นักวิจัยจากไต้หวัน “เหลียนอี้ว์ซิง” ผู้ค้นคว้าศาสตร์แห่งลายผิววิทยากับศักยภาพของมนุษย์
(การศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างลายผิวที่ปรากฏบริเวณนิ้วมือ ฝ่ามือ นิ้วเท้า
และฝ่าเท้า กับลักษณะของสมองในแต่ละบุคคล
สะท้อนถึงบุคลิกภาพอละความเป็นตัวตนที่แท้จริง) จึงเลือกที่จะเปรียบเทียบบุคลิกภาพและพฤติกรรมของมนุษย์
ผ่านลักษณะของนก 5 ประเภท เป็นตัวแทนบุคลิกภาพ ได้แก่
1. เหยี่ยว (falcon) บุคลิกเชิงรุกเน้นเป้าหมาย เน้นผลลัพธ์ ควบคุมกระบวนการ สถานการณ์ คิดริเริ่ม สร้างสรรค์ บุกเบิก กล้าเสี่ยง
กระตือรือร้น รวดเร็ว ทิฐิ ยึดมั่นในความคิดของตน
2. ห่านป่า (wild goose) บุคลิกเชิงรับ
เน้นเป้าหมาย เน้นผลลัพธ์ เน้นคุณภาพ
รายละเอียด ความถูกต้อง มีมาตรฐาน ขั้นตอน กระบวนการ สร้างกฎ กติกา รักษาระเบียบ
ความเป็นมืออาชีพ ความรับผิดชอบสูง อนุรักษนิยม
3. นกยูง (peacock) บุคลิกเชิงรุก เน้นความสัมพันธ์กับผู้คน ใช้วาทศิลป์ การแสดงออก
การแบ่งปันข้อมูล การนำเสนอ รักษาภาพลักษณ์ มีชีวิตชีวา สดใส สนุกสนาน สมานฉันท์
ให้ความร่วมมือ
4. นกกระจอกเทศ (ostrich)
บุคลิกเชิงรับ เน้นความสัมพันธ์กับผู้คน
อยู่ท่ามกลางผู้คนอย่างมีความสุข สุภาพ อ่อนน้อม อ่อนโยน ทำงานเป็นทีม
ให้ความร่วมมือ สุขุม อดทน อดกลั้น
5. นกแก้ว (parrot) ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี รวบรวมทรัพยากรบูรณาการข้อมูล
ประยุกต์ สร้างรูปแบบเฉพาะตน ปฏิบัติอย่างเป็นระบบ วางแผนเชิงกลยุทธ์
มนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นกลางเปลี่ยนแปลงความคิดตามสถานการณ์
เหยี่ยวมีบุคลิกลักษณะเชิงรุกเช่นเดียวกับนกยูง
แต่ขณะเดียวกันก็เป็นสัตว์มุ่งงาน (target oriented) เน้นผลลัพธ์เหมือนกับห่านป่า
ขณะที่นกยูงถึงจะเป็นสัตว์ชอบรุกฮึ่มๆ แต่ก็มีรสนิยมเน้นสัมพันธ์กับผู้คน (people oriented) แบบเดียวกับนกกระจอกเทศ
ส่วนห่านป่าชอบไปให้ถึงเป้าหมายก็ไม่ต่างอะไรกับนกกระจอกเทศ
คือโปรดปรานเชิงรับเหมือนกัน เรื่องสนุกของนกกระจอกเทศ คือ
ถึงตัวจะอ้วนกลมบินไม่ได้เหมือนใครเขาแต่กลับสนุกกับการเดินทางวันละหลายกิโลพร้อมสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนไปพร้อมๆกัน
บรรดาเบญจวิหคหรือนก 5 ประเภทเหล่านี้
ดูเหมือนว่านกแก้วจะมีภาษีดีที่สุดเพราะจัดประเภทเป็นพวกผสมผสาน (integrated resource) ไม่ถึงออกอาการ “นกสองหัว” แต่เป็นจำพวกตีแตก “หัวอก” ของนกทุกตัว รู้จักยุทธวิธีรุกรบอย่างเป็นจังหวะ มีมนุษยสัมพันธ์ดี
ลีลาแบบนักการฑูต
แต่ละคนมีลักษณะหลักเป็นนกตัวใดตัวหนึ่ง
และลักษณะรองเป็นนกตัวอื่นๆผสมกัน ทำให้นำไปสู่ความแตกต่างหลากหลาย การที่ได้รับรู้ว่าคนใกล้ตัวเป็นนกอะไร
และตัวเองเป็นนกอะไร นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ทั้งในสังคมการทำงานและครอบครัว
ฉะนั้นแล้วหากบังเอิญใครเป็นเหยี่ยวขยันรุก
หรือห่านป่าขยันรับ ถึงทั้งสองตัวมุ่งเป้าหมายในงานเหมือนกัน
ก็ใช่ว่าจะไปคาดหวังว่าเจ้านกกระจอกเทศตัวอ้วนตุ๊ต๊ะจะบินได้สูงเหมือนเหยี่ยว หรือบินไกลอย่างห่านป่า นั่นย่อมเป็นการเสียเวลาเปล่า
คราวนี้ถ้าบังเอิญต้องวิสาสะหรือร่วมงานกับนกแต่ละตัวล่ะ? ควรวางตัวอย่างไรดี
คำแนะนำมีอยู่ว่า ถ้าเมื่อไรต้องคุยกับพี่เหยี่ยว ทำความเคารพเข้าไว้
จริงใจเป็นฐานที่มั่น พี่เหยี่ยวเขาชอบตรงประเด็น
กระชับ ฉับไว อย่าเผลอตัวไปออกคำสั่งกับตั๊วเฮียเขา ทำตัวนอบน้อม
ขอคำปรึกษาหารือโดยเฉพาะกับเรื่องท้าทาย น่าสนใจ พี่ใหญ่เขาจะกระโดดฮุบ
เอ๊ย...ตะครุบเองหละ
แล้วถ้าเป็นอาเสี่ย/ซือเจ๊ห่านป่าล่ะ? He/She ต้องการให้ยอมรับอย่างมีเหตุผลสืบสาวราวเรื่องได้แบบซีรีส์ CSI หลักฐานเท่านั้นที่เสี่ยหรือเจ๊ห่านป่าต้องการ
ยิ่งรายละเอียดมากยิ่งดี แต่แค่นี้ยังไม่พอ ต้องถูกต้อง เชื่อถือได้
ตรวจสอบกลับได้ ทุกซอกทุกมุมตามหลักฐานมืออาชีพ
มาถึงคุณหนูนกยูงวุ่นวาย
กับคุณชายนกยูงไฮโซ เวาลาจะสนทนาพาที ให้นึกถึงบรรยากาศงานกาล่าดินเนอร์เข้าไว้ เพราะเขาและเธอต้องการให้ยอมรับในบุคลิก
เวลาพูดเวลาจาต้องปั้นสีหน้าให้ดูตื่นเต้น เร้าใจไม่ใช้น้ำเสียงจืดชืดไร้อารมณ์
แสดงการยกย่องชมเชยเธอให้มาก เพราะนั่นเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างบรรยากาศที่ดีในการสนทนา
แต่ถ้าคุยกับนกกระจอกเทศ
ให้นึกซะว่ากำลังคุยกับเด็ก Generation Y หรือ Generation Internet (อายุต่ำกว่า 30 ปีลงมา)
กำลังอยู่ในวัยที่ต้องการการดูแลใส่ใจ ใช้คำสุภาพ ฟังง่าย เข้าใจง่ายเข้าไว้ ไม่ต้องอาศัยศัพท์แสงปีนบันไดฟัง
ขอเพียงน้ำเสียงนุ่นนวล ไพเราะ เพียงเท่านี้นกกระจอกเทศก็ “ตายใจ” เอ๊ย...สบายใจ
ตัวพองกลมแล้วหละ
มาถึงตัวยืนประสานสี่ทิศ
นกแก้วผู้ช่างต่อรอง เวลาคุยกับเธอต้อง “ต่อเวลา” ให้เยอะๆหน่อย
เพราะนกแก้วต้องการเวลาเพื่อตัดสินใจ และเวลาที่ขอเพิ่มก็จะหมดไปกับการวิเคราะห์ข้อมูลรอบด้าน
เท่านั้นยังไม่พอนกแก้วยังวาง plan
A, plan B สร้างทางเลือกกับแผนสำรองเอาไว้อีก
เพราะฉะนั้นเวลาทำงานร่วมกับนกแก้ว อย่าได้เร่งรัด กดดัน
บีบบังคับเขาและเธอกันเลยเชียว!!!
นกทั้ง 5 ประเภทนี้เป็นสัญลักษณ์ของเครื่องมือตรวจวัดวิเคราะห์ศักยภาพจากลายผิว
ศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพปัญญธารา (P-PAC) บริษัท ปัญญธารา จำกัด บริษัทในเครือบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
เป้าหมายหลักเพื่อค้นหาและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภายในองค์กร
ให้เหมาะสมกับงานในหน้าที่รับผิดชอบ
นำไปต่อยอดและใช้เป็นแนวทางการจัดการฝึกอบรม (Training Plan) การจัดทำผังความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) การจัดผังทดแทนตำแหน่งงาน
(Succession Plan) รวมถึงแผนพัฒนา คนเก่งมากฝีมือ (Talent Development)
เพราะความสำเร็จขององค์กรไม่ได้ถูกชี้วัดจากนกสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งแต่เป็นผลรวมความสำเร็จจากการร่วมด้วยช่วยกระพือปีกของนกทุกๆตัว...
นายเป็นเหยี่ยว
ลักษณะเฉพาะตัวของนกเหยี่ยว คือ
มีความขะมักเขม้น ทำอย่างมีเป้าหมาย มีความสร้างสรรค์ กล้าที่จะแข่งขัน
และควบคุมสถานการณ์
ลูกน้องเป็นนกยูง
ลักษณะเฉพาะตัวของนกยูง คือ ชอบแบ่งปันความคิดกับผู้อื่นให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์
มีอารมณ์ขัน ถนัดในการแสดงออกส่งเสริมเรื่องการมีความเห็นที่ตรงกัน
ข้อแนะนำ
ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ระหว่างเจ้านายและลูกน้องคู่น้องนี้ก็คือ
ลูกน้องมักให้ข้อมูลเยอะมาก เพราะชอบที่แบ่งปันข้อมูล ในขณะที่โดยบุคลิกของนายคือต้องการข้อมูลที่ตรงประเด็น
ไม่เยิ่นเย้อ
รูปแบบการนำเสนองานของลูกน้องอาจจะไม่ตรงใจกับนายที่มีบุคลิกเป็นเหยี่ยวที่ต้องการข้อมูบที่กระชับบุคลิกเด่นอีกอย่างหนึ่งของนกยูงก็คือการแสดงออก
ซึ่งในบ้างครั้งก็อาจจะมากจนเกินหน้านาย ทำให้นายอาจเขม่นได้ เพราะสำหรับนายที่เป็นเหยี่ยวนั้น
มักจะรักหน้า ไม่ชอบให้ใครมาข้ามหน้าข้ามตา
ในขณะเดียวกันสำหรับการบริหารจัดการลูกน้องที่เป็นนกยูงการแสดงความชื่นชมผลงานของลูกน้องมีความสำคัญมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหน้าผู้ร่วมงานคนอื่นๆ
การทำเช่นนี้จะทำให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง
อีกทั้งการเข้าใจว่าลูกน้องที่เป็นนกยูงนั้น ชอบที่ท่ามกลางผู้คน
การมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการลูกค้า
อาจจะเหมาะสมกว่าการมอบหมายงานที่ต้องเก้บตัวอยู่แต่ในสำนักงาน
นายเป็นนกกระจอกเทศ
ลักษณะเฉพาะตัวของนกกระจอกเทศ คือ
ยึดมั่นในกฎเกณฑ์ให้ความร่วมมืออย่างกลมเกลียว รับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่รีบร้อน
มีน้ำใจกับผุ้อื่นและมีความอดทน
ลูกน้องเป็นนกเหยี่ยว
ลักษณะเฉพาะตัวของนกเหยี่ยว
มีความขะมักเขม้น ทำอย่างมีเป้าหมาย มีความสร้างสรรค์ กล้าที่จะแข่งขัน
ควบคุมสถานการณ์
ข้อแนะนำ
ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างเจ้านายกับลูกน้องคู่นี้ก็คือ
ลูกน้องอาจจะรู้สึกอึดอัดกลับความใจเย็นของเจ้านาย
ที่มีกไม่กระตือรือร้นในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยฉับพลัน
ในขณะที่เจ้านายเองอาจจะต้องเอือมระอา กับปัญหาและความขัดแย้งกับลูกน้องคนนี้
กับเพื่อนร่วมงานหรือทีมงาน
ด้วยเพราะบุคลิกของนกเหยี่ยวมักจะเป็นคนที่ไม่ชอบให้ใครมาสั่ง
และเป็นคนที่ไม่แคร์ความรู้สึกของคนรอบข้าง
หากแต่จะมุ่งเน้นเรื่องของงานและเป้าหมายเป็นหลัก
การบริหารจัดการลูกน้องที่มีความกระตือรือร้นมากนั้น
สำหรับเจ้านายนกกระจอกเทศแล้ว อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่ก็สามารถทำได้
หากเข้าใจว่าลูกน้องนกเหยี่ยวนั้นมีความต้องการที่จะทำงานที่ท้าทาย
และต้องการการยอมรับว่าตนเองนั้นมีความสามารถ การวิเคราะห์ศักยภาพของบุคคล ถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และยากต่อการอธิบายบุคคลิกของแต่ละบุคคลให้เข้าใจได้โดยง่าย ทางศูนย์ฯ จึงได้มีการพัฒนารูปแบบในการวิเคราะห์บุคคลเปรียบเทียบกับวิธีการใช้ชีวิต และจุดยืนของนก 5 ชนิด คือ นกเหยี่ยว นกแก้ว นกกระจอกเทศ นกยูง และห่านป่า | |||||||
ลักษณะแนวโน้มในการแสดงออกเชิงพฤติกรรมของนกแต่ละชนิด | |||||||
|
| ||||||
|
| ||||||
|
วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
สหนก เบญจวิหก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น