วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ทักษะแห่งอนาคตใหม่ 21st Century Skills

ประโยคเด็ดจากหนังสือ 

  • ในศตวรรษที่ 21 บททดสอบความแข็งแกร่งทางการศึกษาที่แท้จริง คือการที่นักเรียนมองดูสิ่งที่พวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อน แล้วรู้ว่าจะทำอะไรกับสิ่งนั้น — John Bransdford (หน้า 44)
  • ความสามารถในการแยกสาระออกจากขยะในกองข้อมูล เป็นทักษะอีกประเภทหนึ่งที่สำคัญสำหรับศตวรรษที่ 21 — Christ Dede (หน้า 114)
  • การสอนโดยไม่มีการเรียนรู้ ไม่เรียกว่าการสอน แต่เป็นแค่การนำเสนอ — Dufour (หน้า 149)
  • สอนให้น้อยลง เรียนรู้ให้มากขึ้น (Teach less, learn more) คือกรอบวิสัยทัศน์ด้านการศึกษาของสิงคโปร์ — Fogarty & Pete (หน้า 171)
  • ห้องเรียนตกยุคไปแล้ว บอกลาห้องเรียน เลิกสร้างห้องเรียนได้แล้ว — Roger Schank (หน้า 208)
  • สื่ออิเล็กทรอนิกส์มอบโอกาสให้คนเพิ่มจำนวนความสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย การสร้างความสัมพันธ์แบบออนไลน์มีอุปสรรคเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับโอกาสที่ได้ — Johnson (หน้า 321)
  • อัตลักษณ์ หมายถึง เราคือใคร? .. “อัตลักษณ์ออนไลน์” มาจากความเฉลียวฉลาดในข้อความ วิธีการเขียน ความคล่องแคล่ว และความลึกซึ้งในการโต้ตอบ รวมทั้งความฉลาด มุมมอง และการมีส่วนร่วมที่โดดเด่น — Johnson (หน้า 326)
  • มนุษย์มีความต้องการที่จะสื่อสารมาโดยตลอด เพียงแต่รูปแบบเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลง ..หน้าที่ของพวกเราในฐานะนักการศึกษาคือ การให้ความสำคัญกับการสื่อสารพร้อมกับติดตามเทคโนโลยีให้ทัน หากเราเน้นแต่เครื่องมือจนลืมจุดประสงค์ เราก็จะติดอยู่ในวังวนของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วไปตลอดกาล — Douglas Fisher & Nancy Frey (หน้า 335)
  • แน่นอนว่านโยบายด้านเทคโนโลยีในโรงเรียนไม่ใช่สิ่งเดียวที่จำเป็นต้องเปลี่ยน เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย ลองนึกถึงแหล่งรวมวิดีโอฟรีมากที่สุดอย่าง YouTube ซึ่งถูกห้ามในโรงเรียนส่วนใหญ่ โรงเรียนของเราใช้ YouTube เป็นประจำ จนไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่า เราจะวางแผนการสอนได้โดยไม่อาศัยคลิปวิดีโอ เพราะทุุกอย่างที่เรามองหาอยู่ในนั้นหมด ซึ่งน่าอัศจรรย์มาก — Douglas Fisher & Nancy Frey (หน้า 342)
  • ให้ยุติการห้ามใช้เทคโนโลยี และหันไปเน้นที่การสอนมารยาท — Douglas Fisher & Nancy Frey (หน้า 340)
  • เทคโนโลยีล้ำหน้า ข้อมูลล้าหลัง — Alan November (หน้า 394)
  • การออกแบบวัฒนธรรมการเรียนการสอน ที่ให้อำนาจแก่นักเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดความรับผิดชอบมากขึ้นในการบริหารการเรียนรู้ของตนเอง ได้ทำงานร่วมกับเพื่อนในชั้นและผู้คนทั่วโลก มีความสำคัญกว่าการยัดเยียดเทคโนโลยีเข้าสู่โมเดลการศึกษาแบบอุตสาหกรรมอย่างที่เป็นอยู่– Alan November (หน้า 404)
  • ผู้ใหญ่หลายคนเห็นว่าเว็บเป็นเรื่องของรสนิยม ไม่ได้มองว่ามันเป็นเครื่องมือสื่อสารขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกับที่นักเรียนจำนวนมากเห็น นักการศึกษาจำนวนมากยังคงใช้ชีวิตแห่งการเรียนรู้ด้วยกระดาษ — Will Richardson (หน้า 423)
  • เมื่อนักเรียนเข้าสู่โลกในการทำงาน สังคม และชีวิตในศตวรรษที่ 21 จะพบว่า นิสัยชอบการแข่งขันแบบสุดขั้วเป็นสิ่งที่ไม่เข้าท่า ความเป็นผู้นำไม่ได้มาจากลำดับชั้น แต่มาจากอิทธิพลและการช่วยเหลือ ผลงานไม่ได้วัดจากความสำเร็จของแต่ละคน แต่วัดจากความสำเร็จของทีมงานโดยรวม ซี่งทีมที่ว่านี้ อาจเป็นทีมนานาชาติที่มีสมาชิกจากทั่วโลกก็ได้ — Douglas Reeves (หน้า 443)

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

International Phonetic Alphabet (IPA)

International Phonetic Alphabet (IPA)

International Phonetic Alphabet (IPA)


Consonants

การออกเสียงในภาษาอังกฤษ จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ voice กับ voiceless อธิบายง่ายๆ คือ การเปล่งเสียงแล้วมีลมผ่านออกจากปากมากน้อยหรือแทบจะไม่มี ดังนั้นเสียงพยัญชนะต่อไปนี้จะเขียนกำกับให้ทราบตามความแตกต่างของคำ เช่น p กับ b นั้นออกเสียงต่างกันอย่างไร เป็นต้น นอกจากนี้ได้ใส่ key word เพื่อช่วยในการจำเสียงมาให้ด้วย...

1. [p] - voiceless ออกเสียง [เพ่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “พ” เช่น put, pack, happy
2. [b] - voice ออกเสียง [เบ่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “บ” เช่น bad, back, rubber

3. [t] - voiceless ออกเสียง [เท่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “ท” เช่น too, tie
4. [d] - voice ออกเสียง [เดอะ] เทียบเสียงกับอักษร “ด” เช่น dead, die

5. [k] - voiceless ออกเสียง [เค่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “ค” เช่น cap, key, quick, accept
6. [g] - voice ออกเสียง [เกอะ] เทียบเสียงกับอักษร “ก” เช่น gas, game, guest

7. [s] - voiceless ออกเสียง [ส] เทียบเสียงกับอักษร “ซ,” เช่น sea, city, psychology, sip
8. [z] - voice ออกเสียง [ซึ] เทียบเสียงกับอักษร “ซ” เช่น zoo, zip, zero,

9. [f] - voiceless ออกเสียง [ฟ่ะ] เทียบเสียงกับอักษร “ฟ” เช่น food, fan, phone, few
10. [v] - voice ออกเสียง [วู] เทียบเสียงกับอักษร “ว” เช่น voice, van, view
11. [w] ออกเสียง [ว่ะ] เทียบเสียงกับอักษร “ว” เช่น week, wet, white

เสียง consonant 3 นี้ (12, 13, 14) เรียกว่า nasal consonant คือเวลาเปล่งเสียงให้ลมออกทางจมูก

12. [m] ออกเสียง [อืม] เทียบเสียงกับอักษร “ม” เช่น map, men, some
13. [n] ออกเสียง [อึน] เทียบเสียงกับอักษร “น” เช่น not, sun, know, pneumonia
14. [ŋ] ออกเสียง [อึง] เทียบเสียงกับอักษร “ง” เช่น long, sung, ring

15. [l] - voice ออกเสียง [เล่อะ] (ลิ้นต้องแตะระหว่างฟันหน้ากับเพดานปาก) เทียบเสียงกับอักษร “ล” เช่น light, long
16. [r] ออกเสียง [เรอ] (ลิ้นไม่แตะเพดานปาก) เทียบเสียงกับอักษร เช่น right, wrong

17. [θ] ออกเสียง [ตะ] เทียบเสียงกับอักษร “ต” เช่น think, thing, thank
18. [ð] ออกเสียง [ดะ] เทียบเสียงกับอักษร “ด” เช่น they, then

19. [∫] ออกเสียง [เช่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “ช” เช่น she, ship, machine, show, tissue
20. [3] ออกเสียง [เฉ่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “ช” เช่น vision, Asian, usual, measure

21. [j] ออกเสียง [เยียะ] เทียบเสียงกับอักษร “ย” เช่น yes, use

22. [h] ออกเสียง [ฮ่ะ] เทียบเสียงกับอักษร “ฮ” เช่น he, hot, who

23. [t∫] ออกเสียง [เช่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “ฌ” เช่น cheap, church, nature, watch, check
24. [d3]ออกเสียง [เจอะ] เทียบเสียงกับอักษร “จ” เช่น job, judge, general, joke, major

25. [tr] ออกเสียง [ทระ] เทียบเสียงกับอักษร “ทร” เช่น tree, try, trip
26. [dr] ออกเสียง [ดระ] เทียบเสียงกับอักษร “ดร” เช่น dry, drip, draw

27. [ts] ออกเสียง [สึ] (ใช้ออกเสียงพหูพจน์ที่ลงท้ายด้วย ts) เทียบเสียงกับอักษร “ส” เช่น cats
28. [dz] ออกเสียง [ซึ] (ใช้ออกเสียงพหูพจน์ที่ลงท้ายด้วย ds) เทียบเสียงกับอักษร “ซ” เช่น birds

คำแนะนำ:
1. การฝึกออกเสียง voice และ voiceless นั้นควรถือกระดาษหรือขนนก บริเวณปาก เพื่อสังเกตดูความแตกต่าง เช่น ลองฝึกออกเสียงคำว่า few กับ view จะเห็นความแตกต่างของลมที่ออกมาจากปาก
2. ลองฝึกเสียง consonant ข้างต้นแบบเป็นคู่ เพราะได้จัดเรียงและจับคู่ เช่น ลองฝึก p คู่กับ b, หรือ f คู่กับ v
3. แนะนำว่าเวลาค้นหาคำใน dictionay ให้ดูการออกเสียง phonetic ด้วย เพื่อช่วยในการออกเสียงอย่างถูกต้อง เพราะภาษาอังกฤษไม่มีกฎตายตัวว่าออกเสียงอย่างไรจากการเขียน (คือ ไม่ได้ออกเสียงตามทีเขียน) เพราะฉะนั้น phonetic จะเป็นตัวกำหนดค่ะ

การเทียบเสียงพยัญชนะไทยกับเสียงพยัญชนะอังกฤษ

ก = g [เกอะ]
ข ค ฆ = k [เค่อะ]
ง = ŋ [อึง]
จ = d3 [เจอะ]
ฉ ช = 3 [เฉ่อะ]
ซ = z [ซึ]
ฌ = t∫ [เช่อะ]
ญ ย = j [เยียะ]
ฎ ด = d [เดอะ]
ฎ ต = θ [ตะ]
ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ = t [เท่อะ]
ณ น = n [อึน]
บ = b [เบ่อะ]
ป ผ พ ภ = p [เพ่อะ]
ฝ ฟ = f [ฟ่ะ]
ม = m [อืม]
ร ฬ = r [เรอ] (ลิ้นไม่แตะเพดานปาก)
ล = l [เล่อะ] (ลิ้นต้องแตะระหว่างฟันหน้ากับเพดานปาก)
ว = w [ว่ะ] หรือ v ออกเสียง [วู]
ศ ษ ส = s [สึ]
ห ฮ = h [ฮ่ะ]
อ มักจะใช้ออกเสียง vowel

Vowels

1. [i] ออกเสียง [อี] เช่น he, feed, beat
2. [ɪ] ออกเสียง [อิ] เช่น it, bit, did, hit
3. [e] ออกเสียง [เอะ] เช่น pen,
4. [æ] ออกเสียง [แอะ] เช่น map, bad, mad
5. [u:] ออกเสียง [อู] เช่น two, too, boot, food
6. [ʊ] ออกเสียง [อุ] เช่น book, took, look
7. [ɑ:] ออกเสียง [อาร์] เช่น far, car
8. [ə] ออกเสียง [อะล] เช่น ago, available
9. [ʌ] ออกเสียง [อ่ะ] เช่น bus, but, mud, mother
10. [ɜ:] ออกเสียง [เออร์] เช่น bird, first, shirt, murder
11. [eɪ] ออกเสียง [เอ] เช่น date, paid, may
12. [ɔɪ] ออกเสียง [ออย] เช่น boy, toy, voice
13. [ɪə] ออกเสียง [เอียร์] เช่น here
14. [eə] ออกเสียง [แอร์] เช่น hair
15. [əʊ] ออกเสียง [โอ] เช่น no, boat
16. [aɪ] ออกเสียง [ไอ, อาย] เช่น buy, eye, cry
17. [aʊ] ออกเสียง [เอา] เช่น out, how, about
18. [ʊə] ออกเสียง [อัวร์] เช่น sure, tour
19. [ɔ:] ออกเสียง [ออ] เช่น door
20. [ɒ] ออกเสียง [เอาะ] เช่น office