“ ปฏิบัติ แล้ว โกรธ โลภ หลง ของ แก ลด น้อย ลง หรือ เปล่า หล่ะ
ถ้า ลด ลง ข้า ก็ว่า แก ใช้ได้ ”
“ การ ทำบุญ อย่างไร จึง จะ ดี ที่สุด ”
หลวงปู่ ท่าน ได้ เมตตา ตอบ ว่า
“ ของดี นั้น อยู่ ที่ เรา ของดี นั้น อยู่ ที่ จิต จิต มี ๓ ชั้น ตรี โท เอก
ถ้า ตรี ก็ ต่ำ หน่อย โท ก็ ปาน กลาง เอก นี่ อย่า งอุกฤษฏ์
มัน ไม่มี อะไร . . . ก็ อนิจ จัง ทุก ขัง อนัตตา ตัว อนัตตา นี่ แหละ
เป็น ตัวเอก ไล่ ไป ไล่ มา ให้ มัน เห็น สังขาร ร่างกาย เรา ตาย แน่ๆ คน เรา
หนี ตาย ไป ไม่ พ้น ตาย น้อย ตาย ใหญ่ ตาย ใหญ่ ก็ ตาย หมด ตาย น้อย ก็
หลับ ไป ตรอง ดู ให้ ดี เถอะ . . . ”
“ เรื่อง โลก มี แต่ เรื่อง ยุ่ง ของ คน อื่น ทั้ง นั้น ไม่มี ที่ สิ้น สุด เรา ไป แก้ไข
เขา ไม่ ได้ ส่วน เรื่อง ธรรม นั้น มี ที่สุด มา จบ ที่ ตัว เรา ให้ มา ไล่ ดู ตัว เอง แก้ไข
ที่ ตัว เรา เอง ตน ของ ตน เตือน ตน ด้วย ตนเอง
ถ้า คิด สิ่ง ที่ เป็น ธรรม แล้ว ต้อง กลับ เข้า มา หา ตัว เอง ถ้า เป็น โลก
แล้ว จะ มี แต่ ส่ง ออก ไป ข้าง นอก ตลอด เวลา เพราะ ธรรม แท้ๆ ย่อม เกิด
จาก ใน ตัว ของ เรา นี้ ทั้ง นั้น ”
แนะ เคล็ดใน การบวชจิต ว่า . . . . .
ในขณะที่เรานั่งสมาธิ เจริญภาวนา นั้น คำกล่าวว่า
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ให้นึกถึงว่า เรามีพระพุทธเจ้าเป็น พระ อุปัชฌาย์ ของเรา
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ให้นึกว่า เรามี พระธรรม เป็น พระกรรมวาจาจาร ย์
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ให้นึกว่า เรามี พระอริย สงฆ ์เป็น พระอนุสาวนาจาร ย์
แล้ว อย่า สนใจ ขันธ์ ๕ หรือ ร่างกาย เรา นี้
ให้ สำรวม จิต ให้ ดี มี ความ ยินดี ใน การ บวช
ชาย ก็ เป็น พระ ภิกษุ หญิง ก็ เป็น พระ ภิกษุ ณี
อย่าง นี้ จะ มี อานิสงส์ สูง มาก จัด เป็น เนกขัม บารมี ขั้น อุกฤษฏ์ ที เดียว
“ ผู้ปฏิบัติ ต้องหมั่น ตามดูจิต รักษาจิต ”
“ หลักของพระพุทธศาสนา คืออะไร... ”
พระเถระตอบ ว่า
“ ละความชั่ว ทำความดี ทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ”
โยมท่านนั้นได้ฟังแล้วพูดว่า
“ อย่างนี้เด็ก ๗ ขวบก็ รู้ ”
พระเถระยิ้มเล็กน้อยก่อนตอบว่า
“ จริงของโยม เด็ก ๗ ขวบ ก็รู้ แต่ผู้ใหญ่ อายุ ๘๐ ก็ ยัง ปฏิบัติ ไม่ ได้ ”
อย่างนี้กระมัง เคยได้ยินหลวงปู่พูดเสมอว่า
“ ของจริงต้องหมั่นทำ ”
มีสิ่งใดก็เป็นทุกข์เพราะสิ่งนั้นไม่มีที่สิ้นสุด
ดูตัวเกิด ไม่ดูตัวดับ ไม่สวย ไม่งาม ตาย เน่าเหม็น
ให้เห็นอย่างนี้ได้เมื่อไรข้าว่าแกใช้ได้
ถ้าเกิดไปเรียนกับอาจารย์ใด โดยยังไม่ทำให้จริง ให้รู้ ก็เหมือน ดูถูก ดู หมิ่น ครู อาจารย์
ให้เกลียดกิเลส เหมือนเป็นหมาเน่า หรือของบูดเน่า ให้เกลียดให้ได้อย่างนั้น
อย่าไปกลัวว่าใครเขาจะว่าอะไรเรา ใครเขาจะโกรธเรา แต่ให้กลัวที่เราจะไปว่าอะไรเขา กลัวที่เราจะไปโกรธเขา