงเรื่องการตกหลุมรัก การเลิกรัก และความรักแบบ Sexual
 Me: คนผิดหวังมีเยอะมั้ง และคนก็ชอบหวังสูงกว่าที่ตัวเองควรจะได้ แต่ความรักมันจะยังคงเป็นสิ่งสวยงามและไม่ควรเลิกรัก ต้องกลับไปดูว่าคุณรักเพราะอะไร
Q: คนที่หึงกับคนที่ถูกหึง ใครมีอำนาจในความสัมพันธ์มากกว่ากันเหรอครับ
A: ความอิจฉานำไปสู่ อาชญากรรมของความปรารถนา ระหว่างคนสองคน ถ้าหนึ่งคนถูกฆ่า คิดว่าใครจะมีอำนาจมากกว่ากัน?
 Me : อยู่ที่ความสัมพันธ์นั้นคุณมีพันธสัญญาอะไร และคุณอยู่ในจารีตแบบไหน
Q: อาจารย์ครับ นิยามความรักของอาจารย์คืออะไรครับ
A: ขอโทษด้วยนะ ผมไม่รู้เรื่องนี้เลย
Me : จนถึงวันนี้ ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ขอโทษด้วยนะทุกคนที่เข้าไปเป็นความทรงจำแย่ๆ
edit note
Q : https://thematter.co/pulse/thanes-group-relationship-dialogue/54191
A : Thanes Wongyannava
Me : เฉลิมชัย เอื้อวิริยะวิทย์ 

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

5 things to quit! 5 เรื่องต้องเลิก!

1. Trying to please everyone การพยายามทำให้ทุกคนพอใจ 2. Fearing change กลัวการเปลี่ยนแปลง 3. Living in the past จมอยู่กับอดีต 4. Putting yourself down ทำให้ตัวเองต้องรู้สึกแย่ 5. Overthinking คิดมากคิดเยอะเกินไป

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เราไม่ได้ห่างกันมากนะ ห่างกันแค่นี้เอง

1.Mercury 57,910,000 กม. จากดวงอาทิตย์
2.Venus 108,200,000 กม. จากดวงอาทิตย์
3.Mars   227,900,000 จากดวงอาทิตย์
4 Jupiter 778,500,000 จากดวงอาทิตย์
5 Saturn  1,503,983,449 กม.จากดวงอาทิตย์
6  Uranus  2,871,000,000 กม.จากดวงอาทิตย์
7  Neptune  4,498,000,000 กม.จากดวงอาทิตย์
8  ดาวเคราะห์แคระ พลูโต. (หัวใจ)ไกลสุดขอบฟ้า.7,375,927,931 กม
ระบบดาว Alpha Centauri ห่างจากระบบสุริยะ 4.3 ปีแสง
อารยธรรมมนุษย์บนโลกเรานับว่าช่างเยาว์และไร้เดียงสายิ่งนัก อวกาศไม่ว่ามันจะมีจุดกำเนิดเมื่อไหร่และจะจบลงอย่างไร อารยธรรมมนุษย์ที่เราคิดว่ายิ่งใหญ่นั้นแท้จริงเป็นเพียงเศษอณูธุลีในอวกาศที่เกิดขึ้นและอาจดับไปเงียบๆโดยหากมีใครสักคนที่สร้างอวกาศขึ้นมาเขาอาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเคยมีอารยธรรมอย่างเราๆดำรงอยู่ อายุของอวกาศอย่างน้อยก็นับว่าโบราณยิ่งนักเมื่อเทียบกับวิทยาการมนุษย์ในช่วงไม่กี่พันปี มันเทียบกันไม่ได้ครับ เมื่อหันกลับมามองสังคมโลกของเรา ผมรู้สึกว่ามันไร้ค่าและเสียเวลามากที่จะมารบราฆ่าฟันกันเพื่อช่วงชิงอำนาจความเป็นใหญ่ เรายังไร้เดียงสายิ่งนัก
https://pantip.com/topic/32878218/page2

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ว่าด้วยความคิด

ท่ามกลางบริบทแห่งโลกวิชาการ ความรู้ความคิดถูกร้อยเรียงผ่านตัวอักษรจนกลายเป็นเนื้อหาเพื่อใช้เผยแพร่ความรู้ความคิดนั้นๆ ออกสู่สังคม แต่ละบรรทัดถูกรวมกันเข้าเป็นบทความ หลายบทความรวมกันเป็นหนังสือ หนังสือจึงเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้และเสมือนบ่อเกิดในการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมา ดังนั้นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการและผู้ที่บริโภคความรู้ทางวิชาการจึงต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน กล่าวคือ มีึบุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกได้ว่าใช้ประโยชน์จากความรู้ในโลกวิชาการและในขณะเดียวกันนั้นได้ผลิตความรู้ตอบกลับมาเช่นกัน บุคคลกลุ่มนั้นคือ เหล่า "นักวิชาการ"  นั่นเอง นักวิชาการจึงมีหน้าที่ในการขับเคลื่อน ต่อยอด ประยุกต์และเผยแพร่ความรู้ไปสู่บุคคลอื่นๆ อีกด้วย และหากจะกล่าวอย่างง่ายให้เห็นวงจรของความสัมพันธ์นี้คือ เนื้อหาทางวิชาการสร้างคนและคนก็สร้างเนื้อหาทางวิชาการด้วยเช่นกัน

กรอบความคิดหลายอย่างได้รับการเผยแพร่และสั่งสมมาเป็นเวลานานทำให้เราแทบไม่รู้สึกว่ากรอบความคิดที่เราใช้กันอยู่มีปัญหาเพรามันถูกต้อง เช่น โชคชะตา ความเท่าเทียม การตัดสินทุกอย่างด้วยเหตุผล การหาคำตอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การลำดับเวลาเป็นเส้นตรง  ภาษา เพศ โลก อวกาศ เอกภพและสรรพสิ่ง

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

The Ten Secrets of Abundant Happiness. The Ten Secrets of Abundant Love.

10 เคล็ดลับความสุข และ ความรัก
หนังสือขายดี ที่จะทำให้ชีวิตคุณเปลี่ยนไป
"หากวันนี้คุณรู้ว่าพรุ่งนี้คุณจะมีชีวิตอยู่เป็นวันสุดท้าย
ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณต้องการทำอะไรในวันนี้...
นี่คือคำถามที่หลายคนไม่เคยได้ถามตัวเอง
แต่หากเป็นจริง...
แน่นอนว่า ความสุขและความรัก คงเป็นสองสิ่ง
ที่อยู่ในรายการสิ่งที่จะต้องการ หากย้อนเวลาได้
ไม่มีใครรู้ว่าตนเองจะมีชีวิตเป็นอย่างไร
หรือจะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานแค่ไหน
เพราะพรุ่งนี้ไม่มีอะไรแน่นอน
การรีบเรียนรู้และปฏิบัติตนเพื่อที่จะได้มีความสุข
และมีความรักตามที่ใจปรารถนาเสียตั้งแต่วันนี้
จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดและเป็นสิ่งที่ไม่ประมาทในการใช้ชีวิต
เพื่อให้เรามีความสุขและความรัก
ไม่เพียงแค่ความสุขหรือความรักธรรมดา
แต่เเปี่ยมล้นใจเลยทีเดียว"
หนังสือ 10 เคล็ดลับความสุข และ ความรัก
แปลจาก : The Ten Secrets of Abundant Happiness.
The Ten Secrets of Abundant Love.
เขียนโดย : Adam J. Jackson (อดัม แจ็คสัน)
แปลและเรียบเรียงโดย : เอกชัย วังประภา และ วุฒินันท์ ชุมภู
บรรณาธิการโดย : สมชัย เบญจมิตร
"อย่ารอให้สายเกินไป
พรุ่งนี้ไม่มีอะไรแน่นอน
ดังนั้นการมีความสุขและความรักในวันนี้
จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้ชีวิตเราคุ้มค่าที่สุด"

http://www.beemedia.co.th/images/catalog_images/ten_happiness_and_love_v55_sampleweb.pdf?fbclid=IwAR2XCsyMhamQJl0Ole_bZyEbqWgcMHJcAEgqROeMq84I9z0_6V89DGRqalk

The Tools

The Tools: 5 Tools to Help You Find Courage, Creativity, and Willpower--and Inspire You to Live Life in Forward Motion


Change can begin right now.
 
The Tools is a dynamic, results-oriented practice that defies the traditional approach to therapy. Instead of focusing on the past, this groundbreaking method aims to deliver relief from persistent problems and restore control—and hope—to users right away. Every day presents challenges—big and small—that the tools transform into opportunities to bring about bold and dramatic change in your life. These transformative techniques will teach you how to
 
GET UNSTUCK: Master the things you are avoiding and live in forward motion.
CONTROL ANGER: Free yourself from out-of-control rage and never-ending grudges.
EXPRESS YOURSELF: Learn the secret of true confidence and find your authentic voice.
COMBAT ANXIETY: Stop obsessive worrying and negative thinking.
FIND DISCIPLINE: Activate willpower and make the most of every minute.
 
For years, Phil Stutz and Barry Michels taught these tools to an exclusive patient base of high-powered executives and creative types. Now their revolutionary practice is available to anyone interested in realizing the full range of their potential. Stutz and Michels want to make your life exceptional—in its resiliency, its productivity, and its experience of real happiness. 
 
Praise for The Tools
 
“This blew my mind more than anything else I’ve learned this year.”—Dr. Mehmet Oz
 
“Breakthrough material that ignites your own capacity to transform your life.”—Marianne Williamson
“A rapid and streamlined method of self-improvement.”Publishers Weekly (starred review)
 
“An ‘open secret’ in Hollywood . . . [Stutz and Michels] have developed a program designed to access the creative power of the unconscious.”The New Yorker
 
“These tools are emotional game changers. They do nothing less than deliver you to your best and most powerful self.”—Kathy Freston, author of Quantum Wellness
 
“Intensely gratifying.”Self

https://www.amazon.com/Tools-Courage-Creativity-Willpower-Inspire/dp/0812983041
https://www.thetoolsbook.com/

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

THE SANITY WE ARE BORN WITH A BUDDHIST APPROACH TO PSYCHOLOGY

เราต่างมีพุทธะในตัวเอง เชอเกียม ตรุงปะ

ความมีเหตุผลที่เราเกิดมาพร้อมกับวิธีการทางพุทธศาสนา ของ chogyam trungpa
ความมีสติที่เกิดขึ้นกับแนวทางของพุทธศาสนากับ chogyam trungpa เป็นองค์แรกที่นำเสนอกับพุทธศาสนิกชนในภาษาทางจิตวิทยาที่พูดตรงไปที่ใจว่ามีปริมาณความต้องการอย่างจำนวนมาก
การมีสติถ้าหากว่าเขาไม่เกี่ยวข้องกับตัวเขาอย่างจริงจังเชื่อว่าพลังที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเราเองย้อนคืนมากได้
และเชื่อว่าพลังที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเราเองสามารถทำให้เรามีความสุขได้ ได้รับในขั้นตอน  สติเราเกิดมาพร้อมกับพุทธ buddhist  จิตวิทยา chogyam trungpa
สิบสองขั้นตอนขั้นตอนที่สอง เชื่อว่าพลังงานที่ใหญ่กว่าตัวเราสามารถเรียกคืนเรามีสติ? ตอนที่พวกเขาอ่านขั้นตอนที่สองความเข้าใจใหม่ที่เราได้รับในขั้นตอนที่หนึ่งไปสู่บทเรียนการกู้คืน เรามาเชื่อว่าพลังที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเราเองสามารถฟื้นฟูเราให้มีสติเราใช้เวลาสี่สัปดาห์ในหลักการ รอ 1  นาที?

การ "ยอมรับตัวเอง" ซึ่งเป็นหัวใจของทั้งพุทธธรรมและจิตวิทยาตะวันตก การยอมรับตัวเองนอกจากจะทำให้หัวใจเปิดกว้างและอ่อนโยนกับสิ่งที่ตัวเองเป็นในทุกๆ ด้านแล้ว ยังสะท้อนถึงสิ่งที่ เชอเกียม ตรุงปะ เรียกว่า basic goodness หรือ "ความดีพื้นฐาน" --- ธรรมชาติพื้นฐานอันดำรงอยู่แล้วในตัวคนทุกคน
ความดีพื้นฐานคือสภาวะจิตอันเป็นปกตินี่เองที่ทำให้ทุกประสบการณ์ ทุกอารมณ์ ทุกผู้คน ทุกปรากฏการณ์ที่ผ่านเข้ามา มีคุณค่าและความหมายในตัวมันเอง และนั่นเองคือการแสดงตนของ "พุทธะ" ในฐานะประสบการณ์อันรุ่มรวยมีชีวิต หาใช่อำนาจอันสถิตอยู่ภายนอกตัว 
″...การมีชีวิตอยู่นั้นช่างน่ามหัศจรรย์และล้ำค่า เราไม่รู้หรอกว่าจะมีชีวิตอยู่นานเพียงไร ดังนั้นในขณะที่เรามีชีวิต เหตุใดจึงไม่ใช้มันล่ะ? แต่ก่อนที่เราจะใช้มัน ไฉนเราจึงไม่ชื่นชมยินดีกับมันล่ะ″
″เราต่างมีพุทธะในตัวเอง″ เน้นย้ำถึงการกลับมาสู่ธรรมชาติอันเป็นพื้นฐานที่มีอยู่ในตัวคนทุกคน เป็นสภาวะความเป็นปกติพื้นฐานอันเป็นรากฐานของการสัมพันธ์กับตัวเองและผู้อื่น

"เมื่อพุทธศาสนาพบจิตวิทยาตะวันตก......" ทั้งจิตวิทยาตะวันตกและพุทธศาสนาต่างมีหนทางเฉพาะในการทำงานกับจิต เมื่อฝึกฝนอย่างมีทักษะจิตบำบัดสามารถช่วยปลดปล่อยสิ่งที่เก็บงำ หลบซ่อนอำพรางในใจให้เผยตัวออกมาสู่แสงสว่างเราจึงสามารถมองทะลุผ่านมันและเอาใจใส่ดูมันในพื้นที่ที่เปิดกว้างและอ่อนโยนได้ การภาวนานำเราไปทำความเข้าใจธรรมชาติของจิตใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ในตอนเริ่มต้นเราอาจมองว่าเรามีจิตหรือเราเป็นจิต ทว่าว่าสักพักอาจจะเริ่มตระหนักว่าเราไม่ได้ถูกกำจัดแค่โดยความคิดหรือความรู้สึกเท่านั้น.....เราเริ่มตระหนักถึงพื้นที่รอบๆ ตัวเรา จะดีกว่าหากกล่าวว่า เราเป็นพื้นที่อันนั้น ส่วนความคิดและความรู้สึกเกิดขึ้นในฐานะแขกผู้มาเยือน พื้นที่คือปัญญาญาณในตัวมันเอง เราสามารถผ่อนคลายในความว่างอันมีชีวิตชีวาได้ และนี่คือเส้นทางทั้งหมด ...เราสามารถผ่อนคลายและพังทลายสู่ความปกติพื้นฐานของเราได้ เชอเกียม ตรุงปะ เป็นธรรมะจารย์ชาวพุทธคนแรกที่นำคำสอนพุทธศาสนาในภาษาจิตวิทยาสื่อสารตรงไปยังจิตแบบตะวันตก งานชิ้นนี้รวมเองมุมมองแบบพุทธและแบบจิตวิทยาตะวันตกเข้าไว้ด้วยกันซึ่งน่าสนใจอย่างยิ่งต่อนักจิตบำบัด ผู้ศึกษาธรรมะ และผู้ที่สนใจความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์แห่งปัญญาญาณการตื่นรู้ที่อยู่ในตัวเรากับเมฆหมอกทางจิตวิทยาซึ่งบดบังแสงของมัน จิตวิทยาแนวพุทธบอกว่าเราทุกคนต่างเกิดมาด้วยสภาวะปกติพื้นฐาน ซึ่ง เชอเกียม ตรุงปะ  เรียกมันว่า "ความดีพื้นฐาน" หนังสือเล่มนี้พูดถึงการช่วยตัวเราและผู้อื่นให้สัมผัสกับพื้นแห่งความเป็นปกติและสุขภาวะนั้นในตนเอง ตรุงปะนำเสนอความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการภาวนา จิต และจิตวิทยาซึ่งท่านได้แบ่งปันกับนักวิทยา นักจิตบำบัด และศิษย์ของท่านในสหรัฐอเมริการะหว่างช่วงทศวรรษ๑๙๗๐ และ ๑๙๘๐ โดยพื้นฐานแล้ว หนังสือเล่มนี้เกี่ยวข้องกับหนทางที่เราทุกคนฝึกฝนความเป็นมนุษย์อันเป็นปกติให้แข็งแรงขึ้น ขณะเดียวกันก็ก็ให้ความเข้าใจแก่ความต้องการอันเฉพาะเจาะจงของผู้คนที่ตกอยู่ในความทุกข์ทางจิตด้วย นอกจากนั้นงานชิ้นนี้ยังสื่อสารโดยตรงต่อคำถามของนักจิตบำบัดและนักวิชาชีพด้านสุขภาพจิต รวมถึงผู้ฟังโดยทั่วไปที่สนใจนำเอาจิตวิทยาและการภาวนาแนวพุทธไปใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในความสัมพันธ์แห่งการเยียวยา

  •  Buddhist concepts of mind, ego, and intelligence, and how these ideas can be employed in working on oneself and with others 
   •  meditation as a way of training the mind and cultivating mindfulness 
   •  nurturing our intrinsic health and basic sanity 
   •  guidance for psychotherapists and health professionals



วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

DESIGN THINKING

กระบวนการคิดเชิงออกแบบ อีกชื่อหนึ่งคือ Human center design

Design Thinking คือ “กระบวนการคิดที่ใช้การทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง โดยเอาผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และนำเอาความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากคนหลายๆ สายมาสร้างไอเดีย แนวทางการแก้ไข และนำเอาแนวทางต่างๆ นั่นมาทดสอบและพัฒนา เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์นั้นๆ”

มีแนวคิดหลายสำนักตามนี้เลยครับ
Stanford d.school




UK Design Council




Design Thinking หรือ The Double Diamond Design Process ของ UK Design Council นั้นแบ่งขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ Discover Define Develop และ Deliver จะเห็นได้ว่า กระบวนการคิดเชิงออกแบบของ UK Design Council จะคล้ายกันกับแนวคิดของ d.school อยู่มาก ก็คือ ขั้นตอนที่หนึ่งและสอง (Discover และ Define) เป็นขั้นตอนทำความเข้าใจและตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง รวมถึงการวางแผนโครงการ ขั้นตอนที่สาม (Develop) คือขั้นตอนในการใช้ความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากหลากหลายด้านมาสร้างไอเดียหลากหลายไอเดีย พัฒนาให้ภาพและทดสอบไอเดียต่างๆ และขั้นตอนที่สี่ (Deliver) คือขั้นตอนในการทดสอบช่วงสุดท้ายก่อนที่จะนำเอานวัตกรรมออกสู่ตลาด หรือนำเอาไปใช้จริง
สรุป




ผมขออนุญญาต สรุปขั้นตอนง่ายๆ ของ Design Thinking แบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามภาพนี้เลยนะครับ
  1. Understand
    คือการทำความเข้าใจ ศึกษาค้นหา Insight ของเหตุการณ์และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ และตีความหาโจทย์ที่น่าสนใจสำหรับมาใช้ในการคิดแก้ปัญหาต่อไป
Tips:

  • เปิดใจรับฟังปัญหา ห้ามตีกรอบ หรือตัดสินปัญหาด้วยมุมมองของเราเพียงฝ่ายเดียว
  • เอาใจเขา มาใส่ใจเรา เข้าไปซึมซับในสถานที่ และประสบการณ์จริง
  • สัมภาษณ์หาข้อมูล Insight ให้ได้ลึกและชัดเจนที่สุด ใช้ 5 Whys (https://open.buffer.com/5-whys-process/)
  • เลือก โจทย์ ที่คนในทีมทุกคนสนใจ และเห็นพ้องตรงกัน
  • อย่าเพิ่งคิดแนวทางแก้ไขปัญหาตั้งแต่แรก เพราะไอเดียที่ได้อาจจะไม่ได้แก้ไขปัญหาจริงๆ ที่เกิดขึ้นก็เป็นได้
  1. Create
    คือการสร้างไอเดีย หรือการต่อยอดไอเดียจากหลากหลายมุมมองของคนภายในทีม เพื่อสร้างสรรค์ไอเดียนวัตกรรมที่แปลกใหม่และตอบโจทย์การแก้ไขปัญหานั้นๆ
Tips:
  • ห้ามประเมินไอเดียของคนอื่น เพราะมันจะเป็นการบล็อกความคิดสร้างสรรค์ และทำลายบรรยากาศภายในทีม
  • ห้ามประเมินไอเดียของตนเองเช่นกัน คิดอะไรออก ให้เขียนลง Post it และพูดออกมาเลย
  • ไอเดียธรรมดา สามารถกลายเป็นสุดยอดไอเดียได้
  • เน้นปริมาณ ไม่เน้นคุณภาพ
  • ต่อยอดไอเดียซึ่งกันและกัน
  1. Deliverคือการพัฒนาไอเดีย สร้างต้นแบบ และนำไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย รับ Feedback เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบ จนกระทั่งคนภายในทีมและกลุ่มเป้าหมายพึงพอใจ แล้วนำเอานวัตกรรมนั้นไปใช้จริง
Tips:
  • Fail Fast, Fail Often, Fail Cheap
  • รีบลงมือทำ อย่ามัวแต่วางแผน
  • ต้นแบบเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความคิดในหัว ให้ออกมาเป็นสิ่งที่จับต้องได้เพื่อใช้ในการพิสูจน์ไอเดีย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ผมหวังว่าทุกคนจะรู้จักและเข้ากระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือ Design Thinking กันมากขึ้นแล้วนะครับ ในบทความหน้าผมจะเจาะลึกในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ทุกๆ ท่านได้ลองไปปรับใช้กัน ทั้งในที่ทำงานและชีวิตประจำวัน ฝึกใช้จนเป็นนิสัย และคุณจะพบว่า Design Thinking ให้ประโยชน์กับคุณมากมายจริงๆ
“Design thinking is about creating a multipolar experience in which everyone has the opportunity to participate in the conversation”. Brown (2009, p.192)
เกร็ดความรู้:
  • สมาชิกภายในทีมควรรวมกันจากหลากหลายสายอาชีพ เพื่อจะทำให้ได้หลากหลายมุมมอง อาทิเช่น Business, Design, Engineer, และ Environmental Science เป็นต้น
  • เปิดใจ รับฟัง ไม่ยึดติดกับความคิดของตัวเอง คือคุณสมบัติหลักที่สมาชิกภายในทีมต้องมี
  • ในการทำ Design Thinking ผู้เชี่ยวชาญมักจะบอกว่า “Stop Talking, Start Doing” อย่ามัวแต่คุยวางแผนให้ยืดยาว รีบลงมือทำให้เร็ว รีบล้มเหลวจากสิ่งเล็กๆ เพื่อที่จะป้องกันการล้มเหลวครั้งใหญ่ในตอนท้าย
  • เรามักใช้กระดาษ Post-it ในการเขียนประเด็นต่างๆ ทั้งปัญหาต่างๆ ที่ได้มาจากขั้นตอน Empathy เพื่อใช้ในการ Define ปัญหา และยังใช้ในขั้นตอน Ideate อีกด้วย
  • 3 คำง่ายๆ สำหรับ Design Thinking “เปิดใจ ต่อยอด ลงมือเร็ว”

What is Journey Mapping about?

This technique combines 2 powerful things: visualization & storytelling. A User or Customer Journey Map forms a structured, visualized narrative, a story: what the main character does, thinks, feels — while achieving a goal & having experience with a product/service, mapped out on a timeline.

  • Empathy Map — Understand your customer

ข้อมูลเกือบทั้งหมดมาจาก : https://medium.com/base-the-business-playhouse/design-thinking-คืออะไร-overview-dc8c8e7547db

ภาพบางภาพจาก https://uxknowledgebase.com