วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2568

ว่าด้วยแนวคิด governmentality: การปกครองชีวญาณ


อำนาจในมุมมองนักปราชญ์ (32) มิทเชลล์ ดีน: อำนาจการปกครองชีวญาณ ระบอบปฏิบัติ เทคโนโลยีแห่งตัวตน และการต่อต้าน / Phichai Ratnatilaka Na Bhuket

เผยแพร่:    ปรับปรุง:    โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มิเชล ฟูโกต์ ได้พัฒนาแนวคิดการปกครอง (governmentality) เพื่อใช้อธิบายการ เปลี่ยนแปลงของอำนาจการบริหารจัดการเศรษฐกิจ ทรัพยากรและประชากรโดยรัฐให้มี ประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องใช้อำนาจความรุนแรงเข้ามาบีบบังคับ แต่มีการบริหารจัดการ ประชากรผ่านกลไก สถาบัน ความรู้ในการควบคุมตรวจสอบพฤติกรรมของประชากรด้วยตัวของ ประชากรเอง ประชากรได้รับเอาแนวคิดมาปกครองตนเอง การปกครองจึงส่งผ่านอำนาจจาก ผู้ปกครองลงสู่ผู้อยู่ใต้ปกครองในฐานะที่เป็นประชากร

ฟูโกต์ได้นำเสนอแนวคิด governmentality1 หมายถึงการปกครองระดับจิตใจ หมายความว่าแต่ละคนรับเอาแนวคิดการปกครองมาไว้ในตัวเอง แต่ละคนจึงมีการปกครองคอย ควบคุมตนเองอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ต้องให้รัฐเข้ามาใช้อำนาจปกครองโดยตรง

ฟูโกต์กล่าวถึงการวิเคราะห์เรื่องความมั่นคง ประชากรและการปกครองในยุคกลาง เรา ได้พบตำราจำนวนมากเสนอหลักการ “เจ้า” กล่าวถึง “การประลองอำนาจ” วิธีการรักษาการ ยอมรับและความเคารพต่อผู้ปกครอง ความรักและเชื่อฟังต่อพระเจ้า การประยุกต์กฎทางศาสนา มาใช้กับพลเมือง ซึ่งเกิดขึ้นตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนจบคริสต์ศตวรรษที่ 18 เราได้เห็น พัฒนาการของตำราทางการเมืองที่ไม่ได้ใช้หลักการ “เจ้าผู้ปกครอง” อีกต่อไป แต่แทนที่ด้วยการเสนอ “ศิลปะการปกครอง” (the art of government) ซึ่งการปกครองเป็นประเด็นปัญหา ทั่วไปที่เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ตัวอย่างเช่น การปกครองตนเอง (government of oneself) และยังเกี่ยวข้องกับการปกครองชีวิตและจิตใจ สิ่งเหล่านี้เป็นแกนสำคัญในแนวคิดทาง ศาสนาคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ และท้ายที่สุดเกิดคำถามเกี่ยวกับการปกครองรัฐโดยเจ้า ผู้ปกครองในปัญหาการปกครองต่างๆ เช่น จะปกครองตนเองอย่างไร จะถูกปกครองอย่างไร จะ ปกครองคนอื่นได้อย่างไร ประชาชนจะยอมรับการปกครองจากใคร ทำอย่างไรจึงจะมีการปกครอง ที่ดีที่สุด ปัญหาเหล่านี้กลายเป็นคุณลักษณะของการปกครองในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่วาง อยู่บนจุดตัดของ 2 กระบวนการคือ โครงสร้างของระบบฟิวดัลซึ่งนำไปสู่การสถาปนาการสร้าง เขตแดนการบริหารจัดการโดยรัฐ และรัฐอาณานิคม จำเป็นต้องถูกปกครองและนำไปสู่การเข้า ถึงความหลุดพ้นชั่วนิรันดร

ในช่วงเวลาดังกล่าว มีขบวนการเคลื่อนไหว 2 อย่างเกิดขึ้น คือ 1) การรวมศูนย์ อำนาจรัฐขณะเดียวกัน 2) ก่อให้เกิดการแตกกระจายและต่อต้านศาสนาจนนำไปสู่คำถามว่าจะ ถูกปกครองอย่างไร กฎ (law) จะถูกกำหนดขึ้นอย่างไร โดยใคร เพื่ออะไร วิธีการไหน ปัญหา เหล่านี้กลายเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นในการปกครองทั่วไป

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ฟูโกต์เสนอคุณลักษณะของการ เปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเกี่ยวข้องกับคำถาม “อะไรคือเครื่องมือการปกครองของรัฐ” ซึ่งเป็นสิ่ง ที่เราเรียกรูปแบบทางการเมืองของการปกครองในปัจจุบัน โดยการเปรียบเทียบงานเขียนตั้งแต่ ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16 - คริสต์ศตวรรษที่ 18 เริ่มต้นจากเจ้าผู้ปกครอง (The Prince) ของมาคิอา เวลลี (Niccolò di Bernardo dei Machiavelli) ซึ่งน่าสนใจในการย้อนรอยความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวงานกับความสำเร็จของงานการวิพากษ์วิจารณ์ และการปฏิเสธตัวงานชิ้นนี้ 

ต้องเริ่มก่อนว่า เจ้าผู้ปกครอง ไม่ได้ถูกปฏิเสธในทันที แต่มันเคยได้รับการยกย่องและ ปฏิเสธลงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่กลับมาเกิดได้รับความสนใจขึ้นอีกครั้งในช่วงคริสต์ ศตวรรษที่ 19 คือการขยายตัวของรัฐเผด็จการในเยอรมันและอิตาลี และการอธิบายการปฏิวัติ ในอเมริกา คำถามสำคัญคือ อะไรเป็นเงื่อนไขให้เกิดการปกครอง ทำให้อธิปไตยเหนือรัฐยังสามารถ ดำรงต่อไปได้ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับกลยุทธ์ และพลังอำนาจกับ การคิดคำนวณนำมาสู่ปัญหาความเป็นหน่วยดินแดนของเยอรมันและอิตาลี

มีงานเขียนจำนวนมากที่นำเอามาคิอาเวลลีมาอธิบายใหม่2 แน่นอนรวมถึงการวิพากษ์ วิจารณ์ด้วย การถกเถียงที่เกิดขึ้นนั้น มีความพยายามนิยาม “ศิลปะการปกครอง” บางคนปฏิเสธ แนวคิดศิลปะการปกครองที่วางอยู่บนพื้นฐานของรัฐและวิธีการแห่งรัฐ (reason of state) รวมถึง การปฏิเสธศิลปะการปกครองของมาคิอาเวลลีทั้งด้านเหตุผลและความชอบธรรมของงานว่าไม่มี ความสมบูรณ์เพียงพอ

สิ่งร่วมกันของผู้ที่เขียนถึงงานของมาคิอาเวลลีคือ การพากันออกห่างจาก “ศิลปะการปกครอง” แต่ให้ความสนใจเป้าหมายและหลักการของเหตุผลของการปกครอง ซึ่งแท้จริงแล้ว พวกเขาพยายามประสานเหตุผลที่อยู่ภายในศิลปะการปกครองที่ไม่อยู่ภายใต้ความสัมพันธ์กับ “เจ้าผู้ปกครอง” ศิลปะการปกครองจึงแตกต่างจากการใช้อำนาจของ “เจ้าผู้ปกครอง” กล่าวคือ การใช้อำนาจของ “เจ้าผู้ปกครอง” เน้นการระบุศัตรูของรัฐ และใช้อำนาจรุนแรงเช่นกำลังทหาร หรือกฎหมายเข้าจัดการ ขณะที่ศิลปะการปกครองเน้นใช้เหตุผล คุณธรรมและกลวิธีต่างๆ เพื่อ ให้ประชาชนยอมรับและอยู่ใต้อำนาจของผู้ปกครองด้วยความเต็มใจ มากกว่าจะใช้กำลังบังคับ เพียงอย่างเดียว

หลักการวิเคราะห์ของมาคิอาเวลลีคือ การพยายามนิยามถึงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อรัฐ และ การพัฒนาศิลปะการปกครองที่ให้สิทธิความชอบธรรมแก่เจ้าผู้ปกครองในการปกป้องดินแดนและ subject ขณะที่งานเขียนต่อต้านมาคิอาเวลลีพยายามมองหาศิลปะการปกครองรูปแบบใหม่ อย่างเช่นงานของกียโยม เดอ ลา แปร์ริแยร์ (Guillaume de la Perriere) ในเรื่อง Miroir Politique (1567 อ้างใน Foucault 1991, 89) แปร์ริแยร์ไม่ค่อยพอใจการเปรียบเทียบแนวคิด ของมาคิอาเวลลี อันดับแรกสิ่งที่แปร์ริแยร์หมายถึง คือเครื่องมือการปกครองและผู้ปกครอง ผู้ปกครองนั้นสามารถเป็นได้ทั้งในระดับ จักรพรรดิ กษัตริย์ เจ้าชาย ขุนนางหรือในสิ่งที่คล้ายกัน แปร์ริแยร์ยังเปรียบเทียบถึงผู้ปกครองระดับครอบครัว การปกครองจิตวิญญาณ เด็กๆ ปกครอง จังหวัด และทางศาสนา ฯลฯ เพราะฉะนั้น เราจะได้เห็นการปฏิบัติการของการปกครองอย่าง มากมาย นับตั้งแต่หัวหน้าครอบครัว ผู้ปกครองชุมชนศาสนา ครูหรือผู้สอนเด็ก ดังนั้นจึงมีการ ปกครองที่หลากหลายรูปแบบท่ามกลางความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าผู้ปกครองกับรัฐ เพราะฉะนั้น แปร์ริแยร์จึงเสนอว่ายังมีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างจากมาคิอาเวลลีปรากฏอยู่ด้วย

ท่ามกลางรูปแบบการปกครองที่หลากหลายเหล่านี้ จำเป็นต้องหาคำนิยามเกี่ยวกับการ ปกครองที่สามารถใช้ได้ทั่วทั้งรัฐ ฟูโกต์ได้ยกงานของฟรองซัวส์ เดอ ลา มงต์ เลอ วายเย (François de La Mothe Le Vayer) (Foucault 1991, 91) กล่าวถึงรูปแบบการปกครอง 3 แบบ คือ 1) ศิลปะการปกครองตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องศีลธรรม 2) ศิลปะการปกครองครอบครัว เกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจ และ 3) ศิลปะการปกครองรัฐ เกี่ยวข้องกับระบบการเมือง ซึ่งรูปแบบ การปกครอง 3 อย่างนี้มีความเกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน เชื่อมต่อระหว่างกัน ขณะที่มาคิอาเวลลี พยายามแยกอำนาจของเจ้าผู้ปกครองออกจากอำนาจอื่น

ลา มงต์ เลอ วายเย (อ้างถึงใน Foucault 1991, 91-92) ยังเสนอว่าผู้ที่ปรารถนา ปกครองรัฐจะต้องเรียนรู้การปกครองตนเอง ปกครองทรัพย์สิน ปกครองผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์ จึงจะ ประสบความสำเร็จในการปกครองรัฐ เราจึงสามารถวาดภาพการเชื่อมต่อของอำนาจตั้งแต่ระดับ การปกครองครอบครัวจนไปถึงการปกครองระดับรัฐ เมื่อการปกครองของรัฐยังดำเนินต่อไปอยู่ หัวหน้าครอบครัวก็จะรู้วิธีการปกครองครอบครัวของตนเอง อันเป็นวิธีการเดียวกันกับการ ปกครองระดับปัจเจกชนที่มีการปกครองตนเอง นี่จึงเป็นการเริ่มต้นของ police ที่เชื่อมต่อ อำนาจทั้งระดับที่อยู่เหนือขึ้นไป (คือระดับรัฐ) และอยู่ต่ำลงมา (ระดับปัจเจก) ศิลปะการ ปกครองจึงเป็นคำตอบของการให้คำแนะนำทางเศรษฐกิจแก่ครอบครัว ตลอดจนพฤติกรรมทาง ศีลธรรมแก่ปัจเจก เพื่อนำไปสู่การจัดการของรัฐ

ขณะที่ความหมายเดิมของ economics หมายถึงการจัดการในครอบครัวเพื่อความอยู่ดี มีสุข การปกครองของรัฐประยุกต์มาจากเศรษฐกิจ การจัดการเศรษฐกิจในระดับรัฐจึงหมายถึง การจัดการกับพฤติกรรมของหัวหน้าครอบครัว การปกครองที่ดีจึงหมายถึงการปกครองเศรษฐกิจ ด้วย ในอีกด้านหนึ่ง เศรษฐกิจจึงกลายเป็นหัวใจสำคัญของการปกครอง ความหมายของคำว่า “เศรษฐกิจ” ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 คือรูปแบบหนึ่งของการปกครอง ประเด็นต่อมาคือ การ ปกครองคือการมีสิทธิ์จัดวาง จัดระเบียบสรรพสิ่งเพื่อความสะดวกในการใช้ ส่วนสรรพสิ่งของ มาคิอาเวลลี มีเป้าหมาย 2 แบบคือ 1) เขตแดน และ 2) พลเมือง โดยมีการประยุกต์เอาหลัก กฎหมายมาใช้ปกครอง ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นั้น องค์อธิปัตย์ (sovereignty) ถูกนิยามอยู่ใน หลักกฎหมาย ส่วนพื้นที่เขตแดนเป็นพื้นฐานสำคัญของหลักกฎหมายตามแนวคิดของมาคิอาเวลลี่

สำหรับแปร์ริแยร์แล้ว การปกครองไม่ได้หมายถึงเขตแดน แต่เป็นรูปแบบของความ ซับซ้อนที่อยู่บนตัวมนุษย์กับสรรพสิ่งซึ่งต่างก็มีความสัมพันธ์กัน เพราะฉะนั้น จึงเป็นการปกครองที่ เน้นบนตัวของมนุษย์และสรรพสิ่ง ขณะที่ฟูโกต์ได้นิยามว่าการปกครองเหมือนกับการควบคุมเรือ ที่ต้องปกครองกะลาสีเรือ เรือ และสินค้าในเรือ รวมถึงการหลบหลีกโขดหินและพายุ การปกครองจึงมีการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกัปตันกับกะลาสี ผู้ซึ่งจะเป็นผู้บังคับทิศทางเรือ อีกทอดหนึ่ง การบังคับเรือมีคุณสมบัติคล้ายกับการปกครองเรือ มีเป้าหมายเช่นเดียวกับ ครอบครัวที่ต้องคอยดูแลปกป้องครอบครัว ปกป้องทรัพย์สิน ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับ ครอบครัว ส่วนเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนเป็นเรื่องรองลงมา ผู้คนและสรรพสิ่งต่างหากเป็นสิ่งที่ สำคัญกว่า 

ตัวอย่างเช่นประเทศรัสเซีย มีพื้นที่กว้างขวางแต่กลับอยู่อาศัยได้น้อย หาประโยชน์ไม่ได้ จากความกว้างขวางของพื้นที่ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศฮอลแลนด์ มีเนื้อที่ไม่มากแต่เป็น ประเทศร่ำรวย ดังนั้นแล้ว การปกครองจึงสามารถแยกออกมาจากอธิปไตย อธิปไตยต้องมี เป้าหมายของตัวเอง โดยมีการจัดสวัสดิการร่วมและนำไปสู่การหลุดพ้นในที่สุด โดยมีคุณค่าร่วม คือการยอมรับเชื่อฟังกฎหมาย 

เพราะฉะนั้น การปกครองคือสิทธิในการจัดระเบียบ จัดวางสรรพสิ่งที่ไม่ได้มาจากคุณค่า ร่วม (คือกฎหมาย) แต่เพื่อความสะดวกในการจัดวาง การปกครองจึงไม่ได้อยู่ที่กฎหมาย แต่อยู่ ที่การจัดวางสรรพสิ่ง ท้ายที่สุดของการปกครองผู้คนแทนที่จะเป็นกฎหมาย แต่เป็นเทคนิคที่ หลากหลายของการจัดวางสรรพสิ่ง ในมุมมองของการปกครอง พื้นที่ไม่ใช่สิ่งสำคัญโดยเฉพาะ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17

แปร์ริแยร์ (อ้างถึงใน Foucault 1991, 96) กล่าวว่าผู้ปกครองที่ดีจะต้องมี 1) ความ อดทนอดกลั้น (patience) 2) ปัญญา(wisdom) 3) ความขยันหมั่นเพียร(diligence) เรื่องความ อดทนอดกลั้น เปรียบกับราชาของผึ้งที่ใช้การปกครองโดยไม่ต้องใช้เหล็กไนหรือการลงโทษ ส่วน ปัญญาคือการปกครองโดยไม่ใช้ความรู้ทางจารีตหรือหลักกฎหมายมาปกครอง แต่เป็นการใช้ ความรู้ในการจัดวางสรรพสิ่ง ส่วนความขยันหมั่นเพียร มีการปกป้องคุ้มครองดูแลให้บริการแก่ ผู้ถูกปกครอง เปรียบได้กับหัวหน้าครอบครัวที่ต้องขยันดูแลสมาชิกครอบครัวที่ต้องตื่นก่อนนอนทีหลัง

ในศิลปะการปกครองแบบใหม่ยังมีการใช้หลักสถิติในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์มาใช้ใน การปกครองของรัฐ ดังนั้น ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 จึงมีการพัฒนาศิลปะการปกครองที่ เป็นอิสระจากการใช้กำลังโดยทหารกองทัพ และความตึงเครียดทางเศรษฐกิจและการเมือง   

ในความจริงแล้ว ศิลปะการปกครองไม่ได้ถูกพัฒนาทันที แต่ได้พัฒนามาจากการพาณิชย์ ที่ถูกจัดวางเป็นลำดับเบื้องต้นของรัฐ การพาณิชย์โดยรัฐจึงเป็นการประลองกำลังของศิลปะการ ปกครองเพื่อนำไปสู่ความมั่งคั่งของประเทศ ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 17 ศิลปะการปกครองแบบ เดิม มีการให้ความสำคัญกับอธิปไตย จึงมีลักษณะใหญ่เกินไป มีความเป็นนามธรรมมาก และมีความแข็งตัวเกินไป ขณะที่การปกครองแบบใหม่มีความบอบบาง อ่อนแอ และไม่มีความจริงแท้แน่นอน

ในช่วงนั้นเองผู้คนเริ่มมีมากขึ้น มีการขยายพื้นที่เกษตรกรรม และเกิดครอบครัว จำนวนมาก ศาสตร์แห่งการปกครองจึงมีการใช้หลักการบริหารเศรษฐกิจมาแทน มีการกำหนด ประเด็นปัญหาเฉพาะกับเรื่องประชากร มีระบบการคิดคำนวณแบบสถิติที่แยกออกมาจากหลัก กฎหมาย กลายเป็นเงื่อนไขทางเทคนิค นี่จึงกลายเป็นเทคโนโลยีการปกครองแบบใหม่ที่สลาย ความเข้มงวดของศิลปะการปกครองอย่างเดิม

ในมุมมองเรื่องของประชากร การปกครองจะเน้นดูที่บันทึกของปรากฏการณ์ประชากร สถิติจะทำงานภายใต้กรอบการบริหารจัดการในบริบทขององค์อธิปัตย์ จะค่อยๆ เผยให้เห็น ระเบียบกฎเกณฑ์ของตัวเองผ่านอัตราการตายและการเจ็บป่วย สถิติยังแสดงให้เห็นผลกระทบ ของปรากฏการณ์ ท้ายที่สุดจึงเกิดการสลายหายไปของการปกครอง

ครอบครัวเป็นเงื่อนไขสำคัญอันดับรองลงมาจากเรื่องประชากร ข้อมูลประชากรได้รับ โดยผ่านมาจากครอบครัว ครัวเรือนจึงกลายเป็นเครื่องมือ (instrument) มากกว่าเป็นต้นแบบ (model) นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐาน ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ครอบครัวจึงมี ฐานะเป็นเครื่องมือที่สัมพันธ์กับเรื่องประชากรซึ่งเป็นการรณรงค์ลดอัตราการตายและสนับสนุน การแต่งงาน การฉีดวัคซีน เพราะฉะนั้น เรื่องประชากรจึงอยู่ในสนามของศิลปะการปกครอง โดยมีการกำจัดครอบครัวในฐานะที่เป็นต้นแบบออกไป

การปกครองไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อการปกครองตนเอง แต่มีเป้าหมายอยู่ที่การจัด สวัสดิการของประชากร เพิ่มพูนสุขภาพและความมั่งคั่ง ฯลฯ โดยผ่านการรณรงค์ทางตรงขนาด ใหญ่ และเทคนิคทางอ้อมที่เป็นไปได้ ในความหมายนี้ ประชากรจึงเป็นเป้าหมายของการ ปกครองโดยจะถูกนับให้อยู่ภายใต้การสังเกตการณ์เพื่อการปกครองอย่างมีประสิทธิภาพภายใน หลักเหตุผลและจิตสำนึกของพฤติกรรมของบุคคล

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีการเปลี่ยนผ่านจากศิลปะการปกครองมาเป็นรัฐศาสตร์ (political science) จากระบอบที่ถูกครอบงำโดยโครงสร้างขององค์อธิปัตย์ มาเป็นการถูก กำหนดโดยเทคนิคของการปกครอง มาสู่บริบทของเรื่องประชากรและจากนี้จึงเป็นการเริ่มต้น ของเศรษฐศาสตร์การเมือง (political economy)

ใน A Discourse on Political Economy ของรุสโซ (Rousseau) เราสามารถเห็นว่า รุสโซได้ยกปัญหาของศิลปะการปกครองโดยชี้ให้เห็นว่า คำว่า “economy” มีความหมายถึงการจัดการทรัพย์สินของครอบครัวโดยผู้เป็นพ่อ (Foucault 1991, 101) แต่ปัจจุบันความหมายนี้ไม่ ได้รับการยอมรับอีกต่อไปแล้ว ทุกวันนี้เราทราบว่า “economy” ไม่ได้หมายถึงเศรษฐกิจเฉพาะ ระดับครอบครัว จึงเห็นได้ว่าความเป็นเศรษฐกิจของเศรษฐศาสตร์การเมืองไม่สามารถลดทอนลง เป็นเพียงต้นแบบเก่าของครอบครัว ต่อมารุสโซจึงได้เขียน The Social Contract หรือสัญญา ประชาคม โดยชี้ถึงปัญหาการใช้แนวคิดเทียบเคียงกับธรรมชาติของสัญญาและเจตจำนงทั่วไป (general will) เพื่อสนับสนุนหลักการการปกครองที่อนุญาตให้สามารถนิยามและกำหนด คุณลักษณะทั้งในด้านหลักการทางกฎหมายขององค์อธิปัตย์และองค์ประกอบของศิลปะการ ปกครอง องค์อธิปัตย์จึงถูกกำจัดออกจากศิลปะการปกครอง  

สำหรับระเบียบวินัย (discipline) เป็นแบบหนึ่งขององค์กร ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงคริสต์ ศตวรรษที่ 17–18 ระเบียบวินัยไม่เคยมีความสำคัญจนกระทั่งกลายเป็นการจัดการประชากร ไม่ใช่เพียงแค่การรวบรวมข้อมูลของผู้คนเท่านั้น แต่ยังแฝงถึงการจัดการในระดับรายละเอียด ระดับลึกของประชากร

เราไม่ได้แทนที่สังคมของอธิปัตย์ด้วยระเบียบวินัยสังคม และระเบียบวินัยของสังคมด้วย สังคมของการปกครอง ในความเป็นจริง องค์อธิปัตย์-ระเบียบวินัย-การปกครองที่สัมพันธ์กันเป็น รูปสามเหลี่ยม ซึ่งเป็นเป้าหมายพื้นฐานเรื่องประชากร และในฐานะที่เป็นกลไกสำคัญขององค์กร เกี่ยวกับความมั่นคง

มีการเคลื่อนไหว 3 ด้าน คือ การปกครอง ประชากร และเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่ง เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในด้านประวัติศาสตร์การปกครอง ประกอบด้วยแนวคิด ความมั่นคง เขตแดน และประชากร คือ 1) มีการประสานกันของสถาบัน กระบวนการ การ วิเคราะห์ และการคิดสะท้อนกลับ การคิดคำนวณและกลวิธี (tactics) ที่ประกอบรูปเป็นอำนาจ ที่ซับซ้อน ในฐานะที่เป็นรูปแบบของหลักการของความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์การเมือง และใน ฐานะเครื่องมือทางเทคนิคขององค์กรด้านความมั่นคง 2) พัฒนาการทางประวัติศาสตร์อัน ยาวนานของตะวันตกนำไปสู่ความเด่นชัดเหนือรูปแบบอื่นๆ ของอำนาจ (เช่น องค์อธิปัตย์ และ ระเบียบวินัย) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของการปกครอง และ 3) กระบวนการ หรือผลของกระบวนการ ของรัฐในช่วงยุคกลาง เปลี่ยนผ่านไปสู่การปกครองแบบรัฐบริหารจัดการในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 – 16 และค่อยๆ กลายเป็นการทำให้เป็นการปกครอง (governmentalized) 

เราอยู่ในยุคสมัยของการปกครองที่ค้นพบครั้งแรกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 กระบวนการทำให้เป็นการปกครองของรัฐเป็นปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนขัดแย้ง เพราะว่าในความจริง ปัญหาของการปกครองและเทคนิคการปกครองได้กลายเป็นเพียงประเด็นทางการเมือง หรือเป็นเพียงพื้นที่จริงสำหรับการต่อสู้ทางการเมือง นี่เป็นเพราะว่ากระบวนการทำให้เป็นการปกครอง ของรัฐในเวลาเดียวกัน ก็ย่อมให้รัฐอยู่รอดด้วยการปกครอง เหตุเพราะว่ามันเป็นเทคนิคของการ ปกครองที่ทำให้มีความเป็นไปได้ในการนิยามและนิยามใหม่ของสิ่งที่อยู่ภายในอำนาจของรัฐ ฉะนั้น รัฐสามารถเข้าใจได้ในความอยู่รอดและข้อจำกัดของมันบนพื้นฐานทั่วไปของเทคนิคการปกครอง 

เหนืออื่นใด การตัดสินแห่งรัฐเกิดขึ้นในรูปแบบของศักดินาซึ่งสัมพันธ์กับสังคมกฎหมาย ต่างเกี่ยวข้องกันระหว่างสัญญาผูกมัดและการฟ้องร้องกัน อย่างที่สองคือรัฐบริหารจัดการเกิด ภายในขอบเขตดินแดนของชาติในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 – 16 เกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์และ ระเบียบวินัยของสังคม และท้ายที่สุด การปกครองแห่งรัฐ ไม่ได้ถูกกำหนดให้อยู่ภายในขอบเขต พื้นที่อีกต่อไป แต่กลับอยู่ในรูปของมวลชนและความเป็นประชากรของรัฐ การปกครองแห่งรัฐ จึงมีสาระสำคัญอยู่ที่เรื่องประชากร และการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการบริหารจัดการ ซึ่ง สัมพันธ์กับชนิดของสังคมที่ถูกควบคุมโดยองค์กรแห่งความมั่นคง 

กล่าวโดยสรุปคือ ฟูโกต์ได้เสนอแนวคิดการปกครองในรัฐสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่ผู้ปกครองไม่ได้ใช้อำนาจทางตรง หรืออำนาจบังคับเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หากแต่ ผู้ปกครองกลับปรับเปลี่ยนแนวคิดการปกครองจากการควบคุม/ครอบครองอาณาเขตและดินแดน ไปสู่การให้ความสำคัญกับประชากรและปัจเจกด้านชีวิตความเป็นอยู่ โดยเน้นเป้าหมายเพื่อ ความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรในด้านชีวิต การดำรงอยู่ด้านสวัสดิการ สุขภาพอนามัย การศึกษา ระบบเศรษฐกิจครอบครัว ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีการคิดคำนวณและจดบันทึกเป็นสถิติ และ พัฒนาขึ้นมาเป็นวิชาสถิติ และถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในแวดวงวิชาทางสาธารณสุข การศึกษา เศรษฐกิจระดับครัวเรือน นำมาสู่การสร้างความชอบธรรมในการใช้อำนาจในการชักจูง แนะนำแนวทางการปฏิบัติและเทคนิคที่นำไปสู่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของพลเมือง ทดแทนการ ควบคุมใช้กำลังกฎหมายหรือการใช้อำนาจตามอำเภอใจของผู้ปกครองในรูปแบบการใช้อำนาจใน สมัยก่อน ทำให้ผู้คนพลเมืองยอมรับการถูกชักนำชี้แนะที่มาในรูปของหลักวิชา การใช้อำนาจจึง ไม่ได้ขึ้นกับบุคคลหรือคณะบุคคลแต่เป็นการใช้อำนาจผ่านความรู้ของศาสตร์สาขาวิชาต่างๆ ใน รูปของสถาบันทางความรู้ การให้คำปรึกษา จึงเป็นการใช้อำนาจที่นุ่มนวลไม่ก่อให้เกิดการต่อต้าน กระด้างกระเดื่องของประชาชนพลเมือง

นิโคลัส โรส3 ได้นำแนวคิด governmentality ของฟูโกต์มาใช้ศึกษาการปกครองชีวิต ทางเศรษฐกิจและสังคมสมัยใหม่ โดยตั้งคำถามว่าในโลกสมัยใหม่มีสถาบัน องค์กรและความรู้อะไรที่มาอวดอ้างสิทธิในการแทรกแซงชีวิตปัจเจกในสังคมเสรี กลายเป็นเครื่องมือหล่อหลอมวิธีคิด และการปฏิบัติของเราให้ยอมรับการเข้ามาแทรกแซงชีวิตของสถาบันและองค์กรเหล่านี้  

โรสเสนอว่าในช่วงทศวรรษ 1970 การเกิดองค์กรการเงินข้ามชาติระหว่างประเทศ เป็น เรื่องยากเกินกว่ามาร์กซิสต์ (Marxist) จะเข้าใจกระบวนการของทุนนิยมผ่านแนวคิดเศรษฐกิจ กำหนด อำนาจทางเศรษฐกิจสามารถผลิตซ้ำตัวเองได้ มีการสร้างความหวัง แรงบันดาลใจทาง สังคม ศักยภาพและการรวมกลุ่มของปัจเจก โรสต้องการเข้าใจการทำงานอันซับซ้อนของเครื่องมือ เหล่านี้ เช่น ระบบกฎหมาย ระบบศาล ความมั่นคงทางสังคม สังคมสงเคราะห์ การศึกษา การ รักษาสุขภาพ ครอบครัวและชีวิตทางเศรษฐกิจ หากเครื่องมือเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ ทางเมือง ปัจจุบันเครื่องมือ กลไกและสถาบันเหล่านี้มีความซับซ้อนเกินกว่าจะเข้าใจได้ง่าย เรา จึงต้องทำความเข้าใจมันถึงกลไกการทำงานของอำนาจผ่านสถาบันต่างๆ ที่มีสิทธิอำนาจเข้ามา แทรกแซงชีวิตทางสังคมของปัจเจก และเข้าใจถึงรูปแบบและหน้าที่ทางอุดมการณ์ของเครื่องมือ

โรสเห็นว่าเดิมนักประวัติศาสตร์ให้ความสนใจภาพใหญ่ที่เกิดขึ้นหรือกิจการของรัฐ แต่ ปัจจุบันหันมาให้ความสนใจกิจกรรมเล็กๆ ในองค์กรอื่นๆ โดยศึกษารูปแบบพื้นๆ ในองค์กร เช่น ประวัติศาสตร์บัญชี จิตวิทยา สังคมสงเคราะห์การศึกษา ฯลฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เผยให้เห็นจุดตัด สามแกน ได้แก่ 1) การผลิตความจริง 2) รูปแบบการปกครอง 3) ปฏิบัติการของบุคคล (subject) การเปลี่ยนคำถามจาก “ทำไม” ไปสู่ “อย่างไร” ซึ่ง “ทำไม” มักมีคำตอบเป็น กระบวนการโลกาภิวัตน์ ส่วน “อย่างไร” จะเป็นการตามไปดูประวัติศาสตร์เล็กๆ ที่เป็นจุดตัด และมักเป็นเหตุการณ์เล็กๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ทำให้เรามองเห็นเครือข่ายความสัมพันธ์ และปฏิบัติการของการปกครองในกระบวนการคิดของมนุษย์ ความคิดเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ของมนุษย์

กระบวนการศึกษาทำความเข้าใจจึงเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์บุคคลที่สัมพันธ์กับคนอื่น นั่นคือพวกเขาคิดว่าพวกเขาเป็นอะไร ด้วยภาษาและบรรทัดฐานอะไร จึงเป็นการสำรวจเทคโนโลยี ของบุคคล ในที่นี้ไม่ได้ศึกษาปัจเจก แต่ศึกษาเทคนิคการสร้างตัวตน เพราะไม่มีปัจเจกที่มีความ เป็นสากลภายใต้การปกครอง มีแต่การเลือกในฐานะปฏิบัติการของบุคคล

โรสย้ำว่า ไม่ได้ต้องการพัฒนาให้ governmentality เป็นทฤษฎีทั่วไป แต่จะสนใจใน ประเด็นเฉพาะและเป็นงานศึกษาเกี่ยวข้องกับประเด็นของอำนาจ เป็นอำนาจที่ไม่มีศูนย์กลาง แต่มีแนวคิดเรื่องเสรีภาพเป็นศูนย์กลางของอำนาจ ไม่สนใจว่ามีเสรีภาพจริงหรือไม่ แต่ดูที่การสร้าง เสรีภาพ เพราะฉะนั้น เสรีภาพคืออำนาจ ดูที่การนิยามให้ผิดปกติเพื่อหาทางให้กลับคืน และ รูปแบบอำนาจที่ทำงานเหนือรัฐแต่ไม่ได้เริ่มที่รัฐ 

กล่าวโดยสรุป โรสเสนอว่าบทบาทของ governmentality ประกอบด้วย 1) ศึกษา ปฏิบัติการและเหตุการณ์เฉพาะ ผ่านเครื่องมือและการแทรกแซง เทคนิคและเทคโนโลยีที่ทำให้ เกิดการแทรกแซง 2) เศรษฐกิจไม่ใช่กฎธรรมชาติแต่เป็นวิธีคิดและปฏิบัติที่เปลี่ยนวิธีคิดเรา เศรษฐกิจจึงหมายถึงการคิดคำนวณการจัดการ เน้นที่ปฏิบัติการคิดคำนวณที่ก่อให้เกิดกรอบการ เลือกของปัจเจก ธุรกิจและองค์กร 3) การสร้างความเป็นผู้เชี่ยวชาญ

อ้างอิงจาก การปกครองตนเองของคนงานโรงงานสมานฉันท์ภายใต้เสรีนิยมใหม่ ชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิชนักศึกษาปริญญาโท สาขามานุษยวิทยาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2568

MICHEL FOUCAULT: PARRHESIA (TRUTH-TELLING) DAN CARE OF THE SELF

 Parrhesia: Berani Berkata Benar by Michel Foucault | Goodreads

บทความนี้พูดถึง Parrhesia(πάρήσίά),หนึ่งในคําศัพท์ทางเทคนิคสําคัญๆ ของมิเชล ฟูโกต์พาร์เรเซียเป็นการสัมมนาครั้งสุดท้ายที่ Foucault อภิปรายที่มหาวิทยาลัยCalofornia ในเบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา ภายใต้หัวข้อ: 'Discourse on Truth: The Problematization of Parrhesia' เกี่ยวกับการก่อตัวของตัวตนและศิลปะในการจัดการชีวิตส่วนตัว

 มนุษย์ตระหนักได้อย่างไรว่าตนเองเป็นอาสาสมัครของตนเองหรือเป็นวิชาทางจริยธรรม

บุคคลนั้นสามารถเกี่ยวข้องกับตนเองได้โดยอาศัยเสรีภาพและวุฒิภาวะของตน 

ด้วยเหตุนี้เขาจึงสามารถเรียกได้ว่าเป็นนักพูด parrhesiast ซึ่งไม่เพียงแต่ถ่ายทอดความจริงให้ผู้อื่นเท่านั้น แต่ยังสามารถถ่ายทอดความจริงให้กับตัวเองได้อีกด้วย 

กล่าวอีกนัยหนึ่ง เพื่อที่จะถูกเรียกว่า parrhesiast บุคคลจะต้องแสดงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างสิ่งที่เขา
พูดและสิ่งที่เขาทําภายในตัวเขาเอง ทฤษฎีและการปฏิบัติต้องควบคู่กันเสมอ บุคคลอาจพูดอย่างน่าเชื่อถือ แต่เขาก็ต้องกระทําและประพฤติตนอย่างถูกต้องและดีด้วย

มนุษย์ตระหนักถึงตนเองว่าเป็นเรื่องของตนเองหรือเป็นเรื่องของจริยธรรมอย่างไร ซึ่งหมายความว่าบุคคลนั้นสามารถเชื่อมโยงกับตนเองได้ในทางปฏิบัติ (rapport a soi) โดยอาศัยเสรีภาพและวุฒิภาวะของตน

เขาจึงถูกเรียกว่านักพูด parrhesiast ซึ่งไม่เพียงแต่บอกความจริงแก่ผู้อื่นเท่านั้น แต่ยังสามารถบอกความจริงแก่ตนเองได้ด้วยกล่าวอีกนัยหนึ่ง เพื่อที่จะเป็นนักพูด parrhesiast แต่ละคนควรแสดงให้เห็นในชีวิตของเขา/เธอถึงความสอดคล้องระหว่างสิ่งที่เขา/เธอพูดกับสิ่งที่เขา/เธอทํา ทฤษฎีและการปฏิบัติควรควบคู่กัน พูดได้อย่างน่าเชื่อถือแต่ก็ต้องประพฤติตัวให้ดีด้วย

ศิลปะแห่งการสร้างตนเอง (self-stylization) ซึ่งเขาเรียกว่าสุนทรียภาพแห่งการดํารงอยู่ (an aesthetic of existence)

ตามที่ฟูโกต์กล่าวไว้ นี่หมายความว่าใครก็ตามที่พูดความจริงจะต้องจัดการกับปัจจุบัน ไม่ใช่อดีต ฟูโกต์พยายามโน้มน้าวให้ผู้อ่านคิดแตกต่างและพยายามพูดถึงปัจจุบันอยู่เสมอ มุ่งที่จะศึกษาตรวจสอบภววิทยา (Ontology) ของปัจจุบันและภววิทยา (Ontology) ของตัวเราเองได้อย่างไร

คําว่า parrhesia มาจากคําภาษากรีกว่า "pan" ซึ่งแปลว่าทั้งหมด และ "rhesis"หรือ "rhema" ซึ่งหมายถึงการแสดงออก สิ่งที่พูด คําพูดหรือคําพูด คํานี้ยังหมายถึงทักษะการพูด ความละเอียดอ่อน การเปิดกว้าง ความตรงไปตรงมา และเสรีภาพในการพูดในความหมายที่แท้จริง parrhesia หมายถึงกิจกรรมในการแสดงทุกสิ่งที่อยู่ในใจ (การกระทําของประกาศโทต์, โทต์เอ็กซ์ไพรเมอร์)ดังนั้นคํานี้จึงมีความเป็นอิสระและเสรีภาพในการใช้ภาษา ดังนั้น parrhesia หมายถึง เสรีภาพในการพูด การเปิดกว้างในการ
แสดงออก พูดด้วยความมั่นใจเต็มที่ พูดอย่างเปิดเผยและชัดเจน

ในภาษากรีก คํานี้ที่ต้องการความหมายมีสํานวนสามรูปแบบ คือ parrhesia ซึ่งใช้ในรูปแบบนาม ซึ่งหมายถึง พูดความจริง พูดอย่างตรงไปตรงมาและสุภาพ 

อันดับแรก,parrhesia หมายถึง เสรีภาพในการพูด Parrhesia มักเกี่ยวข้องกับความไร้เดียงสาและความซื่อสัตย์ในการแสดงออกถึงสิ่งที่อยู่ในความคิดและหัวใจ ผู้พูดไม่ได้ปิดบังสิ่งใด แต่จะเปิดความคิดและเนื้อหาทั้งหมดให้ผู้อื่นฟัง เขาต้องการทําให้ชัดเจนว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นมาจากใจของเขาจริง ๆ และนี่คือความคิดเห็นของเขาเอง ดังนั้นparrhesiast มักจะใช้การแสดงออกทางตรงซึ่งตรงข้ามกับการแสดงออกทางวาทศิลป์

2. Parrhesia มักใช้เกี่ยวข้องกับความจริงเสมอ ในตําราคลาสสิกเกือบทั้งหมดParrhesia มีความหมายเชิงบวกเสมอ กล่าวคือ การพูดหรือบอกความจริง ผู้พูดพูดสิ่งที่เป็นความจริงเพราะเขารู้ว่าสิ่งที่เขาพูดเป็นความจริง นักพากย์ไม่ลังเลเลยเกี่ยวกับความจริงที่เขาแสดงออกมา การเปิดเผยความจริงนี้ถือเป็นคุณสมบัติทางศีลธรรมที่จําเป็น กล่าวคือ ประการแรกเขารู้ความจริง และประการที่สอง เขาสามารถถ่ายทอดความจริงนี้แก่ผู้อื่นได้ อย่างไรก็ตาม Parrhesia ยังมีความหมายเชิงลบหรือดูถูก ซึ่งเป็นคําที่เกือบจะเหมือนกับ "การพูดคุย" ซึ่งหมายถึงพูดมากแต่พูดน้อยหรือไม่มีความหมายเลย นี่หมายถึงการพูดไม่ชัดเจนโดยไม่มีคุณสมบัติ

3. parrhesia และอันตราย ในการถ่ายทอดความจริง ต้องเผชิญกับความเสี่ยงและอันตรายอยู่เสมอ ดังนั้นเขาจึงต้องมีทัศนคติที่กล้าหาญ ความกล้าที่จะถ่ายทอดความจริงข้อนี้ปรากฏให้เห็นชัดเจน

ความเสี่ยงของการเกิด parrhesiastic ไม่ใช่แค่ความเสี่ยงต่อชีวิตและความตายเท่านั้น การตําหนิเพื่อนและบอกเขาว่าการกระทําของเขาผิดและไม่ถูกต้องก็เสี่ยงต่อมิตรภาพเช่นกัน 

ที่นี่ parrhesiast ถูกวิพากษ์วิจารณ์ เพราะ parrhesia ยังหมายถึงการให้คําแนะนําแก่ใคร บางคนว่าพวกเขาควรปฏิบัติอย่างไร หรือการตําหนิใครบางคนสําหรับพฤติกรรมที่ผิดของพวกเขา Parrhesia ยังถูกมองว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมหรือทัศนคติส่วนตัวของตนเอง เพราะด้วยการตําหนิผู้อื่น ผู้ตําหนิก็มีรูปแบบที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเขาควรกระทําและกระทําอย่างไรอย่างเหมาะสม - การวิจารณ์ผู้อื่นและการวิจารณ์ตัวเอง

4. parrhesia ถูกมองว่าเป็นหน้าที่หรือภาระผูกพัน การพูดความจริงถือเป็นหน้าที่และภาระผูกพัน และขึ้นอยู่กับความจําเป็นทางศีลธรรมของผู้แต่ง นักพากย์ไม่เคยรู้สึกถูกบังคับหรือถูกบังคับให้บอกความจริง การบีบบังคับหรือความรู้สึกถูกบังคับให้หยุดตําแหน่งในฐานะนักพากย์ การแสดงความจริงควรถือเป็นหน้าที่และคุณธรรมที่สะท้อนถึงอิสรภาพและความตระหนักรู้อย่างแท้จริง

Parrhesia เป็นกิจกรรมทางวาจาที่ผู้พูดมีความสัมพันธ์พิเศษกับความจริงโดยความบริสุทธิ์และความซื่อสัตย์ ความสัมพันธ์บางอย่างกับชีวิตของเขาเองผ่านความเสี่ยงและอันตราย 

ความสัมพันธ์กับตนเองหรือผู้อื่นผ่านการวิพากษ์วิจารณ์ (การวิพากษ์วิจารณ์ตนเองและผู้อื่น) และ ความสัมพันธ์พิเศษกับกฎศีลธรรมโดยเสรีภาพและคุณธรรม หรือพูดให้ตรงกว่านั้น Parrhesia คือกิจกรรมทางวาจาซึ่งผู้พูดแสดงออกถึงความสัมพันธ์ส่วนตัวกับความจริงและพร้อมที่จะเสี่ยงเพราะตระหนักดีว่าการ
ถ่ายทอดความจริงเป็นหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลือผู้อื่นหรือตนเอง ใน Parrhesia ผู้พูดใช้เสรีภาพของเขาและชอบความซื่อสัตย์มากกว่าการโน้มน้าวใจ ความจริงมากกว่าความเท็จหรือความเงียบ ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเหนือชีวิตและความปลอดภัย การวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าคําโกหก และคุณธรรมทางศีลธรรมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเองและความไม่แยแสทางศีลธรรม

การพัฒนาความหมายและการปฏิบัติของ Parrhesia

Foucault มองว่าโสกราตีสเป็นนักปรัชญาและนักปรัชญา ในอัลซิเบียเดส เมเจอร์,Parrhesia เชิงปรัชญามีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับหัวข้อเรื่องความกังวลต่อตนเอง(การดูแลตนเอง (care of the self,atau epimeleia heauton).

ฟูโกต์เห็นว่า Parrhesia กลายเป็นปัญหามากขึ้นเมื่อประชาธิปไตยของเอเธนส์พัฒนาขึ้น ประชาธิปไตยเกิดขึ้นจาก สุภาพ,คือรัฐธรรมนูญที่พลเมืองทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน (isonomia)มีสิทธิเท่าเทียมกันในรัฐบาล และมีสิทธิในการพูดอย่างเท่าเทียมกัน (isegoria)ปัญหาคือว่าไอโซโนเมียและไอเซโกเรียได้รับการยอมรับจากรัฐธรรมนูญของเอเธนส์ ในขณะที่พาร์เรเซียไม่ได้รับการยอมรับ Parrhesia ยังอธิบายไม่ชัดเจน

ในแง่สถาบัน ในเวลาเดียวกัน สถาบันประชาธิปไตยเช่นนี้จะต้องจัดให้มีพื้นที่ที่เท่าเทียมกันสําหรับ parrhesias ทุกรูปแบบ แม้ว่า parrhesiast อาจเป็นพลเมืองที่ไม่ดีซึ่งอาจนําอันตรายมาสู่เมืองหรือประเทศ และด้วยเหตุนี้จึงทําลายชีวิตประชาธิปไตย คําถามคือ ใครจะพูดความจริงภายในขอบเขตของระบบสถาบัน ถ้าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในความคิดเห็น? ประชาธิปไตยไม่สามารถระบุได้ว่าใครมีสิทธิหรือมีคุณสมบัติพิเศษในการพูดความจริง ในที่นี้ ฟูโกต์แสดงให้เห็นปฏิปักษ์ของชาวกรีกระหว่างพาร์เรเซีย (เสรีภาพในการพูด)และประชาธิปไตย ประชาธิปไตยให้เสรีภาพในการพูด แต่มักถูกจํากัดโดยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

ฟูโกต์ยังชี้ให้เห็นถึงปฏิปักษ์นี้ในตําราคลาสสิกด้วย มีตําราที่โด่งดังที่สุดเล่มหนึ่งเปิดเผยอยู่ในสาธารณรัฐ (557ab) โสกราตีสกล่าวถึงอันตรายที่เป็นไปได้หลายประการของสถาบันประชาธิปไตย แต่ประเด็นที่สําคัญที่สุดคือเสรีภาพในการพูดมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดมากขึ้นกับการเลือกการดํารงอยู่ (ทางเลือกของการดํารงอยู่)Parrhesia ถูกมองว่าเป็นทัศนคติส่วนตัวที่มีความสําคัญมากในชีวิตทางการเมืองในเมือง จากข้อความเหล่านี้เรายังสามารถเห็นลักษณะทางศีลธรรมและจริยธรรมของนักอรรถาธิบายได้ สิ่งนี้เห็นได้ชัดเจนในผลงานของอริสโตเติลด้วยจริยธรรม Nicomachean (1124b28)

ลักษณะพื้นฐานของประชาธิปไตยคือเสรีภาพ ทุกคนมีเสรีภาพในการพูดและสามารถทําทุกอย่างที่ต้องการได้ เพลโตไม่ได้ตําหนิ parrhesia เพราะมันเปิดโอกาสให้ผู้คนมีอิทธิพลต่อเมืองอย่างกว้างขวาง จริงๆ แล้ว เพลโตเน้นยํ้าถึงอันตรายหลักของอาการ parrhesia กล่าวคือ มันจะนําผู้คนไปสู่การตัดสินใจที่ไม่ดี หรือเป็นหนทางให้ผู้นําเมืองกลายเป็นคนทุจริตและกดขี่ข่มเหง สําหรับเพลโต นับว่าอันตรายมากหากทุกคนมีอิสระที่จะพูดและกระทําตามความปรารถนาของตน แล้วเราจะพบวิถี รูปแบบ และแนวปฏิบัติของชีวิตที่หลากหลาย สถานการณ์นี้อาจก่อให้เกิดเมืองอิสระหลายแห่งที่มีรัฐธรรมนูญและ
กฎหมายของตนเอง หากสิ่งนี้เกิดขึ้น จะเกิดอนาธิปไตยเกี่ยวกับเสรีภาพในการเลือกวิถีชีวิตของตัวเองอย่างไร้ขีดจํากัด

ฟูโกต์มองเห็นประเด็นหลักสองประการเป็นพิเศษซึ่งถูกนํามาพิจารณาเสมอมาในศตวรรษที่สี่ ข้อความของเพลโตแสดงให้เห็นว่าเสรีภาพในการพูดมีความเชื่อมโยงกับทางเลือกที่มีอยู่หรือทางเลือกในการดําเนินชีวิตส่วนบุคคลมากขึ้น Parrhesia ที่นี่ถูกมองว่าเป็นทัศนคติหรือคุณภาพส่วนบุคคลมากกว่า และในขณะเดียวกันก็เป็นภาระผูกพันที่สําคัญสําหรับชีวิตทางการเมืองของเมือง หรืออาจเป็นอันตรายต่อเมืองที่เกี่ยวข้องกับParrhesia ที่ดูถูกเหยียดหยาม

การอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องเพศในท้ายที่สุดยังมุ่งเน้นไปที่ความตระหนักรู้ของมนุษย์ในฐานะหัวข้อเรื่องเพศและจริยธรรม ในการอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องเพศ จริงๆ แล้วมนุษย์ตระหนักดีว่าตนเองมีความปรารถนา ตัณหา ตลอดจนความพึงพอใจซึ่งเป็นพื้นฐานและสิ่งที่พวกเขาต้องยอมรับ และที่นั่นเขาก็ตระหนักได้ว่าแท้จริงแล้วเขาคือบุคคลที่ต้องเผชิญหน้ากับตัวเอง ด้วยวิธีนี้ ฟูโกต์เข้าสู่แกนที่สามซึ่งเป็นจุดไคลแม็กซ์ของงานทั้งหมดของเขา กล่าวคือ การก่อตัวของตัวตนโดยผ่านการดูแลตนเอง

ประเด็นสุดท้ายที่ฟูโกต์วิเคราะห์เกี่ยวกับการดูแลตนเองก็คือวาทกรรมเกี่ยวกับเรื่องเพศและอาการ parrhesia ในที่นี้ ฉันให้ความสําคัญกับประเด็น Parrhesia มากขึ้น ซึ่งเป็นก้าวไปสู่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถูกทดสอบกับตัวเขาเองในการกําหนดสไตล์ในตนเองและการดูแลตัวเอง

ต้องใช้ Parrhesia เพื่อโน้มน้าวใจใครบางคนว่าเขาควรใส่ใจกับตัวเองและผู้อื่น (ดูแลผู้อื่น) สิ่งนี้สันนิษฐานว่าผู้คนควรจะสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนเองได้

นอกเหนือจากการอธิบายอาการพาร์เรเซียแบบโสคราตีสแล้ว ฟูโกต์ยังได้พัฒนาวิธีปฏิบัติพาร์เรเซียโดยมุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างความจริงกับตนเอง และตนเองและผู้อื่น “การปฏิบัติ” ในที่นี้ต้องเข้าใจในสองความหมาย คือ การใช้ parrhesia ในความสัมพันธ์ของมนุษย์ในลักษณะพิเศษ และเทคนิคที่ใช้ในความสัมพันธ์เช่นนี้

Parrhesia เป็นกิจกรรมที่ใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ได้อย่างน้อย 3 ประเภทได้แก่ การอยู่ร่วมกันในชุมชน การอยู่ในสังคม และความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างมนุษย์

อำนาจและความรู้มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการทําความเข้าใจ parrhesia - เข้าใจในแง่ของความสัมพันธ์ส่วนตัวกับความจริง
- เพราะความจริงถือเป็นการใช้อํานาจ ความจริงจึงไม่เกินกําลังของตน อำนาจย่อมพบได้ทุกที่ ความรู้และความจริงก็เช่นกัน และที่ใดมีอำนาจ ที่นั่นย่อมมีความรู้และความจริง

ปรัชญาความคิดทั้งหมดของฟูโกต์นั้นเป็นเทคโนโลยีแห่งตัวตน วิธีคิดนี้นําเราไปสู่เทคนิคหรือกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นจริง Parrhesia เป็นหนึ่งในแนวคิดหลายๆ อย่างที่นํามาใช้เป็นเครื่องมือในการอธิบายการปฏิบัติตนนี้ Parrhesia ถูกมองว่าเป็นกลยุทธ์อย่างชัดเจนในการสร้างเรื่อง นี่คือสิ่งที่ Foucault เรียกว่าการควบคุมตนเอง

นี่เป็นมุมมองเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์ ในที่นี้ ฟูโกต์ไม่เพียงแต่มองประวัติศาสตร์และความเป็นจริงเป็นสิ่งที่มอบให้เท่านั้น แต่เขายังทําให้ประวัติศาสตร์และการใช้ชีวิตตามความเป็นจริงเป็นปัญหา และพยายามกําหนดคําตอบเฉพาะเจาะจงสําหรับแต่ละสถานการณ์อยู่เสมอ ดังนั้นปัญหาดังกล่าวจึงเป็นกิจกรรมทางปัญญาที่สร้างสรรค์และเป็นความคิดที่มีจริยธรรมด้วย

ฟูโกต์แสดงให้เห็นว่าเพื่อที่จะควบคุมตนเองได้ เราต้องมีความสัมพันธ์พิเศษกับความจริง เมื่อต้องสื่อสารกับผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับความจริง เราต้องมีความเป็นผู้ใหญ่อยู่ในตัวเองก่อนเพื่อที่จะสามารถพูดความจริง ถ่ายทอดความจริงนี้ และสามารถให้คําแนะนําหรือคําแนะนําแก่ผู้อื่นได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ชีวิตของบุคคลควรเป็นการบอกเล่าความจริง

 จาก

Michel Foucault: Parrhesia (Truth-Telling) Dan Care Of The Self

  • Konrad Kebung (Institut Teologi dan Teknologi Kreatif Ledalero, Maumere, NTT) Sekolah Tinggi Filsafat Teologi Ledalero, Maumere, Flores, Nusa Tenggara Timur
 
ตัดแปะโดย เฉลิมชัย เอื้อวิริยะวิทย์