พระราชปุจฉาของในหลวง:
"ที่สุดของศีล คืออะไร?
ที่สุดของสมาธิ คืออะไร?
และที่สุดของปัญญา คืออะไร?"
หลวงปู่เทสก์ท่านได้ถวายวิสัชนาพระองค์ว่า
"ที่สุดของศีล คือ เจตนาวิรัติ
ที่สุดของสมาธิ คือ อัปปนาสมาธิ
และที่สุดของปัญญา คือ ไตรลักษณ์"
[วารสารธรรมะใกล้ตัวฉบับปัจจุบัน (ฉบับ 56)
http://dungtrin.com/mag/?56]
เจตนาวิรัติ
เจตนา วิรัติ คือ การงดเว้นจากเจตนาที่จะทำผิด เช่น การผิดศีลข้อหนึ่งแท้จริงแล้วต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ (๑) สัตว์มีชีวิต, (๒) รู้ว่าสัตว์มีชีวิต, (๓) มีเจตนาที่จะฆ่า, (๔) มีความพยายามจะฆ่า, และ (๕) สัตว์ตาย กล่าวคือทันที่มีความแน่วแน่ที่จะละเว้นจากการทำผิด ทำยังไงก็ไม่ผิดศีล เช่น หากเราเดินอยู่ในที่มืดแล้วบังเอิญไปเหยียบมดเคราะห์ร้ายเดินหลงทางมาตาย หนึ่งตัว หากในการเดินของเราไม่มีเจตนาที่จะทำลายชีวิตอื่นเจือปนอยู่เลย ก็ไม่ผิดศีล
จุดนี้แหละที่อยากจะเน้น เพราะศีลมีไว้เพื่อขัดเกลาตนให้อยู่ในกอบอันดีงาม โดยเน้นที่กายกรรมกับวจีกรรม แต่อริยะชนผู้ขัดเกลาตนจนดีแล้วจะไม่ผิดศีลเลย เพราะมโนกรรมหยาบชั่วไม่อาจมาครอบงำจิตให้ผิดศีลได้ พวกเราก็ไม่ควรที่จะรักษาศีลโดยคิดแต่เดินตามบาลี โดยลืมที่จุดประสงค์ของศีล เพราะถึงบทบัญญัติของมันจะพูดถึงกายกับวาจา แต่แก่นแท้ของมันกับเป็นเรื่องของใจ ในทำนองเดียวกันกับเรื่องของกฎหมายหรือกฎระเบียบขององค์กรต่างๆ ก็อยากจะฝากให้คนที่อาจจะคิดทำตัวหัวใส (แต่ที่จริงหมอง) ว่าอย่าลืมจุดประสงค์ที่แท้จริงของของกฎหมายและกฎระเบียบ อย่าได้คิดว่าถ้าคนจับไม่ได้หรือศาลไม่ได้ตัดสินว่าเราผิด แสดงว่าเราไม่ผิด เพราะแก่นแท้ของการอยู่ภายใต้กฎหมายก็คือ การทำตามจุดประสงค์อันดีงามของกฎหมายนั่นเอง
ส่วนเรื่องของสมาธิ อัปนาสมาธิ ก็คือสมาธิอันแน่วแน่ที่เกิดขึ้นขณะเข้าถึงฌาณนั่นเอง ในภาวะนี้จิตจะไม่ถูกรบกวนด้วยเครื่องกีดขวางในการเจริญปัญญา คือ ในขณะนั้นจิตจะว่างจากความพอใจในกาม ว่างจากความโกระเกลียดพยาบาท ว่างจากความหดหู่ซืมเซา ว่างจากความฟุ้งซ่านรำคาญใจ และ ว่างจากความลังเลสงสัยในสิ่งที่จิตรับรู้ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพูดถึงเรื่องสมาธิกันมากในศาสนาพุทธเพราะมันทำให้จิต มีความพร้อมมากขึ้นในการเจริญปัญญา อย่างไรก็ตามในการศึกษาธรรมนั้นหลายคนอาจจะเริ่มที่การใช้ปัญญาในการพัฒนา สมาธิก็ได้ กล่าวคือบุคคลบางจำพวกสามารถที่จะเริ่มต้นการเจริญปัญญาได้โดยที่มีสมาธิ เพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องเข้ัาถึงฌาณก่อน แต่เมื่อปัญญาเจริญขึ้นมากแล้ว จิตจะเข้าใจโทษของความโลภโกรธหลง ว่างจากเครื่องกีดขวางปัญญาและตั้งมั่นเป็นสมาธิด้วยตัวเอง
และสุด ท้ายเรื่องของปัญญาอันเป็นเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนาตนนั้นขอแนะนำให้อ่านจาก หนังสือทางเอก ถ้าใครอยากได้ลองติดต่อผมมา ผมอาจจะมีเหลืออยู่ หรืออ่านจากอินเตอร์เน็ตได้ที่
http://wimutti.net/books/tangake/main.htm?a=1ส่วนถ้าใครไม่ชอบอ่านแต่ชอบฟังลองดาวน์โหลดพวกคำเทศน์ต่างๆ ได้ที่
http://wimutti.net/pramote/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น