วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป

@@@ ศุ บุญเลี้ยง @@@

เมื่อใจเริ่มมีใครบางคน ปะปนคล้ายดังคนคุ้นเคย

หวั่นใจไม่อยากให้ใครรู้เลย ทำเฉย ๆ แต่รู้อยู่แก่ใจ

หวั่นไหวเมื่อเราเจอกัน ผูกพัน แอบฝันถึงเธอ

ห้ามใจ ห้ามอย่างไรก็เผลอ อยากเจอและคิดถึงร่ำไป

* มีใครเอาไว้ให้หัวใจอุ่น ขาดทุนหากหัวใจร้อนรุ่ม

ระวังอย่าขยันทำซึ้ง อนึ่ง ให้คิดถึงพอสังเขป

(ซ้ำ * )

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แล้วจะร้องเพลงชาติไทย ใ้ห้ใครฟัง


ธงชาติไทย ไกวกวัด สะบัดพริ้ว
แลริ้วริ้ว สลับงาม เป็นสามสี
ผ้าผืนน้อย บางเบา เพียงเท่านี้
แต่เป็นที่ รวมชีวิต และจิตใจ

ไทยรุ่นเยาว์ ยืนเรียบ ระเบียบแถว
ดวงตาแน่ว เพ่งตรง ธงไสว
ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อ ชาติเชื้อไทย
ฟังคราใด เลือดซ่าน แล่นพ่านทรวง

ผืนแผ่นดิน ถิ่นนี้ ที่พำนัก
เราแสนรัก และแสน จะแหนหวง
แผ่นดินไทย ไทยต้อง ครองทั้งปวง
ชีพไม่ล่วง ใครอย่าล้ำ มาย่ำยี

เธอร้องเพลง ชาติไทย มั่นใจเหลือ
พลีชีพเพื่อ ชาติที่รัก เป็นศักดิ์ศรี
เพลงกระหึ่ม ก้องหล้า ก้องธาตรี
แม้ไพรี ได้ฟัง ยังถอนใจ

แต่สิ่งหนึ่งที่ไทยร้าวใจเหลือ
คือเลือดเนื้อเป็นหนอนคอยบ่อนไส้
บ้างหากินบนน้ำตาประชาไทย
บ้างฝักใฝ่ลัทธิชั่วน่ากลัวเกรง

ทุกวันนี้ ศึกไกล ยังไม่ห่วง
แต่หวั่นทรวง ศึกใกล้ ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทย หันมา ฆ่ากันเอง
จะร้องเพลง ชาติไทย ให้ใครฟัง


เพลงชาติก็ร้องเพลงเดียวกัน ธงก็สามสีเหมือนกัน แดง 2 ส่วน ขาว 2 ส่วน น้ำเงิน 2 ส่วน อย่าตีกันเลยครับ นึกถึงพ่อหลวงเรากันบ้าง

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สัปปุริสธรรม 7

คุณสมบัติของคนดี ( สัปปุริสธรรม 7 )

ธรรมของสัตบุรุษ , ธรรมที่ทำให้เกิดสัตบุรุษ , คุณสมบัติของคนดี , ธรรมของผู้ดี

  1. ความรู้จักธรรม รู้หลัก หรือ รู้จักเหตุ ( ธัมมัญญุตา) คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฏเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล เช่น ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ๆ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการหรือบรรลุจุดหมายอัน นั้นๆ เป็นต้น
  2. ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือรู้จักผล (อัตถัญญุตา) คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำ หรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้าง ดังนี้เป็นต้น
  3. ความรู้จักตน (อัตตัญญุตา) คือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสมและรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
  4. ความรู้จักประมาณ ( มัตตัญญุตา) คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์รู้จักประมาณในการลงทัณฑอาชญาและในการเก็บภาษี เป็นต้น
  5. ความรู้จักกาล ( กาลัญญุตา) คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่ควรหรือจะต้องใช้ในการประกอบกิจ ทำหน้าที่การงาน หรือ ปฏิบัติการต่างๆ เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลาให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น
  6. ความรู้จักบริษัท (ปริสัญญุตา) คือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น
  7. ความรู้จักบุคคล ( ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา) คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใครๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้จักจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่คบ จะใช้ จะตำหนิ ยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น

ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม 7 ข้อนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสังฆคุณครบ 9 แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระเจ้าพรรดิ ก็ทรงประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ (ท่านแสดงไว้เฉพาะข้อหลัก 5 ข้อ คือ ข้อ 1 , 2 , 4 , 5 , 6) จึงทรงยังธรรมจักรและอาณาจักรให้เป็นไปด้วยดี

ธรรมของสัตบุรุษ , ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ , คุณสมบัติของคนดี ( สัปปุริสธรรม 8)

  1. ประกอบด้วยสัทธรรม 7 ประการ ( สทฺธมฺมสมนฺนาคโต)
    • ก. มีศรัทธา
    • ข. มีหิริ
    • ค. มีโอตตัปปะ
    • ง. เป็นพหูสูต
    • จ. มีความเพียรอันปรารภแล้ว
    • ฉ. มีสติมั่นคง
    • ช. มีปัญญา
  2. ภักดีสัตบุรษ (สปฺปุริสภตฺตี ) คือ คบหาสมณพราหมณ์ ท่านผู้ประกอบด้วยสัทธรรม 7 ประการข้างต้น เป็นมิตรสหาย
  3. คิดอย่างสัตบุรุษ (สปฺปุริสจินฺตี) คือ จะคิดสิ่งใด ก็ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น
  4. ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ (สปฺปุริสมนฺตี ) คือ จะปรึกษาการใด ก็ไม่ปรึกษาเพื่อเบียดเบียดตนและผู้อื่น
  5. พูดอย่างสัตบุรุษ (สปฺปุริสวาโจ) คือ พูดแต่คำที่ถูกต้องตามวจีสุจริต 4
  6. ทำอย่างสัตบุรุษ (สปฺปุริสกมฺมนฺโต) คือ ทำการที่ถูกต้องตามกายสุจริต 3
  7. มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ (สปฺปุริสทิฏฺฐี ) คือ มีสัมมาทิฏฐิ เช่นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
  8. ให้ทานอย่างสัตบุรุษ (สปฺปุริสทานํ เทติ ) คือ ให้ตามหลักสัปปุริสทาน เช่นให้โดยอื้อเฟื้อทั้งแก่ของที่ตัวให้ ทั้งแก่ผู้รับทาน ให้ของบริสุทธิ์ ให้โดยเข้าใจถึงผลที่จะมีตามมา เป็นต้น

ยังไง..ก็บ้านเรา

ยังไง..ก็บ้านเรา

ถึงยังไงบ้านเราก็เป็นบ้านเรา
เสาเพดานกระไดครบครัน
เมื่อเวลาหิวก็กิน แค่อิ่มก็เท่านั้น
พอเวลาหมดวัน ก็นอนตรงนี้
ถึงบางทีบ้านเราโย้ไปเย้มา
ฝาเป็นรูก็ดูสวยดี
แผ่นประตูพื้นหน้าต่าง ก็ทาคนละสี
แต่ยังไงตรงนี้คือบ้านเรา

ถึงบ้านนี้พี่น้องจะเยอะแยะ
ชอบคิดยุกยิกเยอะแยะตาแป๊ะไก๋
แล้วพี่น้องบ้านไหนไม่เคยทะเลาะกัน
ถึงบ้านนี้ข้าวของจะรกรก
มีครกไม่ล้างมีผ้าไม่ได้ซัก
รักบ้านนี้ถึงแม้ไม่ใช่บ้านในฝัน


ถึงบ้านนี้ถึงแม้จะเล็กเล็ก
บ้านโน้นบ้านนี้เขาว่าเราไม่สวย
บ้านเรานี้ไม่รวย ตามเขาไม่ค่อยทัน
บ้านใครสวย หรูหราก็ช่างเขา
เราไม่ได้รัก ไปพักเราก็เหงา
เราจะนอนที่บ้านของเราเพียงเท่านั้น

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อสุขนิยม (Non-Hedonism) : ความสุขมิใช่สิ่งที่ดีที่สุด

เคยมีคนบอกผมว่าความสุขคือความทุกข์ที่พอรับได้ เมื่อไหร่เลยขีดจำกัดมาก็กลับไปทุกข์ใหม่ ความสุขกับความทุกข์จึงไม่ใช่สิ่งตรงกันข้ามกัน แต่เป็นสิ่งใกล้ๆ ไม่ต่างกันมาก ถ้าเรารู้ทัน สุขก็แค่สุข ทุกข์ก็แค่ทุกข์ มันจะดีไหมนะ รู้ให้ทัน เห็นให้ชัด จบ ตรงนี้เอง

- ทำให้ความต้องการของคนเราไม่มีที่สิ้นสุด คือ ถ้าเราถือว่า เป้าหมายสูงสุดของคนเราคือ ความสุข ความพอใจสุขสบาย มนุษย์ก็จะไม่มีความสุขที่แท้จริงเพราะเราไม่สามารถบรรลุความปรารถนาหรือ ความต้องการทุกอย่างของเราได้อย่างแท้จริง

- ความ สุขเป็นเพียงภาพมายา เมื่อเราได้แล้ว เราก็เสียมันไป หรือเราเกิดความต้องการใหม่อีก ดังนั้นแล้ว อุดมคติที่ว่า ความสุข คือ เป้าหมายสูงสุดของคนเรานั้นไม่เคยเกิดขึ้นจริง

- เมื่อคนเรามีความสุขสบาย ก็ทำให้เราไม่ต่อสู้ หรือสู้ต่อ เฉื่อย ช้า ความทุกข์ต่างหากเป็นแรงผลักดันเพื่อเป้าหมายของสิ่งใหม่ (ความทุกข์เป็นตัวสร้างสรรค์ ไม่ใช่ ความสุข)

- การ เปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้ามนุษย์มัวแต่หาความสุขส่วนตัว เมื่อเป็นเช่นนี้ กลุ่มอสุขนิยมจึงเสนอว่า เป้าหมายที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์ ไม่ใช่ความสุขภายนอก แต่มันเป็นความสุขภายใน คุณค่าของชีวิตอยู่ที่จิตใจสงบเยือกเย็น หาได้ไม่ยากอยู่ในตัวเรานี่เอง แต่ต้องใช้ความพยายามมากอยู่

ผิดเพราะรัก

ผิดเพราะรัก กิ่ง เดอะสตาร์ เพลงประกอบละคร ชิงชัง
กิ่ง เดอะสตาร์

เคยได้ยินว่า ความรักคือ สิ่งที่มีพลังมากมาย
ใครได้พบเจอ จำต้องยอม และไม่มีทางต้านทานได้
ตัวของฉันเอง พอรักมา ใจก็พลอยเปลี่ยนไปมากมาย
ยอมทำทุกทาง แค่ได้มีเธอ

ผิดถูกที่ฉันทำทำลงไป สายตาใครยังไง
ฉันไม่มอง ไม่เห็น ไม่รับรู้อะไร

รู้เพียงว่าทำเพราะรัก ทำเพราะเธอที่รักก็พอ
เธอคือรักแท้คือใจดวงเดียวที่รอ ไม่อาจยอมเสียเธอไป
แม้รู้ว่าทำเพราะรัก สิ่งที่ทำจะร้ายหรือผิดแค่ไหน
ฉันอยู่โดยขาดรักไม่ได้ ให้ทำผิดเท่าไร ฉันคงต้องยอม

เคยได้ยินว่า ความรักคือ สิ่งที่ทำให้ทรมาน
ยิ่งได้รักใคร ยิ่งต้องการ อยากจะครอบครองไว้ข้างกาย
ฉันก็เหมือนกัน พอรักเธอ อยากให้เธอมาอยู่ใกล้ใจ
ยอมทำทุกทางเพียงได้เธอมา

ผิดถูกที่ฉันทำทำลงไป สายตาใครยังไง
ฉันไม่มอง ไม่เห็น ไม่รับรู้อะไร

รู้เพียงว่าทำเพราะรัก ทำเพราะเธอที่รักก็พอ
เธอคือรักแท้คือใจดวงเดียวที่รอ ไม่อาจยอมเสียเธอไป
แม้รู้ว่าทำเพราะรัก สิ่งที่ทำจะร้ายหรือผิดแค่ไหน
ฉันอยู่โดยขาดรักไม่ได้ ให้ทำผิดเท่าไร ฉันคงต้องยอม

รู้เพียงว่าทำเพราะรัก ทำเพราะเธอที่รักก็พอ
เธอคือรักแท้คือใจดวงเดียวที่รอ ไม่อาจยอมเสียเธอไป
แม้รู้ว่าทำเพราะรัก สิ่งที่ทำจะร้ายหรือผิดแค่ไหน
ฉันอยู่โดยขาดรักไม่ได้ ให้ทำผิดเท่าไร ฉันคงต้องยอม
ฉันอยู่โดยขาดรักไม่ได้ ให้ทำผิดเท่าไร.. ฉันคง.. ต้องยอม..

รักเดียวใจเดียว

เพลงรักเดียวใจเดียว รุจ เดอะสตาร์ the star 4 เพลงประกอบละคร พรุ่งนี้ก็รักเธอรุจ เดอะ สตาร์ the star
อย่าแปลกใจ ที่ผ่านมานานเท่าไร
กาลเวลาไม่อาจลืมหัวใจ
เปลี่ยนไปจากเธอ คงเป็นไปไม่ได้
เมื่อใจผูกพันมีแต่เธอ

* แม้จะนอนและฝัน ฉันมีแต่เธอเท่านั้น
ไม่อาจแบ่งใจปันเผื่อไว้ให้ใคร
ใจเมื่อเจอเธอแล้ว เหมือนคนที่เจอจุดหมาย
เมื่อมีเธอไม่ต้องการใคร

** เมื่อวานก็รัก วันนี้รักเธอ
พรุ่งนี้ก็รักเธอ เพราะใจที่มีเธอ
ไม่มีอีกแล้ว ใครจะมาเข้าใจ
ฉันได้ดีอย่างเธอ ตอบแทนเธอรักเดียวใจเดียว

ดั่งทะเล โอบกอดด้วยผืนทราย
และคงไม่มีใครพรากใจดวงนี้ได้
ไม่ว่ากาลเวลาจะหมุนผ่านไป
ยิ่งมั่นใจเราคือกันและกัน

ซ้ำ *,**,*,**

ตอบแทนเธอรักเดียวใจเดียว

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ฉันพูดกับพุทธองค์ว่า

ฉันพูดกับพุทธองค์ว่า cid:BD19529C862449719212A885D9CF7C36@PC08

ฉันพูดกับพุทธองค์ว่า : ขอให้เพื่อนของฉันทุกคนมีความสุข สุขภาพดี ตลอดไป

พุทธองค์ตอบว่า : ขอได้เพียง 4 วันเท่านั้น

ฉันตอบว่า : ได้ ถ้างั้นขอวันฤดูใบไม้ผลิ วันฤดูร้อน วันฤดูใบไม้ร่วง วันฤดูหนาว

พุทธองค์ตอบว่า : 3 วัน

ฉันตอบว่า : ได้ เมื่อวาน วันนี้ วันพรุ่งนี้

พุทธองค์ตอบว่า : ไม่ได้ ให้ได้แค่ 2 วัน
ฉันตอบว่า : ได้ งั้นเป็นกลางวัน และ กลางคืน


พุทธองค์ตอบว่า : ไม่ได้มากไป ให้ได้วันเดียว

ฉันตอบว่า : อ๋อ ได้

พุทธองค์ถามว่า : วันไหนล่ะ
ฉันตอบว่า : ขอเป็นวันที่เพื่อนๆของฉันยังมีชีวิตอยู่


พุทธองค์หัวเราะ แล้วพูดว่า :

นับแต่นี้ไปเพื่อนๆของเธอจะมีความสุข มีสุขภาพแข็งแรงทุกๆวัน