วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วิถีแห่งความรู้แจ้ง
เสียงอ่าน
http://www.archive.org/details/pramote_vitehangkwamroojang
http://audio.palungjit.com/showthread.php?t=332
http://d.igetweb.com/index.php?mo=3&art=69280
http://www.ideaforlife.net/dhamma/sound/pramote/book/vitehangkwamroojang.html
หนังสือ
http://www.wimutti.net/books/vidhi2/main.htm
ก็แค่รู้สึกตัว
การปฏิบัติธรรมบางครั้งกลับไม่ใช่เรื่องยาก ก็แค่ฟังธรรมบ้าง ฟังการตอบปัญหาที่ผู้อื่นถามบ้าง ฟังไปนานเข้าจิตก็เกิดความรู้สึกตัวสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดี มีสติสัมปชัญญะอยู่เนืองๆ จิตใจผ่องใส หน้าตาก็ผ่องใส จนจิตเขาทำหน้าที่ของเขาเอง แค่คอยรู้ไปเรื่อยๆ เท่านั้นเอง แท้จริงสติสัมปชัญญะจะเกิดขึ้นมาก็เพราะเราต้องไม่คิดมาก คือไม่คิดว่า “การปฏิบัติธรรมคืออะไร จะลงมือทำได้อย่างไร และทำแล้วจะมีผลอย่างไร” ให้ตามรู้ความรู้สึกเรื่อยไป แล้วก็สังเกตจิตใจตนเองเสมอๆ จิตเขารู้สึกอย่างไรก็รู้ไปตามนั้น แล้วก็เห็นว่าความรู้สึกทั้งหลายเป็นเพียง “อะไรบางอย่าง” (นาม) ที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ใช่ตัวเราและบังคับไม่ได้ ให้เห็นอยู่เพียงเท่านี้เองโดยไม่หลงเข้าไปแทรกแซงหรือแก้ไขอาการของจิต แล้วความทุกข์ทางใจที่เคยมีเป็นภูเขาเลากาก็ค่อยสลายตัวไป จิตใจมีความอิ่มเอิบเบิกบานในธรรมเพราะสามารถปล่อยวางความรู้สึกต่างๆ ลงได้เป็นลำดับ ในขณะที่ผู้คิดมาก ถามมาก ฟังธรรมมาหลายปีก็ยังปฏิบัติไม่เป็น เพราะไม่ได้ลงมือปฏิบัติคือไม่ลงมือตามรู้กายตามรู้ใจเสียที บุคคลเหล่านี้จะรู้สึกว่า การปฏิบัติธรรมช่างเป็นเรื่องยากเย็นเสียเหลือเกิน ตรงกับที่หลวงปู่ดูลย์ท่านกล่าวว่า “ยากสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติ” คือยากสำหรับนักคิดนักถามและนักเพ่งนักจ้อง แต่ไม่ยากสำหรับนักตามรู้กายและนักตามรู้ใจ
การตามรู้จิตใจของตนเองเป็นเรื่องเรียบง่าย ไม่มีขั้นตอนหรือวิธีการใดๆ เป็นพิเศษเลย เพียงแค่ให้รู้ความรู้สึกเข้าไปตรงๆ คือจิตใจมีความรู้สึกอย่างไรก็รู้ไปตามนั้น เช่นจิตรู้สึกมีความสุขก็รู้ จิตรู้สึกมีความทุกข์ก็รู้ จิตเฉยๆ ก็รู้ จิตมีโลภะคือรู้สึกโลภ/ใคร่/รัก/หวง/ห่วงก็รู้ จิตมีโทสะคือรู้สึกโกรธ/หงุดหงิด/ขุ่นข้องหมองใจ/เกลียด/กลัว/กังวล/อิจฉา/พยาบาทก็รู้ จิตมีโมหะคือฟุ้งซ่านหรือซึมเซาก็รู้ จิตสงบปลอดโปร่งผ่องใสเบิกบานก็รู้ ตัวความรู้สึกทั้งหลายนั่นแหละคือธรรมอย่างหนึ่งเรียกว่า “นามธรรม” ไม่ใช่ตัวเรา เมื่อเห็นนามธรรม นามธรรมก็แสดงธรรมให้ดู คือเขาจะแสดงความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปให้ได้เห็น เมื่อเห็นมากเข้าจิตใจก็จะเริ่มปล่อยวางความรู้สึกต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ตัวเราหรือของเราลงได้ คือความสุขเกิดขึ้นก็ไม่หลงยินดี ความทุกข์เกิดขึ้นก็ไม่หลงยินร้าย กุศลเกิดขึ้นก็ไม่หลงยินดี และอกุศลเกิดขึ้นก็ไม่หลงยินร้าย จิตใจเข้าถึงความเป็นกลางในสิ่งทั้งปวง ตรงกับที่หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย กล่าวว่า “ผู้ใดเข้าถึงความเป็นกลางจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง” (อนึ่งเมื่อหัดตามรู้นามธรรมอย่างนี้ก็จะพลอยรู้จักและตามรู้รูปธรรมคือกายได้ด้วย เพราะกายกับจิตเป็นของคู่กัน เมื่อรู้กายได้ก็รู้จิตได้ และเมื่อรู้จิตได้ก็รู้กายได้ กายกับใจหรือรูปกับนามนี่แหละคือธรรมะที่ต้องตามรู้เขา คือกายอยู่ในอาการอย่างไรก็รู้ว่ารูปอยู่ในอาการอย่างนั้น)
ทั้งผู้ปฏิบัติและผู้ไม่ได้ปฏิบัติต่างก็รู้จักความรู้สึกทางใจด้วยกันทั้งนั้น ความแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติกับผู้ไม่ปฏิบัติมีไม่มากคือ ผู้ไม่ปฏิบัติมีความรู้สึกใดๆ ขึ้นมาแล้วก็ไม่รู้ ถึงรู้ก็รู้ตามหลังนานๆ เช่นโกรธไปเมื่อวานมาวันนี้เพิ่งนึกได้ว่าเมื่อวานนี้โกรธ เป็นต้น ส่วนผู้ปฏิบัติเมื่อมีความรู้สึกอย่างไรเกิดขึ้นในจิตใจ ก็รู้ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่มีความรู้สึกอย่างอื่นมาคั่นเสียก่อน เช่นพอโกรธก็ตามรู้ได้ว่าจิตก่อนหน้าที่จะรู้ทันนี้กำลังโกรธอยู่ หลักของการปฏิบัติมีอยู่เพียงแค่ว่า จิตใจมีความรู้สึกอย่างไรก็ตามรู้ไปตามนั้นเท่านั้น โดยไม่ต้องทำอะไรก่อนจะรู้ ระหว่างรู้ และรู้แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรต่อไปอีก เช่นไม่ต้องดักดูไว้ก่อนว่าเมื่อไรจะโกรธ ไม่ต้องพยายามห้ามหรือป้องกันไม่ให้โกรธ และเมื่อโกรธแล้วก็ไม่ต้องอยากและพยายามทำให้หายโกรธเร็วๆ เพียงรู้ว่านามธรรมอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเท่านั้นก็พอแล้ว สำหรับอารมณ์ในฝ่ายที่น่าพอใจ ก็ไม่ต้องอยากให้เกิดขึ้น ไม่ต้องพยายามทำให้เกิดขึ้น และถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ต้องพยายามรักษาเอาไว้ ให้ตามรู้ไปตามความเป็นจริงเช่นเดียวกับอารมณ์ที่ไม่น่าพึงใจนั่นเอง
อย่าพยายามไปบังคับจิตให้หยุดคิด หน้าที่ของเราคือทำสติตามรู้ความคิดไปทำสติตามรู้ไป ความคิดนั่นแหละคือเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ ความคิดเป็นฐานที่ตั้งอันมั่นคงของสติ ตราบใดที่จิตยังมีความคิด สติยังมีความระลึก สิ่งที่เราจะพึงได้จากการภาวนาคือความที่สติมีพลังแก่กล้าขึ้นจนเป็นมหาสติ เป็นสติที่มีฐานที่ตั้งอย่างมั่นคง แล้วกลายเป็นสติพละ เป็นสติที่มีพละกำลังอันเข้มแข็ง กลายเป็นสตินทรีย์ สติเป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวง เมื่อเป็นสติพละ เป็นสตินทรีย์ เมื่อสติตัวนี้เพิ่งพลังแก่กล้าขึ้น จึงกลายเป็นสติวินโย จิตของเราจะมีสติเป็นผู้นำ แม้จะตั้งใจก็ตาม ไม่ตั้งใจก็ตาม จิตจะมีความสำนึกรู้ผิดชอบชั่วดีอยู่ตลอดเวลา ในเมื่อจิตกระทบอารมณ์อันใดขึ้นมา สติตัวนี้จะออกไปรับและพิจารณาให้เกิดรู้เหตุรู้ผลขึ้นมา เมื่อรู้เหตุรู้ผลแล้วจิตมันก็จะปล่อยวางไปเอง
เรื่องมันไม่ยากแต่ทำจริงๆ แล้วยากอยู่ แต่ถ้าทำได้แล้วมันก็จะไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป ก็แค่รู้ื ดูมันไปเรื่อยๆ
30 วิธีเอาชนะโชคชะตา
การที่จะช่วยให้ถึงเป้าหมายเร็วขึ้น อาจจะต้องมีพลังความช่วยเหลือมาจากภายนอก
( จากบุคคลผู้มีอำนาจ จากเพื่อนๆ หรือจากโชค ....)
นอกจาก จะต้องเก่งสู้เขาได้ หรือเก่งกว่า แล้ว จะต้องโชคดีกว่า จะต้องมีพลังอะไรต่างๆ มาคอยช่วยหนุน ประคับประคอง และผลักดันอยู่เสมอ
คุณเป็น “ คนโชคดี ” หากคุณประสบความสำเร็จ หรือได้สิ่งที่ต้องการ หรือมีความสุขได้ง่ายและเร็วกว่าคนอื่น
“ โชคร้าย ” ก็เหมือนมรสุมที่คอยขัดขวางการเดินทาง ทำให้ถึงเป้าหมายได้ยากขึ้น ถ้าท้อแท้และล้มเลิกยอมแพ้ ก็อาจไม่ถึงเป้าหมายนั้นเลย
รู้ เข้าใจ เห็นด้วย แต่เมื่อไม่ได้นำไปใช้ ก็ลืม
รู้ เข้าใจ เห็นด้วย แต่เมื่อไม่ได้นำไปใช้ อย่างนานเพียงพอ อย่าด่วนสรุปว่า ไม่ได้ผล
สิ่งที่จะช่วยความจำได้ดีที่สุด คือ การทำอยู่เรื่อยๆ จนติดเป็นนิสัย
กฎ “ 30 วิธีเอาชนะโชคชะตา ”
กฎข้อที่ 1 คนโชคดี รู้ว่า “ โชค ” สามารถเปลี่ยนแปลงได้
- ไม่มีอนาคตใคร ที่ฟ้าลิขิตมาแล้ว ทุกอย่างในอนาคตเปลี่ยนแปลงได้
- โชคที่ฟ้าลิขิตมานั้น มันดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แต่คนที่โชคดีจริงๆ นั้น สามารถเปลี่ยนสิ่งที่ฟ้าให้มา เป็นสิ่งที่ดีได้ทั้งหมด
- จะเปลี่ยนโชคนั้นได้ คุณต้องเปลี่ยนความคิดของตนเองตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป
ว่า โชคเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้
กฎข้อที่ 2 คนโชคดีเชื่อว่า ตัวเขาเองสามารถเปลี่ยนแปลงโชคนั้น ได้
o เราสร้างอนาคตของเราเอง แต่ไปเรียกมันว่า “โชคชะตา” (เบนจามิน ดิสเรลี)
o สิ่งที่ควบคุมโชคเหล่านั้น อยู่ในมือคุณทั้งหมด คือตัวคุณเอง
o การจะเรียนรู้จัก วิธีการควบคุมโชค การเป็นเจ้านายโชค และการกำราบโชคให้อยู่หมัด เราต้องเชื่อว่า เราเองเป็นผู้รับผิดชอบในความโชคดี โชคร้าย ของตัวเราเอง และต้องไม่ปัดความรับผิดชอบไปให้ผู้อื่น หรือสิ่งอื่น
o การเรียนรู้การเป็นเจ้านายของโชค เป็นเหมือนการเรียน “ทักษะ” (Skill) อย่างหนึ่ง ที่เราสามารถเรียนรู้ให้เก่งได้
o ข้อดีของการฝึก “ทักษะ” คือ ยิ่งเราเก่งมากเท่าใด เราก็ควบคุมสถานการณ์ได้มากขึ้นเท่านั้น
o เราต้องควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แทนที่จะให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นควบคุมเรา
o ยิ่งเราเก่งในเรื่อง “ทักษะในการควบคุมโชค” มากแค่ไหน ไม่ว่าสถานการณ์อะไรเกิดขึ้น ร้ายหรือดี เราสามารถเปลี่ยนสถานการณ์นั้นให้เป็นดี หรือดีกว่า ได้ทั้งหมด
กฎข้อที่ 3 รู้จัก กฎพ่อ และกฎแม่ แห่งโชคลาภ
o กฎที่สำคัญที่สุดแห่งโชคลาภ คือ
# กฎแห่งเหตุและผล ( The law of cause and effect )
# กฎแห่งแรงดึงดูด ( The law of attraction )
o โลกนี้ เป็นโลกที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่แน่นอน ตายตัว ไม่ยกเว้นใคร (ไม่ว่าคุณจะชอบมัน หรือเชื่อมันหรือไม่ก็ตาม) คนที่ฝ่าฝืนไม่เคารพกฎเหล่านี้ จะได้รับผลลัพธ์ที่ตนเองไม่ต้องการ แล้วเรียกมันว่า “โชคร้าย”
กฎข้อที่ 4 จงเคารพ กฎแห่ง เหตุและผล (กฎพ่อ แห่งโชคลาภ)
- ทุกอย่างเกิดขึ้น โดยมีเหตุ มีผล (สำหรับผลทุกอย่าง จะมีสาเหตุที่แน่นอน)
- ถ้าคุณเปลี่ยนเหตุให้ดีขึ้น ผลของคุณก็จะดีขึ้น
- การกระทำ (หรือเหตุ) ทุกอย่าง จะมีผลตามมา ไม่ว่าเราจะ เห็นมันหรือไม่
และไม่ว่าเราจะชอบมันหรือไม่ ก็ตาม
** โชค ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดแบบสุ่มสี่สุ่มห้า อะไรที่เกิดขึ้นกับเรา จะเป็นผลบางอย่างจากการกระทำหรือความคิดของเรา ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม
ข้อปฏิบัติ
ถ้าอยากได้ผล (หรือโชค) ที่ต่างไป ก็ต้องเปลี่ยนเหตุหรือการกระทำ และความคิดของเราเอง
บางทีสาเหตุนั้นอาจไม่ชัดเจน เราอาจไม่ทราบหรือไม่เข้าใจ หน้าที่ของเรา คือ หาสาเหตุนั้น
กฎข้อที่ 5 จงบูชา กฎแห่งแรงดึงดูด (กฎแม่แห่งโชคลาภ)
- (เพื่อได้) โชค คุณต้องใช้กฎแห่งแรงดึงดูด ช่วยดึง ผู้คนและสถานการณ์ ที่จะช่วยคุณให้เดินหน้าเร็วขึ้น เข้ามาในชีวิต (ไบรอัน เทรซี่ , สรอ.)
** กฎแห่งแรงดึงดูด “คุณจะดึงดูดสิ่งที่อยู่ในความคิดส่วนใหญ่ของคุณเข้ามาในชีวิต” ไม่ว่าจะเป็น คน สถานการณ์ สิ่งของ ...ฯลฯ... (กฎนี้ เป็นกฎตายตัวของโลก เหมือนกฎแห่งแรงโน้มถ่วง ไม่ว่าคุณจะชอบมันหรือไม่ และเชื่อมันหรือไม่ ก็ตาม)
ข้อปฏิบัติ
สิ่งเดียวที่ต้องทำ คือ ควบคุมความคิด ให้คิดแต่ในเรื่องที่ต้องการเท่านั้น (พูดถึงมัน ฝันถึงมัน หมกมุ่นอยู่กับมันตลอดเวลา) สิ่งนี้ ทำยากกว่าที่คิด เพราะจิตสำนึกของเราจะคอยคิดแต่เรื่องทางลบ
เทคนิค
ลงโทษตัวเองเล็กๆ (ทุกครั้งที่คิดในเรื่องทางลบ) เมื่อความคิดเถลไถลไปเรื่องทางลบ เพื่อเทรนให้จิตสำนึกเชื่อมความเจ็บกับความคิดทางลบ (ทำติดต่อกันอย่างน้อย 21 วัน จะเป็นการพัฒนาจิตใจให้กล้าแข็งขึ้น)
*** มีทางสองแบบ ที่จะไปถึงเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องการ
ทางแรก ทำงานลูกเดียว เพื่อให้ถึงเป้าหมายให้ได้ (วิธีนี้ เหนื่อยและช้า)
ทางที่สอง ขณะที่คุณ วิ่ง เข้าหาเป้าหมาย เป้าหมายนั้น ก็วิ่ง เข้าหาคุณ (วิธีนี้
เหนื่อยน้อยและเร็ว)
กฎข้อที่ 6 กำจัด ความเชื่อที่จำกัด
- คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่คนเราเลือกที่จะเป็นได้
- ที่สำคัญ ต้องคิดเป็น (ไม่เช่นนั้น ก็อยู่เหมือนคนล้มเหลว)
** ในโลกนี้ ทุกอย่างเป็นไปได้ ถ้าตั้งใจและคิดอย่างถูกต้อง
มนุษย์สามารถเป็นอะไรที่ตนเองต้องการได้ทั้งนั้น เพราะมนุษย์จะพัฒนาการไป
ตามที่ตนเองคิดเท่านั้น
o ถ้าคุณคิดเป็น คุณไม่ต้องพึ่งโชค แต่คุณจะสร้างโชค
o หากรู้วิธีสร้างโชคเองแล้ว อยากโชคดีแค่ไหนก็ได้ทั้งนั้น
o สร้างโชค(ดี) เป็นผู้กำราบโชค เอาชนะโชคจนอยู่หมัด ย่อมมีความรู้สึกที่แตกต่างกับการตกเป็นเหยื่อของโชค(ร้าย)
กฎข้อที่ 7 ทำตัวเป็น หมอดูที่แม่นที่สุดในโลก
- ไม่มีคนคนใดสามารถมาลิขิตชีวิตของมนุษย์ได้ คุณจะต้องกุมบังเหียนชีวิตนี้เอง
ไม่ว่าชีวิตนี้จะออกมาดีหรือไม่ดี คุณต้องเป็นผู้รับผิดชอบมันทั้งนั้น
** มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ มีความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ โดยการคิด และการกระทำที่ถูกต้อง
- เพราะในเมื่อมนุษย์จะพัฒนาการไปตามอย่างที่ตนคิด การคิดและการกระทำ
ในตอนนี้ จึงเป็นตัวกำหนดผลในอนาคต
- คุณมีศักยภาพในการเปลี่ยนอนาคตของตัวเอง คุณสามารถทำนายอนาคตของคุณเองได้ ถ้าคุณ มุ่งพลังกาย พลังความคิด ไปที่สิ่งที่ดี ความฝันที่ยิ่งใหญ่ อนาคตของคุณก็จะไปในทิศทางนั้น (ดี / ไม่ดี)
“มนุษย์จะพัฒนาการไปตามอย่างที่ตนคิด” เป็นกฎที่แน่นอนและตายตัวของโลก เหมือน
กฎแรงโน้มถ่วง อยู่คู่โลกมาตั้งแต่มีมนุษย์ และจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ใช้ได้ทุกประเทศ
ทุกสมัย ตลอดไป เป็นกฎแห่งการทำนายอนาคต
หน้าที่ของคุณ ก็คือ ทำอย่างไรที่จะเข้าใจถ่องแท้ถึงกฎนี้ เพื่อจะได้นำไปใช้ และเมื่อไหร่ที่คุณเป็นเจ้าของกฎนี้ คุณสามารถมี และเป็นอะไรก็ได้ตามใจปรารถนา
กฎข้อที่ 8 คนโชคดี ตัดสินใจ ไขว่คว้าหาโชค
สุภาษิตญี่ปุ่นกล่าวไว้ว่า “ วันที่คุณตัดสินใจทำ เป็นวันโชคดีของคุณ ”
กฎข้อที่ 9 คนโชคดี ลงมือทำวันนี้
* เมื่อคุณรู้ว่าต้องการอะไร
คุณต้องเริ่มวางแผนเดินหน้าเข้าไปหาเป้า และทำวันนี้
(วันพรุ่งนี้ไม่เคยมา ชีวิตทุกคนประกอบไปด้วยวันนี้)
** เริ่มอะไรก็ได้ แม้ว่าเล็กเท่าใดก็ตาม เพราะการเริ่มต้นนั้นยากที่สุด
แต่เมื่อได้เริ่มแล้ว การทำต่อ จะใช้แรงและความพยายามน้อยลง
กฎข้อที่ 10 รู้จัก องค์ประกอบของโชค
เซเนกา / โรมัน / คศ. 1 , กล่าวว่า โชค คือ ความเตรียมพร้อม พบกับ โอกาส
** องค์ประกอบของโชคดี คือ - โอกาส
- ความเตรียมพร้อม
ทั้งสองสิ่งต้องเกิดขึ้นด้วยกัน จึงจะเป็น “ โชคดี ”
ถ้าโอกาสมาถึง แต่เราไม่พร้อม เรียกว่า ความน่าเสียดาย
** เราต้องรู้จักสร้างโอกาส ทำอย่างไรก็ได้ให้โอกาสเกิดขึ้นกับเรามากที่สุด **
กฎข้อที่ 11 เพิ่มโอกาส โดยลองสิ่งแปลกใหม่
** สิ่งหนึ่งที่ทำได้ ที่จะเปิดโอกาสนั้นมาถึงเราได้มากครั้งที่สุด คือ ลองสิ่งใหม่ ๆ
- ถ้าการกระทำของคุณเป็นแบบเดิม ๆ คุณก็จะได้ผลแบบเดิม ๆ
** ไอน์สไตน์ ให้คำนิยาม การทำสิ่งเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา และหวังให้ผลมันเปลี่ยนไป
ว่า “ ความวิกลจริต ”
- ถ้าอยากได้ผลที่แตกต่างไปในทางดี ก็ต้องลองทำสิ่งใหม่ ๆ ดี ๆ ที่เราไม่เคยทำ
หรือที่ไม่มีคนอื่นเคยทำ
- เนื่องจากโชคของคุณ ส่วนใหญ่จะมาจากผู้อื่น ดังนั้น การเจอคนใหม่ ๆ ที่ดี ๆ
ทำให้มีโอกาสที่จะประสบสิ่งดี ๆ
- ยิ่งคุณเป็นคนรู้จักคนมากเท่าไหร่ โอกาสที่คนจะนำไป หรือให้ไอเดียสิ่งดี ๆ
ก็มีเยอะมากยิ่งขึ้น แค่ไอเดียดี ๆ ไอเดียเดียว สามารถทำให้เราเป็นมหาเศรษฐีได้
กฎข้อที่ 12 เพิ่มโอกาส โดยการเอาตนเองเข้าไปอยู่ในหนทางของโอกาส
** การเอาตัวเข้าไปอยู่ในหนทางของโอกาส ก็เหมือนกับการไปรอตรงที่โอกาสมันมีสิทธิโผล่ขึ้นมาได้มาก เราควรคิดว่า สิ่งที่เราอยากได้ มันอยู่กันที่ไหนเยอะ ๆ
- การที่เราได้โอกาสมากกว่า ก็ทำให้ได้พัฒนาฝีมือได้รวดเร็วกว่า
ข้อคิด
ลองถามตนเองว่า เหตุที่เราไม่ก้าวหน้า หรือไม่มีโชค เป็นเพราะเราทำงานอยู่ในองค์กรที่ผิดหรือเปล่า ไม่เหมาะสมกับความสามารถส่วนตัวหรือเปล่า หรือตั้งร้านค้าอยู่ในสถานที่ที่ผิดหรือไม่..... (บางครั้ง แค่เปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ก็ทำให้โชคเปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็ว)
กฎข้อที่ 13 เพิ่มโอกาส โดยการเพิ่มคุณค่าของตนเอง
** การเพิ่มคุณค่าให้ตนเองในทุก ๆ ทาง ทำให้เราวางตำแหน่งของตัวเราให้อยู่ในโอกาสที่คล้าย ๆ กัน คือ ดีขึ้น ดีขึ้น ยิ่งตนเองดีมากเท่าไร โอกาสที่ผ่านมาในชีวิต ก็ดีมากขึ้นเท่านั้น (โชคดี จะมีโอกาสเกิดมากขึ้น เป็นเงาตามตัว )
- กล่าวกันว่า “ Birds of a Feather Flock Together ”
“ คนที่อยู่ในระดับเดียวกัน จะอยู่ใกล้กัน หรือเป็นเพื่อนกัน ”
( คนที่ประสบความสำเร็จ ก็จะได้เพื่อน เป็นคนที่ประสบความสำเร็จ )
- ยิ่งคุณเพิ่มคุณค่าให้ตนเองมากเท่าใด คุณก็จะมีเพื่อนเป็นคนที่มีค่าและประสบ
ความสำเร็จ เพิ่มขึ้นเท่านั้น
- ยิ่งคุณมีเพื่อน “ คุณภาพ ” มาก โชคดีของคุณก็จะเพิ่มเป็นทวีคูณ
“ Like Attracts Like ” สิ่งที่คล้าย ๆ กัน จะถูกดึงดูดเข้าหากัน
** อยากได้ของดี ตนเองต้องเป็นของดีด้วย
กฎข้อที่ 14 เพิ่มโอกาส โดยการออกไปเจอคน
** เวลามีโอกาสผ่านเข้ามาถึง ถ้าคนในตำแหน่งที่มีอำนาจไม่เคยรู้จัก หรือไม่เคยเห็นหน้าเราเลย เขาไม่สามารถจับเราชนกับโอกาสนั้นได้ เขาต้องคิดถึง คนที่โดดเด่น ( ซึ่งบางครั้ง
ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องความเก่งเสมอไป อาจเป็นความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี หรือมีความเป็นผู้นำ หรือมีผลงาน )
กฎข้อที่ 15 คบคนพาล พาลพาไปหาผิด
- คนที่ไม่ดี คนที่เป็นคนคิดทางลบ คนที่ชอบบอกว่า เป็นไปไม่ได้หรอก
อย่าคิดเลย คิดอะไรเกินตัว ฝันหวาน.... ส่วนใหญ่คนเหล่านี้ เป็นคนที่ไม่ค่อยจะทำอะไรที่น่าสนใจ อยู่ใกล้คนเหล่านี้นาน ๆ คุณจะคิดว่าสิ่งที่เขาพูดเป็นความจริง
การที่เขาเหล่านั้นเป็นผู้แพ้ด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม ไม่ควรจะมาทำให้คุณเป็น
ผู้แพ้ด้วย
* การอยู่ใกล้ ๆ คนที่กล้าคิดใหญ่ ฝันใหญ่ แล้วทำได้
ทำให้เราได้แรงบันดาลใจ กล้าคิด กล้าทำ
หรืออ่านหนังสือของคนที่ประสบความสำเร็จเขียนแบ่งปัน
ทำให้เราได้ความคิดใหม่ ๆ ดี ๆ โอกาสที่จะโชคดี มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ
** ถ้าคุณอยากโชคดี ชีวิตคุณควรจะห้อมล้อมตนเองด้วยคนที่เก่ง ฉลาด ประสบความสำเร็จ คิดในทางบวก
อย่าไปเสียเวลากับคนที่ชอบพูดทางลบ ไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
เพราะเขาจะนำเอาโชคร้ายมาให้
กฎข้อที่ 16 เพิ่มโอกาส โดยการเอาประโยชน์ให้มากที่สุดจากสถานการณ์ปัจจุบัน (ที่ไม่ดีนัก)
* โอกาสนั้น ไม่ใช่เกิดบ้าง ไม่เกิดบ้าง หรือเกิดตามความบังเอิญ
โอกาสนั้น มีอยู่ทั่วไป แต่เราจะเห็นมันหรือเปล่า เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ถ้าใจเราปิดแคบ หรือมีวิสัยทัศน์ที่แคบ ๆ เราก็จะไม่เห็นโอกาสนั้น
** คนที่โชคดี จะเป็นคนที่มองเห็นโอกาสในสถานการณ์ที่คนทั่วไปคิดว่า ไม่ดีนัก
และสามารถทำประโยชน์จากทุกสถานการณ์ (ถ้าสถานการณ์ไม่เหมือนกับที่
คาดหวังไว้ ก็จะไม่ย่อท้อ จะมองหาสิ่งดีที่เขาทำได้ในสถานการณ์นั้น)
** ในการแข่งขัน หัวสมองจะต้องเริ่มทำงานทันทีว่า ทำอย่างไร เราจึงจะโดดเด่น
จากผู้แข่งขันรายอื่น (ทำอย่างไรกรรมการจึงจะจำเราได้)
ซึ่งเมื่อหัวสมองได้พุ่งไปทำงานอย่างนั้นแล้ว จะทำให้เราสามารถเอาศักยภาพ
ทั้งหลายมาใช้ได้เต็มที่ ผลก็คือ ทำให้เราได้เรียนรู้อย่างมากมายถึงศักยภาพที่เรา
ไม่เคยรู้ว่ามีอยู่
กฎข้อที่ 17 เตรียมความพร้อม สำหรับโอกาสที่กำลังจะมา เสมอ
- สถานะ ชาติตระกูล และองค์อื่น ไม่สำคัญเท่า ความทะเยอทะยานส่วนตัว
การใฝ่หาโอกาส และที่สำคัญที่สุด คือ การเตรียมความพร้อม
** อับราฮัม ลิงคอล์น กล่าวว่า ผมมีกฎง่าย ๆ คือ
“ จงเตรียมพร้อมทุกอย่าง เหมือนกับโอกาสของเราจะมาถึงในวันนี้ ”
กฎข้อที่ 18 เข้าใจว่า “โชคส่วนใหญ่ของคุณ จะมาจากคนอื่น.....”
- คนอื่น ๆ เช่น ผู้ใหญ่ที่เห็นผลงานดีของเรา / เพื่อนดี ๆ ที่ช่วยเหลือในสิ่งต่าง ๆ คนอื่น ๆ ที่มีอำนาจตัดสินใจว่าจะช่วยเรา .....ฯลฯ.....
** เป็นเรื่องธรรมดาที่ว่า คนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน จะเป็นคนที่โชคดีกว่าผู้อื่น
เป็นคนที่เพื่อนหรือผู้มีอำนาจนึกถึงเวลามีงานดี ๆ หรือมีคนดี ๆ ที่อยากแนะนำให้รู้จัก
+ เมื่อไม่มีโอกาส ความสามารถอาจพัฒนาได้ช้ากว่าที่ควร
** เพิ่มสัมพันธภาพกับผู้อื่น ก่อนที่คุณต้องการขอความช่วยเหลือ
“ Dig your well before you’re thirsty ”
กฎข้อที่ 19 เป็น “คนเก่งทางด้านมนุษยสัมพันธ์”
- การเข้ากับคนได้ดี การทำตัวให้คนรักคนชอบ เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้กันตลอดชีวิต
- ยิ่งคุณเก่งเรื่องมนุษยสัมพันธ์มากเท่าใด คุณจะยิ่งโชคดีมากขึ้นเท่านั้น
วิธีบางวิธีที่จะเก่งทางมนุษยสัมพันธ์
1. ปฏิบัติกฎทองคำ “ปฏิบัติกับผู้อื่น เหมือนกับที่เราต้องการให้เขาปฏิบัติกับเรา”
2. ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือคลาสสิคด้านการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ของ
คาร์เนกี (How to win friends and pinfluence people)
** ที่สำคัญ การปฏิบัติให้ได้ผล ต้องปฏิบัติบ่อย ๆ จนตนเองเก่ง
- หน้าที่หลักของคอนดักเตอร์ คือ การทำงานกับคน (นักดนตรี)
ไม่ใช่กับสิ่งของ (เครื่องดนตรี)
- ความสำเร็จของคอนดักเตอร์
30 % มาจากความฉลาด ความรู้ ความเก่งในศาสตร์
70 % มาจากความสามารถในการสร้างสถานการณ์ ที่ทำให้ผู้ร่วมงานทำงานได้ดีที่สุด
** ในโลกของการทำงาน ทักษะ มนุษยสัมพันธ์ จะมีความสำคัญต่อความสำเร็จ
มากกว่าความเก่งเฉพาะด้าน
กฎข้อที่ 20 ช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่หวังผลตอบแทน
** การหว่าน ต้องมาก่อนการเก็บเกี่ยว
* ไม่ว่าเราหว่านอย่างไร ก็จะเก็บเกี่ยวอย่างนั้น เป็นกฎตายตัวอีกกฎหนึ่งของโลก
การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นการหว่านอย่างหนึ่ง ที่ต้องทำก่อน และควรทำโดยไม่ต้องห่วง
การเก็บเกี่ยวหรือผลตอบแทน (ซึ่งจะมีมาแน่ ตามกฎตายตัวของโลก)
กฎข้อที่ 21 สร้างชื่อเสียงที่ดี
- ชื่อเสียง คือสิ่งที่คนอื่นพูดถึงคุณ เวลาอยู่ลับหลังคุณ
** ชื่อเสียงที่ดี จะทำให้คุณโชคดีได้อีกเยอะ เพราะจะทำให้คุณประสบความสำเร็จ
ได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น
กฎเหล็กที่สำคัญ ที่เราต้องพึงจำไว้
“ People will do business with someone they know , Like and trust ”
(คนจะทำธุรกิจกับคนที่เขา รู้จัก ชอบ และเชื่อใจ)
- ยิ่งคนจำนวนมากเท่าไหร่ที่รู้จักเราและคิดถึงเราในทางที่ดี เราก็โชคดีมากเท่านั้น
** ภารกิจที่สำคัญที่สุดของคนที่อยากโชคดี คือ เพิ่มจำนวนคนที่รู้จักเรา ชอบเรา และ
เชื่อใจเรา ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
กฎข้อที่ 22 อย่าหาโชคที่การพนัน
** ในโลกของการพนันไม่มีคนโชคดี นอกจากเจ้าของกาสิโน
- ไม่มีใครโชคดีจากการพนัน ถึงแม้คุณจะเล่นได้ตอนนี้ ในที่สุดคุณก็ต้องเสีย
เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์จะไม่ยอมหยุดเล่นเมื่อกำลังได้ จะยอมหยุด
เมื่อเล่นเสียหมดตัวแล้ว หรือจนเป็นหนี้มหาศาล
กฎข้อที่ 23 อย่าแสวงโชคที่ล๊อตเตอรี่
- คนที่ร่ำรวยและประสบความสำเร็จขึ้นมาได้ด้วยตนเอง ( Self-made
people สร้างตัวขึ้นมาโดยสุจริตและด้วยความสามารถตนเองแท้ ๆ
ไม่เกี่ยวกับมรดก ) จะไม่ซื้อล๊อตเตอรี เพราะเขารู้ว่า เงินได้มาจากงาน
ได้มาจากไอเดีย ได้มาจากความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
กฎของโลกอีกประการหนึ่ง คือ
“ You can’t keep anything you don’t deserve ”
คุณไม่สามารถรักษาอะไรที่คุณไม่สมควรได้รับไว้ได้
** การให้การศึกษาตนเองด้านการเงิน (Financial Education)
จะทำให้คุณรู้จักการรักษาเงินนั้น และทำให้มันโตได้
กฎข้อที่ 24 อย่ามีศัตรู (ไม่ว่าโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ)
- ศัตรูแค่คนเดียว ก็สามารถทำให้ชีวิตเรามีโชคร้ายได้เยอะแยะมากมาย
เพราะศัตรูคนนั้นก็มีเพื่อน ๆ และพรรคพวก ซึ่งอาจทำให้ชีวิตเรายากลำบาก
ขึ้นมาก
กฎข้อที่ 25 คนโชคดี คือ คนขยัน
เบนจามิน แฟลงคลิน กล่าวไว้ว่า
“ Diligence is mother of Goodluck ”
ความขยัน เป็นมารดาของความโชคดี
โทมัส เจฟเฟอร์สัน กล่าวไว้ว่า
“ I am a Great Beliver In Luck ,
And I find The Harder I work ,
The More I have of It ”
“ ผมเชื่อเรื่องโชคเป็นอย่างมาก และผมพบว่า ยิ่งผมทำงานหนักมากเท่าไหร่
ผมก็ยิ่งมีโชคมากขึ้นเท่านั้น ”
** เมื่อเกี่ยวกับความสำเร็จแล้ว ไม่มีอะไรมาทดแทนการทำงานหนักได้
(เทคนิคบางอย่าง อาจทำให้ถึงความสำเร็จ เร็วขึ้น และง่ายขึ้น)
กฎข้อที่ 26 หาทางให้คนอื่นได้ประโยชน์ด้วย
- ยิ่งมีคนได้รับประโยชน์ (จากการรับใช้ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา) มากเท่าใร
โชคดี ก็ยิ่งมาเยือนมากเท่านั้น
** อย่าคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเองฝ่ายเดียว ก่อนที่จะทำอะไร ควรคิดก่อนว่า คนอื่นจะได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เราทำได้อย่างไร
- โลกทั้งโลกนี้ ประกอบไปด้วย “คนอื่น” ทั้งหมด ยกเว้นเพียงคนเดียวเท่านั้น
คือ ตัวเราเอง
* โลกนี้ เป็นโลกของการพึ่งพาอาศัยกัน
“ You can have everything in life you want , If you
will just help other people get what you want ”
* กุญแจสำคัญ
หาวิธีอะไรก็ตามที่เขาได้ และเราได้ ไปพร้อม ๆ กัน
และเมื่อนั้น เราสามารถจะได้อะไรก็ได้ในชีวิต
** การคิดให้คนอื่นได้ผลประโยชน์ และเน้นตรงส่วนนั้น
จะนำ “โชคดี” มาให้คุณมากมาย
กฎข้อที่ 27 การอิจฉาจะนำโชคร้ายมาเพิ่ม
** คนโชคดี จะยินดีกับคนอื่นเมื่อเขาได้ดี หรือประสบความสำเร็จ
- เวลาที่เราอิจฉาเขา มันสมองของเรากำลังมุ่งไปที่ที่ผิด
คือ มุ่งไปที่สิ่งที่คนอื่นมี แต่ที่เราไม่มี
กฎธรรมชาติของโลก
“ You get moer of what you focus on ”
ไม่ว่าสิ่งใดที่คุณเพ่งความสนใจไป สิ่งนั้น คุณจะมีมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นความจน ความป่วย ความมั่งมี ความสุข.......
- ยิ่งคุณมุ่งคิดไปในสิ่งที่คนอื่นมี และคุณขาด ความรู้สึกด้อยนั้นก็จะมีมากขึ้น
กฎข้อที่ 28 อย่าพูดว่า คู่แข่งหรือคนที่คุณไม่ชอบ “โชคดี”
** “ความโชคดี” คือวิธีการอธิบายความสำเร็จของผู้อื่น (ที่เราไม่ชอบ)
ฌอง คอดโต (นักเขียนชาวฝรั่งเศส)
EX สิ่งที่บัณฑิต อึ้งรังสี ทำ
+ ทำงานหนัก เพื่อที่จะได้เป็นเลิศในสาขาที่อยากเก่ง
+ มีวิธีการคิดที่แตกต่างจากคนทั่วไป (คิดต่างกัน ทำให้อนาคตต่างกัน)
+ ต้องใช้ความอดทน
+ ไม่ย่อท้อ เอาชนะความไม่ยุติธรรม
ข้อสำคัญ
1. มีเป้าหมายที่ชัดเจน
2. ทำงานหนัก เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น ๆ
** ในโลกนี้ ทุกอย่างเป็นไปได้เสมอ เมื่อเรามีความเชื่อและความกล้า
- เวลาเราเห็นคนอื่นประสบความสำเร็จ เราไม่ควรบอกว่าเขาโชคดี เพราะ
# ส่วนใหญ่แล้ว เป็นเพราะคุณอิจฉาเขา
# เป็นการดูถูกคนอื่นนิด ๆ
# การที่คนอื่นประสบความสำเร็จหรือได้สิ่งดี ๆ มีเหตุเสมอ ไม่ว่าคุณ
จะเห็นเหตุนั้นหรือไม่ก็ตาม
กฎข้อที่ 29 “ดูดี” เหมือนคนโชคดี
* เป็นเรื่องธรรมดาของโลก ที่คนที่ดูดี หล่อ สวย ก็จะได้โอกาสดี ๆ ในชีวิต
มากกว่าคนที่ไม่โดดเด่น
“ดูดี” = ดูดีทั้งรูปร่างหน้าตา , การแต่งกาย , บุคลิคภาพ , ความเฉลียวฉลาด และความสะอาด
** การเป็นนักฟังที่ดี ให้ความสนใจอย่างจริงจังกับคนที่พูดคุยด้วย สามารถทำให้เรา
เป็นคนมีเสน่ห์ ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อ “ ความโชคดี ”
- โชคและการดูดี มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นอน
กฎข้อที่ 30 จงรู้จักเห็นค่าของสิ่งที่มีอยู่แล้ว
กฎนี้ เป็นความลับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการเป็น “บุคคลที่โชคดี”
หากคุณเป็นเจ้านายของกฎนี้ ไม่ยากเลยที่คุณจะเป็น “คนที่โชคดีที่สุดในโลก”
The Law of Gratitude
“ The more you appreciate what you already have ,
the more you will have”
ยิ่งคุณเห็นค่าสิ่งที่มีแล้ว คุณยิ่งมีเพิ่มขึ้น
** นอกจาก ความคิด ของเรา จะ “ดึงดูด” สิ่งต่าง ๆ เข้ามาในตัวเราแล้ว
ความรู้สึก ของเรา ก็จะดึงดูดด้วย
“ ความรู้สึกดี ๆ ” ก็จะดึงดูดสิ่งของหรือสถานการณ์คล้าย ๆ กัน ที่คนทั่วไป
เรียกว่า “โชคดี”
แหล่งที่มา : จากหนังสือ “30 วิธีเอาชนะโชคชะตา” ของ บัณฑิต อึ้งรังสี
กฎแห่งแรงดึงดูด
- เราคิดอะไรได้อย่างนั้น คิดดีได้ดี คิดไม่ดีได้สิ่งไม่ดี
- คิดจดจ่อ ครุ่นคิดกับสิ่งที่เราร้องขอ
- แล้วสิ่งที่เราร้องขอจะเป็นจริง
- เราคิดอะไรให้ดูอารมณ์ของเราขนาดนั้น
- อารมณ์ดีย่อมดึงดูดสิ่งดี ๆ เข้ามา
- หากอารมณ์ไม่ดีก็คิดถึงบรรยากาศดี ๆ สิ่งที่เราชอบ
- กฎแห่งแรงดึงดูดมีกระบวนการคือ เชื่อ ขอ รับ
- เชื่อ คิด พูด เสมือนว่าได้สิ่งนั้นแล้ว
- รับ รู้สึกว่าได้สิ่งนั้นแล้ว
- หากเริ่มต้น เริ่มดึงดูดกับเรื่องเล็ก ๆ ก่อน แล้วดึงดูดสิ่งใหญ่ ๆ เป็นการฝึกทักษะจนใช้กฎได้อย่างชำนาญ
- ดึงดูดสิ่งเล็กกับสิ่งใหญ่ก็ใช้กฎเท่า ๆ กัน เช่น เงินหนึ่งบาทกับเงินล้านบาท
- คิดไว้ล่วงหน้า
- คาดหวังในสิ่งที่ต้องการ สิ่งไม่ต้องการไม่ต้องไปคิดถึงมัน
- เห็นคุณค่าตัวเอง เห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนมี แล้วสิ่งดี ๆ ก็จะเข้ามา
- ขอบคุณล่วงหน้า
- สร้างมโนภาพว่าคุณกำลังมีความสุขกับสิ่งที่คุณร้องขอ
- ใช้กฎแห่งแรงดึงดูดเป็นกิจวัตร
- ก่อนนอนคิดทบทวน หากคิดผิดคิดใหม่ ปรับแผนการใช้กฎใหม่ สร้างจิตนาการความรู้สึกดี ๆ ต่อสิ่งร้องขอใหม่
- มีความสุขตลอดเวลา
- ไม่คิดลบ ไม่ทำลบ ไม่พูดลบ
- ทำตัวเองให้สมบูรณ์ให้ดีแล้วค่อยช่วยผู้อื่น
- ทำบุญ
- รักเคารพตัวเอง หาจุดเด่นของตัวเอง
- เรื่องขำ ๆ หัวเราะทำให้อารมณ์ดีได้
- คิดถึงความร่ำรวย อย่าคิดถึงหนี้สิน
- คิดถึงสุขภาพที่แข็งแรง ความหนุ่มสาว อย่าคิดโรคภัย ความแก่ชรา
- เมื่อเจ็บป่วยก็คิดว่าต้องหาย กินยาแล้วต้องดี
- เราต่อต้านสิ่งใดเราก็จะได้สิ่งนั้น
- คิดถึงสิ่งร้ายได้สิ่งร้าย
- กฎแห่งแรงดึงดูดใช้ได้ไม่จำกัด ยิ่งใช้เยอะยิ่งดี ยิ่งเกิดทักษะ
- สลัดออกจาก กรอบความเชื่อของสังคม อดีตเก่า ๆ ไม่ยึดติด กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ถ้าคิดว่าเกิดมาจนก็จะจนไปตลอด
- ใครร้ายมาให้ดีตอบ ให้ความรักกลับไป
- เชื่อกฎแห่งแรงดึงดูดโดยไม่ต้องสงสัย
- ใส่พลังการคิดบวกเข้าไปในทุกเรื่องที่คิด
- ดึงสิ่งดี ๆ เข้ามา
- ทำในสิ่งที่รัก
1. Ask
2. Believe
3. Receive
ขอหรือโฟกัสในสิ่งที่ต้องการ, เชื่อมั่นว่ามันจะต้องเกิดขึ้น, รับในสิ่งที่ขอ
วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
สติปัฏฐาน 4
มิจฉาสมาธิ ย่อมบังเกิดแก่ผู้มีมิจฉาสติ
สัมมาสมาธิ ย่อมบังเกิดแก่ผู้มีสัมมาสติ
มิจฺฉาสติสฺส มิจฺฉาสมาธิ ปโหติ
สมฺมาสติสฺส สมฺมาสมาธิ ปโหติ
(อวิชชาสูตร ๑๙/๑)
สติปัฏฐาน ๔ เป็นการปฏิบัติที่พระองค์ท่านตรัสว่าเป็นทางสายเอก(เอกายนมรรค) เมื่อปฏิบัติอย่างดีงามย่อมทำให้โพชฌงค์องค์แห่งการตรัสรู้บริบูรณ์ กล่าวคือย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ถึงที่สุด ดังที่ตรัสแสดงไว้อย่างแจ่มแจ้งในกุณฑลิยสูตร ในการศึกษาการปฏิบัติทั้งหลายไม่ว่าในทางโลกหรือทางธรรมก็ตามที ต่างล้วนต้องเรียนรู้ให้เข้าใจจุดประสงค์เสียก่อน กล่าวคือ ต้องมีปัญญาหรือวิชชาเป็น พื้นฐานบ้างเสียก่อน จึงเริ่มลงมือปฏิบัติ จึงถูกต้องดีงาม อันจักยังผลให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้องแนวทาง ดังนั้นจึงควรมีความเข้าใจด้วยการศึกษาธรรมให้เข้าใจจุดประสงค์อย่างถูก ต้องด้วย เพราะเป็นที่นิยมปฏิบัติกันโดยไม่ศึกษาให้ดีงามเสียก่อน เริ่มต้นปฏิบัติก็มักเพราะเป็นทุกข์กำลังรุมเร้า หรือด้วยความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ได้ยินได้ฟังมาอยู่เนืองๆ ก็เริ่มปฏิบัติอานาปานสติหรือสติปัฏฐาน ๔ โดยไม่มีความรู้ความเข้าใจเลย ดังนั้นแทนที่เป็นการฝึกสติ,ใช้สติชนิดสัมมาสติ กลับกลายเป็นการฝึกการใช้มิจฉาสติจึงได้มิจฉาสมาธิแบบผิดๆอันให้โทษ จีงเกิดขึ้นและเป็นไปตามพุทธพจน์ข้างต้น จึงอุปมาเหมือนการเรียนเคมี โดยไปปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเสียเลย ด้วยเข้าใจว่าไปเรียนไปศึกษาจากการปฏิบัติโดยตรงคงยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นเอง ด้วยเหตุดั่งนี้เอง จึงเกิดอุบัติเหตุการระเบิดขึ้นได้ด้วยความไม่รู้หรืออวิชชานั่นเอง จึงสมควรอย่างยิ่งที่ต้องมีการเรียนรู้ให้เข้าใจจุดประสงค์เป็นพื้นฐานบ้างเสียก่อน จะได้ดำเนินไปอย่างถูกต้องแนวทางสมดังพุทธประสงค์ คือสัมมาสติที่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์ อันเป็นสุขยิ่ง
สติ ปัฏฐาน ๔ จึงเป็นการฝึกสติใช้สติ สมดังชื่อ ที่หมายความว่า การมีสติเป็นฐาน ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งสติ ซึ่งเมื่อเกิด สัมมาสติขึ้นแล้ว ย่อมยังให้เกิดจิตตั้งมั่นอันคือสัมมาสมาธิร่วมด้วยโดยธรรมหรือธรรมชาติ แล้วนำทั้งสัมมาสติและสัมมาสมาธินั้นไปดำเนินการพิจารณาในธรรมคือเจริญ วิปัสสนา ในธรรมทั้งหลายดังที่แสดงในธัมมานุปัสสนา หรือธรรมอื่นใดก็ได้ตามจริต สติ ปัญญา มิได้จำกัดแต่เพียงในธรรมานุปัสสนาเท่านั้น
อานาปานสติ เป็นการฝึกสติใช้สติิ โดยการใช้ลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ ที่หมายถึงเครื่องกำหนด กล่าวคืออยู่ในอารมณ์คือลมหายใจเข้าและออกอย่างมีสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาเป็นจุดประสงค์สำคัญ แต่กลับนิยมนำไปใช้เป็นอารมณ์ในการวิตกเพื่อให้จิตสงบเพื่อการทำฌานสมาธิเสียแต่ฝ่ายเดียวเป็นส่วนใหญ่หรือทุกครั้งไปเนื่องด้วยอวิชชาด้วยความไม่รู้ จึงไม่ได้สนใจการเจริญวิปัสสนาให้เกิดนิพพิทา,ให้เกิดปัญญาเลย โดยปล่อยให้เลื่อนไหลหรือสติขาดไปอยู่แต่ในความสงบสุขสบายอันเกิดแต่ภวังค์ของฌานหรือสมาธิระดับประณีตแต่ฝ่ายเดียวหรือเสมอๆ เพราะฌานสมาธินั้นยังให้เกิดความสุข ความสงบ ความสบายอันเกิดขึ้นจากภวังค์ และการระงับไปของกิเลสในนิวรณ์ ๕ เป็นระยะเวลาหนึ่ง ตลอดจนนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นจากฌานสมาธิล้วนตื่นตาตื่นใจ อย่างเห็นได้ชัดและรวดเร็วเมื่อปฏิบัติได้ผลขึ้น จึงเกิดการติดเพลิน(นันทิ)โดยไม่รู้ตัว ในที่สุดความตั้งใจที่ฝึกสัมมาสติอันเป็นมรรคองค์ที่ ๗ จึงกลับกลายเป็นมิจฉาสติไปโดยไม่รู้ตัว จึงได้มิจฉาสมาธิร่วมไปโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย
หรือนิยมเข้าใจกันทั่วๆไปโดยนัยๆว่า ปฏิบัติสมถสมาธิ หรือปฏิบัติอานาปานสติ หรือปฏิบัติสติติดตามอริยาบถ ก็เพียงพอเป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ อันดีงามแล้ว และก็ทำอยู่แต่อย่างนั้นอย่างเดียวนั่นเอง เช่นนั่งแต่สมาธิแต่ขาดการเจริญวิปัสสนา, ดังนั้นการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ จึงควรดำเนินประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาหรือความเข้าใจตามความเป็นจริงอย่างถูกต้อง เพราะไม่เช่นนั้นก็ย่อมดำเนินและเป็นไปดังพุทธดำรัสที่ตรัสแสดงไว้ข้างต้น
สติปัฏฐาน ๔ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ, หรือข้อปฏิบัติที่ใช้สติเป็นประธานหรือหลัก ในการกำหนดระลึกรู้หรือพิจารณาสิ่งทั้งหลาย ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ)นั้นๆ โดยไม่ถูกครอบงําด้วยความยินดียินร้าย(ตัณหา)ที่ทําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงตามอํานาจของกิเลสตัณหา หรือกล่าวได้ว่าสติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งสติ จุดประสงค์เพื่อฝึกสติ และใช้สตินั้นพิจารณาและรู้เท่าทันใน กาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อให้เกิดนิพพิทาความ คลายกำหนัดความยึดความอยากจากการไปรู้ตามความเป็นจริงของสิ่งนั้นๆ จึงคลาย ตัณหา จึงเป็นไปเพื่อนําออกและละเสียซึ่งตัณหาแลอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น ในกิเลสด้วยความพึงพอใจหรือสุขของตัวของตนเป็นสำคัญ ที่มีในสันดานของปุถุชนอันก่อให้เกิดความทุกข์โดยตรงด้วยเป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์, พระองค์ท่านแบ่ง สติปัฏฐาน ๔ ออกเป็น ๔ หมวดใหญ่ด้วยกัน คือ
๑. กายานุปัสสนา การมีสติในกายเป็นอารมณ์ คือมีสติกําหนดพิจารณากาย ให้เห็นกายในกาย คือเห็นตามความเป็นจริงของกาย เช่น "เป็นเพียงการประชุมกันของเหตุปัจจัยอันมีธาตุ ๔ ดิน นํ้า ลม ไฟ" (อ่านรายละเอียดในไตรลักษณ์) หรือการเกิดแต่เหตุที่เป็นของสกปรกปฏิกูลโสโครกประกอบหรือเป็นปัจจัยกันขึ้น(ทวัตติงสาการ) หรือการพิจารณาส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อให้เกิดนิพพิทา อันล้วนเป็นไปการระงับหรือดับตัณหาแลอุปาทานโดยตรงทั้งสิ้น
ใน ขั้นแรกนั้น เป็นการฝึกให้มีสติเสียก่อน โดยฝึกดูลมหายใจที่หายใจเข้า ที่หายใจออก อย่างมีสติ, หรือการมีสติอยู่ในอิริยาบถของกาย แล้วใช้สตินั้นในการพิจารณากายในแบบต่างๆ ตลอดจนการเกิดดับต่างๆของกาย ฯลฯ. ล้วนเพื่อให้เกิดนิพพิทา เพื่อให้จิตลดละความยินดียินร้ายในกายแห่งตนแลบุคคลอื่นเมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงของกายนั้นว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จิตจะได้คลายความยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจหรือหลงใหลในกายแม้ตัวตนของตนหรือ บุคคลอื่น เป็นการตัดกำลังตัณหาแลอุปาทานโดยตรงทางหนึ่ง ซึ่งท่านแบ่งเป็น ๖ แบบ
๑.๑ อานาปานสติ ขอเน้นว่าจุดประสงค์อยู่ที่สติ โดยให้จิตคือสติกําหนดตามดูหรือรู้ตามลมหายใจเข้าออกแบบต่างๆ ตลอดจนสติสังเกตุเห็นอาการของลมหายใจ มีจุดประสงค์เพื่อฝึกให้มีสตและิเพื่อละความดำริพล่านคือฟุ้งซ่านเป็นสำคัญหรือเป็นธรรมเอก เหตุเพราะลมหายใจนั้นก็สามารถใช้เป็นอารมณ์หรือการวิตกใน การทำฌานหรือสมาธิได้ด้วย ข้อนี้จึงมักสับสนกันอยู่เนืองๆ จนก่อโทษ จึงทำสติต้องเป็นสติ สมาธิก็เป็นสมาธิ กล่าวคือเมื่อทำสติต้องเป็นสติ จึงเป็นสัมมาสติ เมื่อตั้งใจทำสมาธิแล้วเป็นสมาธิก็เป็นสัมมาสมาธิ แต่บางครั้งคราวในการปฏิบัติอาจมีการเลื่อนไหลเพราะสติขาดเกิดขึ้นบ้าง เป็นครั้งเป็นคราว เป็นเรื่องปกติธรรมดาไม่ต้องกังวล เนื่องจากบางครั้งฝึกสติก็จริงอยู่ แต่เกิดอาการขาดสติหรือสติอ่อนลงเป็นครั้งคราวบ้างจึงเลื่อนไหลไปเป็นฌาน หรือสมาธิแทน อย่างนี้ไม่เป็นไร (ดังแสดงจุดประสงค์ไว้อย่างชัดเจนเรื่องอานาปานสติในกายคตาสติสูตร), การตั้งกายตรง ก็เพื่อช่วยดำรงสติไว้ไม่ให้เลื่อนไหลไปง่วงหาวนอนได้ง่ายๆขณะปฏิบัติ
๑.๒ อิริยาบถ คือกําหนดสติให้ระลึกรู้ในอิริยาบถอาการต่างๆของกาย เช่น เดิน นอน ยืน นั่งฯลฯ. คือมีสติรู้ในอิริยาบทต่างๆนั่นเอง มีจุดประสงค์เช่นเดียวกับอานาปานสติคือเพื่อละความดำริพล่าน คือฟุ้งซ่านเป็นสำคัญหรือเป็นธรรมเอก ไม่ได้มีจุดประสงค์โดยตรงเพื่อใช้เป็นอารมณ์ในการทำสมาธิหรือฌาน (ดังแสดงจุดประสงค์ไว้อย่างชัดเจนเรื่องอิริยาบถในกายคตาสติสูตร)
ดังนั้นอานาปานสติจึงใช้ปฏิบัติเมื่อวิเวก ส่วนอิริยบถใช้โดยทั่วไปได้เนืองๆในการดำรงชีวิตประจำวัน
๑.๓ สัมปชัญญะ ความรู้ตัวคือปัญญาในการให้มีสติต่อเนื่องในการกระทําหรือการเคลื่อนไหว เช่นเดิน ดื่ม กิน ถ่าย วิ่ง ตื่น หลับ ฯลฯ. กล่าวคือมีสติอย่างรู้ตัวทั่วพร้อม สติระลึกรู้อย่างต่อเนื่องสลับสับเปลี่ยนอิริยาบทกันได้ ตามที่สติระลึกรู้ตามความเป็นจริง มีสติระลึกรู้ไม่เพ่งจนแน่วแน่เพื่อการเป็นสมาธิระดับสูงหรือประฌีตแต่อย่างใด ใช้แค่ขณิกสมาธิเป็น เบื้องต้นเท่านั้น เพราะต้องการฝึกสติเป็นหลัก ไม่ใช่สมาธิ สมาธิเป็นผลที่เกิดรองลงมาเท่านั้น ซึ่งอาจเลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิในระดับประณีตได้โดยธรรมหรือธรรมชาติอีกด้วย แต่ต้องไม่ใช่เจตนาฝึกสติแล้วไหลเลื่อนเป็นฌานสมาธิเสียทุกครั้งไป ดังเช่น การใช้การจงกรมไปในการเจริญสมาธิเป็นสำคัญก็มี กล่าวคือการใช้ท่าการเดินนั้นเป็นอารมณ์เพื่อเน้นให้เกิดความสงบจากฌานสมาธิเสียเป็นสำคัญแต่อย่างเดียว ไม่ได้สนใจสติหรือปัญญาเลย แล้วไปเข้าใจเอาว่า ความสงบนั้นถูกต้องดีงามแล้ว มีจุดประสงค์เช่นเดียวกัน คือเพื่อละความดำริพล่านคือฟุ้งซ่านเป็นสำคัญหรือเป็นธรรมเอก (ดังแสดงจุดประสงค์ไว้อย่างชัดเจนเรื่องสัมปชัญญะในกายคตาสติสูตร) หรือการรู้ตัวทั่วพร้อมในกิจหรืองานที่กระทำนั่นเอง
๑.๔ ปฏิกูลมนสิการ เมื่อมีสติในสิ่งดังกล่าวข้างต้น จิตย่อมไม่ดำริพล่านออก ไปปรุงแต่งฟุ้งซ่าน จึงใช้สติที่ฝึกมานั้นอันย่อมประกอบด้วยสมาธิจิตตั้งมั่นอยู่ในที เนื่องจากการละดำริพล่านลงไปเสีย จึงนำสติและจิตตั้งมั่นนั้นไปใช้พิจารณาส่วนต่างๆของร่างกายว่าล้วนเป็น สิ่งปฏิกูล ไม่สะอาด โสโครก ต้องเข้าใจว่ากายตน(เห็นกายในกายภายใน) และกายของบุคคลอื่น(เห็นกายในกายภายนอก)ต่างก็เป็นเฉกเช่นนี้ ล้วนเป็นไปเพื่อให้เกิดนิพพิทาเพื่อ ลดละความยึดมั่นพึงพอใจหลงไหลในกายตนและในกายบุคคลอื่นลง เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริงว่าล้วนแล้วแต่เป็นของปฏิกูลโสโครก เพื่อคลายความหลงใหลรักใคร่ยึดมั่นมันลงไป จึงคลายกำหนัด ดังมีกล่าวแสดงรายละเอียดไว้ในกายคตาสติสูตร หรือดังภาพที่แสดงในทวัตติงสาการ
๑.๕ ธาตุมนสิการ พิจารณา ให้เห็นตามความเป็นจริงของกายนี้ว่า เป็นเพียงก้อนหรือมวลหรือฆนะของธาตุทั้ง ๔ อันล้วนไม่งาม ไม่สะอาด มาประชุมกันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกายนี้ชั่วขณะระยะหนึ่ง ทั้งกายตนเองและบุคคลอื่นเช่นกัน ดังที่ได้กล่าวไว้ ๒ ลักษณะในการพิจารณาในไตรลักษณ์ และกายคตาสติสูตรโดยละเอียด
๑.๖ นวสีวถิกา คือพิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ เป็นระยะๆ ๙ แบบหรือระยะ จนผุพังเน่าเปื่อยไปในที่สุด และต้องเข้าใจว่ากายตนแลผู้อื่นต่างก็ล้วนต้องเป็นเฉกเช่นนี้ ไม่เป็นอื่นไปได้(ภาพอสุภะ)
ในทางปฏิบัติของ เห็นกายในกาย คือมีสติระลึกรู้อยู่เนืองๆว่า สักแต่ว่ากายตามที่ได้พิจารณาเข้าใจ เพื่อให้บังเกิดนิพพิทาญาณ จึงดับตัณหา
อนึ่งพึงระลึกรู้ด้วยว่า การมีสติอยู่กับกาย เป็นเพียงการระลึกรู้เท่าทันกาย ทั้งทางด้านปัญญาด้วยเช่นว่าไม่งามเป็นปฏิกูลเพื่อความนิพพิทา แต่ถ้าแน่วแน่แต่อย่างเดียวขาดสติการระลึกรู้ก็กลับกลายเป็นสมถสมาธิไปได้โดยไม่รู้ตัว (หมายความว่า มีความตั้งใจฝึกสติ แต่ไปทำสมาธิเสียโดยไม่รู้ตัว)
๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน สติกําหนดพิจารณาเวทนาหรือการเสพรสอารมณ์ที่บังเกิดขึ้นเป็นธรรมดาจาการกระทบคือผัสสะ ให้เห็นเวทนาในเวทนา คือ เห็นตามความเป็นจริงของเวทนาว่า "เวทนาเป็นสักแต่ว่าเป็นการรับรู้ การเสพรสอารมณ์ที่มากระทบสัมผัสทั้งทางใจและกายคือในรูป,เสียง,กลิ่น,รส, สัมผัส,ธรรมารมณ์ เป็นขบวนการธรรมชาติหรือสภาวธรรมแท้อันยิ่งใหญ่ที่มีในมนุษย์ทุกผู้นาม เป็นเพียงขบวนการรับรู้ในขั้นแรกๆที่เอาข้อมูลมาจากสัญญา(ความจํา)อดีตหรืออาสวะกิเลส ยังไม่ใช่ความทุกข์จริงๆ พิจารณาให้เห็นว่าเมื่อมีการผัสสะย่อม เกิดเวทนาอันมี สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุข(ไม่สุขไม่ทุกข์)อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดาทุก ครั้งไป ซึ่งเป็นเวทนาปกติหรือเป็นไปโดยธรรมหรือธรรมชาติ หลีกเลี่ยงหลบหนีไม่ให้เกิดไม่ให้เป็นไม่ได้ เป็นหลักธรรมชาติธรรมดาๆแต่สูงสุด จิตจะได้คลายความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาหรือการเสพรสอารมณ์ ที่บังเกิดนั้นๆ จึงไม่เกิดตัณหาขึ้น จึงเป็นเพียงสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาตามธรรมหรือธรรมชาติแต่ย่อมไม่เร่าร้อนเผาลนดังเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน(เวทนูปาทาน) ดังพุทธพจน์ที่แสดงไว้ให้เข้าใจและรู้เท่าทันในเวทนาดังนี้
เมื่อเป็นสุขเวทนาก็ให้รู้ว่าเป็นสุขเวทนา เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี
เมื่อเป็นทุกขเวทนาก็ให้รู้ว่าเป็นทุกขเวทนา เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี
เมื่อเป็นอทุกขมสุขก็ให้รู้ว่าเป็นอทุกขมสุข เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี
เมื่อเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอทุกขมสุข ชนิดมีอามิส(เครื่องล่อใจ-เจือกิเลส)ก็รู้ว่ามี เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี
เมื่อเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอทุกขมสุข ชนิดไม่มีอามิส ก็รู้ว่ามี เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี
เวทนา เป็นเพียงสักแต่ว่าเวทนาคือความรู้สึกที่เกิดขึ้นและจำต้องรับรู้ ที่แท้จริงก็แค่ความรู้สึกที่ต้องเกิดขึ้นจากการกระทบจึงไม่ควรไปยึด มั่น เกิดขึ้นและเป็นไปตามธรรมหรือสภาวธรรมหรือธรรมชาติจริงๆ ตามเหตุปัจจัยอันมาปรุงแต่ง หรือมาผัสสะ จึงเกิดๆดับๆ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่มีตัวไม่มีตนแท้จริง จึงไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราอย่างแท้จริงอีกด้วย เห็นเวทนาทั้งในเวทนาตนเอง(เห็นเวทนาในเวทนาภายใน จึงไม่ใช่อาการของจิตส่งในแต่อย่างใดด้วยเข้าใจผิด) และผู้อื่น(เห็นเวทนาในเวทนาภายนอก จึงไม่ใช่อาการจิตส่งออกนอกไปฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งแต่อย่างใด)
ในทางปฏิบัติของ เห็นเวทนาในเวทนา คือมีสติรู้อยู่เนืองๆว่าเวทนาสักแต่ว่าเวทนา อันย่อมต้องเกิดความรู้สึกจากการรับรู้ในอารมณ์ที่ผัสสะกันเป็นธรรมดาโดยธรรมชาติหรือตถตา จึงไม่ไม่ยึดมั่นหมายมั่นในเวทนาเหล่าใดเหล่านั้น ด้วยการอุเบกขาไม่เอนเอียงไปนึกคิดปรุงแต่งคือฟุ้งซ่านอันยังให้เกิดเวทนาขึ้นอีก อันจักเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหา อัน ทําให้เกิดทุกข์ อันเป็นไปตามปฏิจจสมุปบาทธรรม กล่าวคือไม่ต่อล้อต่อเถียงกับจิต อันเป็นการเปิดโอกาสให้จิต หลอกล่อไปปรุงแต่งต่างๆนาๆให้เกิดเวทนาๆต่างๆนาๆ อันอาจเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์อุปาทานโดยไม่รู้ตัวด้วยความไม่รู้คืออวิชชา
(พระอภิธรรม แสดงความหมายของเวทนาภายใน ที่มิได้หมายถึงอาการจิตส่งใน และแสดงเวทนาภายนอก)
๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน คือการเห็นจิตในจิต หรือสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาจิต (จิตตสังขารหรือมโนสังขารเช่นความคิด,ความนึก คือธรรมารมณ์ต่างๆ) รวมทั้งอาการของจิตหรือกริยาของจิต(เจตสิก) เช่นราคะ, โทสะ,โมหะ, ฟุ้งซ่าน ฯ. ที่เกิดเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ คือ มีสติรู้จิตตสังขารตามสภาพเป็นจริงที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ(เห็นจิตในจิต)เช่น จิตมีราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตมี, จิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะก็รู้ว่าปราศจากราคะ โทสะ โมหะ, จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่าหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน ทั้งของตนเองและของบุคคลอื่น อันเพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ และเห็นการเกิดๆดับๆว่าเป็นไปตามธรรมคือสภาวธรรมหรือธรรมชาติ ล้วนไม่เที่ยงของจิตตสังขารดังกล่าว เห็นจิตในจิต หรือ จิตเห็นจิต ถ้าเข้าใจขันธ์ ๕ จักเข้าใจได้ว่าหมายถึงการมีสติเห็นจิตตสังขารที่ บังเกิดขึ้น(จิตสังขารหรือมโนสังขารหรือความคิดในขันธ์๕นั่นเอง ล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน) อันมีตามที่ท่านตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรดังนี้ คือมี
จิตมีราคะ เป็นเจตสิก คืออาการของจิตที่ประกอบด้วยราคะ กล่าวคือกลุ่มของความคิดฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่ง ที่ประกอบด้วยความกำหนัดความปรารถนาในกามทั้ง๕ นั่นเอง
จิตมีโทสะ เป็นเจตสิก คืออาการของจิตที่ประกอบด้วยโทสะ กล่าวคือกลุ่มของความคิดนึกหรือฟุ้งซ่านที่ประกอบด้วยความโกรธความขุ่นเคือง นั่นเอง
จิตมีโมหะ เป็นเจตสิก คืออาการของจิตที่ประกอบด้วยโมหะความหลง หรือกลุ่มของความคิดนึกหรือฟุ้งซ่านที่ประกอบด้วยความไม่รู้จริง นั่นเอง
จิตหดหู่ ก็เป็นเจตสิกในข้อที่ ๒๕ ในเจตสิก ๕๒ เป็นกลุ่มอาการของความคิดนึกหรือฟุ้งซ่านปรุงแต่งที่ทำให้เกิดความหดหู่ใจ ใจหดห่อ แห้งเหี่ยวใจ
จิตฟุ้งซ่าน เป็นอาการของจิตอย่างหนึ่ง ที่เรียกอุทธัจจะในข้อที่ ๑๗ ในเจตสิก ๕๒ เป็นอาการของจิตที่ฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งไปในสิ่งหรือเรื่องต่างๆ
จิตเป็นฌานหรือมหรคต จิตเป็นฌาณ, จิตอยู่ในกำลังฌาน, จิตประกอบด้วยกำลังของฌานอยู่
จิตเป็นสมาธิ จิตมีความตั้งใจมั่นในสิ่งใดอยู่
จิตมีสิ่งอื่นยิ่งกว่า หมายถึงอาการของจิตเป็นเอกหรือเป็นใหญ่อยู่ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่ เช่นจิตเป็นเอกอยู่กับการคำบริกรรมพุทโธ หรือจิตเป็นเอกอยู่ในกิจหรืองานใดๆ, หรือจิตเป็นเอกในธรรมที่เป็นเครื่องอยู่เครื่องพิจารณา, หรือจิตหมกมุ่นจดใจจ่อในสิ่งใดอยู่
จิตวิมุตติหรือจิตหลุดพ้น หมายถึงอาการที่จิตหลุดพ้นจากกิเลสหรือเจตสิกต่างๆดังที่กล่าว
กล่าวคือ ล้วนมีสติระลึกรู้เท่าทัน กล่าวคือมีสติระลึกรู้ "จิตหรืออาการของจิตคือเจตสิกที่บังเกิดขึ้น ณ ขณะจิตนั้นๆ"
อนึ่งอาการของจิตทั้งหลายหรือเจตสิก ดังเช่น ราคะ โทสะ โมหะ จิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ. นั้นมันไม่มีอาการเป็นรูปธรรมแท้จริง แต่มันอาศัยแฝงอยู่กับสังขารขันธ์คือการกระทำต่างๆนั่นเอง ดังเช่น ความคิด(มโนสังขาร)ที่ประกอบด้วยราคะ, การทำร้ายผู้อื่นทางกาย(กายสังขาร)ที่ประกอบด้วยโทสะ, การคิดด่าทอ,ต่อว่า(วจีสังขาร)ที่ประกอบด้วยโมหะคืออาการหลงไปปรุงจนเกิดทุกข์ที่ประกอบด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริง เช่นคิดหรือธรรมารมณ์กระทบใจแล้วจะให้รู้สึกเฉยๆ, การเกี้ยวพาราสีทั้งด้วยคำพูดทั้งกริยาท่าทางที่ประกอบด้วยราคะ, จิตคิดฟุ้งซ่านหรือคิดวนเวียนไม่หยุดหย่อนในเรื่องไร้แก่นสาร เช่นคิดไปในอดีต อนาคต ก็คือความคิดที่ประกอบด้วยจิตฟุ้งซ่านนั่นเอง
ใช้วิธีมีสติรู้เท่าทันเวทนาและจิต เป็นหลักปฏิบัติประจําเมื่อปฏิบัติจนชํานาญแล้ว และเห็นเวทนาในเวทนา(เวทนานุปัสสนา) เข้าใจถึงใจ และเข้าใจปฏิจจสมุปบาทดีแล้ว จิตจักรู้สภาพจิตสังขารหรืออาการของจิต(เจตสิก)ที่เกิดขึ้น คือ เห็น ตัณหา ราคะ โมหะ โทสะ ชัดเจนขึ้น เมื่อจิตเห็นจิต หรือเห็นจิตในจิต เช่นนี้เรื่อยๆ จิตจะเห็นความคิดอารมณ์ที่ เกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอดเวลาว่าเป็นสภาวธรรมอันไม่เที่ยง ไม่มีแก่นแกนหรือแก่นสาร และก่อให้เกิดทุกข์อย่างชัดแจ้ง อันทําให้รู้เห็นตามความเป็นจริงในสภาวธรรม จิตจักได้คลายความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาและจิตที่ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้จึงเป็นทุกข์ และอนัตตา อันก่อให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ เห็นความคิด(จิตหรือจิตตสังขารนั่นเอง) และการเสวยอารมณ์ต่างๆ(เวทนา) ว่าเป็นไปตามไตรลักษณ์ ดังนั้นเมื่อไปอยากด้วยตัณหาจึงย่อมเกิดการยึดด้วยอุปาทานเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง ดังนั้นเมื่อไปอยากหรือไปยึดไว้ด้วยเหตุผลกลใดก็ดี เมื่อมีการแปรปรวนด้วยอนิจจังหรือดับไปด้วยทุกขังเพราะสภาวธรรมจึงไม่เป็นไปตามปรารถนาจึงเป็นทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อนเผาลนขึ้นนั่นเอง
ในทางปฏิบัติของการ เห็นจิตในจิต คือสติเห็นจิตสังขาร(เช่นความคิด)ที่เกิดขึ้นว่า สักแต่ว่าจิตสังขารตามที่พิจารณาอยู่เนืองๆ แล้วอุเบกขาไม่เอนเอียงไปแทรกแซงด้วยถ้อยคิดปรุงแต่ง หรือกริยาจิตใดๆ ดังการคิดเรื่อยเปื่อยหรือฟุ้งซ่านจึงย่อมยังให้เกิดเวทนาอื่นๆที่อาจเป็นปัจจัยจึงมีตัณหาเกิดขึ้น จึงทําให้เกิดทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อน
(จิตตานุปัสสนานิเทส แสดงความหมายของจิตภายใน ที่มิได้หมายถึงจิตส่งใน และจิตภายนอก)
๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน สติกําหนดพิจารณาธรรม(สิ่งต่างๆ)ที่บังเกิดแก่ใจเป็นอารมณ์ทั้งที่เป็นกุศลหรืออกุศล ก็เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติและเครื่องระลึกรู้เพื่อให้เกิดปัญญาเป็นสำคัญหรือเป็นวัตถุประสงค์ ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแนะในมหาสติปัฏฐานสูตรให้พิจารณา เป็นอาทิ เช่น
๔.๑ นิวรณ์ ๕ เช่น ข้อพยาบาทให้พิจารณาว่า
มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า มีอยู่ ณ ภายในจิต
ไม่มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
เป็นเช่นนี้ทุกข้อใน กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
๔.๒ อุปาทานขันธ์๕
๔.๓ อายตนะภายใน และนอก
๔.๔ โพชฌงค์ ๗
๔.๕ อริยสัจ ๔ และมรรคองค์ ๘
การพิจารณาธรรมต่างๆเหล่านี้ในจิต เป็นธัมมวิจยะ(การพิจารณาธรรม)เพื่อเป็นเครื่องรู้, ระลึกเตือนสติเป็น แนวทาง ให้เกิดปัญญาไม่ไปยึดมั่นถือมั่นเช่นกัน เพราะธรรมทั้งหลายเหล่านี้จัดเป็นสังขารในไตรลักษณ์ คือเกิดแต่เหตุปัจจัยเช่นกัน เมื่อเหตุปัจจัยของสังขารธรรมเหล่านี้แปรปรวนหรือดับ สังขารธรรมนี้ก็เช่นกัน อีกทั้งเมื่อเรารู้ระลึกธรรมทั้งหลายก็เกิดขึ้น เมื่อเราหยุดรู้ระลึกธรรมทั้งหลายก็ดับลงเช่นกัน เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ แม้จักเป็นจริงตามธรรมชาติเช่นนี้ตลอดกาล แต่เหตุปัจจัยได้แปรปรวนและดับเสียแล้วเช่นกัน
ในทางปฏิบัติของ เห็นธรรมในธรรม คือเห็นธรรมหรือสิ่งทั้งหลายที่บังเกิดแก่จิต หรือมีสติเห็นธรรมว่า สักแต่ว่าธรรม เป็นเครื่องเตือนสติ และระลึกรู้เพื่อให้เกิดปัญญาญาณนั่นเอง คือมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทุกข์และการดับไปของทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง
สติปัฏฐาน๔ นั้นมีจุดประสงค์อยู่ที่ฝึกสติ และ ใช้สติพิจารณาสรุปให้เข้าใจโดยถ่องแท้เพื่อให้เกิดสัมมาญาณ(ปัญญาญาณ)ว่า ธรรมทั้งหลายอันมี กาย เวทนา จิต ธรรม มีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้ อาศัยระลึกเตือนสติเตือนใจไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจ(หมายถึงอุปาทาน) ใดๆในโลก อีกทั้งมีพุทธประสงค์ให้ปฏิบัติในชีวิตประจําวันขนาดกล่าวได้ว่าแทบทุกลม หายใจ กล่าวคือเมื่อจิตหรือสติวนเวียนพิจารณาอยู่ในธรรมแล้ว จิตย่อมหยุดส่งจิตออกนอกไปนึกคิดปรุงแต่งต่างๆอันก่อให้เกิดทุกข์ ขณะจิตนั้นเองจิตย่อมเกิดกําลังแห่งจิตขึ้นเนื่องจากสภาวะปลอดทุกข์ขึ้นทีละ เล็กทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว อันยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมนั้นทีละเล็กทีละน้อยสะสมขึ้นเช่นกัน จนในที่สุดจักเกิดสภาวะ อ๋อ มันเป็นเช่นนั้นเอง หรือธรรมสามัคคีนั่นเอง เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมนั้นอย่างแท้จริง
สติ ปัฏฐาน๔ มีเจตนาต้องการให้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ ไม่ใช่แต่ กาย เวทนา จิต ธรรม เท่านั้น เพียงแต่ธรรม ๔ ข้อนี้เป็นหลักสําคัญในการดับหรือลดละตัณหาและความยึดมั่นถือมั่นในความพึง พอใจของตนหรืออุปาทาน อันก่อให้เกิด "อุปาทานขันธ์ ๕"อันเป็นทุกข์
ถ้านั่งปฏิบัติในรูปแแบบ ให้มีสติอย่าปล่อยให้เลื่อนไหล ผ่อนคลายกายและใจ เมื่อเริ่มต้นใช้สติดูลมหายใจ ก็จะเกิดอาการต่างๆทางวิปัสสนามาให้เห็น แต่นักปฏิบัติมักจะไม่ชอบ คิดว่าผิด อันไปคิดกันว่าไม่ดี ไม่ถูก จิตไม่สงบ เพราะไม่รู้จึงไม่แยกแยะว่านี่เป็นการฝึกสติ ไม่ใช่ฝึกสมาธิ ไม่ได้ลิ้มรสของสมาธิหรือฌานตามที่เข้าใจหรือเคยประสบ, โดยธรรมชาติของจิตนั้น จิตจะส่งออกไปเห็นนั่น เห็นนี่ คิดนั่น คิดนี่ เป็นปกติธรรมดาตามสภาวะธรรมชาติ เพียงให้มีสติรู้ว่านั่นแหละจิตสังขารหรือความคิดความนึกหรือสังขารในปฏิจจสมุปบาท อันจัดเป็นคุณอย่างยิ่ง อันจักพอแยกออกไปได้ ๒ ลักษณะ คือ
รูปนิมิต หรือเห็นเป็นภาพหรือรูปขึ้นในจิต ในบางขณะเมื่อเผลอตัวจิตจักส่งออกไปซัดส่ายปรุงแต่งเป็นภาพต่างๆนาๆผุดขึ้นมาอันคือสังขารในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง จิตเมื่อเผลอย่อมส่งออกไปสักระยะจนอิ่มตัว หรือมีสติรู้สึกตัวก็ให้ละเสีย เป็นเรื่องธรรมชาติอันต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
นามนิมิต หรือเป็นความคิดนึกต่างๆนาๆที่ผุดขึ้นมาแทนที่ภาพนั่นเอง เป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาทเช่นกัน อาการก็จักเหมือนรูปนิมิต ที่จิตเผลอส่งออกไปคิดปรุงแต่งเมื่อขาดสติเป็นธรรมดา เมื่อจิตส่งออกไปสักพักไปปรุงแต่งจนเกิดทุกข์หรือฟุ้งซ่านจนอิ่มตัวหรือมีสติรู้ตัว ก็ให้ละเสีย แต่ให้รู้ให้เข้าใจด้วยว่าเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์เยี่ยงไรจากความคิดนึกหรือสังขารที่สั่งสมที่เกิดขึ้นมานั้น เช่นเห็นเวทนาที่เกิดขึ้น หรือเห็นจิตเช่นความโลภ โกรธ หลง ฯลฯ. เห็นอันใดก็ปฏิบัติอันนั้น ให้รู้ว่าเหตุเกิดจากเวทนานั้นๆหรือจิตคิดนั้นๆ แล้วดับลงเพราะสติ? จิตมีทุกข์ไหม? ห้ามไปคิดเรื่องทุกข์นั้นให้คิดแต่เรื่องเหตุที่เกิด เมื่อเข้าใจแล้วต้องละ(ละในภาษาธรรมหมายถึงมีสติรู้เข้าใจแล้ววางเสีย)คือถืออุเบกขาเป็นกลางไม่ปรุงแต่งเอนเอียงไปทั้งในด้านดีหรือด้านร้าย อันเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างยิ่งยวดในการปฏิบัติ เพราะจิตเมื่อเห็นเวทนาและโทษจากจิตคิดนึกปรุงแต่งหรือสังขารที่สั่งสมไว้บ่อยๆ จิตจะได้เกิดความเข้าใจหรือปัญญาขึ้นว่าสิ่งเหล่านี้เองที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์ และที่สําคัญคือเป็นอุบายวิธีในการฝึกสติให้เป็นอุเบกขาหยุดการปรุงแต่ง, อันอุเบกขานี้เป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่ง มิสามารถเกิดขึ้นเอง จึงต้องหมั่นฝึกอบรมปฏิบัติให้เป็นสังขารที่สั่งสมใหม่อันมิได้เกิดแต่อวิชชา อันมีคุณอย่างยิ่งยวดในการดับทุกข์ และเป็นองค์ธรรมข้อสุดท้ายในโพชฌงค์๗ ธรรมอันเป็นเครื่องตรัสรู้
เมื่อ เกิดความคิดหรือจิตที่ประกอบด้วยอาการโลภ โกรธ หลง หดหู่ สมาธิ ฌาน ฯ. ก็ให้มีสติรู้ตามความเป็นจริง อย่าไปกดข่ม แค่ต้องรับรู้ตามจริง มีอาการต่างๆย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แต่ข้อสําคัญคือวางอุเบกขาเป็นกลาง เป็นกลางอย่างไร? เป็นกลางโดยการวางทีเฉยดูไม่ไปนึกคิดปรุงแต่งเอนเอียงไปในทางใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะดี หรือชั่ว, เราถูก หรือเขาผิด, สังเกตุอาการที่เกิดขึ้นให้รู้คุณและโทษของจิตที่คิดปรุงแต่งนั้น จึงจักเป็นการปฏิบัติจิตตานุปัสสนาที่ถูกต้อง, หรือเมื่อปวดเมื่อยหรือรับรู้ความรู้สึกใดๆที่กระทบทางกายหรือใจ ก็ให้รู้ว่านั่นแหละเวทนา ให้มีสติรู้ว่าเป็นความรู้สึกรับรู้ต่อกายหรือใจเยี่ยงไร มีกิเลสแฝงด้วยไหม แล้วอุเบกขาเป็นกลางวางเฉยไม่คิดปรุงแต่งเอนเอียงไปในด้านใด รู้สึกอย่างไรก็รู้สึกอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าอาการนั้นๆต้องหายไป แต่ต้องไม่ใส่ใจวางใจเป็นอุเบกขาไม่ปรุงแต่ง อันเป็นการปฏิบัติเวทนานุปัสสนา, หรือธรรมใดบังเกิดต่อจิตหรือหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ก็ให้พิจารณาธรรมนั้นๆเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมอันมีกําลังของ สติที่ไม่ซัดส่ายมีกําลัง เป็นเครื่องช่วย อันเป็นการปฏิบัติธรรมานุปัสสนา อันจักยังให้เกิดปัญญาจากธรรมนั้นๆ, หรือใช้สตินั้นไปพิจารณากายว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย สักแต่ว่าธาตุ๔มาประชุมกันชั่วระยะหนึ่ง หรืออันล้วนแต่เป็นสิ่งปฏิกูล ฯ. เป็นการคลายลดละความยึดถือยึดมั่นในกายแห่งตน อันเป็นการปฏิบัติแบบกายานุปัสสนา
ข้อสังเกตุของผู้เขียนและความคิดเห็น ในหมวดธรรมานุปัสสนา มีกล่าวถึงสมาธิหรือองค์ฌานไว้ในหมวดของมรรค๘ ว่าเป็นสัมมาสมาธิหรือหมายถึงสมาธิที่ถูกต้อง ที่ถูกที่ควร, ถูกต้องจริงแต่หมายถึงในแง่สมาธิหรือแง่หมวดธรรมมานุปัสสนาเท่านั้น อันไว้เป็นกําลังแห่งจิตหรือพักผ่อนกายและจิต, ไม่ใช่ในแง่การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔อันเป็นการใช้สติปฏิบัติวิปัสสนาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริงแห่งธรรม, จึงมีผู้สับสนเป็นจํานวนมากที่เข้าใจว่าปฏิบัติสมาธิหรือฌานอันบางท่านใช้ลมหายใจเป็นอุบายวิธีเช่นกันกับสติปฏัฐาน๔ จึงเกิดการสับสนในการปฏิบัติเข้าใจว่าเป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน๔, แม้แต่เกิดองค์ฌานตามพระสูตรอันเป็นสัมมาสมาธิในแง่สมาธิแล้วก็ตาม ก็ต้องไม่ไปยึดติดยึดมั่นหรือมีตัณหาในองค์ฌาน ปีติ สุข อุเบกขา นั้นด้วยจึงจะถูกต้อง มิฉนั้นก็จะเกิดวิปัสสนูปกิเลส อันยังผลร้ายแก่นักปฏิบัติ
สติปัฏฐาน๔ นี้เป็นการฝึกสติ และใช้สติ เราสามารถปฏิบัติได้ในทุกขณะและอริยาบถ โดยไม่จําเป็นต้องปฏิบัติแบบการนั่งสมาธิเต็มรูปแบบ สามารถทําได้ในขณะจิตตื่นสบายๆไม่เครียดหรือหงุดหงิด ก็นํามาคิด ตริตรอง ใช้ปัญญาพิจารณา สังเกตุเห็นเวทนาหรือจิตได้ในทุกอิริยาบถ ซึ่งวิปัสสนาใช้สมาธิระดับขณิกกะสมาธิ(แค่ไม่วอกแวก,อยู่กับกิจหรืองานที่ ทํา) หรือเกือบเป็นอุปจารสมาธิเท่านั้นเช่น เมื่อพิจารณาจนเกิดปัญญาหรือเข้าใจในเวทนาหรือจิตจริงๆ เราจะเข้าใจในธรรมนั้นๆ เช่นเวทนานุปัสสนา โดยจะไม่ไปยึดมั่นพึงพอใจในเวทนามากเหมือนในอดีตอีก เนื่องจากรู้ว่าเป็นกระบวนการทางธรรม(ชาติ)ไม่สามารถไปหยุดไปห้ามได้และเป็น ไตรลักษณ์ เหมือนกับห้ามหายใจไม่ได้ฉันใดก็ห้ามเวทนาไม่ได้ฉันนั้น และไม่ใช่ความทุกข์ตัวจริง
ดับ ความยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน)ได้ก็คือดับอุปาทานในปฏิจจสมุปบาทได้ ผลก็คือไม่มีความทุกข์อันเกิดจาก "อุปาทานขันธ์๕ "ซึ่งเป็นไปตามกฏอิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้ดับ ผลนี้ก็ดับดังบทสรุปในมหาสติปฏิปัฏฐาน ๔ทุกบท ของกาย, เวทนา, จิต, ธรรม ตลอดจนบทย่อยทุกๆบท แสดงถึงพุทธประสงค์ของพระพุทธองค์ ในการปฏิบัติไว้เด่นชัด รวมถึง ๒๑ ครั้ง คือ ดั่งนี้
ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ภายในบ้าง(เปลี่ยนเวทนาเป็น กาย จิต ธรรม และบทย่อยๆ)
พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็น ธรรมคือ ความเกิดในเวทนาบ้าง(เห็นธรรมคือเห็นธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ)
พิจารณาเห็น ธรรมคือ ความเสื่อมในเวทนาบ้าง(ดับไป)
พิจารณาเห็น ธรรมคือ ทั้งความเกิด ทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง ย่อมมีอยู่
อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้, เครื่องรู้
เพียงสักแต่ว่า เป็นที่อาศัยระลึกเท่านั้น(หมายถึงอาศัยเป็นเครื่องรู้ระลึกและพิจารณาเป็นเครื่องเตือนสติและก่อปัญญา)
เธอเป็นผู้ซึ่งตัณหาและทิฐิ ไม่ติดอยู่ด้วย และไม่ยึดถือ(หมายถึงไม่ยึดติด,ไม่ยึดมั่นถือมั่นคือเป็นอุปาทาน) อะไรๆในโลกด้วย อย่างนี้แล ชื่อว่าพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่
(เป็นเช่นนี้ในตอนท้ายของ กาย เวทนา จิต ธรรม และบทย่อยๆทั้งหลาย เน้นย้ำเหมือนกันทุกประการถึง ๒๑ ครั้ง)
เวทนา ในเวทนา หมายถึง เข้าใจในเวทนาจริงๆอย่างถูกต้อง เห็นเวทนาตามความเป็นจริงไม่ถูกครอบงําโดยกิเลส หรือทิฎฐุปาทาน(ยึดมั่นในความเชื่อของตนเองอย่างผิดๆ) เห็นว่าสักแต่เพียงกระบวนการทางธรรม(ชาติ)เป็นปกติอย่างนี้ตลอดกาล เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่ไปยึดมั่นหรือถือมั่นให้เป็นอุปาทานในเวทนาหรือการเสพรสความรู้สึกรับรู้ในอารมณ์ที่บังเกิดขึ้นนั้น
เวทนาภายใน หมายถึงเวทนาของตนเอง
เวทนาภายนอกหมายถึงเวทนาของบุคคลอื่น
ตลอดจนในบทสรุปของ "มหาสติปัฏฐานสูตร"อันต่อจากบทธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้ชัดแจ้งเช่นกันถึงการบรรลุพระอรหัตตผล กล่าวคือถ้ายังมีอุปาทิ(สภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น)อันคืออุปาทานยังไม่สิ้นหมด ยังคงมีเหลืออยู่บ้างก็จักได้เป็นพระอนาคามี ดังความในพระสูตรต่อไปนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้
อย่างนั้น ตลอดเนืองๆ ๗ ปี
ผู้นั้นพึงหวังผล ๒ ประการ อันใดอันหนึ่ง
คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ จักเป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปียกไว้ .......................
(เหมือน เดิมทุกประการ เพียงเปลี่ยนเป็น ๖ ปี, ๕ ปี, ๔ปี.....๑ ปี, ๗ เดือน, ๖ เดือน...๑ เดือน, กึ่งเดือน, และสุดท้ายที่๗ วัน เป็นเช่นเดียวกันทุกประการ ถึง ๑๖ ครั้ง)
ดังนั้นจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของสติปัฏฐาน ๔ ก็คือการใช้สติเพื่อดับตัณหาอุปาทานนั่นเอง ซึ่งก็จักบังเกิดผลดั่งพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า
ผู้ไม่มีอุปาทานย่อมบรรลุพระนิพพาน
(เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓)
ผู้ที่ปฏิบัติโดยยึดหลัก"มหาสติปัฏฐาน๔" ควรสํารวจการปฏิบัติของเราด้วยว่าเราปฏิบัติเพื่อฝึกสติและใช้สติเพื่อลดละความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในตัวตน,ของตัวตนของตนหรือ อุปาทานในกาย เวทนา จิต ธรรม ของเราเองถูกต้องดังพุทธประสงค์หรือไม่? หรือเรากําลังปฏิบัติโดยไม่ทราบจุดมุ่งหมายพระพุทธประสงค์ หรือกําลังปฏิบัติสมาธิอยู่?
การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ อย่างถูกต้อง
การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ในขั้นต้นนั้น ต้องใช้สมาธิเป็นบาทฐานในการปฏิบัติ เป็นการฝึกสมาธิและสติในขั้นแรกอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดสมาธิที่ หมายถึงความตั้งใจมั่น แล้วน้อมจิตที่สงบตั้งมั่นดีแล้วอันย่อมมีกำลังแล้วนั้นไปพิจารณาสังเกตุ ศึกษาให้เห็นธรรม(สิ่ง)ต่างๆตามความเป็นจริงให้ชัดเจนขึ้น เช่นเห็นกาย และดำเนินก้าวต่อไปโดยการสังเกตุให้เห็นให้รู้เข้าใจเวทนา และจิตสังขารต่างๆที่เกิดขึ้น ตลอดจนใช้พิจารณาธรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดภูมิรู้ภูมิญาณเข้าใจในสภาวะธรรมต่างๆอย่างปรมัตถ์ถูกต้อง เมื่อปฏิบัติดังกล่าวดีแล้วก็ต้องนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันจึงจักถูกต้องและบังเกิดผลสูงสุดขึ้นได้
การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ในสมาธิในเบื้องต้นนั้น หาที่สงัด ตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่นนั้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้เกิดจิตเกิดความตั้งใจมั่นระดับเบื้องต้นก่อน คือ ไม่เลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิระดับประณีตจนปฏิบัติไม่ได้ หรือลงภวังค์ หรือหลับไปอย่างง่ายๆ เพื่อจะได้ปฏิบัติให้เกิดสติและสัมมาสมาธิ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาทำความเข้าใจใน กาย เวทนา จิต และธรรมอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง(ปรมัตถ์) ก็เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติจริงๆอีกครั้งในขณะดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เฉพาะในการปฏิบัติในรูปแบบแผนเท่านั้น คือ ต้องนำไปฝึกฝนอบรมอีกครั้งหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันจนเป็นมหาสติ หรือเป็นดังเช่นสังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท)แต่มิได้เกิดแต่อวิชชา, กล่าวคือเมื่อปฏิบัติโดยถูกต้องและประจำสมํ่าเสมอ จิตจะเริ่มกระทำตามสังขารที่ได้สั่งสมอบรมไว้เองโดยอัติโนมัติในชีวิตประจำวัน นั่นแหละมหาสติหรือสังขารธรรมอันถูกต้อง เป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุดในการปฏิบัติสติปัฏฐาน๔
การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
ขณะดำเนินชีวิตประจำวันนั้น จะมีสิ่งต่างๆมากระทบผัสสะตลอดเวลา เมื่อธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)ใดมากระทบและรู้เท่าทัน ก็ให้ปฏิบัติธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)นั้น เพราะธรรมหรือสิ่งที่มาผัสสะนั้นมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ตลอดจนจริตของนักปฏิบัติเอง จึงมีความชำนาญชํ่าชองในการเห็นการรู้ในธรรมทั้ง ๔ ที่ย่อมแตกต่างกันออกไปตามจริตและสังขารที่ได้สั่งสมไว้นั่นเอง และธรรมทั้ง ๔ นั้นเมื่อเห็นและรู้เท่าทัน ต่างก็ล้วนมีคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น ดังนั้นในการดำรงชีวิตประจำวันแล้วมีสติเห็นในธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)ใดก่อนก็ได้ เพราะย่อมเกิดคุณดังนี้
รู้เท่าทันกาย เพื่อทำให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในกายอันเป็น ที่รักยิ่งโดยไม่รู้ตัว เมื่อรู้ตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ ว่าล้วนสักแต่ธาตุ๔ หรือสิ่งปฏิกูล ล้วนต้องเน่าเสีย คงทนอยู่ไม่ได้ ฯลฯ. เห็นการเกิดดังนี้จนชํ่าชอง เช่น ส่องกระจกก็รู้เท่าทันว่าห่วงกาย เห็นเพศตรงข้ามที่ถูกใจ ฯลฯ. ก็รู้เท่าทัน ว่าสักแต่ว่ากายล้วนเป็นดั่งนี้เป็นต้น แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการดับในที่สุด
รู้เท่าทันเวทนา เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในเวทนาความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่กระทบสัมผัส เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า สักแต่เกิดแต่เหตุปัจจัย มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการเกิด การดับได้ด้วยตนเอง เช่น เห็นรูปที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ, ได้ยินเสียง(คำพูด)ที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ เห็นอาหารที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ ก็ย่อมต้องเกิดความรู้สึก(เวทนา)ต่อสิ่งนั้นๆเช่นนั้นเอง ฯลฯ. เมื่อรู้เท่าทันจนชำนาญ จิตเมื่อเห็นความจริงการเกิดการดับและเพราะเหตุปัจจัยเช่นนี้บ่อยๆสักว่าเวทนาเป็นดังนี้เอง ก็จักเกิดนิพพิทาในเวทนาต่างๆเหล่านั้นในที่สุด
รู้เท่าทันจิต เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในจิตสังขาร(ความคิด ความนึกต่างๆ) เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า สักแต่เกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ เป็นสังขารต่างๆทางใจเกิดขึ้นเช่น โทสะ(โกรธ) โลภ หลง ดีใจ เสียใจ ต่างๆ เมื่อเห็นว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการเกิด การดับได้ด้วยตนเอง จิตเมื่อเห็นความจริงเช่นนี้บ่อยๆสักว่าจิตเกิดเพราะเหตุปัจจัยเช่นนี้เอง ก็จักเกิดนิพพิทาในจิตสังขารความคิดปรุงแต่งเหล่านั้นในที่สุด
รู้เท่าทันธรรม เพื่อให้เกิดนิพพิทาและภูมิรู้ภูมิญาณความรู้ความเข้าใจอย่างปรมัตถ์ในสิ่งต่างๆนั่นเอง เมื่อเกิดกาย เวทนา หรือจิตตามข้างต้น แล้วเกิดเห็นธรรมะใดๆก็หยิบยกขึ้นมาพิจารณาหรือคิดนึกสังเกตุในสิ่งเหล่านั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างปรมัตถ์ การคิดนึกดังนี้ไม่ใช่การคิดนึกปรุงแต่งที่ก่อให้เกิดทุกข์ แต่เป็นคิดนึกที่จำเป็นในการดับทุกข์อย่างยิ่ง เช่นเห็นทุกข์หรือรู้ว่าเป็นทุกข์ก็รู้ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยใด(เห็นปฏิจจสมุปบาท), เห็นความไม่เที่ยง(เห็นพระไตรลักษณ์) ดังนี้เป็นต้น
กุณฑลิยะ : ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์?
พระพุทธเจ้า : ดูกรกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์.
กุณฑลิยะ : ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์?
พระพุทธเจ้า : ดูกรกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.
ดังนั้นเมื่อเจิญสติปัฏฐาน ๔ แล้วจึงพึงเจริญโพชฌงค์ ๗ ด้วย วิชชาแลวิมุตติจึงบริบูรณ์ได้
ข้อคิด
ใน ความเห็นของผู้เขียน การปฏิบัติอานาปานสติและสติปัฏฐาน ๔ เป็นที่นิยมสูงสุดสําหรับนักปฏิบัติ แต่มักผิดพุทธประสงค์ เพราะส่วนใหญ่มีความสับสนกันระหว่าง การฝึกและใชัสติในสติปัฏฐาน ๔ กับสมาธิ คือ ปฏิบัติกันไปจนแยกแยะไม่ถูก ไม่รู้ว่าฝึกสติหรือฝึกสมาธิ คลุกเคล้ากันจนแยกไม่ออก จนไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ และเป็นเครื่องก่อให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสได้ และบางทีก็เน้นแต่การฝึกเช่นพิจารณาลมหายใจ หรืออิริยบถ(จงกรม) แต่ไม่ใช้สติไปในการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมอื่นใดเลย หรือใช้วิธีท่องบ่นอยู่แต่อย่างเดียวไม่เห็นความสําคัญของสติ และความเข้าใจอันยังให้เกิดปัญญา อยู่แต่ขั้นฝึกแบบเดิมนั่นแหละ ไม่ก้าวหน้าสู่วิถีวิปัสสนาเลย ที่ต้องการให้ผู้ปฏิบัติใช้สติที่ฝึกนั้นไปในการพิจารณาหรือระลึกรู้เท่าทัน กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อให้เห็นความจริงแท้ๆในสิ่งนั้นๆ ก็เพื่อให้เกิดนิพพิทาลดละตัณหาและความยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจ หรือความหลงใหลในสิ่งทั้งหลาย อันคืออุปาทานนั่นเอง
สติปัฏฐานควรให้มีสติและใจสงบ ซึ่งปกติฝึกสติและใช้สติพิจารณาลมหายใจจนแค่ใจสงบระดับขณิกสมาธิ หรือปีติ แค่มีสติ ใจไม่ซัดส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน อยู่ในเรื่องที่จะคิดพิจารณาได้ไม่วอกแวกสอดส่ายออกไปในเรื่องอื่นๆเท่า นั้น แล้วใช้สตินั้นมาพิจารณา กาย เวทนา จิต หรือธรรมใดๆที่จะคิดพิจารณานั้น หรือที่บังเกิดขึ้นแก่จิตในขณะปฏิบัตินั้นๆ จึงจักเป็นการที่ถูกต้อง ไม่ควรปล่อยให้จิตเคลิบเคลิ้ม หรือลงภวังค์ ไปนิ่งสนิทหรือแช่นิ่งอยู่ในสมาธิหรือฌานระดับสูง อันเป็นการผิดวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ"สติปัฏฐาน ๔" นอกจากบางครั้งที่เมื่อพิจารณาไปจนพอใจ หรือจิตต้องการพัก ซึ่งก็จะเข้าไปพักในสมาธิหรือฌานในระดับประณีตต่อเนื่องไปก็ได้
ถ้า ต้องการฝึกสมาธิ หรือเข้าสมาธิเพื่อการพักกาย พักจิต(ต้องไม่ใช่เพื่อเจตนาไปเสพสุขในปีติหรือสุขอย่างเด็ดขาด) ก็แค่ดูลมหายใจกระทบปลายจมูกให้สงบ แล้วปล่อยให้เลื่อนไหลไปตามสภาวะองค์ฌานหรือสมาธิเองตามธรรมชาติ หรือตามความชํานาญ(วสี)ในการเข้าออกสมาธิหรือองค์ฌานตามที่ปฏิบัติสั่งสมไว้ แล้ว(ฌาน,สมาธิ)
ตัวกู ยังไม่ใช่ของกู, แล้วสิ่งทั้งหลายทั้งปวงจักเป็นของกูได้อย่างไร!
ตัวกู ยังสักแต่ว่าก้อนหรือมวล(ฆนะ)ของเหตุ คือธาตุทั้ง ๔ มาเป็นปัจจัยประชุมกันขึ้นระยะหนึ่ง
ชีวิตกู ยังสักแต่ว่าก้อนหรือมวลของเหตุ อันคือขันธ์ทั้ง ๕ มาเป็นปัจจัยประชุมกัน
จึงล้วนขึ้นหรืออิงอยู่กับเหตุนั้นๆ จึงล้วนไม่ขึ้นอยู่กับกูโดยตรง จึงไม่ใช่กูหรือของกูอย่างแท้จริง
ถ้าตัวกู เป็นของกูจริงแล้วไซร้ จักต้องควบคุมบังคับได้ด้วยตนเอง
ไม่ต้องอยู่ภายใต้อํานาจของเหตุปัจจัยดังกล่าว หรือสภาวธรรมหรือธรรมชาติ
พนมพร
จิตเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ในชีวิตประจำวันอย่างไร
สติระลึกรู้เท่าทันระดับใด ในการปฏิบัติ?
(พระไตรปิฎก ฉบับสมาคมศิษเก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
|