วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประภาส ชลศรานนท์

ประภาส ชลศรานนท์

  • Speaker: ประภาศ ชลศรานนท์
  • Time: Oct 3, 2008, 1645-1800
  • Venue: TCDC, Emporium
  • Session นี้ฟังเพลินจนต้องเอากลับมา Blog ที่บ้าน เหอๆ

    วันนี้พี่จิกขอออกตัวก่อนว่ารู้สึกไม่ค่อยสบายนะครับ อึม ขนาดไม่สบายนะเนี่ย สะกดคนฟังซะ พี่จิกมี Anecdotes มาเล่าให้พวกเราฟังเพียบเลย ผมจดมาไม่หมด เลยขอหยิบมาเล่าแค่บางส่วนให้พอได้บรรยากาศ ผมเห็นแววตาของผู้ชมหลายๆ คนแล้วบอกได้เลยว่า พี่จิกคือฮีโร่ของพวกเขาจริงๆ

    หัวข้อที่ทีมงานบอกพี่จิกไปก็คืออยากให้พี่จิกพูดเกี่ยวกับเรื่องความคิด สร้างสรรค์ พี่จิกเปิดประเด็นด้วยการตั้งข้อสังเกตว่า คนเราทุกคนคิดตลอดเวลา ความคิดของคนเราแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด

    1. คิดแบบเป๊ะๆ เช่น การบวกเลข (พี่จิกขอย้ำว่า “คิดแบบเป๊ะๆ” นี่เป็นคำศัพท์ทางวิชาการเชียวนะครับ อิอิ)
    2. คิดแบบกะๆ เช่น เวลาตักข้าวเราจะตักพอประมาณ แค่กะๆ เอา ไม่ต้องตวง (”คิดแบบกะๆ” ก็ด้วย)
    3. คิดแบบทางเลือก เช่น เมื่อวานฝนตก วันนี้คิดว่าจะเอาร่มไป

    พี่จิกเชื่อว่า ความคิดแบบที่สามนี่แหละที่เรียกว่าความคิดสร้างสรรค์แล้ว ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องของการมีทางเลือกมากกว่าหนึ่งทาง นอกจากนี้ ความคิดสองอย่างแรกนั้นเปรียบได้กับเชื้อเพลิง ส่วนความคิดอย่างที่สามเปรียบได้กับประกายไฟ ประกายไฟเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดสิ่งใหม่ให้เชื้อเพลิงนำไปทำต่อ ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความคิดสร้างสรรค์ที่เป็น original จริงๆนั้นไม่มี ทุกความคิดต้องต่อยอดมาจากความคิดเดิมทั้งสิ้น จะคิดว่าโลกกลมได้ ก็เพราะมึความคิดว่าโลกแบนอยู่ก่อนแล้ว

    พี่จิกพยายามทำให้เราเข้าใจง่ายๆ ต่อไปว่าความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นมาได้อย่างไรด้วยการเสนอว่า รูปแบบที่เป็นไปได้ของความคิดสร้างสรรค์นั้นมี 7 รูปแบบ เรียกว่า วิธีตีหินเจ็ดอย่าง

    1.ทำลายกรอบลวงตา พี่จิกบอกว่าที่จริงความคิดของเราไม่มีกรอบอยู่แล้ว แต่เราเองที่สร้างกรอบขึ้นมา แค่หลุดออกจากกรอบลวงให้ได้ก็จะได้ความคิดสร้างสรรค์แล้ว ตัวอย่างเช่น จุด 9 จุดนี้จะลางเส้นเชื่อมถึงกันหมดโดยไม่ยกปากกาเลยได้อย่างไร คนเราจะคิดว่าการลากเส้นจะต้องลากให้เกิดมุมเฉพาะที่จุดทั้ง 9 เท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว ไม่ได้มีกฏอย่างนั้น เราคิดไปเองว่ามี เราสามารถลากเส้นได้ง่ายๆ ด้วยการสร้างมุมที่ไม่ได้อยู่บนจุดทั้ง 9 นั้น นี่ไง เราทำลายกรอบลวงตาได้แล้ว (อึม คมจริงๆ คิดได้ไงเนี่ย)

    2. มองย้อนศร จากสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้า พยายามมองย้อนกลับไปถึงที่มาของมันให้ได้ ก็จะได้ไอเดียใหม่ อย่างเพลงหลายๆ เพลงที่พี่จิกแต่งก็มีคอนเซปท์มาจากการมองย้อนศร

    3.หนามยอกเอาหนามบ่ง ปัญหาบางอย่างใช้เป็นตัวแก้ปัญหาได้ เช่น เอสกิโมใช้น้ำแข็งสร้างเป็น igloo เพื่อป้องกันความหนาวของน้ำแข็งอีกที หรือตอนที่ 3 เอ็มคิดกาวตราช้าง กาวที่ประดิษฐ์ขึ้นมาไม่แน่นเอาซะเลย เลยเอากาวที่ประดิษฐ์ได้ไปทำกาวแบบใหม่ที่ไม่ทำให้ฝาผนังเป็นรอยแทน เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส

    4. จับคู่ผสมพันธ์ เช่น ก๋วยเตี๋ยว + ต้มยำ กลายเป็น ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ

    5.อะไรหว่า ข้อนี้จำไม่ได้แล้ว

    6.สมมตินะสมมติ เช่น สมมติเล่นๆว่า ถ้าเทวดาลงมาเกิดเป็นมนุษย์บ้างจะเป็นอย่างไร ทำให้เกิดพล็อตเรื่อง เทวดาตกสวรรค์ หนังหลายๆ เรื่อง เช่น Wall E ก็เกิดมาจากการนั่งคิดว่า “ถ้า”อย่างโน้น “ถ้า”อย่างนี้ ทั้งนั้น

    7. ขีดๆ เขียนๆ ไปก่อน เดี๋ยวได้เอง เช่น เพลงเจ้าภาพจงเจริญตอนแรกพี่จิกแต่งว่า เจ้าหนี้จงเจริญ นั่งเขียนไปเขียนมาฟังดูไม่ได้ ก็เลยแก้เป็นเจ้าภาพจงเจริญ ถ้าคิดอะไรไม่ออก ขีดๆ เขียนๆ ไปก่อน เดี๋ยวเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาก็ได้เอง

    มีเกร็ดน่ารู้อยู่อันหนึ่ง วันหนึ่งพี่จิกนั่งฟังคอบอลสองคนคุยกันว่าเขารู้ว่าฤดูกาลที่แล้วนักฟุตบอล ของลิเวอร์พูลใช้เท้าซ้ายยิงประตูไปทั้งหมดกี่ครั้ง พี่จิกได้ยินแล้วก็ปิ๊งไอเดียว่า ถ้าใครได้ยินสองคนนี้คุยกันจะรู้สึกว่า “ไอ้นี่มันจะรู้เรื่องพวกนี้ไปทำไมว่ะ” ไอเดียนี้ทำให้เกิดรายการแฟนพันธ์แท้ขึ้นมา

    ช่วงถามตอบ มีคำถามนึง ถูกใจผมมาก เขาถามว่า พี่จิกคิดอย่างไรเกี่ยวกับการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย พี่จิกตอบได้ตรงใจผมมาก พี่จิกบอกว่า ปัญหาตอนนี้ของบ้านเราคือ มีคนคิดอยู่สองแบบ คือ เชย กับ เอาไว้บนหิ้ง คนที่ไม่ชอบโขนเพราะรู้สึกว่ามันเชย คนที่บอกว่าตัวเองรักษาโขน ก็บอกว่าต้องเอาโขนไว้บนหิ้งเท่านั้นห้ามดัดแปลงเด็ดขาด คิดกันอย่างนี้เลยไปไม่ได้ ตอนเริ่มทำรายการ คุณพระช่วย มีปัญหามาก เพราะคนหัวอนุรักษ์จะบอกว่า โขนจะเอามาทำรายการแบบนี้ได้ไง โขนเล่นสั้นไม่ได้ ก็ห้ามเปลี่ยนแปลงแบบนี้แหละ เด็กๆ เขาถึงได้รู้สึกว่าโขน เชย และไม่อยากดู ที่เกาหลีมีกองทุนวัฒนธรรม คือ บริษัทไหนจะเอาวัฒนธรรมเกาหลีมาสร้างหนัง สร้างละคร สามารถมาขอเงินได้เลย เขาสนับสนุนเต็มที่

    http://1001ii.wordpress.com/2008/10/03/014/

    ไม่มีความคิดเห็น: