ใช้ชีวิตตามธรรมดาให้ไม่ธรรมดา คือ การกำหนดรู้อยู่ที่ปัจจุบัน เมื่อตื่นนอน ก็รู้ว่าตื่นนอน เมื่อล้างหน้า ก็ให้รู้ว่ากำลังล้างหน้า แปรงฟัน กินอาหาร อาบน้ำ ล้างถ้วย ล้างชาม อันเป็นกิจวัตรสามัญประจำวันของคนเรา ก็ให้รู้ว่ากำลังทำกิจนั้นอยู่
วิธีการเตือนตัวเอง
- เมื่อเวลาหิว ก็กินข้าว ถึงเวลาอ่อนเพลียก็นอน เป็นเรื่องธรรมดา
-จงใช้ชีวิตอยู่กับเหตุ แล้วผลก็ปล่อยไปตามปัจจัยที่มันจะเกิดขึ้น ซึ่งบางอย่างก็แล้วแต่กฎอันยิ่งใหญ่ของจักรวาล สิ่งใดเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นคัดสรรมาแล้ว ให้ดีที่สุดสำหรับคุณเสมอ
* ละทิ้งตัวตน แล้วใช้ชีวิตอยู่ในโลกใบนี้ต่อไป แต่อย่าให้เรื่องของทางโลกมาทำให้ใจมัวหมองลงได้
* จงเป็นเหมือนดอกบัวเกิดในโคลนตม แต่ไม่ติดโคลนตมฉันนั้น จงจำไว้
* ชีวิตนี้แสนสั้น เราย่อมไม่อาจที่จะใช้ชีวิตที่มีเวลาอยู่นี้ ไปในการขบคิดใคร่ครวญเรื่องทางอภิปรัชญาที่ฝรั่งเค้าเรียกว่า metaphysics ได้ทั้งหมดหรอ เพราะบางอย่างไม่มีใครพิสุจน์ได้ว่ามันมีที่สิ้นสุดเลย เหตุผลเพราะว่า อภิปรัชญาไม่อาจนำไปสู่สัจจะอันยิ่งใหญ่ได้เลย
*ชีวิตของเราจะสูญเปล่าไป หากเราหลีกหนีการใช้ชีวิตตามความจริง
*เมื่อไปอยู่ในโลกแห่งความคิด ปรุงแต่งเท่าไร ความคิดอันล้ำลึกเหล่านั้น เราก็จะเป็นเพียงวิญญาณพเนจร
*หากยังวุ่นวายอยู่ด้วยความคิด ว่ามีหรือไม่มี ชีวิตก็จะสูญเปล่าไปเสีย
*ให้ดูทุกข์ และความไม่มีทุกข์ ที่มีอยู่ภายในใจของเรา จึงจะเข้าถึงธรรมที่ปราศจากทุกข์ได้ (ลัดสู่
หัวใจพุทธะ) และปาฎิหาริย์ที่แท้จริง อยู่ในชีวิตประจำวันธรรมดาๆนี่เอง
จงให้กิจวัตรประจำวันดำเนินไปตามครรลองของมันอย่างเป็นธรรมชาติ
ชีวิตคุณมีอยู่เพียงขณะเดียว อดีตก็ละไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง จงทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ทุกลมหายใจที่มีอยู่ทุกขณะ ถ้าย้อนอดีตได้จริง ตอนนี้คงมีคนจากอนาคตมาเดินกันเยอะแยะแล้วหละ
จงจำไว้ คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ ก็แต่ในขณะปัจจุบันเท่านั้น อยู่ที่ตรงนี้ ที่นี้เท่านั้น
*เดี๋ยวนี้ คือ สิ่งที่เรา เป็น อยู่ คือทุกสิ่ง มันไม่สามารถจะเป็น เป้าหมาย หรือ ภาวะ ที่เราจะต้อง มุ่งไปให้ถึง
เดี๋ยวนี้ คือ การกระทำ หรือ ความเคลื่อนไหว ซึ่งปรากฎอยู่ในขณะนี้ ก่อนที่ ความคิด จะปิดบังมันไว้เสีย
ถ้าเราพบความผิดในบุคคลอื่น เราเองก็ตกอยู่ในความผิดนั้นด้วยเหมือนกัน เมื่อผู้อื่นทำผิด เราไม่จำเป็นต้องเอาใจใส่ เพราะมันจะเกิดความผิดขึ้นแก่เราเอง ในการที่จะไปรื้อหาความผิดนั้น
ทุก ๆครั้งที่มีการเตือนตนเอง ให้อ่อนน้อมถ่อมตน อัตตาของตนก็จะขยาย ทั้แง่ขอบเขตและกำลัง
ความถ่อมตนที่แท้ จะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่ได้นึกถึงความถ่อมตน วิปัสสนานั้น ไม่ใช่การให้ความสำคัญแก่ตนเอง หรือการปฎิเสธละทิ้งตนเอง วิปัสสนามันจะมีประโยชน์อะไร ที่จะมานั้งอภิปรายกันว่า ตันหญ้าหรือต้นไม้ตรัสรู้ได้อย่างไร ปัญหามันอยู่ที่ว่า ตัวท่านเองนั่นแหละ ถ้าไม่เริ่มทำวันนี้ จะสามารถบรรลุถึงการตรัสรู้ได้อย่างไร
*ยึดมั่นคราใด เป็นทุกข์ครานั้น การปฎิบัติทุกอย่างต้องมาลงที่ความไม่ยึดมั่นถือมั่น
*สิ่งใดหรือเรื่องใด ผู้ใด คนอื่น สิ่งอื่น ล้วนปรากฎอยู่ เรื่องใดที่ปฎิบัติแล้ว ยิ่งทำให้เกิดยึดมั่นถือมั่นมากยิ่งขึ้น ถือว่าผิดแล้ว
*การตรัสรู้หรือไม่ หาได้อยู่ที่การปฎิบัติเข้มงวด หรือเคร่งครัดเป็นเวลานานไม่
*แต่การตรัสรู้ขึ้นอยู่กับการปฎิบัติถูกต้อง ตรงสู่หัวใจพุทธะหรือไม่ต่างหาก
*เด็ดเดี่ยว จริงจัง ตั้งใจ จดจ่อ จับจ้อง มองดู (รู้) ที่ใจเท่านั้น
*ระหว่าง รู้ กับ ทำ นั้นช่างห่างไกลกันเสียเหลือเกิน
คำของครูบาอาจารย์หลายท่าน กล่าวไว้ว่า
* พ้นจากการบัญญัติ สมมติ
*เข้าถึงไม่ได้ด้วยการเรียนตามตำรา
*ลัดตรงเข้าสู่หัวใจ
*มองดู (รู้) พุทธะก็เกิด
ท้ายสุดแห่งการรู้แจ้งแทงตลอด (บรรลุธรรมแห่งพุทธะ)
*คุณต้องเรียนรู้วิถีการดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่กับอดีต หรือ อนาคต
*ชีวิตต้องยึดขณะปัจจุบัน โดยการอยู่กับปัจจุบัน
*คุณต้องสัมพันธ์กับตนเอง และสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่
*คุณต้องไม่ทำให้พลังของคุณกระจายไป
*คุณต้องพร้อมเสมอในปัจจุบัน
*คุณต้องไม่มีความเสียใจต่ออดีตที่ผ่านมา และคุณต้องไม่ปรุงแต่งและคิดถึงแต่อนาคต เพราะจะทำให้ปัจจุบันเบาบางลง ดังนั้น เวลาที่จะดำรงอยู่คือ "เดี๋ยวนี้"
***จงจำไว้***
*ไม่มีอะไรจะต้องลุถึง เพียงแต่ลืมตาตื่นเท่านั้น สิ่งๆน้นจะปรากฎแก่คุณ
การลืมตาตื่นเพื่อเห็นสิ่งที่เต็มบริบูรณ์อยู่แล้วตรงหน้านั้น ไม่ได้หมายถึงการเริ่มลอกกิเลสเป็นชั้นๆจนลอกหมดแล้วจึงตื่น
*แต่จิตนั้นเอง คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
*ทันทีที่มีสติสัมปชัญญะ ไม่หลง ไม่เผลอ จิตปราศจากการครองคลุมของโมหะ เมื่อนั้น คือ การตื่น หรือการรู้
ที่เราพูดถึงกันบ่อย ๆ นั่นเอง
*จิตที่ปราศจากโมหะ มีความรู้ตัว จะเห็นประจักษ์ธรรมต่อหน้าต่อตา
*เริ่มจากธรรมในฝ่ายที่เกิดดับ หรือ สังขตะธรรม จนปัญญาแก่รอบ
*สามารถปล่อยวางธรรมในฝ่ายที่เกิดดับได้
*ก็จะเข้าไปรู้จักธรรมในฝ่ายที่ไม่เกิดไม่ดับ
*ดังนั้น ทันทีที่รู้ ก็คือทันทีที่ตื่น พ้นจากภาวะหลับฝันทั้งที่ลืมตาและทันที่ที่ตื่น จิตก็ถึงความเบิกบาน อันเป็นคุณสมบัติของจิตเอง ไม่ใช่รู้แล้วลอกกิเลสเป็นชั้น ๆ ไป จนหมด จึงตื่น
*จิตรู้ หรือจิตตื่น มีความเบิกบานในตัวเอง ปลอดภัยอยู่ท่ามกลางความแปรปรวนและไฟกิเลส
ดุจ เหมือน ลิ้นงูในปากงู
ดุจ เหมือนดอกบัว ที่ไม่เปื้อนด้วยโคลนตม
*คนพาล ย่อมหลีกเลี่ยงปรากฎการณ์ภายนอก แต่ไม่หลีกเลี่ยงความคิดปรุงแต่ง
*คนฉลาด ย่อมหลีกเลี่ยงความคิดปรุงแต่ง แต่ไม่หลีกเลี่ยงปรากฎการณ์ภายนอก